พบผลลัพธ์ทั้งหมด 136 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ระงับสิ้นสุด ผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิด
คู่ความท้ากันให้ศาลชี้ขาดประเด็นเดียวโดยถือเป็นข้อแพ้ชนะในคดีว่าการถอนคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยในคดีล้มละลาย จะทำให้ผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยต่อไปหรือไม่ กรณีนี้ปรากฏว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้เคยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่ต่อมาได้ถอนคำขอดังกล่าว เท่ากับว่าไม่เคยมีคำขอรับชำระหนี้ และเวลาก็ล่วงเลย2 เดือนไปแล้วย่อมเป็นผลให้จำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้รายนี้จากลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 27 และ 91 แต่ก็เป็นการหมดสิทธิที่จะเรียกร้องจากลูกหนี้มิใช่เป็นการที่หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงยังคงต้องรับผิดต่อธนาคารจำเลยอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมต้องแพ้คดีตามคำท้า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ไม่ทำให้หนี้ของผู้ค้ำประกันระงับสิ้น แต่ยังคงต้องรับผิดชอบหนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกัน ส. ในตำแหน่งคอมปราโดร์ส. ปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดทำให้จำเลยเสียหาย จำเลยฟ้อง ส. ล้มละลาย ต่อมาจำเลยถอน คำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้น ดังนี้ เป็นผลให้จำเลยหมดสิทธิที่จะเรียกร้องหนี้จาก ส.ผู้ล้มละลายเท่านั้น มิใช่หนี้ของลูกหนี้ระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 698 อันจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด คู่ความท้ากัน ขอให้ศาลชี้ขาดประเด็นเดียวว่าการที่จำเลยถอนคำขอรับชำระหนี้ของจำเลยในคดีล้มละลาย ทำให้โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจะยังคงต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อจำเลยหรือไม่ปรากฏตามคำแถลงของคู่ความในรายงานกระบวนพิจารณาว่า เรื่องค่าเสียหายและดอกเบี้ย ให้ศาลพิจารณาให้ตามคำฟ้องและคำให้การดังนี้ ศาลต้องพิจารณาตามประเด็นจากคำฟ้องและคำให้การ เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งว่า ดอกเบี้ยที่จำเลยฟ้องแย้งเกิน 5 ปี จึงมีประเด็นเรื่องอายุความดอกเบี้ยค้างส่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 166.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายซองกระสุน: ความรับผิดของผู้ขายที่ส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องและชำระหนี้ล่าช้า รวมถึงการหักกลบลบค่าเสียหาย
จำเลยส่งมอบซอง กระสุนจำนวน 4,100 ซอง ไม่ถูกต้องตามตัวอย่างโจทก์จึงแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแม้สัญญาระบุเรื่องการจัดการแก้ไขไว้โดยมิได้ระบุให้ส่งไปให้ผู้ผลิตทำการแก้ไข แต่การแก้ไขชิ้น ส่วนของซอง กระสุนปืน เอ็ม 16 ซึ่งใช้ในราชการสงคราม พึงเป็นที่เข้าใจว่าผู้ที่จะจัดการแก้ไขซ่อมแซมได้ จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ซอง กระสุนปืนดังกล่าวโรงงานแอ็ดเวนเจอร์ไลน์ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิต การแก้ไขก็ต้องให้โรงงานผู้ผลิตเป็นผู้จัดการ การที่จำเลยจะรับไปจัดการแก้ไขเอง โดยอ้างว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จึงเป็นการไม่ชอบ จำเลยหาอาจอ้างเอาเหตุนี้มาเป็นข้อต่อสู้ว่าจำเลยไม่ใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาได้ไม่ หลังจากที่โจทก์แจ้งให้จำเลยรับเอาซอง กระสุนปืนไปแก้ไขจำเลยเพิกเฉยไม่แจ้งให้โรงงานผู้ผลิตในประเทศสหรัฐอเมริการับไปดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องแล้วนำมาส่งมอบแก่โจทก์จนกระทั่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา และให้นำซอง กระสุนที่ถูกต้องส่งมอบแก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับจากวันที่จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าว จำเลยได้รับหนังสือวันที่ 25 มกราคม 2523ครบกำหนดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2523 จำเลยไม่ปฏิบัติตามสัญญาถือได้ว่าจำเลยผิดนัด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที ดังนั้นโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยนับแต่วันครบกำหนดส่งตามสัญญาคือวันที่ 27 มกราคม 2521 ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2523 ป.พ.พ. มาตรา 380 บัญญัติถึงเบี้ยปรับในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาโดยเรียกเอาเบี้ยปรับในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหาย ดังนั้นเบี้ยปรับจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายเมื่อโจทก์เรียกร้องเอาเบี้ยปรับแล้ว และจำนวนเบี้ยปรับสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ต้องซื้อซอง กระสุนในราคาที่แพงกว่าราคาเดิม โจทก์จึงจะเรียกเอาค่าเสียหายอีกไม่ได้ สัญญาระหว่างโจทก์ จำเลย กำหนดให้ธนาคารฯ วางหนังสือค้ำประกันต่อโจทก์เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา และจะคืนให้แก่ผู้ค้ำประกันเมื่อผู้ขายพ้นจากข้อผูกพัน เช่นนี้เมื่อโจทก์ได้เรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหายเต็ม จำนวนแล้ว ต้องคืนหลักประกันที่ธนาคารวางไว้เพื่อค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา โดยนำไปคิดหักกลบลบกับค่าเสียหายที่จำเลยพึงชดใช้ให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ของผู้ค้ำประกันหลังการพิทักษ์ทรัพย์: ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิดเมื่อหนี้ของผู้รับประกันได้ชำระเสร็จสิ้น
ผู้ค้ำประกันซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ชำระหนี้ของลูกหนี้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้น แม้จะไม่ได้ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดอันจะต้องถือว่าเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119แต่ก็คงรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่ค้ำประกันได้มีการชำระเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้ของผู้ค้ำประกันเมื่อหนี้ที่ค้ำประกันได้ถูกชำระแล้ว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งหนี้
ผู้ค้ำประกันซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งให้ชำระหนี้ของลูกหนี้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์นั้น แม้จะไม่ได้ปฏิเสธหนี้ภายในกำหนดอันจะต้องถือว่าเป็นหนี้กองทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการเด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 แต่ก็คงรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่ค้ำประกันได้มีการชำระเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ค้ำประกันก็ย่อมหลุดพ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาหนี้โดยโจทก์ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นความรับผิด และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญา
ปัญหาว่า โจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่ 1 ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่ 3 รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้า ไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณี จึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา 113 และมาตรา 368 นั้น จำเลยที่ 3 มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน 100,000 บาท โดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้ว ผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน 100,000 บาท ข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม หมายถึงในจำนวนเงิน 100,000 บาท จะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่ อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน จำเลยที่ 3 ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่ 3 เมื่อใด จำเลยที่ 3 จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3347/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการผ่อนเวลาหนี้ต่อผู้ค้ำประกัน และขอบเขตความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม
ปัญหาว่าโจทก์ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้จำเลยที่1ทำให้ผู้ค้ำประกันจำเลยที่3หลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา700แม้สัญญาค้ำประกันจะมีข้อความให้ถือว่าจำเลยที่3รู้เห็นยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาก็เป็นข้อสำคัญที่พิมพ์ไว้ล่วงหน้าไม่ได้เป็นเจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีจึงตกเป็นโมฆะตามมาตรา113และมาตรา368นั้นจำเลยที่3มิได้ให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย หนังสือสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าผู้ค้ำประกันตกลงยินยอมชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยรวมทั้งอุปกรณ์แห่งหนี้ทั้งสิ้นตามสินเชื่อดังกล่าวข้างต้นให้แก่ธนาคารเป็นจำนวนเงินไม่เกิน100,000บาทโดยยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมเป็นการค้ำประกันอย่างจำกัดจำนวนโดยเมื่อรวมต้นเงินดอกเบี้ยและอุปกรณ์แห่งหนี้เข้าด้วยกันแล้วผู้ค้ำประกันจะรับผิดไม่เกิน100,000บาทข้อความที่ว่ายอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมหมายถึงในจำนวนเงิน100,000บาทจะรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหาใช่ขยายจำนวนเงินที่จะรับผิดออกไปจากข้อความตอนต้นไม่อย่างไรก็ดีหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงินจำเลยที่3ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีระหว่างผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคหนึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามจำเลยที่3เมื่อใดจำเลยที่3จึงต้องเสียดอกเบี้ยในกรณีผิดนัดแก่โจทก์นับแต่วันฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2406/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองยังคงอยู่เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอม แม้ศาลมีคำพิพากษาแล้ว
การที่ ท. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ และศาลพิพากษาให้คดีเสร็จเด็ดขาด ไปแล้ว แต่ ท. ยังมิได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเลย เพราะยังอยู่ในระหว่าง บังคับคดี ดังนี้ หนี้ที่ประกันจึงยังมิได้ระงับสิ้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 จำเลยผู้ค้ำประกัน และผู้จำนองจึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458-459/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาผิดสัญญา การริบผลงานเป็นเบี้ยปรับ การลดเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน และการคืนหนังสือค้ำประกัน
โจทก์รับจ้างจำเลยหล่อและปักเสาพาดสายโทรเลข สัญญาจ้างมีข้อความว่า ถ้าผู้รับจ้างผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ให้ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และผู้รับจ้างยินยอมให้สิ่งก่อสร้างและสัมภาระอุปกรณ์ในการก่อสร้างของผู้รับจ้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยไม่ต้องใช้ราคาแก่ผู้รับจ้าง โจทก์ผิดสัญญาใช้เสาผิดแบบและก่อสร้างไม่ทันกำหนด จำเลยบอกเลิกสัญญาแล้วใช้สิทธิริบสิ่งก่อสร้างหรือผลงานที่โจทก์ทำมาแล้วดังนี้ กรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างดังกล่าวตกเป็นของจำเลยแล้วโดยจำเลยไม่ต้องใช้ราคาเมื่อเป็นดังนี้แล้วจำเลยไม่เสียหายแต่ประการใด จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเพราะเสาผิดแบบและขาดจำนวนอีก
ข้อตกลงให้ผู้ว่าจ้างริบเอาสิ่งก่อสร้างหรือผลงานโดยไม่ต้องใช้ราคาเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่ผู้ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ถ้าเบี้ยปรับนี้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2524)
เมื่อจำเลยริบเอาสิ่งก่อสร้างหรือผลงานของโจทก์ไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและศาลลดเบี้ยปรับให้โจทก์โดยลดให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับเงินค่าปรับ ค่าคุมงานและค่าเครื่องอุปกรณ์การก่อสร้างเหลือใช้ที่โจทก์จะต้องชดใช้หรือคืนให้จำเลยแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าปรับ ค่าคุมงานและค่าเครื่องอุปกรณ์การก่อสร้างเหลือใช้ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วไม่มีหนี้ที่โจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ให้จำเลยอีก จำเลยต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์
ข้อตกลงให้ผู้ว่าจ้างริบเอาสิ่งก่อสร้างหรือผลงานโดยไม่ต้องใช้ราคาเป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่ผู้ว่าจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ถ้าเบี้ยปรับนี้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจที่จะลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2524)
เมื่อจำเลยริบเอาสิ่งก่อสร้างหรือผลงานของโจทก์ไว้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยและศาลลดเบี้ยปรับให้โจทก์โดยลดให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับเงินค่าปรับ ค่าคุมงานและค่าเครื่องอุปกรณ์การก่อสร้างเหลือใช้ที่โจทก์จะต้องชดใช้หรือคืนให้จำเลยแล้ว จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าปรับ ค่าคุมงานและค่าเครื่องอุปกรณ์การก่อสร้างเหลือใช้ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วไม่มีหนี้ที่โจทก์จะต้องรับผิดชดใช้ให้จำเลยอีก จำเลยต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันสมบูรณ์ แม้ประนีประนอมยอมความกับผู้กู้ โจทก์มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันได้
สัญญาค้ำประกันที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ มีข้อความสำคัญว่า ถ้าผู้กู้ไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามสัญญา ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดชอบชำระหนี้แทนให้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นข้อความต่อเนื่องกับสัญญากู้ เพียงแต่อยู่ด้านหลังสัญญาค้ำประกันนี้สมบูรณ์ฟ้องร้องบังคับคดีได้
โจทก์ผู้ให้กู้ฟ้องผู้กู้ตามสัญญากู้ แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลพิพากษาตามยอมเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่ผู้กู้ยังไม่ชำระหนี้ หนี้นั้นยังไม่ระงับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันยังมีอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันอีกได้
โจทก์ผู้ให้กู้ฟ้องผู้กู้ตามสัญญากู้ แล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลพิพากษาตามยอมเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่ผู้กู้ยังไม่ชำระหนี้ หนี้นั้นยังไม่ระงับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันยังมีอยู่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยตามสัญญาค้ำประกันอีกได้