คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 601

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องสัญญาจ้างทำของ: เริ่มนับแต่วันตรวจพบความชำรุดบกพร่อง ไม่ใช่นับแต่วันรู้ตัวผู้รับผิด
อายุความเกี่ยวกับการฟ้องผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างทำของนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าห้ามฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น กล่าวคือ นับแต่วันที่ตรวจพบความชำรุดบกพร่องหาใช่นับแต่เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นคดีละเมิดไม่ เพราะผู้ที่พึงต้องใช้ค่าเสียหายก็คือผู้รับจ้างนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าจ้างซ่อมแซมจากข้อสัญญา: ใช้ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันไว้เป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164เดิม หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความหนึ่งปีตาม มาตรา 601 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3184/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผิดสัญญาจ้าง: ใช้ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปี หากสัญญาตกลงเรื่องการแก้ไขงานชำรุด
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องของสิ่งก่อสร้างตามที่โจทก์จำเลยได้ทำสัญญากันไว้เป็นเรื่องฟ้องให้รับผิดตามข้อสัญญาที่ผูกพันกันอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 เดิม หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่องอันมีอายุความหนึ่งปีตาม มาตรา 601 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างผิดนัด: ค่าเสียหายคือส่วนต่างราคาจ้างใหม่, ไม่หักมูลค่างานค้าง
สัญญาจ้างมีข้อความว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางจะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้ และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ให้แล้วเสร็จ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องประมูลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคา1,800,000 บาท แพงกว่าราคาเดิมที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินจำนวน 375,000 บาทที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากการปฏิบัติผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามข้อสัญญาดังกล่าว และเงินจำนวน1,800,000 บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปเพื่อทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ให้เสร็จตามสัญญาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายหรือค่าจ้างที่จำเลยที่ 1ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นได้
จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดบกพร่องของการที่ทำ ตามมาตรา 601 มาปรับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาทำงานไม่แล้วเสร็จ ผู้รับจ้างต้องชดใช้ค่าเสียหายส่วนต่างราคาประมูลใหม่
สัญญาจ้างมีข้อความว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางจะทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาได้และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานงวดที่ 1 และงวดที่ 2 ให้แล้วเสร็จ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต้องประมูลว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคา1,800,000 บาท แพงกว่าราคาเดิมที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินจำนวน 375,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น จึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1 ได้รับโดยตรงจากการปฏิบัติผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์ต้องรับผิดชดใช้ให้แก่จำเลยที่ 1ตามข้อสัญญาดังกล่าว และเงินจำนวน 1,800,000 บาท ซึ่งเป็นค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปเพื่อทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ให้เสร็จตามสัญญาเช่นนี้ ย่อมไม่อาจนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายหรือค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นได้ จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164จะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับการชำรุดบกพร่องของการที่ทำ ตามมาตรา 601 มาปรับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผิดสัญญาจ้างเหมา: ค่าเสียหายคือส่วนต่างราคาประมูลใหม่, อายุความ 10 ปี
สัญญาจ้างข้อ 2 ระบุว่า ถ้าโจทก์ผู้รับจ้างไม่มีทางทำงาน ให้แล้วเสร็จตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ ชดใช้ได้ตามกฎหมาย เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา เป็นเหตุให้จำเลย ที่ 1ต้องประมูลว่าจ้างห้าง ห. ทำงานต่อจากที่โจทก์ทำค้างไว้ในราคาแพงกว่าราคาที่จำเลยที่ 1 ตกลงกับโจทก์ เงินที่จำเลยที่ 1ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจึงเป็นค่าเสียหายจำนวนน้อยที่สุดที่จำเลยที่ 1ได้รับโดยตรงจากการผิดสัญญาของโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 ตามข้อกำหนดสัญญาจ้าง โดย จะนำค่าของงานที่โจทก์ทำค้างไว้มาหักจากค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชำระค่าเสียหายอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จ อายุความใช้สิทธิเรียกร้องเช่นนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 จะนำเอาอายุความเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของการงานที่ทำตาม ป.พ.พ. มาตรา 601มาปรับกับกรณีตามฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5920/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้าง: ลูกหนี้ละเสียอายุความ ผู้ค้ำประกันยังคงต้องรับผิด
โจทก์รับมอบงานการก่อสร้างอาคารพิพาทจากจำเลยแล้ว ต่อมากรรมการควบคุมงานก่อสร้างและรับมอบงานก่อสร้างอาคารพิพาทได้ตรวจพบการชำรุดบกพร่องของอาคารพิพาท โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า1 ปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้จะมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุดบกพร่องตามที่โจทก์เรียกร้อง แต่เป็นการยอมรับหลังจากอายุความครบบริบูรณ์แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ จำเลยที่ 1 จึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความของลูกหนี้ชั้นต้นไม่ลบล้างสิทธิของผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5920/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้าง: การละเสียสิทธิอายุความของลูกหนี้ชั้นต้นไม่ผูกพันผู้ค้ำประกัน
โจทก์รับมอบงานการก่อสร้างอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2525 ต่อมาวันที่ 24 มีนาคม 2526 โจทก์ตรวจพบการชำรุดบกพร่องของอาคารพิพาท โจทก์ต้องฟ้องจำเลยทั้งสามภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันการชำรุด บกพร่องได้ปรากฏขึ้น คือวันที่ 24 มีนาคม 2527 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้จำเลยที่ 1 ส่งช่าง ไปซ่อมแซมอาคารพิพาท เมื่อวันที่ 22-25 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุด บกพร่อง และเป็นการยอมรับหลังจากอายุความครบบริบูรณ์แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ละเสีย ซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ดังนี้ จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้น ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5920/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้าง: ลูกหนี้ชั้นต้นละเสียอายุความ แต่ผู้ค้ำประกันยังยกอายุความได้
โจทก์รับมอบงานการก่อสร้างอาคารพิพาทจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่12 กรกฎาคม 2525 ต่อมาวันที่ 24 มีนาคม 2526 โจทก์ตรวจพบการชำรุดบกพร่องของอาคารพิพาท โจทก์ต้องฟ้องจำเลยทั้งสามภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันการชำรุด บกพร่องได้ปรากฏขึ้น คือวันที่ 24 มีนาคม 2527โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2528 คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้จำเลยที่ 1 ส่งช่าง ไปซ่อมแซมอาคารพิพาท เมื่อวันที่22-25 เมษายน 2527 ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุด บกพร่อง และเป็นการยอมรับหลังจากอายุความครบบริบูรณ์แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ละเสีย ซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ดังนี้ จำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้น ยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ แต่จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันยกอายุความขึ้นต่อสู้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5920/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้าง: การละเสียซึ่งอายุความของลูกหนี้ชั้นต้นไม่ผูกพันผู้ค้ำประกัน
โจทก์รับมอบงานการก่อสร้างอาคารพิพาทจากจำเลยแล้ว ต่อมากรรมการควบคุมงานก่อสร้างและรับมอบงานก่อสร้างอาคารพิพาทได้ตรวจพบการชำรุด บกพร่องของอาคารพิพาท โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันการชำรุด บกพร่องได้ปรากฏขึ้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกว่า1 ปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้จะมีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมรับผิดในความชำรุด บกพร่องตามที่โจทก์เรียกร้อง แต่เป็นการยอมรับหลังจากอายุความครบบริบูรณ์แล้วถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ จำเลยที่ 1จึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้ การละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความของลูกหนี้ชั้นต้น ไม่ลบล้างสิทธิของผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
of 6