คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3777/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ผู้ร้องมีอำนาจขอเพิกถอนได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ดังนั้น การที่ผู้ค้ำประกันจำต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้นั้น ผู้ค้ำประกันย่อมต้องชำระหนี้จากทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันเอง ดังนั้น สัญญาค้ำประกันจึงมีวัตถุแห่งสิทธิเป็นทรัพย์สินของผู้ค้ำประกัน จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน ซึ่งผู้ร้องมีอำนาจขอให้เพิกถอน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: อายุความไม่ขาดเมื่อคดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา
คดีก่อนเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแพ่งธนบุรีขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรม การโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 32761 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างผู้คัดค้านทั้งสองอันเป็นการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ส่วนคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอันเป็นการฉ้อฉลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 237 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องไว้เป็นกรณีพิเศษในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้เพื่อรักษาสิทธิของเจ้าหนี้และเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเข้ามาในกองทรัพย์สินและนำมาแบ่งปันให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลาย เมื่อผู้ร้องไม่ใช่โจทก์ในคดีก่อน การยื่นคำร้องคดีนี้จึงไม่เป็นการยื่นคำร้องซ้อนกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้อำนาจผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายโดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น อายุความที่จะใช้บังคับต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา เมื่อโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องเพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินโฉนดเลขที่ 32761 ทราบเหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2549 และโจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแพ่งธนบุรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2549 ภายในกำหนดอายุความแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จสิ้นไปโดยประการอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนหน้านั้นจึงไม่นับเข้าในอายุความตามมาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง และเมื่อเหตุที่ให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง คดีนี้คู่ความนำสืบรับกันว่า ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนตามคำขอของผู้ร้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 โจทก์อุทธรณ์ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เหตุที่ให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงยังไม่สิ้นสุด อายุความไม่เริ่มนับใหม่ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในขณะที่อายุความของโจทก์สะดุดหยุดลง คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14860/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์เพื่อการล้มละลาย: การสันนิษฐานการฉ้อฉลและการยกให้โดยเสน่หา
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ถ้านิติกรรมที่ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 นั้น เกิดขึ้นภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้น หรือเป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือเป็นการที่ลูกหนี้ได้รับค่าตอบแทนน้อยเกินสมควร ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้และผู้ที่ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ จำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ตามคำพิพากษา ของศาลแพ่ง โดยก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาบังคับคดีแพ่งและก่อนโจทก์นำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลาย จำเลยได้จดทะเบียนการให้โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านบุตรของจำเลย การโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวเป็นนิติกรรมที่กระทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลายและเป็นการทำให้โดยเสน่หา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่ลูกหนี้จำเลยและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ต้องเสียเปรียบ จำเลยและผู้คัดค้านมีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวตามมาตรา 114
การที่ผู้คัดค้านเป็นบุตรซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับจำเลยกล่าวอ้างว่า ก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทได้นำเงินมาชำระหนี้เจ้าหนี้อื่นแทนจำเลยมารดาของตนเพื่อปลดภาระจำนอง แสดงว่าผู้คัดค้านย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้เจ้าหนี้ได้และจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่บุตรชำระหนี้แทนมารดาเป็นหน้าที่ทางศีลธรรมประการหนึ่ง ไม่มีสิทธิได้รับคืนทรัพย์แต่ประการใด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 408 (3) นิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านจึงเป็นการยกให้โดยเสน่หาตามที่ระบุไว้ในสารบัญจดทะเบียน มิอาจรับฟังเป็นอื่นได้ ทั้งในชั้นพิจารณาทนายผู้คัดค้านแถลงไม่ติดใจนำพยานเข้าไต่สวน จึงไม่มีข้อเท็จจริงใดนำมาหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ การที่จำเลยทำนิติกรรมยกกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านบุตรของจำเลยโดยเสน่หาในขณะที่ทรัพย์สินอื่นของจำเลยไม่เพียงพอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ พฤติการณ์ฟังได้ว่า จำเลยและผู้คัดค้านรู้อยู่ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดพิพาทดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เสียเปรียบอันเป็นการกระทำโดยการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3209/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย แม้ผู้รับโอนสุจริตแต่มีส่วนร่วมยักย้ายทรัพย์สิน ยึดหลักสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 (จำเลย) ไปยังผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 4 ก่อนที่โจทก์จะฟ้องผู้คัดค้านที่ 1 เป็นคดีล้มละลายประมาณ 5 เดือนเศษ และต่อมาผู้คัดค้านที่ 4 ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 5 อันเป็นการทำให้เจ้าหนี้ของผู้คัดค้านที่ 1 เสียเปรียบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 237 ถือเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับคดีล้มละลายคดีนี้เอง ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมีสิทธิที่จะต่อสู้คดีได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แต่จะนำ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) มาใช้บังคับในกรณีไม่ได้
ส่วนการเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน การโอนนั้นก็ยังชอบด้วยกฎหมายอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 5 ต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19883/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการแบ่งทรัพย์สินและการจำนองอันเกิดจากการหลีกเลี่ยงเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย การโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต
การเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นเรื่องที่กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมอันลูกหนี้ได้กระทำกับผู้ได้ลาภงอก แต่เมื่อลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำเป็นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลายได้โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่กรณีเป็นเรื่องที่กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นพิเศษในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้เพื่อรักษาสิทธิของเจ้าหนี้และเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เข้ากองทรัพย์สินและนำมาแบ่งปันให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลาย อายุความที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยไม่ถือว่าวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนการฉ้อฉลเป็นเวลาแรกเริ่มต้นนับอายุความ การยื่นคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องการกระทำภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 240 ประการสำคัญในขณะทำนิติกรรมอันเป็นการฉ้อฉลนั้นจะต้องมีผู้เป็นเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบซึ่งต้องเสียเปรียบจากการกระทำของลูกหนี้อยู่ก่อนแล้วหากขณะทำนิติกรรมนั้นมีเจ้าหนี้หลายราย เจ้าหนี้ทุกรายย่อมเป็นเจ้าหนี้ซึ่งต้องเสียเปรียบด้วยกันหมดทุกคน การนับอายุความในการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลแทนเจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องแต่ละราย จึงต้องเริ่มนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องรายนั้น ๆ ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นเกณฑ์ ดังนั้น คำร้องที่ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 จึงต้องบรรยายด้วยว่า นิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งที่รู้ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ มิฉะนั้นต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งทำให้โจทก์รายเดียวต้องเสียเปรียบเท่านั้น
ผู้ร้องทำการสอบสวนเจ้าหนี้รายที่ 40 ที่ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลาง กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้รายที่ 40 ผู้ร้องจึงต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลภายในอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน เมื่อเจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2543 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 21 ธันวาคม 2544 จึงยังอยู่ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้รายที่ 40 ทราบต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน
นิติกรรมที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้แก่ บันทึกท้ายทะเบียนหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สิน ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2540 อันเป็นการยกทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยไม่มีค่าตอบแทน ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตามข้อตกลงข้างต้นเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2540 และการที่จำเลยที่ 2 นำเงินของตนไปเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารให้แก่เด็กชาย ช. และเด็กหญิง บ. บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 แล้วต่อมาวันที่ 19 มิถุนายน 2540 จำเลยที่ 2 ปิดบัญชีเดิมและนำเงินของตนเพิ่มเติมสมทบเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ที่ธนาคารเดิมให้แก่บุตรทั้งสองของจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 1 ถือได้ว่าเป็นการทำให้โดยเสน่หา จึงให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ และผู้คัดค้านที่ 1 กับบุตรทั้งสองซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114 ภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงตกแก่จำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 แต่ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ ไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ จึงต้องฟังว่านิติกรรมการตกลงแบ่งทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อผู้คัดค้านที่ 1 รวมทั้งนิติกรรมการให้ซึ่งจำเลยที่ 2 กระทำต่อบุตรทั้งสอง เป็นการกระทำในช่วงเวลาที่ตนอาจรับผิดชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายที่ 40 จำเลยที่ 2 ย่อมอยู่ในฐานะที่รู้ได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นทางให้เจ้าหนี้รายที่ 40 ต้องเสียเปรียบ เมื่อเป็นการทำให้โดยเสน่หาจำเลยที่ 2 เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวก็เพียงพอแล้ว ที่ผู้ร้องจะขอเพิกถอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นิติกรรมที่ผู้คัดค้านที่ 1 จดทะเบียนรับโอนที่ดินอันเป็นการกระทำที่สืบเนื่องจากบันทึกท้ายทะเบียนการหย่าในเรื่องแบ่งทรัพย์สินจึงต้องถูกเพิกถอนด้วย แม้ว่าทรัพย์สินนั้นอาจเป็นสินสมรสที่ผู้คัดค้านที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กรณีต้องไปว่ากล่าวกันเมื่อมีการขายทรัพย์สินในชั้นบังคับคดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 19 วรรคสาม และมาตรา 123
แม้ผู้คัดค้านที่ 2 เป็นบุคคลภายนอกซึ่งรับจำนองที่ดินจากผู้คัดค้านที่ 1 โดยเสียค่าตอบแทนก็ตาม แต่ในขณะที่รับจำนองนั้น ผู้คัดค้านที่ 2 ทราบถึงภาวะการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 2 จึงถือว่ารับจำนองโดยไม่สุจริต ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6514/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และการคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อโดยสุจริต
เจ้าหนี้ทราบถึงเหตุแห่งการเพิกถอนการโอนเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2544 และการร้องขอให้เพิกถอนการโอนต้องนับถึงวันที่ยื่นคำร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนต่อศาลชั้นต้นวันที่ 3 ตุลาคม 2545 ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เจ้าหนี้ทราบถึงเหตุแห่งการเพิกถอนแล้วจึงไม่ขาดอายุความ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2545 ว่า เนื่องจากผู้ร้องไม่ได้ใช้แบบพิมพ์ตามที่กำหนดจึงให้คืนเพื่อทำมาใหม่ภายใน 30 วัน นับแต่วันนี้ถือว่าได้มีการยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว เพียงแต่ศาลชั้นต้นใช้อำนาจในการตรวจคำคู่ความและมีคำสั่งไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 เท่านั้น โดยคำร้องดังกล่าวยังอยู่ที่ศาลและผู้ร้องได้ทำคำร้องมายื่นใหม่เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2545 ภายในกำหนดที่ศาลสั่ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งรับคำร้องของผู้ร้องแล้ว ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องที่ยื่นมาแต่แรกนั้นเอง มิใช่เป็นการยื่นคำร้องเป็นคดีใหม่ที่ต้องนับอายุความถึงวันดังกล่าว คำร้องของผู้ร้องจึงยังไม่ขาดอายุความ
นิติกรรมการโอนขายรถยนต์พิพาทระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านได้กระทำลงโดยลูกหนี้และผู้คัดค้านได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ และผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนภายในกำหนด ศาลจึงชอบที่จะเพิกถอนซึ่งนิติกรรมนั้นเสียได้ตามคำร้องของผู้ร้องตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113, 114 แต่ผู้คัดค้านได้โอนขายให้แก่บุคคลภายนอกซึ่งรับโอนไว้โดยสุจริตแล้วและการเพิกถอนดังกล่าวนั้นไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 238 สิทธิในรถยนต์พิพาทของบุคคลภายนอกจึงได้รับความคุ้มครอง ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านได้ แต่เมื่อไม่อาจเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายระหว่างผู้คัดค้านกับบุคคลภายนอก ผู้ร้องย่อมไม่สามารถติดตามเอารถยนต์พิพาทกลับมาเป็นกองทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ศาลฎีกาจึงยกคำขอของผู้ร้องในส่วนที่ให้เพิกถอนการโอนรถยนต์พิพาทและบังคับให้ผู้คัดค้านชดใช้ราคาแทนให้แก่ผู้ร้องตามที่ผู้ร้องมีคำขอมาในท้ายคำร้องแต่เพียงอย่างเดียวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์เพื่อหลีกเลี่ยงหนี้สินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การโอนทรัพย์พิพาทเป็นนิติกรรมที่กระทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย ทั้งเป็นการโอนโดยไม่มีค่าตอบแทนอันเป็นการให้โดยเสน่หา ซึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 ประกอบมาตรา 114 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นการกระทำที่จำเลยที่ 2 ผู้โอนและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนอันเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบ ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว
พยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 นำสืบมาไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย เนื่องจากทรัพย์พิพาทแม้จะมีภาระผูกพันตามสัญญาเช่าเป็นเวลาอีกกว่า 10 ปี ทรัพย์พิพาทก็ยังคงมีมูลค่าอยู่ แต่จำเลยที่ 2 กลับโอนให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีค่าตอบแทนในขณะที่คดีนี้มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 5 ราย เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 86,908,418.05 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 โอนทรัพย์พิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านรู้อยู่ว่าเป็นทางที่ทำให้เจ้าหนี้ทั้งหลายต้องเสียเปรียบ อันเป็นการกระทำโดยฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237
ข้อที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า โจทก์ยื่นคำร้องต่อผู้ร้องขอให้ดำเนินการเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเกินระยะเวลาที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้นั้น เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้านจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7440/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: ผู้รับโอนไม่สุจริต/ไม่มีสิทธิคุ้มครองตามมาตรา 116
ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 และให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 ตามมาตรา 116 สำหรับการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 1มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3 จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7440/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: สิทธิของผู้ร้องและข้อยกเว้นสำหรับบุคคลภายนอก
ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 และให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 ตามมาตรา 116 สำหรับการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 1มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3 จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7440/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: คุ้มครองเฉพาะผู้รับโอนโดยสุจริตก่อนการขอให้ล้มละลาย
ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา114 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 และให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 ตามมาตรา 116 สำหรับการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 1มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้วผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 116 ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
of 5