พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาต่อเรือชำรุด: สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมและอายุความตามสัญญา
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเรือทั้งสองลำจะต้องซ่อมและแก้ไขระบบต่าง ๆ โดยระบุรายละเอียดของแต่ละรายการไว้รวม 10 รายการ และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการซ่อมแซมเป็นเงิน 559,800 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดแล้ว สำหรับรายละเอียดของแต่ละรายการจะต้องใช้เงินเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 820
จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้ว ก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1 ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาท ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1แก้ไขภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600, 601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 820
จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้ว ก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1 ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาท ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1แก้ไขภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600, 601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาต่อเรือชำรุด ผู้รับจ้างต้องรับผิดตามสัญญา แม้ผู้ว่าจ้างรับมอบเรือแล้ว คดีไม่ขาดอายุความ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเรือทั้งสองลำจะต้องซ่อมและแก้ไขระบบต่าง ๆ โดยระบุรายละเอียดของแต่ละรายการไว้รวม 10 รายการและโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการซ่อมแซมเป็นเงิน559,800 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดแล้ว สำหรับรายละเอียดของแต่ละรายการจะต้องใช้เงินเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้วก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไรเหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็น การกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาทซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขภายใน 30 วันจำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600,601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไป 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามสัญญาและการยินยอมของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่า อาคารต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 รับจ้างโจทก์ก่อสร้างและส่งมอบให้โจทก์เสร็จแล้วเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่โจทก์รับมอบงาน โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแก้ไขแล้ว จำเลยที่ 1ไม่จัดการแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องให้เป็นที่เรียบร้อย โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในอาคารได้โดยสมบูรณ์ โจทก์จึงได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์ ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างที่โจทก์ได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซม ฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อความชำรุดบกพร่อง อันมีอายุความ 1 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 601 เพราะโจทก์ฟ้องบังคับตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาต่อกันอยู่อีก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ่ายค่าจ้างที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ณ.ไป จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาได้ การฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์ ข้อ 2ระบุว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้า เป็นการที่จำเลยที่ 3 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในกรณีที่จะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันแล้ว ส่วนข้อความตอนท้ายของสัญญาข้อ 2 ที่ระบุว่าโดยเพียงโจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้านั้นมิใช่ข้อสาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่า /หากหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาข้อ 2 เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา700 วรรคสอง ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามสัญญาค้ำประกัน
หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์ ข้อ 2ระบุว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้า เป็นการที่จำเลยที่ 3 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในกรณีที่จะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันแล้ว ส่วนข้อความตอนท้ายของสัญญาข้อ 2 ที่ระบุว่าโดยเพียงโจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้านั้นมิใช่ข้อสาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่า /หากหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นของสัญญาข้อ 2 เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา700 วรรคสอง ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6018/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างก่อสร้างและขอบเขตความยินยอมของผู้ค้ำประกัน
โจทก์ฟ้องว่า อาคารต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 รับจ้างโจทก์ก่อสร้างและส่งมอบให้โจทก์เสร็จแล้วเกิดชำรุดบกพร่องเสียหายภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่โจทก์รับมอบงาน โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1ซ่อมแซมแก้ไขแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่จัดการแก้ไขซ่อมแซมความชำรุดบกพร่องให้เป็นที่เรียบร้อย โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในอาคารได้โดยสมบูรณ์ โจทก์จึงได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมจนเสร็จสมบูรณ์ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าจ้างที่โจทก์ได้จ้าง ณ. ทำการซ่อมแซมฟ้องของโจทก์มิใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อความชำรุดบกพร่องอันมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 301 เพราะโจทก์ฟ้องบังคับตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ซึ่งโจทก์และจำเลยที่ 1ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญาต่อกันอยู่อีก เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ่ายค่าจ้างที่โจทก์ได้ชำระให้แก่ ณ. ไป จำเลยที่ 1จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาได้การฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่) หนังสือสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ทำไว้ต่อโจทก์ ข้อ 2ระบุว่า จำเลยที่ 3 ยอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่โจทก์ได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 โดยเพียงแต่โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้า เป็นการที่จำเลยที่ 3 ยินยอมด้วยล่วงหน้าในกรณีที่จะมีการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือว่าการที่โจทก์ผ่อนเวลาตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันแล้ว ส่วนข้อความตอนท้ายของสัญญาข้อ 2 ที่ระบุว่าโดยเพียงโจทก์ติดต่อแจ้งให้จำเลยที่ 3 ทราบโดยไม่ชักช้านั้นมิใช่ข้อสาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าหากมิได้ปฏิบัติตามแล้วจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผลเพราะข้อความตอนต้นของสัญญาข้อ 2 เป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่หลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคสอง ย่อมต้องร่วมรับผิดด้วยตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5891/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนค่าจ้างจากการผิดสัญญาเหมา: ใช้ 10 ปี มิใช่ 1 ปี ที่เป็นอายุความความชำรุดบกพร่อง
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกคืนเงินค่าจ้างที่ได้จ่ายให้จำเลยเนื่องจากจำเลยผิดสัญญารับจ้างก่อสร้างและขยายถนนให้โจทก์มิใช่ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในการทำงานของจำเลย ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 601 เมื่อการฟ้องเรียกคืนเงินค่าจ้างไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5693/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการซ่อมแซมงานจ้างทำของ เปลี่ยนเป็นฟ้องตามข้อตกลงใหม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นปีหนึ่ง นับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น แต่เมื่อความชำรุดบกพร่องเกิดขึ้นแล้ว โจทก์ผู้ว่าจ้างแจ้งให้จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างทำการแก้ไขซ่อมแซม จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ทำการแก้ไขซ่อมแซมโดยแจ้งค่าใช้จ่ายให้จำเลยที่ 1 ทราบ จึงเกิดเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ได้ทำการแก้ไขซ่อมแซมตามที่จำเลยที่ 1 ตกลงแล้วและได้มาฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายดังกล่าว จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ฟ้องให้รับผิดในความชำรุดบกพร่อง แต่เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลง ซึ่งมิได้มีอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันจากการขนส่งสินค้าและการประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอก คำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57 (3) ป.วิ.พ. ที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี
หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3 จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลงการที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2)
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2
จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3 จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลงการที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของผู้รับขนส่ง ตัวแทน และลูกจ้าง กรณีสินค้าตกหล่นจากเรือ
คำร้องของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 อ้างเพียงว่า จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ร่วมกับบุคคลภายนอกคำร้องไม่ได้แสดงเหตุว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าหากศาลพิจารณาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 แพ้คดีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 57(3)ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่จะเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาในคดี หลังจากศาลชั้นต้นกำหนดหน้าที่นำสืบแล้ว จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ ขอให้โจทก์มีหน้าที่นำสืบโดยให้ถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นคำแถลงโต้แย้ง หากศาลเห็นว่าคำสั่งเรื่องหน้าที่นำสืบที่สั่งไว้เดิมถูกต้อง เพื่อเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาต่อไปนั้น ศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องของ จำเลยทั้งสามโดยไม่มีข้อแม้ไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2) จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปรับเงินค่าจ้างบรรทุกสินค้ามาทั้งหมดแล้วหักเงินส่วนที่จำเลยที่ 1 จะได้ออก ส่วนที่เหลือจึงจ่ายให้จำเลยที่ 2 ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีผลประโยชน์ร่วมกันในการที่ใช้เรือลำเกิดเหตุรับจ้างบรรทุกของ จำเลยที่ 1 และที่ 2จึงต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 มีอาชีพรับจ้างบรรทุกสินค้าโดยถ่ายจากเรือใหญ่มาใส่เรือที่จำเลยที่ 3 ควบคุมอยู่เป็นประจำ และบริเวณที่ขนถ่ายสินค้าย่อมจะต้องมีเรือบรรทุกสินค้าไม่ว่าใหญ่หรือเล็กแล่นผ่านไปมาเป็นประจำ ย่อมทำให้เกิดคลื่นใหญ่เล็กเป็นปกติธรรมดา จำเลยที่ 3จึงต้องใช้ความระมัดระวังหาทางป้องกันมิให้สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำเมื่อเกิดคลื่นทำให้เรือโคลงหรือเอียงลง การที่สินค้าเลื่อนหล่นตกน้ำ แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 3 ประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควร จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจ้างทำของ เริ่มนับแต่วันพบความชำรุด ไม่ใช่วันทราบเรื่อง
อายุความเกี่ยวกับการจ้างทำของนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฎขึ้น กล่าวคือนับแต่วันที่ตรวจพบความชำรุดบกพร่อง หาใช้นับแต่วันที่อธิบดีกรมโจทก์ได้รับรายงานถึงความชำรุดบกพร่อง หรือหาใช่นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นคดีละเมิดไม่ เพราะผู้ที่พึงต้องใช้ค่าเสียหายในกรณีนี้ก็คือผู้รับจ้างนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความจ้างทำของ: นับแต่วันตรวจพบความชำรุด ไม่ใช่วันรับรายงาน
อายุความเกี่ยวกับการจ้างทำของนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น กล่าวคือนับแต่วันที่ตรวจพบความชำรุดบกพร่อง หาใช่นับแต่วันที่อธิบดีกรมโจทก์ได้รับรายงานถึงความชำรุดบกพร่อง หรือหาใช่นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นคดีละเมิดไม่ เพราะผู้ที่พึงต้องใช้ค่าเสียหายในกรณีนี้ก็คือผู้รับจ้างนั่นเอง