พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6200/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ก่อน พ.ร.ฎ.ฉบับใหม่ แม้ไม่คัดค้านผลวิเคราะห์ เจ้าพนักงานประเมินก็ต้องปฏิบัติตาม
ขณะโจทก์ทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้าง โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2534 พ.ศ. 2534 ต่อมามี พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 9 เมื่อรวมกับภาษีท้องถิ่นแล้วเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 แต่มาตรา 4 ของ พ.ร.ฎ. ฉบับที่ออกภายหลังดังกล่าวกำหนดให้ มาตรา 3 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 236) พ.ศ. 2534 ยังคงใช้บังคับต่อไปสำหรับการขายสินค้าหรือบริการที่กระทำไปก่อนวันที่ พ.ร.ฎ. ฉบับหลังใช้บังคับ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด เมื่อสัญญาจ้างเหมาระหว่างโจทก์กับผู้ว่าจ้างทำขึ้นก่อน พ.ร.ฎ (ฉบับที่ 309) ใช้บังคับ มีการชำระค่าบริการตามส่วนของบริการที่ทำและได้มีการชำระค่าบริการบางส่วนแล้วก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 ทั้งโจทก์ได้ยื่นคำขอสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ภายในกำหนดเวลาที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ประกอบกิจการภายใต้เงื่อนไขตามข้อ 1 (3) และข้อ 2 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 309) แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นคำคัดค้านผลการวิเคราะห์แบบคำขอรับสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ตามกฎหมายต้องเปลี่ยนแปลงไปไม่
จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นที่สุด ตามข้อ 4 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว แต่จำเลยมิได้ยกประเด็นขึ้นต่อสู้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า คำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรให้ถือเป็นที่สุด ตามข้อ 4 แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าว แต่จำเลยมิได้ยกประเด็นขึ้นต่อสู้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหลังพ.ร.ก.ใหม่ สัญญาเพิ่มเติมหลังสัญญาเดิมไม่เข้าเกณฑ์อัตรา 7%
แม้ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0ต่อไป ที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 และพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2538 และมาตรา 80 แห่งประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 ก็ตาม แต่กฎหมายดังกล่าวทุกฉบับมิได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรออกประกาศกำหนดว่าถ้ามีปัญหาในการปฏิบัติและอธิบดีมีคำวินิจฉัยแล้วให้ถือเป็นที่สุดฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ซึ่งคำว่า "คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" ตามประกาศฉบับดังกล่าวมีความหมายเพียงว่า เป็นที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในชั้นวินิจฉัยว่าผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไปได้รับสิทธินั้นหรือไม่เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป เมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีดังกล่าวเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
บริษัท ม. จ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารชุดก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236)ฯ แต่ต่อมาโจทก์กับบริษัท ม. ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาดังกล่าวโดยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่เป็นการทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 จึงมิใช่สัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไป โดยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ9.0 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309)ฯ
บริษัท ม. จ้างโจทก์ก่อสร้างอาคารชุดก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่โจทก์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 236)ฯ แต่ต่อมาโจทก์กับบริษัท ม. ทำบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาดังกล่าวโดยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่เป็นการทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 จึงมิใช่สัญญาที่ได้ทำขึ้นก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไป โดยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ9.0 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309)ฯ