พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการโอนกิจการธนาคาร: สิทธิเรียกร้องโอนได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนิติบุคคล
ธนาคารมหานคร จำกัด โจทก์ได้โอนกิจการทั้งหมดให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ลงวันที่ 14กันยายน 2541 และโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 แต่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2541 ซึ่งขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลังทั้งโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว ซึ่งตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 มาตรา 38 สัตต บัญญัติไว้ว่า ในการโอนกิจการธนาคารพาณิชย์ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่น ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้ธนาคารพาณิชย์ที่รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณีเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามมาตรา 38 สัตต ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไป
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วและคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ได้โอนกิจการให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามประกาศกระทรวงการคลังทั้งโจทก์กับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว ซึ่งตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2541 มาตรา 38 สัตต บัญญัติไว้ว่า ในการโอนกิจการธนาคารพาณิชย์ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อื่น ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล ให้ธนาคารพาณิชย์ที่รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณีเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนในคดีดังกล่าว ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามมาตรา 38 สัตต ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกิจการและสิทธิเรียกร้อง: ธนาคารรับโอนสิทธิฟ้องแทนโจทก์ได้ตามกฎหมาย
โจทก์โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯ และโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาการโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้ว เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลย โดยขณะฟ้องโจทก์ยังไม่ได้โอนกิจการคือ สินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. โจทก์จึงเป็นบุคคลที่ถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้วและขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯทั้งโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 38 สัตตเช่นนี้ ธนาคาร ก. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไปตามกฎหมาย
หลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้วและขณะคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ได้โอนกิจการคือสินทรัพย์และหนี้สินทั้งหมดให้แก่ธนาคาร ก. ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารฯทั้งโจทก์กับธนาคาร ก. ได้ลงนามในหนังสือสัญญาโอนสินทรัพย์และหนี้สินแล้วตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2541 ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลฎีกา ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับโอนกิจการของโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ในคดีและศาลฎีกาได้มีคำสั่งอนุญาตแล้วตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์ฯ มาตรา 38 สัตตเช่นนี้ ธนาคาร ก. ย่อมมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยได้ต่อไปตามกฎหมาย