คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 113

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: นับจากเจ้าหนี้รู้ถึงการฉ้อฉล ไม่ใช่จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รู้
ตามธรรมดาบุคคลที่จะ อ้างอาศัยมาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะต้องเป็นเจ้าหนี้ของผู้กระทำนิติกรรมการโอนทรัพย์สินเท่านั้น ส่วนการที่พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำคำร้องขอต่อศาลในกรณีเช่นนี้ได้ ก็เป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องขอต่อศาลในคดีล้มละลายไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีขึ้นมาใหม่เท่านั้น ฉะนั้นอายุความที่จะใช้นับก็ย่อมจะต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในขณะที่อาจจะบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริง ๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา จะถือเอาวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รู้ถึงต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนเป็นหลักนับวันเริ่มต้นอายุความไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นจะกลายเป็นการขยายอายุความออกไปโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
เจ้าหนี้มีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมใด ๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงไปทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ จะต้องเป็นผู้ที่เป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะที่ลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้รายหลัง ๆ หามีสิทธิเช่นนั้นไม่
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ซึ่งอ้างอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 นี้ ย่อมจะต้องมีหน้าที่นำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน เพราะไม่มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบที่เป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 113 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
เจ้าหนี้ของลูกหนี้ผู้ล้มละลายได้รู้ถึงการโอนหุ้นพิพาทนี้ดังนั้นเมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายจนกระทั่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้ก็น่าจะรู้ได้แล้วว่าการโอนหุ้นที่ลูกหนี้ได้กระทำลงไปนั้น เป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ใช้สิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหุ้นดังกล่าวไม่ เมื่อนับจากวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอต่อศาลก็เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาท ก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาท ให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่า ๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงบริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อน ดังนั้น การปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่งเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ในคดีล้มละลาย และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์จำนองทรัพย์สินไว้แก่บริษัทจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 40,000 บาท แล้วโจทก์เป็นหนี้ค่าเบี้ยประกันบริษัทจำเลย 99,853.90 บาทก่อนบริษัทจำเลยจะถูกฟ้องคดีล้มละลายเพียง 4 วัน โจทก์ได้ชำระเงิน 50,000 บาทให้แก่บริษัทจำเลย โดยบริษัทจำเลยยอมลดหนี้ให้ 49,853.90 บาท และทำหนังสือว่าจะปลดจำนองให้ การที่บริษัทจำเลยยอมปลดหนี้จำนวน 49,853.90 บาท และปลดจำนองให้โจทก์นั้น บริษัทจำเลยได้กระทำต่อโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นลูกหนี้ ไม่ใช่ในฐานะเจ้าหนี้ กรณีจึงไม่เข้าเกณฑ์ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยจะร้องขอให้เพิกถอนได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 แต่การที่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองและปลดหนี้ดังกล่าวซึ่งเป็นจำนวนสูงให้แก่โจทก์เปล่าๆ ในขณะที่บริษัทจำเลยก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว ย่อมเห็นได้ว่าบริษัทจำเลยฝ่ายเดียวได้กระทำลงทั้งๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอเพิกถอนนิติกรรมปลดหนี้ดังกล่าวได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237โจทก์ยังคงผูกพันที่จะต้องชำระหนี้จำนวนนี้ให้แก่กองทรัพย์สินของบริษัทจำเลยบุคคลล้มละลาย
หนังสือที่ ก. กรรมการบริษัทจำเลยทำให้โจทก์มีข้อความว่า ส่วนการปลดจำนองจะต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. ก่อนจึงทำได้ ดังนี้เป็นเพียงแต่บริษัทจำเลยแสดงเจตนาจะปลดจำนองให้เท่านั้น การทำหนังสือปลดจำนองยังมิได้กระทำต่อกัน เพราะการปลดจำนองมีเงื่อนไขอยู่ว่าต้องรอใบมอบอำนาจของ ว. กรรมการผู้จัดการก่อนดังนั้นการปลดจำนองจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744(2) สัญญาจำนองจึงยังไม่ระงับสิ้นไป
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัทจำเลยฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระเงินค่าเบี้ยประกันที่โจทก์ค้างชำระอยู่ ไม่ได้ฟ้องร้องบังคับในเรื่องจำนอง จึงเป็นการฟ้องบังคับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าหนี้สินถึงกำหนดชำระเมื่อใด บริษัทจำเลยเพิ่งเรียกร้องให้โจทก์ชำระหนี้โดยฟ้องแย้ง กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224กล่าวคือหนี้เงินนั้นท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี บริษัทจำเลยจึงชอบที่จะได้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ประเด็นอายุความและผลกระทบต่อสิทธิเจ้าหนี้จำนอง
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 113 นั้นอายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ซึ่งบัญญัติว่า "การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฯลฯ"ผู้ร้องรู้ถึงต้นเหตุเมื่อใดนั้น ต้องถือเอาคดีที่มีการขอให้เพิกถอนเป็นหลัก คือคดีนี้นั่นเอง โดยผู้ร้องสอบสวนลูกหนี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2514 เป็นระยะเวลาเริ่มต้นแห่งอายุความ และยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2515 จึงไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ว. โดยไม่สุจริต และเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นต้องเสียเปรียบ ต่อมา ว.นำทรัพย์สินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารให้ ช. ดังนี้ ศาลชอบที่จะสั่งเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้และ ว. ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องขอให้เรียกเงินจาก ช.ตามจำนวนที่ว. จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้เข้ามาในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายนั้น เห็นว่ากรณีไม่กระทบกระเทือนถึงธนาคารที่ได้สิทธิจำนองไปโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุที่จะเรียกร้องได้ เพราะเป็นเรื่องเกินขอบเขตของการเพิกถอนการฉ้อฉล อีกทั้งจะกลายเป็นว่าผู้ร้องได้เข้าสวมสิทธิบังคับชำระหนี้แทนธนาคารเจ้าหนี้โดยมิชอบ ทั้งราคาทรัพย์จำนองก็ท่วมหนี้จำนอง การเพิกถอนการโอนเป็นประโยชน์ทางทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย ประเด็นอายุความ และการเรียกร้องเงินจากผู้รับจำนอง
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉล ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 113 นั้น อายุความต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 ซึ่งบัญญัติว่า "การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน ฯลฯ" ผู้ร้องรู้ถึงต้นเหตุเมื่อใดนั้น ต้องถือเอาคดีที่มีการขอให้เพิกถอนเป็นหลัก คือคดีนี้นั่นเอง โดยผู้ร้องสอบสวนลูกหนี้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2514 เป็นระยะเวลาเริ่มต้นแห่งอายุความ และยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2515 จึงไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ ว.โดยไม่สุจริต และเป็นทางให้เจ้าหนี้อื่นต้องเสียเปรียบ ต่อมา ว.นำทรัพย์สินดังกล่าวไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อธนาคารให้ ข. ดังนี้ ศาลชอบที่จะสั่งเพิกถอนการโอนระหว่างลูกหนี้และ ว.ได้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องขอให้เรียกเงินจาก ข. ตามจำนวนที่ ว.จำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้เข้ามาในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ผู้ล้มละลายนั้น เห็นว่ากรณีไม่กระทบกระเทือนถึงธนาคารที่ได้สิทธิจำนองไปโดยสุจริต จึงไม่มีเหตุที่จะเรียกร้องได้ เพราะเป็นเรื่องเกินขอบเขตของการเพิกถอนการฉ้อฉล อีกทั้งจะกลายเป็นว่าผู้ร้องได้เข้าสวมสิทธิบังคับจำเลยแทนธนาคารเจ้าหนี้โดยมิชอบ ทั้งราคาทรัพย์จำนองก็ท่วมหนี้จำนอง การเพิกถอนการโอนเป็นประโยชน์ทางทรัพย์สินแก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์อยู่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองเพื่อประกันหนี้เดิมและหนี้ใหม่ การปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตของธนาคาร และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยเป็นหนี้ธนาคารผู้คัดค้านอยู่ก่อนแล้ว โดยเบิกเงินเกินบัญชีไป9 แสนบาทเศษ แล้วจำเลยได้กู้เงินธนาคารผู้คัดค้านอีก 5 แสนบาทและจดทะเบียนจำนองเรือยนต์ของจำเลยรวม 47 ลำ ไว้กับธนาคารผู้คัดค้าน เพื่อเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งจำเลยเบิกเกินบัญชีไปดังกล่าวแล้วและเงินที่จำเลยกู้ ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนจำนองเรือยนต์ของจำเลยอีก 2 ลำ ไว้กับธนาคารผู้คัดค้าน เพื่อเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีรายใหม่อีก ดังนี้ถือว่าการจำนองเรือยนต์ทั้งสองคราวนั้น เป็นการจำนองโดยมีค่าตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองเพื่อประกันหนี้เดิมและหนี้ใหม่ การปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตของธนาคาร และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่น
จำเลยเป็นหนี้ธนาคารผู้คัดค้านอยู่ก่อนแล้ว โดยเบิกเงินเกินบัญชีไป 9 แสนบาทเศษ แล้วจำเลยได้กู้เงินธนาคารผู้คัดค้านอีก 5 แสนบาท และจดทะเบียนจำนองเรือยนต์ของจำเลยรวม47 ลำ ไว้กับธนาคารผู้คัดค้าน เพื่อเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งจำเลยเบิกเกินบัญชีไปดังกล่าวแล้วและเงินที่จำเลยกู้ ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนจำนองเรือยนต์ของจำเลยอีก 2 ลำไว้กับธนาคารผู้คัดค้าน เพื่อเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีรายใหม่อีก ดังนี้ ถือว่าการจำนองเรือยนต์ทั้งสองคราวนั้น เป็นการจำนองโดยมีค่าตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1877/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ในการพิสูจน์การโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย และขอบเขตการใช้มาตรา 114
การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่าง 3 ปีก่อนล้มละลายนั้นพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะแสดงให้ศาลพอใจว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 113 นั้นหาได้มีบทบัญญัติเรื่องหน้าที่นำสืบเป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังเช่นการโอนทรัพย์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 114 ดังกล่าวไม่จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน
การจำนองทรัพย์สินหาใช่เป็นการโอนทรัพย์สินตาม พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114 จึงจะนำมาตรา 114 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองและการเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลาย: หน้าที่การนำสืบของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่าง 3 ปีก่อนล้มละลายนั้น พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา 114 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะแสดงให้ศาลพอใจว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ส่วนกรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา 113 นั้นหาได้มีบทบัญญัติเรื่องหน้าที่นำสืบเป็นคุณแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังเช่นการโอนทรัพย์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 114 ดังกล่าวไม่ จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่ามีการฉ้อฉลกัน
การจำนองทรัพย์สิน+ใช่เป็นการโอนทรัพย์สินตามพ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา 114 จึงจะนำมาตรา 114 มาใช้บังคับไม่ได้
of 5