พบผลลัพธ์ทั้งหมด 772 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12708/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางสัญญาประกันภัย การชำระค่าสินไหมทดแทน และการขายซากสินค้า
จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งอื่นมีหน้าที่ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เกิดเหตุมาส่งมอบให้ผู้รับตราส่งที่ท่าเรือฮ่องกง และเมื่อตู้คอนเทนเนอร์ถูกยกขึ้นจากเรือไปวางบนลานพักสินค้าของการท่าเรือฮ่องกง ถือว่าหน้าที่ในการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 2 ได้สิ้นสุดลง ตู้คอนเทนเนอร์ที่ได้ส่งมอบไว้ที่การท่าเรือฮ่องกงถือว่าไม่ได้อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 แล้ว การพบเหตุเพลิงไหม้ภายในตู้คอนเทนเนอร์บรรจุสินค้าพิพาทหลังจากมีการลากตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวไปยังโรงพักสินค้า ไม่อาจถือได้ว่าความเสียหายของสินค้าภายในตู้คอนเทนเนอร์เกิดในระหว่างที่ตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 39
การติดเครื่องหมายและสัญลักษณ์ไว้ที่ถังให้เห็นได้ชัดเจนนั้นไม่ใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการแจ้งถึงสภาพอันตรายของสินค้าให้ผู้ขนส่งทราบ เพื่อให้ผู้ขนส่งทราบสภาพอันอาจก่อให้เกิดอันตรายและกระทำการเพื่อป้องกันด้วยการจัดระวางสินค้าอันตรายให้เหมาะสมและปิดเครื่องหมายอันตรายไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าอันตรายนั้นด้วย แต่หากผู้ขนส่งได้ทราบถึงอันตรายของสินค้า เช่น มองเห็นจากเครื่องหมายอันตรายที่ติดประทับอยู่ที่ถังบรรจุสินค้า ก็อาจทำให้จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นเนื่องในการขนส่งสินค้าอันตรายนั้นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 34 (2)
ความรับผิดของผู้ส่งของในกรณีที่ผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. กำหนด 10 ปี กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 มาใช้บังคับแก่ผู้ส่งของได้
พยานหลักฐานมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า สินค้าอาจต้องมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพในการทำงาน แต่การที่ส่งกลับมาตรวจสอบประสิทธิภาพที่ประเทศไทย รวมทั้งเปลี่ยนกล่องบรรจุสินค้าใหม่จะมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งเมื่อผู้ซื้อทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว แสดงเจตนาไม่ยอมรับสินค้าดังกล่าว ถือว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าวแล้ว การนำออกประมูลขายที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงจึงน่าจะเป็นวิธีการบรรเทาความเสียหายของสินค้าได้ดีกว่าวิธีอื่น กรณีถือว่าสินค้าเสียหายอย่างสิ้นเชิงโดยปริยาย
เมื่อความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยนั้นคือการไม่ได้รับสินค้าที่มีสภาพถูกต้องครบถ้วน ณ สถานที่ส่งมอบปลายทาง อันมูลค่าสินค้าในเวลาและสถานที่นั้นย่อมต้องรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมด้วย ประกอบกับสินค้าในคดีคือเครื่องจักรและปั๊มน้ำ 110 หน่วย ที่ต้องถูกขนส่งจากกรุงเทพมหานครไปยังประเทศเอลซัลวาดอร์ ซึ่งการเดินทางมีระยะทางไกลและต้องใช้เวลาในการเดินทางทางเรือค่อนข้างนานนั้นเป็นสินค้าใหม่ ราคาสินค้าตามท้องตลาดที่ปลายทางจึงอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย การที่โจทก์จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยเต็มตามสัญญาซึ่งสูงกว่าราคาสินค้าที่เป็นราคา ซีไอเอฟ (CIF) ร้อยละ 10 ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยไป จึงเชื่อได้ว่าเป็นการจ่ายโดยชอบตามความเสียหายที่แท้จริงแล้ว โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย
การติดเครื่องหมายและสัญลักษณ์ไว้ที่ถังให้เห็นได้ชัดเจนนั้นไม่ใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการแจ้งถึงสภาพอันตรายของสินค้าให้ผู้ขนส่งทราบ เพื่อให้ผู้ขนส่งทราบสภาพอันอาจก่อให้เกิดอันตรายและกระทำการเพื่อป้องกันด้วยการจัดระวางสินค้าอันตรายให้เหมาะสมและปิดเครื่องหมายอันตรายไว้ที่ตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าอันตรายนั้นด้วย แต่หากผู้ขนส่งได้ทราบถึงอันตรายของสินค้า เช่น มองเห็นจากเครื่องหมายอันตรายที่ติดประทับอยู่ที่ถังบรรจุสินค้า ก็อาจทำให้จำเลยร่วมไม่ต้องรับผิดในความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันเกิดขึ้นเนื่องในการขนส่งสินค้าอันตรายนั้นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 34 (2)
ความรับผิดของผู้ส่งของในกรณีที่ผู้ส่งของไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มิได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. กำหนด 10 ปี กรณีไม่อาจนำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความของผู้ขนส่งตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 46 มาใช้บังคับแก่ผู้ส่งของได้
พยานหลักฐานมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่า สินค้าอาจต้องมีการตรวจสอบถึงประสิทธิภาพในการทำงาน แต่การที่ส่งกลับมาตรวจสอบประสิทธิภาพที่ประเทศไทย รวมทั้งเปลี่ยนกล่องบรรจุสินค้าใหม่จะมีค่าใช้จ่ายสูง ทั้งเมื่อผู้ซื้อทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว แสดงเจตนาไม่ยอมรับสินค้าดังกล่าว ถือว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นแก่สินค้าดังกล่าวแล้ว การนำออกประมูลขายที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกงจึงน่าจะเป็นวิธีการบรรเทาความเสียหายของสินค้าได้ดีกว่าวิธีอื่น กรณีถือว่าสินค้าเสียหายอย่างสิ้นเชิงโดยปริยาย
เมื่อความเสียหายที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัยนั้นคือการไม่ได้รับสินค้าที่มีสภาพถูกต้องครบถ้วน ณ สถานที่ส่งมอบปลายทาง อันมูลค่าสินค้าในเวลาและสถานที่นั้นย่อมต้องรวมถึงค่าใช้จ่ายทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นเพิ่มเติมด้วย ประกอบกับสินค้าในคดีคือเครื่องจักรและปั๊มน้ำ 110 หน่วย ที่ต้องถูกขนส่งจากกรุงเทพมหานครไปยังประเทศเอลซัลวาดอร์ ซึ่งการเดินทางมีระยะทางไกลและต้องใช้เวลาในการเดินทางทางเรือค่อนข้างนานนั้นเป็นสินค้าใหม่ ราคาสินค้าตามท้องตลาดที่ปลายทางจึงอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย การที่โจทก์จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยเต็มตามสัญญาซึ่งสูงกว่าราคาสินค้าที่เป็นราคา ซีไอเอฟ (CIF) ร้อยละ 10 ตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยไป จึงเชื่อได้ว่าเป็นการจ่ายโดยชอบตามความเสียหายที่แท้จริงแล้ว โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินค้าสูญหายระหว่างขนส่ง: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นหลังส่งมอบสินค้า
บริษัท ค. เป็นผู้ประกอบวิชาชีพรับจ้างจัดบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ประจำอยู่ที่ท่าเรือกรุงเทพ ย่อมต้องมีความซื่อสัตย์และมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง สินค้าแผ่นยางพาราที่มิได้บรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ 2 ตู้ ตู้ละ 30 มัด นับว่าเป็นจำนวนไม่น้อย เพราะทำให้น้ำหนักของสินค้าขาดหายไปถึง 3,330.30 กิโลกรัมในแต่ละตู้และจำนวนสินค้าแผ่นยางพาราจำนวน 180 มัด ที่วางเรียงกันเป็น 11 แถวในแต่ละตู้ จะมีสินค้าในตู้ที่ขาดหายไปถึงเกือบ 2 แถว ซึ่งผู้ทำหน้าที่จัดบรรจุ ตรวจนับ และตรวจการบรรจุสินค้าย่อมสามารถเห็นความผิดปกติได้อย่างชัดเจน และเมื่อพิจารณาใบตรวจรับสภาพตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าแผ่นยางพาราแล้วปรากฏว่า ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งสองที่โจทก์อ้างว่ามีสินค้าแผ่นยางพาราสูญหายไปยังคงมีน้ำหนักสินค้ารวมตู้ตู้ละ 22 ตัน หากมีการบรรจุสินค้าขาดไปตู้ละ 30 มัด น้ำหนักรวมของตู้ควรเหลือประมาณตู้ละ 19 ตันเท่านั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสินค้ามิได้สูญหายไปในช่วงการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ที่ท่าเรือต้นทางและตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมดที่ถูกลากมายังโรงงานของผู้รับสินค้า ซีลปิดตู้ทุกตู้ยังอยู่ในสภาพดี แสดงให้เห็นว่า ตู้ไม่ได้ถูกเปิดออกนับตั้งแต่มีการบรรจุสินค้าเข้าที่ท่าเรือกรุงเทพ ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าสินค้าสูญหายไปในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5775/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้ประกอบการขนส่งสินค้าทางอากาศในเครือข่าย DHL ที่มีหน้าที่ดูแลการขนส่งและการชดใช้ค่าเสียหาย
แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นนิติบุคคลคนละบริษัท แต่ทั้งสองบริษัทก็ประกอบกิจการรับขนส่งสินค้าทางอากาศเพื่อบำเหน็จทางการค้าปกติเหมือนกัน ใช้คำว่า DHL เป็นส่วนหนึ่งของชื่อทางการค้าและการบริการด้วยกัน ศ.ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ติดต่อประสานงานระหว่างลูกค้าติดตามและตรวจสอบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าของจำเลยที่ 3 บริษัท ฟ. ผู้รับตราส่ง เป็นลูกค้าประจำของจำเลยที่ 3 และมีบัญชีลูกค้าอยู่กับจำเลยที่ 3 เพื่อเรียกเก็บค่าบริการและตามใบรับขนของทางอากาศของสินค้าตามฟ้อง ได้ระบุว่า ค่าระวางการขนส่งสินค้าครั้งนี้ให้เรียกเก็บจากบัญชีของบริษัท ฟ. ย่อมหมายความว่าจำเลยที่ 3 มีหน้าที่เรียกเก็บเงินค่าระวางขนส่งสินค้าตามฟ้องจากบริษัท ฟ. แทนจำเลยที่ 2 และตามใบรับขนของทางอากาศ จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งมีหน้าที่นำสินค้าตามฟ้องไปส่งให้แก่บริษัท ฟ. ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี หากสินค้าไม่สูญหาย จำเลยที่ 3 จะติดต่อกับบริษัท ฟ. ว่าจะให้จำเลยที่ 3 ดำเนินพิธีศุลกากรและนำของไปส่งมอบให้บริษัทหรือไม่ หรือบริษัทจะส่งตัวแทนไปดำเนินพิธีศุลกากรเพื่อออกของเอง การระบุชื่อที่อยู่ของบริษัทมิได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 จะต้องนำสินค้าไปมอบให้แก่บริษัท ฟ. แต่ก็ไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งจะมอบหมายให้ผู้ใดเป็นตัวแทนในประเทศไทยขนส่งสินค้าไปมอบให้แก่บริษัท ฟ. นอกจากจำเลยที่ 3 ซึ่งให้บริการเป็นเครือข่ายเดียวกัน การที่จำเลยที่ 3 ได้มีการมอบหมายให้มีการตรวจสอบคลังสินค้าของจำเลยที่ 3 ว่ามีการขนส่งสินค้าดังกล่าวมาที่ประเทศไทยแล้วหรือไม่ ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ว่าการขนส่งสินค้าจากบริษัทในเครือข่าย DHL จากต่างประเทศอาจนำเข้ามาเก็บไว้ในคลังสินค้าของจำเลยที่ 3 เพื่อจัดส่งให้แก่ผู้รับสินค้าหรือผู้รับตราส่งต่อไปและการมอบหมายให้ น. พนักงานของจำเลยที่ 3 รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งสินค้าตามฟ้อง แสดงว่าจำเลยที่ 3 มีหน้าที่ดูแลสินค้าที่ทางจำเลยที่ 2 ส่งมายังผู้รับตราส่งในประเทศไทยเช่นกัน นอกจากนี้ตามไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ น. มีถึงบริษัท ฟ. แจ้งว่าจะไม่เรียกเก็บค่าระวางขนส่งสินค้าตามฟ้องจากบริษัท ฟ. เนื่องจากสินค้าสูญหายไปหมดและ ศ.ก็เบิกความรับว่า การเรียกร้องค่าเสียหายของสินค้าต้องเสนอให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 จะเป็นผู้จ่ายค่าเสียหายให้ โดยไม่มีการส่งใบเรียกร้องค่าเสียหายไปให้จำเลยที่ 2 ที่สาธารณรัฐอิตาลี จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีส่วนได้เสียร่วมกันในการประกอบกิจการขนส่งสินค้าตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5558/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภัยพิบัติทางทะเลและความรับผิดตามสัญญาประกันภัย การพิสูจน์ความเสียหายและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
พฤติการณ์ที่โจทก์ได้ดำเนินการนำเรือทั้งสามลำกลับมาประเทศไทยด้วยค่าใช้จ่ายของโจทก์ รวมทั้งได้เอาประกันภัยเรือทั้งสามลำในระหว่างเดินทางไว้กับจำเลย เป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นได้ชัดว่า โจทก์ได้รับโอนความเสี่ยงภัยในเรือทั้งสามลำจากผู้ขายตั้งแต่ก่อนเรือทั้งสามลำออกเดินทางแล้ว ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเรือชูไก 2 ในขณะเรือชูไก 2 สูญหายไป สัญญาประกันภัยเรือชูไก 2 ระหว่างโจทก์กับจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงมีผลบังคับได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในความสูญหายของเรือชูไก 2 จากจำเลยได้
เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลขนาด 99.97 ตันกรอส จัดอยู่ในประเภทเรือกลเดินทะเลขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หากจะใช้ในกิจการเดินเรือระหว่างประเทศ นายเรือของเรือชูไก 1 จะต้องมีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หรือประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส และได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสมสำหรับนายเรือของเรือนั้น ธ. ผู้ทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส แม้ ธ. จะยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสม แต่ตามหนังสือของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีก็รับรองว่า การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ขณะเกิดเหตุ ธ. มีประกาศนียบัตรคนประจำเรือสูงกว่าประกาศนียบัตรตามกำหนดข้อบังคับการตรวจเรือสำหรับการเป็นนายเรือชูไก 1 ถึง 2 ชั้น โจทก์เพิ่งซื้อและรับมอบเรือชูไก 1 พร้อมกับเรือชูไก 2 และชูไก 3 จากผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่น จึงยังมิได้จดทะเบียนเรือไทย การนำเรือชูไก 1 กลับประเทศไทย จึงต้องมีการออกทะเบียนเรือไทยชั่วคราว เพื่อให้เรือมีสัญชาติไทยเพื่อสะดวกในการนำเรือชูไก 1 ออกจากประเทศญี่ปุ่นกลับมายังประเทศไทยเป็นกระบวนการรับมอบเรือเพื่อนำมาใช้ในกิจการของโจทก์ จึงยังไม่อาจถือได้ว่า เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศ ธ. ก็เคยทำหน้าที่นายเรือนำเรือรู้ค้า 1 และรู้ค้า 2 จากประเทศญี่ปุ่น เดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ของ ธ. จึงไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกฎระเบียบของกรมเจ้าท่า
โจทก์จัดให้เรือทั้งสามลำอยู่ในสภาพพร้อมออกเดินทางในทะเลได้อย่างปลอดภัย ส่วนสภาพอากาศและท้องทะเล ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุทะเลมีคลื่นลมแรงจัด คลื่นสูงกว่า 3 เมตร ทำให้เรือทั้งสามลำมีการฉุดกระชากกัน ทำให้เชือกที่ผูกยึดโยงเรือชูไก 1 และเรือชูไก 2 ขาด เรือชูไก 2 และเรือชูไก 3 หลุดไปจากการควบคุม และทำให้เรือชูไก 2 จมหายไป ซึ่งสภาพแห่งท้องทะเลที่อาจมีคลื่นลมแรง และคลื่นสูงกว่าปกติ เป็นเหตุการณ์ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในท้องทะเล และการที่เชือกที่ใช้ยึดโยงเรือขาด ก็มิได้หมายความว่าเชือกที่ใช้มีขนาดเล็กหรือการยึดโยงไม่เหมาะสม สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พุกใช้เชือกยึดเรือชูไก 2 หลุดจากตัวเรือ แสดงว่า ความรุนแรงในการฉุดกระชากที่มากกว่าปกติ การที่เชือกไม่ขาดแต่เหนี่ยวกระชากจนพุกหลุด ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดคะเน ถือได้ว่า ความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นภัยพิบัติทางทะเลโดยแท้ มิได้เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลใดหรือเกิดขึ้นจากความบกพร่องโดยตรงของการกระทำของบุคคลใด ทั้งมิใช่ความเสียหายตามปกติธรรมดาหรือซึ่งคาดหมายได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นโดยทั่วไปจากการเดินเรือ ความสูญหายของเรือชูไก 2 จึงเกิดจากภัยพิบัติทางทะเล จำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ความรับผิดของจำเลยเป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลขนาด 99.97 ตันกรอส จัดอยู่ในประเภทเรือกลเดินทะเลขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หากจะใช้ในกิจการเดินเรือระหว่างประเทศ นายเรือของเรือชูไก 1 จะต้องมีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส หรือประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส และได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสมสำหรับนายเรือของเรือนั้น ธ. ผู้ทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 มีประกาศนียบัตรนายเรือของเรือกลเดินทะเลใกล้ฝั่งขนาด 500 ถึง 3,100 ตันกรอส แม้ ธ. จะยังไม่ได้รับประกาศนียบัตรที่เหมาะสม แต่ตามหนังสือของกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวีก็รับรองว่า การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ขณะเกิดเหตุ ธ. มีประกาศนียบัตรคนประจำเรือสูงกว่าประกาศนียบัตรตามกำหนดข้อบังคับการตรวจเรือสำหรับการเป็นนายเรือชูไก 1 ถึง 2 ชั้น โจทก์เพิ่งซื้อและรับมอบเรือชูไก 1 พร้อมกับเรือชูไก 2 และชูไก 3 จากผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่น จึงยังมิได้จดทะเบียนเรือไทย การนำเรือชูไก 1 กลับประเทศไทย จึงต้องมีการออกทะเบียนเรือไทยชั่วคราว เพื่อให้เรือมีสัญชาติไทยเพื่อสะดวกในการนำเรือชูไก 1 ออกจากประเทศญี่ปุ่นกลับมายังประเทศไทยเป็นกระบวนการรับมอบเรือเพื่อนำมาใช้ในกิจการของโจทก์ จึงยังไม่อาจถือได้ว่า เรือชูไก 1 เป็นเรือกลเดินทะเลระหว่างประเทศ ธ. ก็เคยทำหน้าที่นายเรือนำเรือรู้ค้า 1 และรู้ค้า 2 จากประเทศญี่ปุ่น เดินทางกลับมายังประเทศไทยแล้ว การทำหน้าที่นายเรือของเรือชูไก 1 ของ ธ. จึงไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับกฎระเบียบของกรมเจ้าท่า
โจทก์จัดให้เรือทั้งสามลำอยู่ในสภาพพร้อมออกเดินทางในทะเลได้อย่างปลอดภัย ส่วนสภาพอากาศและท้องทะเล ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุทะเลมีคลื่นลมแรงจัด คลื่นสูงกว่า 3 เมตร ทำให้เรือทั้งสามลำมีการฉุดกระชากกัน ทำให้เชือกที่ผูกยึดโยงเรือชูไก 1 และเรือชูไก 2 ขาด เรือชูไก 2 และเรือชูไก 3 หลุดไปจากการควบคุม และทำให้เรือชูไก 2 จมหายไป ซึ่งสภาพแห่งท้องทะเลที่อาจมีคลื่นลมแรง และคลื่นสูงกว่าปกติ เป็นเหตุการณ์ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในท้องทะเล และการที่เชือกที่ใช้ยึดโยงเรือขาด ก็มิได้หมายความว่าเชือกที่ใช้มีขนาดเล็กหรือการยึดโยงไม่เหมาะสม สภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้พุกใช้เชือกยึดเรือชูไก 2 หลุดจากตัวเรือ แสดงว่า ความรุนแรงในการฉุดกระชากที่มากกว่าปกติ การที่เชือกไม่ขาดแต่เหนี่ยวกระชากจนพุกหลุด ซึ่งเป็นเหตุที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากการคาดคะเน ถือได้ว่า ความสูญหายหรือเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นภัยพิบัติทางทะเลโดยแท้ มิได้เกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลใดหรือเกิดขึ้นจากความบกพร่องโดยตรงของการกระทำของบุคคลใด ทั้งมิใช่ความเสียหายตามปกติธรรมดาหรือซึ่งคาดหมายได้ว่าน่าจะเกิดขึ้นโดยทั่วไปจากการเดินเรือ ความสูญหายของเรือชูไก 2 จึงเกิดจากภัยพิบัติทางทะเล จำเลยผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย
ความรับผิดของจำเลยเป็นไปตามสัญญาประกันภัย มิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยนับแต่วันที่จำเลยผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าที่บรรทุกเกินความสามารถของเรือ ทำให้สินค้าเสียหาย ผู้รับประกันภัยใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว สามารถเรียกร้องจากผู้ขนส่งได้
โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าซึ่งผู้ขายขอเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยเอกสารท้ายฟ้อง การประกันภัยคุ้มครองสินค้าระหว่างการขนส่งจากโรงงานของผู้ขายจนถึงโรงงานของผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรี โดยยังไม่ได้อ้างถึงกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด จำเลยให้การต่อสู้ว่าผู้ขายเอาประกันภัยสินค้าไว้เฉพาะช่วงที่ขนส่งจากประเทศอินโดนีเซียมาถึงเกาะสีชังเท่านั้น ไม่ได้ขยายความคุ้มครองไปถึงช่วงที่ขนส่งจากเกาะสีชังไปยังโรงงานของผู้ซื้อตามที่โจทก์อ้าง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ซื้อและไม่อาจรับช่วงสิทธิจากผู้ซื้อ ข้ออ้างของจำเลยส่วนนี้เป็นไปตามข้อความตามที่ปรากฏในเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยท้ายฟ้อง ในชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบและอ้างส่งกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดอีกฉบับ โดยอ้างว่ากรมธรรม์ประกันภัยตามเอกสารท้ายฟ้องระบุให้เงื่อนไขการประกันภัยเป็นไปตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดดังกล่าวที่โจทก์ไม่ได้อ้างถึงและมิได้ส่งมาท้ายคำฟ้องเพื่อให้จำเลยได้ตรวจสอบก่อนทำคำให้การ ทั้งที่เอกสารดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดทำขึ้นและเป็นเอกสารที่อยู่ในครอบครองของโจทก์ จำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงเป็นรายละเอียดที่เพิ่งปรากฏขึ้นในชั้นพิจารณา ซึ่งจำเลยได้ให้การปฏิเสธความคุ้มครองของการประกันภัยสินค้ารายนี้อย่างชัดแจ้งไว้แล้ว และก็ได้ถามค้านเอกสารทั้งสองฉบับในประเด็นนี้ไว้แล้ว อุทธรณ์ส่วนนี้จึงเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จำเลยชอบที่จะยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ได้
แม้การประกันภัยสินค้าตามฟ้องจะมีหลักฐานเป็นหนังสือตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุว่า บริษัท บ. ผู้ขาย เป็นผู้เอาประกันภัย ระบุชื่อยานพาหนะว่าเรือ อ. ระบุการเดินทางของเรือว่าจากท่าเรือประเทศอินโดนีเซียไปเกาะสีชัง ประเทศไทย และในช่องข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษระบุข้อความว่าเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งหมายถึงกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยทางทะเลแบบเปิด (MARINE CARGO OPEN POLICY) ระหว่างบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัย กับโจทก์ผู้รับประกันภัย เห็นได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยทั้งสองฉบับ คู่สัญญาในส่วนของผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลต่างรายกันแต่คู่สัญญาในส่วนของผู้รับประกันภัยเป็นนิติบุคคลเดียวกันคือโจทก์ เมื่อสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัย บริษัท บ. ได้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายสินค้าถ่านหินระหว่างบริษัท บ. ผู้ขายกับผู้ซื้อ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยให้มีผลคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าระหว่างการขนส่งตั้งแต่ท่าเรือต้นทางที่บรรทุกสินค้าไปจนถึงโรงงานของผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรี การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยยอมรับเงื่อนไขพิเศษตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด ซึ่งโจทก์ก็เป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับประกันภัยด้วยมาเป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษของสัญญาประกันภัยที่โจทก์ทำสัญญารับประกันภัยสินค้าตามฟ้องกับบริษัท บ. ผู้ขาย ตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้บริษัท บ. จะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัท ป. แต่ก็เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขพิเศษดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย โดยมีผลให้การคุ้มครองสินค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นการให้ความคุ้มครองตั้งแต่ท่าเรือต้นทางไปจนส่งมอบถึงโรงงานผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรีเมื่อผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยความเสียหายของสินค้าตามสัญญาระหว่างการขนส่ง ผู้ขายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าตามฟ้องตลอดการขนส่งจนกว่าสินค้าจะเดินทางถึงโรงงานของผู้ซื้อ การประกันภัยสินค้าจึงครอบคลุมถึงความเสียหายหรือสูญหายของสินค้า
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าคลื่นและลมในท้องทะเลช่วงที่เกิดเหตุก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชาวเรือที่เดินเรือในท้องทะเลบริเวณเกิดเหตุแต่อย่างใด คงเกิดความเสียหายแก่เรือทั้งสองลำดังกล่าวเท่านั้น การที่เรือไทยขนส่ง 46 และเรือไทยขนส่ง 45 มีความสามารถบรรทุกสินค้าได้อย่างปลอดภัยเพียง 590 เมตริกตัน แต่จำเลยจัดสินค้าถ่านหินบรรทุกถึงลำละ 1,300 เมตริกตัน เกินกว่าความสามารถบรรทุกตามที่ได้จดทะเบียนไว้กว่า 2 เท่า ความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย จำเลยเป็นผู้ขนส่งซึ่งได้รับมอบหมายสินค้าตามฟ้องไว้ในความครอบครองดูแลเพื่อการขนส่ง จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
แม้การประกันภัยสินค้าตามฟ้องจะมีหลักฐานเป็นหนังสือตามกรมธรรม์ประกันภัยซึ่งระบุว่า บริษัท บ. ผู้ขาย เป็นผู้เอาประกันภัย ระบุชื่อยานพาหนะว่าเรือ อ. ระบุการเดินทางของเรือว่าจากท่าเรือประเทศอินโดนีเซียไปเกาะสีชัง ประเทศไทย และในช่องข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษระบุข้อความว่าเป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งหมายถึงกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิดซึ่งเป็นสัญญาประกันภัยทางทะเลแบบเปิด (MARINE CARGO OPEN POLICY) ระหว่างบริษัท ป. ผู้เอาประกันภัย กับโจทก์ผู้รับประกันภัย เห็นได้ว่ากรมธรรม์ประกันภัยทั้งสองฉบับ คู่สัญญาในส่วนของผู้เอาประกันภัยเป็นนิติบุคคลต่างรายกันแต่คู่สัญญาในส่วนของผู้รับประกันภัยเป็นนิติบุคคลเดียวกันคือโจทก์ เมื่อสัญญาประกันภัยทางทะเลตามกรมธรรม์ประกันภัย บริษัท บ. ได้ทำขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายสินค้าถ่านหินระหว่างบริษัท บ. ผู้ขายกับผู้ซื้อ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยให้มีผลคุ้มครองความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าระหว่างการขนส่งตั้งแต่ท่าเรือต้นทางที่บรรทุกสินค้าไปจนถึงโรงงานของผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรี การที่โจทก์ผู้รับประกันภัยยอมรับเงื่อนไขพิเศษตามกรมธรรม์ประกันภัยแบบเปิด ซึ่งโจทก์ก็เป็นคู่สัญญาในฐานะผู้รับประกันภัยด้วยมาเป็นข้อกำหนดหรือเงื่อนไขพิเศษของสัญญาประกันภัยที่โจทก์ทำสัญญารับประกันภัยสินค้าตามฟ้องกับบริษัท บ. ผู้ขาย ตามกรมธรรม์ประกันภัย แม้บริษัท บ. จะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัท ป. แต่ก็เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ทั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขพิเศษดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเพิ่มภาระแก่โจทก์ผู้รับประกันภัย โดยมีผลให้การคุ้มครองสินค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยเป็นการให้ความคุ้มครองตั้งแต่ท่าเรือต้นทางไปจนส่งมอบถึงโรงงานผู้ซื้อที่จังหวัดสระบุรีเมื่อผู้ขายมีหน้าที่ทำประกันภัยความเสียหายของสินค้าตามสัญญาระหว่างการขนส่ง ผู้ขายจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าตามฟ้องตลอดการขนส่งจนกว่าสินค้าจะเดินทางถึงโรงงานของผู้ซื้อ การประกันภัยสินค้าจึงครอบคลุมถึงความเสียหายหรือสูญหายของสินค้า
ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าคลื่นและลมในท้องทะเลช่วงที่เกิดเหตุก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชาวเรือที่เดินเรือในท้องทะเลบริเวณเกิดเหตุแต่อย่างใด คงเกิดความเสียหายแก่เรือทั้งสองลำดังกล่าวเท่านั้น การที่เรือไทยขนส่ง 46 และเรือไทยขนส่ง 45 มีความสามารถบรรทุกสินค้าได้อย่างปลอดภัยเพียง 590 เมตริกตัน แต่จำเลยจัดสินค้าถ่านหินบรรทุกถึงลำละ 1,300 เมตริกตัน เกินกว่าความสามารถบรรทุกตามที่ได้จดทะเบียนไว้กว่า 2 เท่า ความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย จำเลยเป็นผู้ขนส่งซึ่งได้รับมอบหมายสินค้าตามฟ้องไว้ในความครอบครองดูแลเพื่อการขนส่ง จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากการบรรจุตู้คอนเทนเนอร์
ใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.14 นั้น โจทก์เป็นผู้อ้างสำเนาใบตราส่งดังกล่าวเป็นพยานของตน และไม่มีคู่ความโต้แย้งความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว โจทก์จึงไม่อาจยกขึ้นอุทธรณ์ว่าเอกสารหมาย จ.14 เป็นเพียงสำเนาศาลไม่ควรรับฟัง
ผู้เอาประกันภัยว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 จัดการขนส่งสินค้าทั้ง 5 กล่อง ที่ผู้เอาประกันภัยสั่งซื้อจากบริษัท ด. ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง จำเลยที่ 1 มอบหมายจำเลยที่ 2 ติดต่อขอรับสินค้าทั้ง 5 กล่อง จากผู้ขาย โดยจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.12 ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่ง หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ให้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 3 รับขนส่งและออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.13 ให้จำเลยที่ 2 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับตราส่ง แต่จำเลยที่ 3 ไม่มีเรือจึงว่าจ้างให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ขนส่งเงื่อนไขการส่งแบบ FCL/FCL โดยจำเลยที่ 3 รับตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรจุสินค้าตามฟ้องรวมทั้งสินค้าอื่นเข้าตู้คอนเทนเนอร์ ปิดผนึกตู้และนำตู้ดังกล่าวไปส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 4 ซึ่งจำเลยที่ 4 ได้ออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.14 ให้แก่จำเลยที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงอยู่ในสถานะเป็นผู้ขนส่งอื่น การที่ใบตราส่งเอกสารหมาย จ.12 และ จ.14 ระบุหมายเหตุว่า FREIGHT COLLECT ย่อมหมายความว่า ค่าระวางขนส่งให้เรียกเก็บที่ท่าปลายทางและใบตราส่งเอกสารหมาย จ.12 ที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ซื้อระบุชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับตราส่ง แต่ก็มีข้อความด้านล่างระบุว่า เฉพาะการติดต่อขอรับสินค้าให้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 และตามข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อจำเลยที่ 4 ขนส่งสินค้าตามฟ้องมาถึงท่าเรือกรุงเทพแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของสินค้าให้ผู้เอาประกันภัยทราบ ให้ผู้เอาประกันภัยมาติดต่อกับจำเลยที่ 1 และจ่ายค่าระวางเรือให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้รับบำเหน็จค่าระวางเรืออันเนื่องมาจากตกลงรับจ้างจัดการขนส่งสินค้าตามฟ้องรวมการขนส่งด้วย จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่งประเภทไม่มีเรือเป็นของตนเองทั้งในการตกลงรับสินค้าตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ก็มิได้แสดงให้ผู้เอาประกันภัยได้ทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือผู้ขนส่งรายใด พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นผู้ขนส่งด้วย
จำเลยที่ 3 รับสินค้าทั้ง 5 กล่อง มาจากจำเลยที่ 2 แล้ว ตามใบตราส่งเอกสารหมาย จ.13 และจำเลยที่ 3 มีหน้าที่นำสินค้าทั้ง 5 กล่อง บรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์ปิดตู้ผนึกซีลกำกับด้วยหมายเลข นำตู้คอนเทนเนอร์ไปส่งมอบแก่จำเลยที่ 4 บรรทุกขึ้นเรือเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพท่าปลายทาง ไม่ปรากฏมีร่องรอยการเปิดตู้คอนเทนเนอร์มาก่อนหน้านี้ เมื่อเปิดตู้คอนเทนเนอร์พบว่า สินค้าตามฟ้องมีเพียง 3 กล่อง แสดงว่าสินค้า 2 กล่อง ที่สูญหายไปนั้น มิได้ถูกบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งแต่แรก แสดงว่าสินค้า 2 กล่อง สูญหายไปในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แต่โจทก์ก็ไม่ได้พยานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดในลักษณะละเลยหรือไม่เอาใจใส่ อาจมีคนร้ายมาลักเอาสินค้า 2 กล่อง ไปก่อนปิดตู้คอนเทนเนอร์ โดยจำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ทราบก็เป็นได้ ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า ความสูญหายของสินค้าตามฟ้องเกิดขึ้นเพราะความละเลยหรือไม่เอาใจใส่ของจำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ทั้งที่รู้ว่าความสูญหายของสินค้าอาจเกิดขึ้นได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งมาบังคับแก่ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชอบแล้ว
ผู้เอาประกันภัยว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 จัดการขนส่งสินค้าทั้ง 5 กล่อง ที่ผู้เอาประกันภัยสั่งซื้อจากบริษัท ด. ที่เขตบริหารพิเศษฮ่องกง จำเลยที่ 1 มอบหมายจำเลยที่ 2 ติดต่อขอรับสินค้าทั้ง 5 กล่อง จากผู้ขาย โดยจำเลยที่ 2 ออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.12 ระบุชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่ง หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 3 ให้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 3 รับขนส่งและออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.13 ให้จำเลยที่ 2 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับตราส่ง แต่จำเลยที่ 3 ไม่มีเรือจึงว่าจ้างให้จำเลยที่ 4 เป็นผู้ขนส่งเงื่อนไขการส่งแบบ FCL/FCL โดยจำเลยที่ 3 รับตู้คอนเทนเนอร์ไปบรรจุสินค้าตามฟ้องรวมทั้งสินค้าอื่นเข้าตู้คอนเทนเนอร์ ปิดผนึกตู้และนำตู้ดังกล่าวไปส่งมอบให้แก่จำเลยที่ 4 ซึ่งจำเลยที่ 4 ได้ออกใบตราส่งตามเอกสารหมาย จ.14 ให้แก่จำเลยที่ 3 โดยระบุชื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงอยู่ในสถานะเป็นผู้ขนส่งอื่น การที่ใบตราส่งเอกสารหมาย จ.12 และ จ.14 ระบุหมายเหตุว่า FREIGHT COLLECT ย่อมหมายความว่า ค่าระวางขนส่งให้เรียกเก็บที่ท่าปลายทางและใบตราส่งเอกสารหมาย จ.12 ที่จำเลยที่ 2 ออกให้แก่ผู้ซื้อระบุชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นผู้รับตราส่ง แต่ก็มีข้อความด้านล่างระบุว่า เฉพาะการติดต่อขอรับสินค้าให้ติดต่อกับจำเลยที่ 1 และตามข้อเท็จจริงได้ความว่า เมื่อจำเลยที่ 4 ขนส่งสินค้าตามฟ้องมาถึงท่าเรือกรุงเทพแล้ว จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของสินค้าให้ผู้เอาประกันภัยทราบ ให้ผู้เอาประกันภัยมาติดต่อกับจำเลยที่ 1 และจ่ายค่าระวางเรือให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อจำเลยที่ 4 ให้ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัย แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้รับบำเหน็จค่าระวางเรืออันเนื่องมาจากตกลงรับจ้างจัดการขนส่งสินค้าตามฟ้องรวมการขนส่งด้วย จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลอันมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการขนส่งประเภทไม่มีเรือเป็นของตนเองทั้งในการตกลงรับสินค้าตามฟ้อง จำเลยที่ 1 ก็มิได้แสดงให้ผู้เอาประกันภัยได้ทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 หรือผู้ขนส่งรายใด พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เข้าร่วมเป็นผู้ขนส่งด้วย
จำเลยที่ 3 รับสินค้าทั้ง 5 กล่อง มาจากจำเลยที่ 2 แล้ว ตามใบตราส่งเอกสารหมาย จ.13 และจำเลยที่ 3 มีหน้าที่นำสินค้าทั้ง 5 กล่อง บรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์ปิดตู้ผนึกซีลกำกับด้วยหมายเลข นำตู้คอนเทนเนอร์ไปส่งมอบแก่จำเลยที่ 4 บรรทุกขึ้นเรือเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพท่าปลายทาง ไม่ปรากฏมีร่องรอยการเปิดตู้คอนเทนเนอร์มาก่อนหน้านี้ เมื่อเปิดตู้คอนเทนเนอร์พบว่า สินค้าตามฟ้องมีเพียง 3 กล่อง แสดงว่าสินค้า 2 กล่อง ที่สูญหายไปนั้น มิได้ถูกบรรจุอยู่ในตู้คอนเทนเนอร์มาตั้งแต่แรก แสดงว่าสินค้า 2 กล่อง สูญหายไปในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แต่โจทก์ก็ไม่ได้พยานมานำสืบให้เห็นว่า จำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดในลักษณะละเลยหรือไม่เอาใจใส่ อาจมีคนร้ายมาลักเอาสินค้า 2 กล่อง ไปก่อนปิดตู้คอนเทนเนอร์ โดยจำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ไม่ทราบก็เป็นได้ ข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่า ความสูญหายของสินค้าตามฟ้องเกิดขึ้นเพราะความละเลยหรือไม่เอาใจใส่ของจำเลยที่ 3 หรือตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ทั้งที่รู้ว่าความสูญหายของสินค้าอาจเกิดขึ้นได้ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งมาบังคับแก่ความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3723/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้รับจ้างขนส่งและตัวแทนในการขนส่งสินค้าเสียหาย
คดีนี้มีมูลเหตุจากการที่บริษัท ย. ในประเทศไทย สั่งซื้อเครื่องอัดฉีดพลาสติกจากประเทศญี่ปุ่น สินค้าถูกขนส่งทางทะเลจากท่าเรือเมืองโยโกฮาม่าถึงท่าเรือกรุงเทพ และผู้ซื้อได้เอาประกันภัยความเสียหายหรือสูญหายของสินค้าในระหว่างการขนส่งจากโรงงานของผู้ขายจนถึงโรงงานของผู้ซื้อไว้กับโจทก์ เมื่อสินค้าเดินทางมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ผู้ซื้อว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้ขนส่งสินค้าดังกล่าวจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้ซื้อรวมทั้งติดตั้งเครื่องจักรดังกล่าว กระบวนการขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้ซื้อจึงเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีสิทธิประกอบกิจการประกันภัยในราชอาณาจักรไทย จึงมีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยทางทะเลโดยรับประกันภัยสินค้าตลอดเส้นทางการขนส่งตั้งแต่โรงงานของผู้ขายที่ประเทศญี่ปุ่นจนกว่าสินค้าจะถึงโรงงานของผู้ซื้อในประเทศไทยหรือไม่ เมื่อความเสียหายของสินค้าเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทางบกก่อนสินค้าจะถูกส่งถึงมือผู้ซื้อ โจทก์จึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายของสินค้าดังกล่าวตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่ และโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนความเสียหายของสินค้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไป โจทก์จะเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องเอาเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากผู้ที่ต้องรับผิดในความเสียหายดังกล่าวได้หรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องจำเลยทั้งสองในฐานะร่วมกันขนส่งสินค้าแล้วทำให้สินค้าเสียหายเป็นคดีนี้ จึงไม่มีข้อสงสัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรับพิจารณาพิพากษาคดีชอบแล้ว
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างจากผู้เอาประกันภัยจัดการนำสินค้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ ผ่านพิธีศุลกากรและขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้เอาประกันภัยรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรดังกล่าวไปติดตั้งในโรงงานของผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเช่ารถฟอร์คลิฟท์จากจำเลยที่ 2 มาดำเนินการในส่วนของการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 2 มิได้ทำการขนส่งเครื่องจักรแม้เพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น แต่ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการขนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับจ้างจากผู้เอาประกันภัยจัดการนำสินค้าออกจากท่าเรือกรุงเทพ ผ่านพิธีศุลกากรและขนส่งสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพไปยังโรงงานของผู้เอาประกันภัยรวมทั้งการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรดังกล่าวไปติดตั้งในโรงงานของผู้เอาประกันภัยโดยจำเลยที่ 1 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เอาประกันภัย การที่จำเลยที่ 1 ไปติดต่อเช่ารถฟอร์คลิฟท์จากจำเลยที่ 2 มาดำเนินการในส่วนของการเคลื่อนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 2 มิได้ทำการขนส่งเครื่องจักรแม้เพียงช่วงใดช่วงหนึ่ง จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่น แต่ถือว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการขนย้ายและติดตั้งเครื่องจักร จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขนส่งทางทะเลผิดสัญญา การชำระหนี้ไม่ตรงตามความประสงค์ และค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งลำไยอบแห้งจากจังหวัดเชียงใหม่ไปส่งให้แก่บริษัท ซ ที่ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ จากท่าเรือแหลมฉบังไปส่งที่ท่าเทียบเรือหมายเลข 9 และ 14 ปรากฏว่าจำเลยจัดส่งสินค้าดังกล่าวไปที่ท่าเทียบเรือหมายเลข 4 ท่าเรือไหว่เกาเชียว เมืองเซี่ยงไฮ้ ซึ่งพยานจำเลยก็ยอมรับว่า ที่เมืองเซี่ยงไฮ้มีท่าเรือขนาดใหญ่อยู่ 3 ท่าเรือ คือ ท่าเรือไหว่เกาเชียว ท่าเรือวูซองและท่าเรือหยานชาง และข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบโดยจำเลยมิได้นำสืบหักล้างได้ความว่าท่าเรือไหว่เกาเชียวไม่มีท่าเรือหมายเลข 9 และ 14 ดังนั้น จึงรับฟังได้ว่า หากกล่าวถึงท่าเรือหมายเลข 9 และ 14 ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ย่อมหมายถึงท่าเรือวูซองหมายเลข 9 และ 14 ดังที่โจทก์นำสืบ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยปฏิบัติผิดสัญญารับขนของทางทะเล ไม่ขนส่งสินค้าของโจทก์ไปยังท่าเรือปลายทางที่ตกลงไว้ การที่บริษัท ซ. ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งมารับสินค้าไปจากจำเลยที่ท่าเรือปลายทาง ซึ่งมิใช่ท่าเรือที่ตกลงกันไว้ภายในกำหนดเวลาและสินค้าอยู่ในสภาพปกติไม่มีความเสียหาย ก็ถือได้ว่าการปฏิบัติการชำระหนี้ของจำเลยเป็นกรณีไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ตามที่ได้ตกลงไว้กับโจทก์ หากโจทก์ได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การนั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 215
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1831-1832/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายของสินค้าจากการขนส่งทางเรือ และข้อยกเว้นเหตุสุดวิสัย
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในฐานะผู้ขนส่งโดยจำเลยที่ 1 ตกลงรับขนส่งสินค้าพิพาทไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสอง การที่มีผู้ขับเรือนำเรือลำเลียงมารับสินค้าพิพาทเพื่อขนส่งไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสองย่อมเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เมื่อสินค้าพิพาทเสียหายระหว่างการขนส่ง จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาทนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 616
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนมีว่า จำเลยที่ 1 รับขนส่งสินค้าพิพาทโดยเรือลำเลียงไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสอง แต่ระหว่างการขนส่งมีน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทซึ่งเป็นเหล็กม้วนเป็นสนิม ได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเรือมีรอยรั่วบริเวณด้านบนของกราบขวาเรือ ทำให้น้ำเข้าเรือ เป็นเพียงรายละเอียด เพราะแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงได้อย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ยังต้องรับผิดตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะพิสูจน์ได้ว่าการที่น้ำไหลเข้าไปในเรือเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าน้ำไหลเข้าเรือตามรอยรั่วดังกล่าว แต่ไหลเข้าตามรอยรั่วแห่งอื่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ไม่ถือว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่อย่างใด
สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองสำนวนมีว่า จำเลยที่ 1 รับขนส่งสินค้าพิพาทโดยเรือลำเลียงไปยังโรงงานของผู้รับตราส่งทั้งสอง แต่ระหว่างการขนส่งมีน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงเป็นเหตุให้สินค้าพิพาทซึ่งเป็นเหล็กม้วนเป็นสนิม ได้รับความเสียหาย ซึ่งผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท ส่วนที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบว่าเรือมีรอยรั่วบริเวณด้านบนของกราบขวาเรือ ทำให้น้ำเข้าเรือ เป็นเพียงรายละเอียด เพราะแม้โจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าน้ำไหลเข้าไปในเรือลำเลียงได้อย่างไร จำเลยที่ 1 ก็ยังต้องรับผิดตามสภาพแห่งข้อหาดังกล่าว เว้นแต่จำเลยที่ 1 จะพิสูจน์ได้ว่าการที่น้ำไหลเข้าไปในเรือเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังไม่ได้ว่าน้ำไหลเข้าเรือตามรอยรั่วดังกล่าว แต่ไหลเข้าตามรอยรั่วแห่งอื่น ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองรับผิดในความเสียหายของสินค้าพิพาท หากจำเลยทั้งสองไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายของสินค้าเกิดเพราะเหตุสุดวิสัย ไม่ถือว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางฟังข้อเท็จจริงเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11695-11698/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนและผู้รับประกันภัยค้ำจุน กรณีสินค้าเสียหายจากการขนส่งทางอากาศ
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับประกันภัยค้ำจุนไว้กับจำเลยที่ 1 ตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของจำเลยที่ 1 เพื่อความเสียหายอันเกิดแก่สินค้าที่จำเลยที่ 1 รับขนแก่ผู้เสียหาย และ ป.พ.พ. มาตรา 882 วรรคหนึ่ง ใช้บังคับแก่ความรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนด้วย ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันวินาศภัย สินค้าเกิดความเสียหายหลังจากจำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าให้แก่ ก. ขนส่งทางอากาศยานกรุงเทพไปถึงท่าอากาศยานเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย และเมื่อผู้รับตราส่งได้รับสินค้าจึงพบเห็นความเสียหายของสินค้า กรณีเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าวันที่ผู้รับตราส่งพบความเสียหายของสินค้าเป็นวันที่เกิดความเสียหายหรือวันวินาศภัย
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ไปรับมอบสินค้าจากโรงงานโจทก์และขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ ว. ที่ประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มียานพาหนะเป็นของตนเอง จึงว่าจ้าง ก. เป็นผู้ขนส่งแทน จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งและ ก. เป็นผู้ขนส่งคนอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทไปอีกทอดหนึ่ง แม้ความเสียหายของสินค้ามิได้เกิดขึ้นระหว่างที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลครอบครองของจำเลยที่ 1 แต่อยู่ในความดูแลของ ก. จำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท
แม้สินค้าแต่ละกล่องมีน้ำหนักมากกว่า 600 กิโลกรัม แต่กล่องกระดาษมีขนาด 105 ? 98 ? 108 เซนติเมตร พร้อมฝาปิด มีความหนาของกระดาษ 1.5 เซนติเมตร กล่องที่บรรจุสินค้าพิพาทแล้วจะปิดฝากล่องแล้วผนึกด้วยผ้าเทปกาวรอบกล่องอย่างแน่นหนา รัดรอบกล่องตามแนวตั้งและแนวนอนด้วยสายรัดพลาสติก แนวละ 2 เส้น กล่องสินค้าพิพาททุกกล่องจะวางบนแผงไม้รองสินค้า 1 แผง และยึดติดกันด้วยสายรัดพลาสติกดังกล่าว นับว่าการบรรจุและหีบห่อสินค้าพิพาทมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอและเหมาะสมแก่การขนส่งทางอากาศ
การซื้อขายสินค้าตามฟ้องเป็นสัญญาซื้อขายในเทอม DDU (Delivery Duty Unpaid) หมายความว่า ผู้ขายมีหน้าที่นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่อยู่ของผู้ซื้อ ยกเว้นหน้าที่ในการนำเข้าของสินค้าท่าปลายทาง ดังนั้นราคาสินค้ารวมค่าระวางขนส่งทั้งหมดและค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรนำสินค้าส่งออก และผู้ซื้อจะชำระราคาเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในค่าระวางขนส่งและค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรส่งออกสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ผู้ขายที่จะต้องไปดำเนินการ การที่โจทก์ไปดำเนินพิธีศุลกากรนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งด้วย โดยโจทก์มิได้นำสืบว่ามีข้อตกลงในสัญญาซื้อขายให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวด้วย โจทก์จึงชอบที่จะไปทวงถามให้ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งรับผิดชอบ จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เฉพาะมูลค่าของสินค้าพิพาทที่เสียหายเท่านั้น
ความรับผิดของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามสัญญารับขนของในฐานะผู้ขนส่งมิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น โดยเฉพาะกรณีที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน โจทก์จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ต่อเมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เมื่อใด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องคดีเท่านั้น
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ไปรับมอบสินค้าจากโรงงานโจทก์และขนส่งสินค้าไปส่งมอบให้แก่ ว. ที่ประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มียานพาหนะเป็นของตนเอง จึงว่าจ้าง ก. เป็นผู้ขนส่งแทน จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ขนส่งและ ก. เป็นผู้ขนส่งคนอื่นซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มอบหมายให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทไปอีกทอดหนึ่ง แม้ความเสียหายของสินค้ามิได้เกิดขึ้นระหว่างที่สินค้าพิพาทอยู่ในความดูแลครอบครองของจำเลยที่ 1 แต่อยู่ในความดูแลของ ก. จำเลยที่ 1 ก็ยังคงต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าในฐานะเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาท
แม้สินค้าแต่ละกล่องมีน้ำหนักมากกว่า 600 กิโลกรัม แต่กล่องกระดาษมีขนาด 105 ? 98 ? 108 เซนติเมตร พร้อมฝาปิด มีความหนาของกระดาษ 1.5 เซนติเมตร กล่องที่บรรจุสินค้าพิพาทแล้วจะปิดฝากล่องแล้วผนึกด้วยผ้าเทปกาวรอบกล่องอย่างแน่นหนา รัดรอบกล่องตามแนวตั้งและแนวนอนด้วยสายรัดพลาสติก แนวละ 2 เส้น กล่องสินค้าพิพาททุกกล่องจะวางบนแผงไม้รองสินค้า 1 แผง และยึดติดกันด้วยสายรัดพลาสติกดังกล่าว นับว่าการบรรจุและหีบห่อสินค้าพิพาทมีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอและเหมาะสมแก่การขนส่งทางอากาศ
การซื้อขายสินค้าตามฟ้องเป็นสัญญาซื้อขายในเทอม DDU (Delivery Duty Unpaid) หมายความว่า ผู้ขายมีหน้าที่นำสินค้าไปส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ ณ ที่อยู่ของผู้ซื้อ ยกเว้นหน้าที่ในการนำเข้าของสินค้าท่าปลายทาง ดังนั้นราคาสินค้ารวมค่าระวางขนส่งทั้งหมดและค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรนำสินค้าส่งออก และผู้ซื้อจะชำระราคาเมื่อได้รับมอบสินค้าแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดชอบในค่าระวางขนส่งและค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรส่งออกสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินพิธีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ผู้ขายที่จะต้องไปดำเนินการ การที่โจทก์ไปดำเนินพิธีศุลกากรนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งด้วย โดยโจทก์มิได้นำสืบว่ามีข้อตกลงในสัญญาซื้อขายให้โจทก์ดำเนินการดังกล่าวด้วย โจทก์จึงชอบที่จะไปทวงถามให้ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งรับผิดชอบ จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เฉพาะมูลค่าของสินค้าพิพาทที่เสียหายเท่านั้น
ความรับผิดของจำเลยที่ 1 เป็นไปตามสัญญารับขนของในฐานะผู้ขนส่งมิใช่ความรับผิดฐานละเมิด โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัดเมื่อถูกทวงถามแล้วเท่านั้น โดยเฉพาะกรณีที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดแทนจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน โจทก์จะเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดได้ต่อเมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ ทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่ามีการทวงถามให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้เมื่อใด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องคดีเท่านั้น