พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4020/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงกฎหมายเงินทุนโดยใช้วิธีการกู้ยืมเงินผ่านตัวกลาง ทำให้ธุรกรรมเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบริษัทเงินทุนต้องการให้ผู้คัดค้านที่ 3ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน กู้ยืมเงิน แต่ไม่สามารถทำได้เพราะต้องห้ามตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 35 จำเลยจึงให้ผู้คัดค้านที่ 1 กู้ยืมเงินเพื่อนไปให้ผู้คัดค้านที่ 3กู้ยืมเงินนั้นต่อด้วยวิธีให้ผู้คัดค้านที่ 1 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลยที่ 1 โดยผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้รับอาวัล และผู้คัดค้านที่ 3 ออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้ผู้คัดค้านที่ 1 โดยจำเลยที่ 1เป็นผู้รับอาวัล ต่อมาก่อนผู้คัดค้านที่ 3 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ได้มีการหักกลบลบหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินกันระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับจำเลยที่ 1 ดังนี้ การกระทำของจำเลยที่ 1และผู้คัดค้านทั้งสามย่อมเป็นการหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทกฎหมายดังกล่าว อันเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อคุ้มครองประชาชนซึ่งเป็นกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 นิติกรรมการอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินไม่มีผลบังคับโดยศาลไม่จำต้องเพิกถอน และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะเรียกเงินกู้คืนจากผู้คัดค้านที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1944/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ใช้ อายุความ 10 ปี หากมิใช่การฉ้อฉล
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 114 มิใช่กรณีเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิลูกหนี้ร่วมและการกระทำโดยสุจริตของเจ้าหนี้
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมร่วมกันโดยตกลงชำระหนี้ให้แก่ธนาคารให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้แก่ธนาคารดังกล่าว เพื่อเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และบริษัท ย. ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ดังนี้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน หากผู้ร้องเห็นว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ ก็ชอบที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องในฐานะลูกหนี้ร่วมยังมิได้ชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1เอาที่ดินไปจำนองก็ไม่เป็นการกระทำทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้ผู้ร้องซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เสียเปรียบ ประกอบกับจำเลยที่ 1นำที่ดินไปจำนองเพื่อกิจการค้าของห้าง ฯ และบริษัท ฯ ที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยไม่มีเหตุส่อแสดงว่าธนาคารรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตและรู้อยู่ว่าเป็นทางทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ กรณีจึงไม่เข้าข่ายที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: สิทธิของลูกหนี้ร่วมและเจตนาสุจริตของธนาคาร
ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมร่วมกัน โดยตกลงชำระหนี้ให้แก่ธนาคารให้ครบถ้วนภายใน 6 เดือน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินมีโฉนดไว้แก่ธนาคารดังกล่าว เพื่อเป็นประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และบริษัท ย. ตามลำดับ จำเลยที่ 1 ถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 เด็ดขาด ดังนี้ผู้ร้องจะอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ในคดีล้มละลายขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการเพิกถอนการจำนองที่ดินดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะธนาคารเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ที่จะบังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 หรือผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้โดยไม่จำต้องบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ก่อน หากผู้ร้องเห็นว่า จำเลยที่ 1 ยังมีทรัพย์สินที่จะชำระหนี้ได้ ก็ชอบที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 เมื่อผู้ร้องในฐานะลูกหนี้ร่วมยังมิได้ชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ทั้งการที่จำเลยที่ 1 เอาที่ดินไปจำนองก็ไม่เป็นการกระทำทั้งที่รู้ว่าเป็นทางให้ผู้ร้องซึ่งมิใช่เจ้าหนี้เสียเปรียบ ประกอบกับจำเลยที่ 1 นำที่ดินไปจำนองเพื่อกิจการค้าของห้าง ฯ และบริษัท ฯ ที่ตนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยไม่มีเหตุส่อแสดงว่าธนาคารรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตและรู้อยู่ว่า เป็นทางทำให้ผู้ร้องเสียเปรียบ กรณีจึงไม่เข้าข่ายที่ผู้ร้องจะขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฟ้องคดีล้มละลาย แม้รู้อยู่ก่อนว่ามีคดีอื่นอยู่แล้ว ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นการมิชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 นั้น หมายถึงเป็นการแกล้งโดยผู้กระทำมุ่งต่อผลคือความเสียหายแก่ผู้อื่นฝ่ายเดียว (อ้างฎีกาที่ 1618/2512)
การที่จำเลยฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้สิทธิไว้ แม้จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้วก็หาใช่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายหรือแกล้งใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อโจทก์อย่างใดไม่การฟ้องคดีล้มละลายก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนไม่ว่าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นโจทก์ผลก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ทุกคนต่างก็มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามสิทธิที่ตนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน หากโจทก์เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริตและอาจขอให้เพิกถอนได้แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113, 114 หรือมาตรา 115 ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการให้ได้เพียงใดหรือไม่ก็ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริง หาใช่เกี่ยวกับการที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดเป็นฝ่ายฟ้องคดีล้มละลายนั้นไม่
การที่จำเลยฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้สิทธิไว้ แม้จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้วก็หาใช่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายหรือแกล้งใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อโจทก์อย่างใดไม่การฟ้องคดีล้มละลายก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนไม่ว่าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นโจทก์ผลก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ทุกคนต่างก็มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามสิทธิที่ตนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน หากโจทก์เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริตและอาจขอให้เพิกถอนได้แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113, 114 หรือมาตรา 115 ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการให้ได้เพียงใดหรือไม่ก็ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริง หาใช่เกี่ยวกับการที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดเป็นฝ่ายฟ้องคดีล้มละลายนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2693/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิฟ้องล้มละลาย แม้รู้ว่ามีคดีอื่นอยู่แล้ว ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่บุคคลอื่น เป็นการมิชอบด้วยกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 421 นั้น หมายถึงเป็นการแกล้งโดยผู้กระทำมุ่งต่อผล คือความเสียหายแก่ผู้อื่นฝ่ายเดียว (อ้างฎีกาที่ 1618/2512)
การที่จำเลยฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้สิทธิไว้ แม้จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้วก็หาใช่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายหรือแกล้งใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อโจทก์อย่างใดไม่การฟ้องคดีล้มละลายก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนไม่ว่าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นโจทก์ผลก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ทุกคนต่างก็มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามสิทธิที่ตนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน หากโจทก์เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริตและอาจขอให้เพิกถอนได้แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113,114 หรือมาตรา 115 ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการให้ได้เพียงใดหรือไม่ก็ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริง หาใช่เกี่ยวกับการที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดเป็นฝ่ายฟ้องคดีล้มละลายนั้นไม่
การที่จำเลยฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 บัญญัติให้สิทธิไว้ แม้จำเลยได้กระทำไปโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนแล้วก็หาใช่เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายหรือแกล้งใช้สิทธิอันมิชอบด้วยกฎหมายต่อโจทก์อย่างใดไม่การฟ้องคดีล้มละลายก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคนไม่ว่าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นโจทก์ผลก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วเจ้าหนี้ทุกคนต่างก็มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ตามสิทธิที่ตนมีอยู่อย่างเท่าเทียมกัน หากโจทก์เห็นว่าการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริตและอาจขอให้เพิกถอนได้แล้วโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113,114 หรือมาตรา 115 ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการให้ได้เพียงใดหรือไม่ก็ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริง หาใช่เกี่ยวกับการที่โจทก์หรือจำเลยฝ่ายใดเป็นฝ่ายฟ้องคดีล้มละลายนั้นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1703/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: มาตรา 113 vs. มาตรา 114/115
ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 คือมีกำหนดระยะเวลาหนึ่งปี แต่ในกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 114 และ 115 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้ ต้องนำอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: คดีปลดเปลื้องทุกข์ ไม่จำกัดทุนทรัพย์ อุทธรณ์ได้
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกการถอนโอนและการฉ้อฉลซึ่งผลของการที่ขอให้เพิกถอนมีแต่เพียงให้ทรัพย์กลับคืนมาเป็นของลูกหนี้ตามเดิมเท่านั้นหาได้มีการเรียกร้องทรัพย์หรือขอให้ได้รับประโยชน์เพื่มขึ้นอย่างไรไม่จึงถือว่าเป็นคดีที่ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หาต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงไม่
เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนค่าขึ้นศาลที่จะต้องเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านหากเห็นสมควร
เมื่อปรากฏว่าในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเสียค่าขึ้นศาลมาอย่างคดีมีทุนทรัพย์เป็นจำนวนเกินกว่าจำนวนค่าขึ้นศาลที่จะต้องเสียอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าขึ้นศาลในส่วนที่เสียเกินมาแก่ผู้ร้องและผู้คัดค้านหากเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: ต้องนับจากวันที่เจ้าหนี้รู้ถึงการฉ้อฉล ไม่ใช่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รู้
ตามธรรมดาบุคคลที่จะ อ้างอาศัยมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของผู้กระทำนิติกรรมการโอนทรัพย์สินเท่านั้น ส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำร้องขอต่อศาลในกรณีเช่นนี้ได้ ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้นับก็ย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณาจะถือเอาวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักนับวันเริ่มต้นอายุความไม่ได้เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการขยายอายุความออกไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240
เจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้วเจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบแต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240