พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินจากจำเลยล้มละลาย ศาลมิอาจสั่งเพิกถอนโดยตรงกระทบสิทธิผู้รับโอนที่ไม่ใช่คู่ความ
ผู้รับโอนเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมิได้เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลด้วย การที่ศาลชั้นต้นก้าวล่วงไปมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่ผู้รับโอนซื้อมาจากจำเลย แทนที่จะสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านไปดำเนินการสั่งเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 113, 114 คำสั่งนั้นย่อมไม่ผูกพันผู้รับโอนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อคำสั่งนั้นไม่ผูกพันผู้รับโอน ผู้รับโอนจึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อมาจากจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องนับจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจให้แก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24 มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: นับจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่วันที่ผู้ร้องทราบ
พระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 113 บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ อายุความที่ใช้บังคับจึงถือตามอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องขอให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เกณฑ์การนับเริ่มต้นจากวันที่เจ้าหนี้รู้เหตุ
พระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยไม่จำต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่อายุความที่ใช้บังคับจึงถือตามอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลเมื่อพ้น1ปีนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้องขอให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการฉ้อฉล: เจ้าหนี้ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปีนับจากรู้เหตุ
บุคคลที่จะอ้างอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สิน ส่วนการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจให้แก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงเป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้
เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2531 เป็นเวลาเกินกว่า1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 และพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113
เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2531 เป็นเวลาเกินกว่า1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 และพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล: เกณฑ์การนับอายุความตามสิทธิเจ้าหนี้
บุคคลที่จะอ้างอาศัย ป.พ.พ. มาตรา 237 ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สิน ส่วนการที่ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 113 บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้ เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2527 ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 24 มีนาคม2531 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว คำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 240 และ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: เริ่มนับจากเจ้าหนี้รู้เหตุ ไม่ใช่ผู้ร้อง
บุคคลที่จะอ้างอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237ได้ต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่ในขณะที่ลูกหนี้กระทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113บัญญัติให้ผู้ร้องร้องขอต่อศาลได้เป็นเรื่องกฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้นฉะนั้นอายุความที่จะใช้บังคับย่อมต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆเป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่ผู้ร้องได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักในการเริ่มต้นนับอายุความไม่ได้เมื่อเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินพิพาทได้รู้หรือควรจะรู้เหตุแห่งการเบิกถอนเมื่อวันที่15พฤศจิกายน2527ซึ่งนับถึงวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้องเมื่อวันที่24มีนาคม2531เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคำร้องของผู้ร้องจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา240และพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา113
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมกู้ยืมเงินผ่านตัวกลางเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดทางกฎหมายบริษัทเงินทุน ผู้รับเงินต้องคืน
จำเลยที่1ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัทภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟ้องซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา8แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522พ.ศ.2526แต่จำเลยที่1และบริษัทภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่1แล้วนำเงินไปให้บริษัทภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่งโดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงินกล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่1และบริษัทก.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกันและดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ1ให้ผู้คัดค้านทั้งแปดแล้วจำเลยที่1ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่1ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใดๆจากผู้คัดค้านทั้งแปดแม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัทภ.ไม่ได้เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่1จำเลยที่1ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นเช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่1และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่1ได้อีกซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดยพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา35ที่แก้ไขใหม่อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนการกระทำทั้งหลายของจำเลยที่1ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัทภ.จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา150นิติกรรมที่จำเลยที่1อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.ต่อผู้คัดค้านที่1และที่จำเลยที่1ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใดๆให้ผู้คัดค้านที่2ถึงที่8ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอนและต้องถือว่าบริษัทภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่1ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่1เสียเปรียบซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่1หาใช้เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่1แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7582/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงกฎหมายธุรกิจเงินทุนโดยใช้ตัวกลางและอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินทำให้โมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ไม่สามารถให้บริษัท ภ.กู้ยืมเงินได้อีกเพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522มาตรา 35 แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522 พ.ศ.2526 แต่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.กลับหลีกเลี่ยงโดยให้ผู้คัดค้านทั้งแปดเป็นตัวกลางกู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 แล้วนำเงินไปให้บริษัท ภ.กู้ยืมต่ออีกทอดหนึ่ง โดยวิธีที่ยุ่งยากซับซ้อนด้วยการอาวัลและออกตั๋วสัญญาใช้เงิน กล่าวคือให้ผู้คัดค้านทั้งแปดออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามจำนวนเงินที่กู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยให้แก่จำเลยที่ 1 และบริษัท ภ.ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ จำนวนเงินและวันถึงกำหนดใช้เงินตรงกัน และดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 1 ให้ผู้คัดค้านทั้งแปด แล้วจำเลยที่ 1 ตกลงยอมรับชำระหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านทั้งแปดด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. ซึ่งผู้คัดค้านทั้งแปดสลักหลังให้โดยจำเลยที่ 1 ตกลงยอมสละสิทธิที่จะเรียกร้องเงินใด ๆ จากผู้คัดค้านทั้งแปด แม้จะเรียกเก็บเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินจากบริษัท ภ.ไม่ได้ เฉพาะตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1จำเลยที่ 1 ยินยอมตนเข้าผูกพันอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น เช่นนี้ไม่ว่าการกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านทั้งแปดจะมีเจตนาเพื่อช่วยเหลือให้บริษัทภ.ได้ผู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 ได้อีก ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์ฝ่าฝืนต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 35 ที่แก้ไขใหม่ อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนจึงเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การกระทำทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านทั้งแปดและบริษัท ภ.จึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 นิติกรรมที่จำเลยที่ 1 อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.ต่อผู้คัดค้านที่ 1 และที่จำเลยที่ 1 ทำข้อตกลงสละสิทธิเรียกร้องใด ๆให้ผู้คัดค้านที่ 2 ถึงที่ 8 ซึ่งสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ.หลุดพ้นจากการชำระหนี้ย่อมไม่มีผลบังคับซึ่งไม่จำต้องเพิกถอน และต้องถือว่าบริษัท ภ.เป็นบุคคลที่ได้รับเงินของจำเลยที่ 1 ไปโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ ซึ่งมีหน้าที่ต้องคืนเงินนั้นแก่จำเลยที่ 1 หาใช่เป็นหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งแปดที่จะต้องคืนแก่จำเลยที่ 1 แต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องที่จำเลยทำโดยเสน่หาและเป็นเหตุให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ให้ผู้คัดค้านกู้ยืมเงินและยอมรับโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทภาวินเครดิตจำกัด เป็นการชำระหนี้แทนตั๋วสัญญาใช้เงินของผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนอย่างใดให้แก่จำเลยที่ 1 จึงถือเป็นนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 ทำให้โดยเสน่หา เมื่อจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่าบริษัทภาวินเครดิต จำกัด มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินและไม่สามารถชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินของตนได้ การที่จำเลยที่ 1ทำข้อตกลงยอมรับชำระหนี้จากตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่สามารถเรียกให้ชำระหนี้ได้ ย่อมทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เพิกถอนข้อตกลงดังกล่าวได้ ผู้ร้องจะสามารถทราบว่าที่มาหรือมูลเหตุแห่งการสละสิทธิเรียกร้องเป็นการฉ้อฉลหรือไม่ต่อเมื่อได้สอบสวนพยานที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว การจะถือว่าผู้ร้องได้ทราบถึงต้นเหตุอันเป็นมูลแห่งการเพิกถอนจึงต้องถือวันเวลาการสอบสวนในปัญหานี้เป็นหลัก