คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: การกระทำอันไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อ น.ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบอันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้
ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วย แม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: การถือครองกรรมสิทธิ์แทนและการรับจำนองโดยไม่สุจริต
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อน. ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น.โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้ ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วยแม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย แม้ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดสุจริต หากจำนองไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มี ชื่อ น. ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น.ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวน ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้อง ขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอน ไม่อาจสละได้ ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วยแม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทและผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลทางแพ่ง: การกู้ยืมเงินและโอนสิทธิเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้เจ้าหนี้อื่น
ระหว่างที่มีการทำสัญญากู้เงินระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้คัดค้านและบริษัท ภ. นั้น จำเลยที่ 1 ดำรงสินทรัพย์ขาดสภาพคล่องจำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าไม่อาจชำระเงินคืนเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ได้ การที่ผู้คัดค้านกู้เงินจากจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นผู้คัดค้านนำเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปให้บริษัท ภ. กู้ จำเลยที่ 1 ยอมรับชำระหนี้จากผู้คัดค้านด้วยตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัท ภ. โดยที่ขณะนั้นบริษัทภ. เป็นหนี้ จำเลยที่ 1 ตามตั๋วสัญญาใช้เงินถึง 64,000,000 บาทอยู่แล้ว และจำเลยที่ 1 ยืนยันจะไม่เรียกร้องเอาเงินส่วนที่ยังได้ไม่ครบจากผู้คัดค้านโดยผู้คัดค้านได้ผลประโยชน์จากผลต่างของดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 เช่นนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ส่อพิรุธให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 และผู้คัดค้านรู้ดีอยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวจะทำให้เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ อันเป็นการร่วมกันฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินโดยฉ้อฉลต้องมีหนี้เกิดขึ้นก่อนหรือขณะทำนิติกรรม และเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบโดยตรง
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ลูกหนี้โอนให้แก่ผู้คัดค้าน โดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โดย มิได้บรรยายคำร้องว่า ลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็น ทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบรายเดียวเท่านั้น และต้องได้ความว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนหรือขณะที่ลูกหนี้ ทำนิติกรรมอันจะเป็นการให้เจ้าหนี้เสียเปรียบด้วยเมื่อลูกหนี้ โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านแล้ว ถึง3 ปี จึงจะมาเป็นลูกหนี้โจทก์ ขณะโอนโจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของลูกหนี้ ดังนั้น แม้ลูกหนี้ จะโอนที่ดินไปโดยไม่มีค่าตอบแทนก็ตามผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิร้องขอให้ เพิกถอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินจากการฉ้อฉล ต้องเกิดก่อนหรือขณะที่ลูกหนี้มีหนี้เจ้าหนี้
คำร้องของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องได้ร้องขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 3 โอนให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ตามคำร้องมิได้บรรยายว่าลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ จึงต้องถือว่าผู้ร้องขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบรายเดียวเท่านั้น ซึ่งการร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้ความว่าลูกหนี้ต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนหรือขณะที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านไป เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2525 แต่จำเลยที่ 3 เพิ่งเป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อปี 2528 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 3 โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านแล้วถึง 3 ปี ขณะที่จำเลยที่ 3 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นโจทก์จึงยังไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 3ผู้ร้องไม่มีสิทธิจะร้องขอให้เพิกถอนการโอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: การแจ้งล่าช้าทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีเวลาสอบสวน
การร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 113 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 240 ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้โดยเหลือเวลาอีกเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดอายุความ 1 ปี ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสร็จก็เกินกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอน การฉ้อฉลมิใช่การฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ต้องอยู่ภายใต้ ป.พ.พ. มาตรา 240 แม้แจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการภายในกำหนด แต่หากไม่มีเวลาพอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ก็ขาดอายุความ
อายุความเรียกร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 อยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 240ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและแจ้งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลตามพ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 113 มิใช่เป็นการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา 175 อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: ระยะเวลาและผลกระทบต่อการสอบสวน
การร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 113 มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 240
ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการฉ้อฉลของลูกหนี้โดยเหลือเวลาอีกเพียง 15 วัน ก็จะครบกำหนดอายุความ 1 ปี ย่อมทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีโอกาสและเวลาเพียงพอที่จะสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการได้ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเสร็จก็เกินกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ
การที่ผู้ร้องฟ้องคดีล้มละลายและร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอน การฉ้อฉลมิใช่การฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 ไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: การคุ้มครองเจ้าหนี้และผู้รับโอนสุจริต
พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์ในกรณีที่จำเลยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น มีความหมายว่า การโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยเสียเปรียบแต่กรณีการโอนตามสัญญาต่างตอบแทนซึ่งผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อน หากจะถือว่าการโอนของจำเลยเป็นการให้เปรียบแก่ผู้รับโอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยต้องเสียหาย ไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอน วัตถุประสงค์ของมาตรา 114และ 115 ยังคงคุ้มครองผู้สุจริตและมีค่าตอบแทนเช่นเดียวกันต่างกันเพียงว่าถ้า โอนภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและจำเลยมุ่งให้เจ้าหนี้เดิม คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นอาศัยเพียงความมุ่งหมายของจำเลยฝ่ายเดียวเป็นการพอเพียงให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนเสียได้ แต่ถ้า เป็นการโอนไปภายในสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยโอนไปยังผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้อยู่เดิม ต้องอาศัยความไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนของผู้รับโอนด้วยจึงเพิกถอนได้ตามมาตรา 114 เช่นกันจะใช้มาตรา 115 มาเพิกถอนการโอนแก่ผู้รับโอนซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยมาก่อนแล้วไม่ได้ พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ มาตรา 113 เป็นเรื่องลูกหนี้ทำให้ทรัพย์สินของตนลดลงเพื่อให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ โดยผู้รับโอนไม่จำต้องเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้โอนมาก่อน แต่การจะเพิกถอนได้ต้องปรากฏว่าในขณะทำการโอนนั้นผู้รับโอนได้รู้เท่าถึงการกระทำของลูกหนี้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบด้วย.
of 5