พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6153/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันและผลของการทำหนังสือรับสภาพหนี้ใหม่ การแปลงหนี้ และอายุความ
จำเลยที่ 4 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 โดยอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินและค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อการทำหนังสือรับสภาพหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตามสิทธิเรียกร้องเป็นเพียงเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันจะทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ดังนี้ จำเลยที่ 4 จึงยังต้องผูกพันในฐานะตามสัญญาค้ำประกันที่ตนทำไว้กับโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับหนี้โดยจำเลยในชั้นพิจารณา และผลกระทบต่อการนำสืบพยานของโจทก์
คดีมีการชี้สองสถาน เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานต่อศาลก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 15 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 (เดิม) จึงไม่มีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานมาสืบ เว้นแต่เมื่อศาลเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีและเพื่อประโยชน์ แห่งความยุติธรรมจำเป็นที่จะต้องนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 183 ทวิ (เดิม)
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ เอกสารค้ำประกันของจำเลยที่ 2ท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ในขณะที่ยังไม่มีการกรอกข้อความ แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะไม่มีสิทธินำสืบพยาน แต่ในระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน กรณีถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างไม่มีพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างตามฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของตน แต่คำฟ้องและคำให้การของทั้งสองฝ่ายยังอยู่ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป การที่โจทก์ได้แถลงในวันนัดสืบพยานจำเลยว่าหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ตามฟ้องคดีนี้และหนี้อีกคดีหนึ่งเป็นเงิน 3,000,000 บาท เมื่อหักหนี้คดีอื่นออกแล้วคงเหลือเงินที่จะชำระหนี้คดีนี้อีก 2,000,000 บาทเศษ ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 2 แล้วยอมรับว่าได้ทำเอกสารดังกล่าวถึงโจทก์จริง จึงต้องถือว่าในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้โจทก์ตามฟ้องและยอมชดใช้หนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องของตนในส่วนนี้ และเอกสารดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลยที่ 2
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เพราะโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องของตนซึ่งไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนี้ของจำเลยที่ 1 ระงับสิ้นไปตามกฎหมาย ดังนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 698
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยอื่นรับผิดตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 รวมต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ เอกสารค้ำประกันของจำเลยที่ 2ท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม เพราะจำเลยที่ 2 ลงชื่อไว้ในขณะที่ยังไม่มีการกรอกข้อความ แม้ในชั้นพิจารณาโจทก์จะไม่มีสิทธินำสืบพยาน แต่ในระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 แถลงไม่ติดใจสืบพยาน กรณีถือได้ว่าทั้งโจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างไม่มีพยานหลักฐานมาสืบสนับสนุนข้ออ้างตามฟ้องและข้อต่อสู้ตามคำให้การของตน แต่คำฟ้องและคำให้การของทั้งสองฝ่ายยังอยู่ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป การที่โจทก์ได้แถลงในวันนัดสืบพยานจำเลยว่าหลังจากฟ้องคดีนี้แล้วจำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือถึงโจทก์ขอชำระหนี้ตามฟ้องคดีนี้และหนี้อีกคดีหนึ่งเป็นเงิน 3,000,000 บาท เมื่อหักหนี้คดีอื่นออกแล้วคงเหลือเงินที่จะชำระหนี้คดีนี้อีก 2,000,000 บาทเศษ ศาลชั้นต้นสอบถามจำเลยที่ 2 แล้วยอมรับว่าได้ทำเอกสารดังกล่าวถึงโจทก์จริง จึงต้องถือว่าในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ได้ยอมรับข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้โจทก์ตามฟ้องและยอมชดใช้หนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 2,000,000 บาทเศษ ตามที่ระบุไว้ในเอกสารจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1) โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนคำฟ้องของตนในส่วนนี้ และเอกสารดังกล่าวมีผลผูกพันจำเลยที่ 2
แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้น เพราะโจทก์ไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยาน จึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบสนับสนุนคำฟ้องของตนซึ่งไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หนี้ของจำเลยที่ 1 ระงับสิ้นไปตามกฎหมาย ดังนี้จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไปด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหนังสือค้ำประกันสัญญา และความรับผิดของเจ้าหน้าที่ผู้คืน แม้ธนาคารคืนหลักประกันแล้ว
แม้ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าจ้างจะได้รับการเวนคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างซึ่งเป็นเอกสารแห่งหนี้ เข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม ว่า หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อผู้รับจ้างยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุประการอื่น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ถึง 701 โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างได้ก็ตาม แต่หากธนาคารคืนหลักทรัพย์ที่ผู้รับจ้างนำมาวางเป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันมาคืนธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันโดยเฉพาะคดีนี้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโจทก์คือจำเลยทั้งสามคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้รับจ้างไปเองยากที่โจทก์จะให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิด ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยทั้งสามจึงต้องมีส่วนรับผิดตามสัญญาว่าจ้างร่วมกับผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4123/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันสัญญาว่าจ้าง: การคืนหนังสือค้ำประกันไม่ใช่เหตุระงับหนี้เด็ดขาด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
แม้ผู้ค้ำประกันสัญญาว่าจ้างจะได้รับการเวนคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างซึ่งเป็นเอกสารแห่งหนี้ เข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ.มาตรา 327วรรคสาม ว่า หนี้เป็นอันระงับสิ้นไปแล้วก็ตาม แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาด เมื่อผู้รับจ้างยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญาว่าจ้างแก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าหนี้ดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุประการอื่น และกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความระงับสิ้นไปแห่งการค้ำประกันตามป.พ.พ.มาตรา 698 ถึง 701 โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดตามหนังสือค้ำประกันสัญญาว่าจ้างได้ก็ตาม แต่หากธนาคารคืนหลักทรัพย์ที่ผู้รับจ้างนำมาวางเป็นหลักประกัน เนื่องจากผู้รับจ้างนำหนังสือค้ำประกันมาคืน ธนาคารมีสิทธิที่จะปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน โดยเฉพาะคดีนี้เจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโจทก์คือจำเลยทั้งสามคืนหนังสือค้ำประกันให้แก่ผู้รับจ้างไปเองยากที่โจทก์จะให้ธนาคารผู้ค้ำประกันรับผิด ถือได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายแล้วจำเลยทั้งสามจึงต้องมีส่วนรับผิดตามสัญญาว่าจ้างร่วมกับผู้รับจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่ โจทก์ยังคงมีสิทธิฟ้องคดีเดิมได้ หากการถอนฟ้องไม่ได้มีเจตนาสละสิทธิ
จำเลยร่วมและ ล. ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์มีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล. ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวต่อศาลแต่ได้ถอนฟ้องโดยคำร้องขอถอนฟ้องได้ระบุว่า เนื่องจากจำเลยร่วมและ ล.ตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน โดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยร่วมและ ล. ต่อไปอีก โจทก์จึงขอถอนฟ้องต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันโดยบรรยายฟ้องขอให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยร่วมและล.อยู่ หาใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไปไม่ แม้โจทก์ถอนฟ้องคดีหลังโดยระบุในคำร้องว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ซึ่งได้ความว่าโจทก์ถอนฟ้องก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ดังนี้ จึงไม่อาจฟังว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4094/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องแล้วฟ้องใหม่: สิทธิของโจทก์ยังคงอยู่หากการถอนฟ้องมิได้มีเจตนาสละสิทธิ
จำเลยร่วมและ ล.ได้กู้ยืมเงินจากโจทก์มีจำเลยเป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ ล.ให้ชำระหนี้เงินกู้ยืมดังกล่าวต่อศาล แต่ได้ถอนฟ้องโดยคำร้องขอถอนฟ้องได้ระบุว่า เนื่องจากจำเลยร่วมและ ล.ตกลงชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน โดยโจทก์ไม่ติดใจเรียกร้องจากจำเลยร่วมและ ล.ต่อไปอีก โจทก์จึงขอถอนฟ้อง ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันโดยบรรยายฟ้องขอให้ชำระหนี้ส่วนที่เหลือ แสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังติดใจเรียกร้องหนี้ส่วนที่เหลือจากจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยร่วมและ ล.อยู่ หาใช่ยินยอมให้หนี้ส่วนที่เหลือระงับสิ้นไปไม่ แม้โจทก์ถอนฟ้องคดีหลังโดยระบุในคำร้องว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะดำเนินคดีแก่จำเลยต่อไป ซึ่งได้ความว่าโจทก์ถอนฟ้องก็เนื่องจากใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีผิดพลาด ดังนี้ จึงไม่อาจฟังว่าโจทก์สละสิทธิในการดำเนินคดีแก่จำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องจำเลยใหม่ในเรื่องเดิมได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องผู้กู้มีผลลบล้างกระบวนการสู้คดีเรื่องอายุความ ทำให้สิทธิเรียกร้องยังคงมีอยู่และผู้ค้ำประกันยังคงมีภาระผูกพัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1) ให้ถือว่า บรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วยก็ตาม แต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้ว ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 แห่ง ป.วิ.พ.ที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆ อันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่า เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้กู้ขาดอายุความย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 4 ผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว และจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการถอนฟ้องต่อผู้ค้ำประกัน: การยกอายุความของผู้กู้ถูกลบล้างเมื่อถอนฟ้อง ทำให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิด
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้และขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกัน มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันไม่ได้ แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 59(1) ให้ถือว่าบรรดากระบวนพิจารณาซึ่งได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนหนึ่งนั้นให้ถือว่าได้ทำโดยหรือทำต่อคู่ความร่วมคนอื่น ๆ ด้วยก็ตามแต่หลังจากที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้ โจทก์ได้ขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1ศาลชั้นต้นอนุญาต และจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ออกจากสารบบความแล้ว ผลย่อมเป็นไปตามมาตรา 176 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่ว่าการถอนคำฟ้องย่อมมีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องนั้น รวมทั้งกระบวนพิจารณาอื่น ๆอันมีมาต่อภายหลังยื่นคำฟ้องและกระทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นคำฟ้องเลย ดังนั้นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การยกอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้เงินขึ้นต่อสู้โจทก์ ถือว่าเป็นอันลบล้างไปด้วยผลของการถอนฟ้องตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเท่ากับว่าไม่มีกำหนดอายุความเรื่องสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ของจำเลยที่ 1 ที่จะนำมาพิจารณาได้อีก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมาว่า เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กู้ขาดอายุความย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 4ผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าวด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินไปจากโจทก์จำนวน 1,000,000 บาทยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี โดยจำเลยที่ 4ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ตามสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวและจำเลยที่ 1 ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว จำเลยที่ 4 ยังไม่เคยชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้แก่โจทก์ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1ตกลงเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยกันหลายครั้งโดยจำเลยที่ 4 มิได้ตกลงยินยอมด้วยนั้นมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้ตามสัญญากู้เงินระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ระงับสิ้นไป และจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4909/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันความเสียหายจากการทำงานของลูกจ้าง: ความรับผิดในอนาคตและขอบเขต
ตามสัญญาค้ำประกันข้อ 2 ที่ว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดร่วมกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ให้แก่บริษัท ในการที่บริษัทจะได้รับความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใด อันอาจเกิดขึ้นจากการกระทำของลูกจ้างในการปฏิบัติตามหน้าที่การงานทั้งปวงนั้น เห็นได้ชัดว่าความเสียหายที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นความเสียหายที่จะพึงเกิดขึ้นในอนาคต หาใช่ความเสียหายที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนแล้วไม่
ส่วนสัญญาค้ำประกัน ข้อ 3 ที่ว่า การที่บริษัทยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไป แม้เมื่อลูกจ้างได้ทำผิดหน้าที่และเกิดความรับผิดขึ้นแล้วก็ดีหาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่นั้นหมายความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างทำความเสียหายในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันอยู่ แต่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ทำงานต่อไปหรือไม่ได้บังคับเอาค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ ยังไม่พ้นจากความรับผิด หาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายย้อนหลังไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันไม่
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน2535 เพื่อให้จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ และต่อมาโจทก์ก็ได้ตกลงจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ประกันหนี้ในอนาคต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันจึงผูกพันจำเลยที่ 3เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างโจทก์นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2536 ถึงเดือนกันยายน 2537 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
ส่วนสัญญาค้ำประกัน ข้อ 3 ที่ว่า การที่บริษัทยังคงให้ลูกจ้างทำงานต่อไป แม้เมื่อลูกจ้างได้ทำผิดหน้าที่และเกิดความรับผิดขึ้นแล้วก็ดีหาทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันไม่นั้นหมายความว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างทำความเสียหายในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ค้ำประกันอยู่ แต่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ทำงานต่อไปหรือไม่ได้บังคับเอาค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันก็ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่ ยังไม่พ้นจากความรับผิด หาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายย้อนหลังไปถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญาค้ำประกันไม่
จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในวันที่ 9 พฤศจิกายน2535 เพื่อให้จำเลยที่ 1 เข้าทำงานกับโจทก์ และต่อมาโจทก์ก็ได้ตกลงจ้างจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2535 ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ประกันหนี้ในอนาคต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 681 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันจึงผูกพันจำเลยที่ 3เมื่อจำเลยที่ 1 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกจ้างโจทก์นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2536 ถึงเดือนกันยายน 2537 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากทรัพย์จำนองในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันสิทธิในการได้รับชำระหนี้บางส่วน
ระหว่างพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองคดีนี้เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวน2,528,918.34 บาท กรณีย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 27, 95 และ 96 โจทก์ซึ่งอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกับบริษัทจึงย่อมปฏิบัติการขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ดุจกันโจทก์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ประสงค์โดยไม่ได้ปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์คดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,528,918.34 บาทแล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้แล้วบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 จากการที่จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ฉะนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 จึงย่อมได้รับประโยชน์ในผลของการชำระหนี้นั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 698