พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างการพิจารณาคดี: ผลผูกพันตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอหย่าและแบ่งสินสมรส ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ ปลอม และใช้เอกสารปลอมต่อศาลอาญาว่า โจทก์จำเลยตกลงหย่ากันและแบ่งทรัพย์สินตามที่เสนอต่อศาลในคดีอาญาโดยระบุว่าจะนำบันทึกข้อตกลงไปเสนอต่อศาลฎีกา แล้วโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญา ศาลอาญาอนุญาตและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จากนั้นโจทก์และจำเลยไปจดทะเบียนหย่าพร้อมนำบันทึกที่ทำต่อศาลอาญาไปแสดงว่ามีการตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันแล้ว ต่อมาโจทก์และจำเลยต่างยื่นคำแถลงต่อศาลฎีกาว่าได้จดทะเบียนหย่าแล้ว พร้อมยื่นข้อตกลงที่ทำต่อกันที่ศาลอาญาแนบท้ายคำแถลง ดังนี้ถือได้ว่าคู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้ถอนฟ้องในชั้นฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง มาตรา 246 (เดิม) และ 247 (เดิม) ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ตามบันทึกข้อตกลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4071/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ผลคำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีแพ่งตามที่ตกลง
การที่คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาหมายเลขดำที่ 3604/2555 ของศาลชั้นต้น เป็นข้อแพ้ชนะคดีนี้แทน ถือเป็นกระบวนพิจารณาที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดี เพราะเป็นคำท้าที่มีเงื่อนไขเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีอาญาซึ่งมีคู่ความรายเดียวกันและในมูลกรณีเดียวกันกับคดีนี้ จึงเป็นคำท้าที่ชอบด้วยกฎหมายมีผลผูกพันคู่ความและศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามคำท้านั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง กรณีถือได้ว่าจำเลยยอมรับอำนาจศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญาแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำพิพากษาในคดีอาญาดังกล่าวถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นบุตรผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้อง คำท้าจึงมีผลผูกพันจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3790/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องไต่สวนคำร้องถอนผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย ไม่ใช่พิจารณาตามข้อตกลงของคู่ความ
คดีนี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ทั้งผู้คัดค้านที่ 2 และฝ่ายผู้ร้องคัดค้านที่ 1 ต่างยื่นคำร้องขอให้ถอนอีกฝ่ายออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่า มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องคัดค้านที่ 1 หรือผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเพราะเหตุละเลยไม่ทำตามหน้าที่หรือมีเหตุอย่างอื่นที่สมควรหรือไม่ การที่ผู้ร้องคัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ตกลงท้ากันให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าที่ดินมรดกของผู้ตายเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสของผู้ตาย เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยอันมีผลให้คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกถอนออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก โดยมิใช่เหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงมิใช่เป็นการตกลงกันเกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีนี้โดยตรง เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นคดีอื่นต่างหาก การที่ศาลชั้นต้นไม่ดำเนินการไต่สวนคำร้องขอแต่กลับพิจารณาตามคำท้าหรือข้อตกลงของคู่ความทั้งสองฝ่าย ถือเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย เห็นควรให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและมีคำสั่งใหม่ให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราในสัญญากู้ยืม: ศาลฎีกายืนตามเดิม แม้มีการตกลงประนีประนอม
โจทก์เพิ่งจะยื่นสำเนาคำสั่งของโจทก์ เรื่อง การกำหนดอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดในการอำนวยสินเชื่อ ที่มีผลใช้บังคับในวันทำสัญญากู้มาท้ายอุทธรณ์ เพื่อแสดงว่าโจทก์ได้ออกประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ใช้เรียกเก็บจากลูกค้าทั่วไปแล้ว โดยโจทก์มิได้นำสืบแสดงพยานหลักฐานดังกล่าวในชั้นพิจารณาคดีของศาลชั้นต้น ทั้งที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองและรู้เห็นของโจทก์อยู่ก่อนแล้ว การที่โจทก์เพิ่งจะนำเสนอเอกสารดังกล่าวในชั้นอุทธรณ์เป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) จึงไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
การที่ศาลจะพิจารณาและพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาตามยอมให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลในข้อ 1 ระบุว่า จำเลยทั้งสามตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 631,778.32 บาท แก่โจทก์ ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับจำนวนเงินที่โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดชำระให้แก่โจทก์ตามคำฟ้อง แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้มีจำนวนเงินที่คิดคำนวณจากดอกเบี้ยที่เกินอัตรารวมอยู่ด้วย ซึ่งดอกเบี้ยที่เกินอัตรานี้เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงไม่อาจพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่โจทก์ยื่นคำแถลงได้
การที่ศาลจะพิจารณาและพิพากษาตามยอมได้นั้น ศาลจะต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความของคู่ความว่าฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือไม่ หากสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลก็ไม่อาจพิพากษาตามยอมให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นได้ ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์เสนอต่อศาลในข้อ 1 ระบุว่า จำเลยทั้งสามตกลงร่วมกันชำระเงินจำนวน 631,778.32 บาท แก่โจทก์ ซึ่งเป็นจำนวนเดียวกับจำนวนเงินที่โจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดชำระให้แก่โจทก์ตามคำฟ้อง แต่เงินจำนวนดังกล่าวนี้มีจำนวนเงินที่คิดคำนวณจากดอกเบี้ยที่เกินอัตรารวมอยู่ด้วย ซึ่งดอกเบี้ยที่เกินอัตรานี้เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงไม่อาจพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังที่โจทก์ยื่นคำแถลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ฝ่าฝืนกฎหมาย แม้ศาลเห็นว่าดอกเบี้ยสูงเกินไป
อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีตามที่คู่ความตกลงกันตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังและสัญญากู้เงินตามฟ้อง สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมต้องพิพากษาไปตามนั้น จะใช้ดุลพินิจพิพากษาลดอัตราดอกเบี้ยที่คู่ความตกลงกัน เพราะเหตุที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8309/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องพิพากษาตามข้อตกลง แม้ดอกเบี้ยจะสูงกว่าปกติ
การที่จำเลยยินยอมชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง เป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องที่คู่ความตกลงกัน ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังและสัญญากู้เงิน สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายศาลชั้นต้นย่อมต้องพิพากษาไปตามนั้น จะใช้ดุลพินิจพิพากษาลดอัตราดอกเบี้ยที่คู่ความตกลงกันเพราะเหตุที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนย่อมมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8309/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความชอบด้วยกฎหมาย แม้ดอกเบี้ยสูง ศาลต้องพิพากษาตามข้อตกลง
การที่จำเลยยินยอมชำระเงินแก่โจทก์ตามฟ้อง เป็นการประนีประนอมยอมความกันในประเด็นแห่งคดี เมื่อปรากฏว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องที่คู่ความตกลงกัน ไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากจำเลยได้ตามประกาศกระทรวงการคลังและสัญญากู้เงิน สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ศาลชั้นต้นย่อมต้องพิพากษาไปตามนั้น จะใช้ดุลพินิจพิพากษาลดอัตราดอกเบี้ยที่คู่ความตกลงกันเพราะเหตุที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินส่วนย่อมมิได้