พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7809/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากทรัพย์จำนองในคดีล้มละลายของผู้ค้ำประกันสิทธิในการได้รับชำระหนี้บางส่วน
ระหว่างพิจารณาคดีนี้จำเลยที่ 1 ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองคดีนี้เฉพาะในส่วนของจำเลยที่ 1 จำนวน2,528,918.34 บาท กรณีย่อมต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 27, 95 และ 96 โจทก์ซึ่งอ้างว่าได้ฟ้องจำเลยทั้งสามร่วมกับบริษัทจึงย่อมปฏิบัติการขอรับชำระหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีดังกล่าวได้ดุจกันโจทก์ไม่มีอำนาจนำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 ซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไปชำระหนี้ในคดีที่โจทก์ประสงค์โดยไม่ได้ปฏิบัติการไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อโจทก์คดีนี้ได้รับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,528,918.34 บาทแล้วก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีนี้แล้วบางส่วนจากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองในส่วนของจำเลยที่ 1 จากการที่จำเลยที่ 1 ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ฉะนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 จึงย่อมได้รับประโยชน์ในผลของการชำระหนี้นั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากไม่ได้ตกลงด้วย
จำเลยที่1ผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์จึงได้ทำหนังสือยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แม้จะระบุว่าเป็นหนังสือรับสภาพหนี้แต่ข้อความในหนังสือระบุว่าตามที่จำเลยที่1ได้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์นั้นจำเลยที่1ได้คืนรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ในสภาพเสียหายจึงยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน16,350บาทให้แก่โจทก์โดยผ่อนชำระเป็นงวดๆอันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามข้อตกลงใหม่แห่งหนังสือดังกล่าวนั่นเองจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850ดังนั้นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมจึงระงับไปและได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นตามมาตรา852เมื่อจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อตามมูลหนี้เดิมไม่ได้ตกลงในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจำเลยที่2จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องเดิม ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิดหากไม่ตกลง
จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์จึงได้ทำหนังสือยอมใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แม้จะระบุว่าเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ แต่ข้อความในหนังสือระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 1 ได้เช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไปจากโจทก์นั้น จำเลยที่ 1ได้คืนรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ในสภาพเสียหายจึงยอมชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน 16,350 บาท ให้แก่โจทก์ โดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ อันเป็นการตกลงระงับข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามข้อตกลงใหม่แห่งหนังสือดังกล่าวนั่นเองจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ดังนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อเดิมจึงระงับไป และได้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นตามมาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อตามมูลหนี้เดิมไม่ได้ตกลงในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นด้วยจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้จำนอง ผู้ค้ำประกัน และการบังคับจำนอง
ป.พ.พ. มาตรา 733 ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นได้
แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าถ้าในการบังคับจำนองได้เงินไม่พอจำนวนเงินที่ค้างชำระจำนวนอยู่เท่าใด ผู้จำนองยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวน แต่หนี้ที่ น.ลูกหนี้ค้างโจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วไม่พอชำระนั้นเป็นเวลากว่า 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ลูกหนี้อีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 แต่ยังคงรับผิดตามทรัพย์ที่จำเลยจำนอง ซึ่งยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ (ไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ยังขาดอยู่หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว)
แม้ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าถ้าในการบังคับจำนองได้เงินไม่พอจำนวนเงินที่ค้างชำระจำนวนอยู่เท่าใด ผู้จำนองยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวน แต่หนี้ที่ น.ลูกหนี้ค้างโจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วไม่พอชำระนั้นเป็นเวลากว่า 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ลูกหนี้อีกต่อไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 698 แต่ยังคงรับผิดตามทรัพย์ที่จำเลยจำนอง ซึ่งยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ (ไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ส่วนที่ยังขาดอยู่หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์จำนองแล้ว)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจำนองนอกเหนือจากมาตรา 733 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการหลุดพ้นจากความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นพิเศษนอกเหนือจากที่มาตรา733บัญญัติไว้ได้เช่นในกรณีที่ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วยังได้เงินไม่พอใช้หนี้ผู้จำนองยอมรับผิดให้ผู้รับจำนองยึดทรัพย์อื่นของตนมาใช้หนี้จนครบเป็นต้นข้อตกลงนี้ย่อมมีผลบังคับกันได้ตามกฎหมายไม่ตกเป็นโมฆะ สัญญาจำนองที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ระบุว่าถ้าในการบังคับจำนองได้เงินไม่พอจำนวนเงินที่ค้างชำระจำนวนอยู่เท่าใดผู้จำนองยอมรับผิดชอบใช้เงินที่ขาดจำนวนนั้นให้แก่ผู้รับจำนองจนครบจำนวนแต่หนี้ที่น. ลูกหนี้ค้างโจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วไม่พอชำระนั้นเป็นเวลากว่า10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอาแก่ลูกหนี้อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา698แต่ยังคงรับผิดตามทรัพย์ที่จำเลยจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงนอกเหนือจากมาตรา 733 และอายุความบังคับคดี ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733ไม่ใช่บทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนผู้จำนองอาจตกลงกับผู้รับจำนองเป็นประการอื่นได้ แม้ว่าจะมีข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองยกเว้นบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา733ก็ตามแต่หนี้ที่ น.ลูกหนี้ค้างชำระแก่โจทก์หลังจากบังคับคดีแล้วเป็นเวลากว่า10ปีนับแต่วันพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้อง น. โจทก์จึงหมดสิทธิที่จะบังคับเอากับ น. อีกต่อไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา698แต่ยังคงต้องรับผิดตามทรัพย์จำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันยังไม่ระงับ หนี้หลักยังไม่สิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืน เป็นเพราะโจทก์ปฏิบัตตามข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่า เมื่อเช็คชำระหนี้จำนวนเงิน4,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกชำระหนี้ให้โจทก์ถึงกำหนดชำระ ให้โจทก์นำเช็คพร้อมหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ไปเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คของจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1ใช้อุบายหลอกลวงขอรับหนังสือค้ำประกันไป แต่ไม่ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้ตามข้อตกลง หาใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3 ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ได้รู้เห็นกับจำเลยที่ 1ที่ 2 หลอกลวงโจทก์ตลอดจนถึงข้อตกลงให้ไปแลกแคชเชียร์เช็คก็ตาม หาใช่เป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 3 ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้ของจำเลยที่ 1ยังมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในวงเงินไม่เกิน 4,000,000 บาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนหนังสือค้ำประกันไม่ใช่การปลดหนี้ หากเกิดจากการถูกหลอกลวงให้มอบเอกสารคืน
การที่จำเลยที่ 3 ได้รับหนังสือค้ำประกันสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 3 ทำประกันไว้ต่อโจทก์คืน เป็นเพราะโจทก์ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งระบุว่า เมื่อเช็คชำระหนี้จำนวนเงิน 4,000,000บาท ที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ออกชำระหนี้ให้โจทก์ถึงกำหนดชำระให้โจทก์นำเช็คพร้อมหนังสือค้ำประกันของจำเลยที่ 3 ไปเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คของจำเลยที่ 1 ที่ 2 แต่ถูกจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวงขอรับหนังสือค้ำประกันไป แต่ไม่ได้มอบแคชเชียร์เช็คให้ตามข้อตกลง หาใช่เป็นการที่โจทก์ปลดหนี้ค้ำประกันให้แก่จำเลยที่ 3ด้วยการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ไม่ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ได้รู้เห็นกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 หลอกลวงโจทก์ตลอดจนถึงข้อตกลงให้ไปแลกแคชเชียร์เช็คก็ตาม หาใช่เป็นการที่โจทก์แสดงเจตนาต่อจำเลยที่ 3 ว่าจะปลดหนี้ให้ หนี้ของจำเลยที่ 1ยังมิได้ระงับสิ้นไป จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจหลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยในวงเงินไม่เกิน4,000,000 บาท แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อและการผ่อนผันเวลาชำระหนี้ การยึดรถและการกลับสู่สภาพเดิม
การที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อตลอดมาทุกงวด โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ตามพฤติการณ์แสดงว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในการชำระค่าเช่าซื้อแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสำคัญอีกต่อไป จึงนำเอาข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อมาใช้บังคับโดยถือว่าโจทก์ยอมผ่อนผันเวลาที่สัญญาจะเลิกกันออกไปอีก และถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีในวันที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ในกรณีดังกล่าวหากโจทก์ต้องการจะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ก่อน โจทก์เพียงแต่มีหนังสือถึงจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อเกี่ยวกับค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาล่าช้าเท่านั้น หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายโดยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันก่อนแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าซื้อ แต่การที่โจทก์ได้ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใดเลยเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ติดตามยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 มาครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์อยู่แสดงว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ สัญญายังมิได้เลิกกันในช่วงนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อจะต้องคืนรถยนต์เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อกลับคืนสู่ฐานะเดิม และจะต้องใช้เงินเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในการใช้รถยนต์ของโจทก์ในระหว่างที่ตนยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนตามควรค่าแห่งการนั้น ๆด้วย
ถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ติดตามยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 มาครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์อยู่แสดงว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ สัญญายังมิได้เลิกกันในช่วงนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อจะต้องคืนรถยนต์เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อกลับคืนสู่ฐานะเดิม และจะต้องใช้เงินเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในการใช้รถยนต์ของโจทก์ในระหว่างที่ตนยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนตามควรค่าแห่งการนั้น ๆด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาเช่าซื้อจากพฤติการณ์การชำระค่าเช่าซื้อเกินกำหนด และการยึดรถยนต์ ย่อมทำให้เกิดผลผูกพันตามสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อตลอดมาทุกงวด โจทก์ก็ยินยอมรับไว้โดยมิได้ทักท้วง ตามพฤติการณ์แสดงว่า หลังจากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในการชำระค่าเช่าซื้อแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาเป็นสำคัญอีกต่อไป จึงนำเอาข้อกำหนดในสัญญาเช่าซื้อมาใช้บังคับโดยถือว่าโจทก์ยอมผ่อนผันเวลาที่สัญญาจะเลิกกันออกไปอีก และถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีในวันที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องชำระค่าเช่าซื้อหาได้ไม่ ในกรณีดังกล่าวหากโจทก์ต้องการจะเลิกสัญญาจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1ชำระค่าเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ก่อนโจทก์เพียงแต่มีหนังสือถึงจำเลยทั้งสามชำระหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อเกี่ยวกับค่าเสียหายที่โจทก์ขาดประโยชน์จากการได้รับรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนมาล่าช้าเท่านั้น หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือทวงถามให้จำเลยทั้งสามชำระค่าเสียหายโดยอ้างว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันก่อนแล้ว ถือไม่ได้ว่าเป็นหนังสือบอกกล่าวเลิกสัญญาเช่าซื้อแต่การที่โจทก์ได้ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้โต้แย้งการยึดแต่อย่างใดเลยเป็นพฤติการณ์ที่ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1ต่างประสงค์หรือสมัครใจเลิกสัญญาเช่าซื้อต่อกันแล้วนับแต่วันที่โจทก์ยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ถึงแม้ว่าโจทก์จะได้ติดตามยึดรถยนต์คืนจากจำเลยที่ 1 มาครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์อยู่แสดงว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงผูกพันกันตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ สัญญายังมิได้เลิกกันในช่วงนั้น จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน จึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับสู่ฐานะที่เป็นอยู่เดิม จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อจะต้องคืนรถยนต์เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อกลับคืนสู่ฐานะเดิมและจะต้องใช้เงินเป็นค่าเสียหายแก่โจทก์ในการใช้รถยนต์ของโจทก์ในระหว่างที่ตนยังไม่ส่งมอบรถยนต์คืนตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ ด้วย