พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3974/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม แม้มิได้แจ้งความต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ศาลมีอำนาจพิจารณาได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ให้อำนาจศาลแรงงานพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานหรือชดใช้ค่าเสียหายตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้เท่านั้น จะพิพากษาให้นายจ้างชดใช้ค่าเสียหายในระหว่างถูกเลิกจ้างจนรับกลับเข้าทำงานไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์ได้บรรยายฟ้องมาโดยชัดแจ้งว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม ขอให้จำเลยจ่ายค่าจ้างในระหว่างถูกเลิกจ้างจนกว่าจำเลยจะรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ซึ่งเป็นกรณีที่โจทก์ตั้งประเด็นข้อพิพาทมาโดยตรงว่าจำเลยเป็นนายจ้างได้ปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นการขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาจ้างแรงงาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ซึ่งบัญญัติให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ เมื่อปรากฏว่า โจทก์สามารถทำงานให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างตลอดมาแต่จำเลยกระทำผิดสัญญาโดยเลิกจ้างโจทก์อย่างไม่เป็นธรรม เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายที่ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าเสียหายจากจำเลย แม้โจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลยก็ตาม
แม้คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อต้องการทำลายและกำจัดกรรมการลูกจ้างและคณะกรรมการสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วยคนหนึ่ง อีกทั้งได้เลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 (2) และมาตรา 123 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้มีหลักเกณฑ์และไม่ได้มีการประเมินผลตัวโจทก์ อันเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการฟ้องร้อง ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อน
แม้คำฟ้องโจทก์ได้กล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพื่อต้องการทำลายและกำจัดกรรมการลูกจ้างและคณะกรรมการสหภาพแรงงานหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ รวมทั้งโจทก์ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานด้วยคนหนึ่ง อีกทั้งได้เลิกจ้างโจทก์ในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 (2) และมาตรา 123 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ประสบภาวะการขาดทุน ทั้งจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้มีหลักเกณฑ์และไม่ได้มีการประเมินผลตัวโจทก์ อันเป็นการกล่าวหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ด้วย ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องยื่นคำร้องต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการอย่างใดก่อนที่จะดำเนินการฟ้องร้อง ดังนั้น โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ก่อน