พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5330/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยพาหนะส่วนตัวของพนักงาน: การพิจารณาว่าเป็นเงินได้พึงประเมินตามกฎหมายภาษีอากร
พนักงานของโจทก์ได้นำรถยนต์ส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินชดเชยให้ ซึ่งคำนวณมาจากข้อมูลค่าเสื่อมราคารถยนต์ ค่าดอกเบี้ยเช่าซื้อ ค่าภาษีประจำปี ค่าประกันภัยค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนี้ การจ่ายเงินของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายแก่พนักงานของโจทก์ หาใช่จำนวนเงินที่พนักงานของโจทก์ได้จ่ายเป็นค่าพาหนะไปในการปฏิบัติการตามหน้าที่แล้วเบิกคืนจากโจทก์โดยไม่เหลือเป็นประโยชน์แก่ตน ฉะนั้นเงินได้ดังกล่าวที่พนักงานโจทก์ได้รับไปจึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 42(1) จำนวนเงินชดเชยค่าพาหนะเหมาจ่ายที่เกินอัตรากิโลเมตรละ90 สตางค์ ซึ่งจำเลยนำเอาระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526มาเทียบเคียงนั้น ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) เมื่อโจทก์มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50และนำส่งตามมาตรา 52 จึงต้องร่วมรับผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการรักษาผู้ป่วยนอกเวลาของแพทย์ประจำโรงพยาบาล ถือเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40(6)
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะเป็นแพทย์ประจำที่โรงพยาบาลล. ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน และยังได้รับเงินจากการรักษาคนไข้ในโรงพยาบาล ล. นอกเวลาทำงานปกติ รายได้ในส่วนหลังจะต้องแบ่งเข้าโรงพยาบาล ล. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 อย่างสูงไม่เกินร้อยละ 80จึงเป็นรายได้ที่โจทก์ได้รับจากคนไข้ ที่โจทก์รับมาทำการรักษาโดยโจทก์ใช้สถานที่ของโรงพยาบาล ล. มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ ดังนี้ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40(6)มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการของแพทย์ลูกจ้าง จัดเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิก พิเศษ นอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยเมื่อได้เงินมาก็แบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยของโจทก์เองที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการรักษาผู้ป่วยนอกเวลาทำงานของแพทย์เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ใช่ค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิกพิเศษนอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยแบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทเงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลาทำการของแพทย์ลูกจ้าง: เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6)
โจทก์ได้ รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลป แผนปัจจุบันในสาขาเวชกรรมชั้นหนึ่งเป็นลูกจ้างโรงพยาบาล ล. ได้ รับค่าจ้างเป็นรายเดือน โดย นายจ้างมีข้อตกลงให้โจทก์มีสิทธิประกอบอาชีพอิสระส่วนตัวได้ โดย เสรีนอกเวลาทำงานและมีข้อตกลงพิเศษให้โจทก์ใช้สถานที่โรงพยาบาลประกอบวิชาชีพอิสระเป็นคลีนิคส่วนตัวนอกเวลาทำงานได้ ด้วย โดย แบ่งรายได้เข้าโรงพยาบาลตาม อัตราที่กำหนดดังนี้ เงินที่โจทก์ได้ รับจากคนป่วยที่มารักษาที่โรงพยาบาล ล.นอกเวลาทำการปกติของโจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ มิใช่เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากรมาตรา 40(1) แต่ เป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(6).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการรักษาพยาบาลนอกเวลางานเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ใช่ค่าจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างของโรงพยาบาล ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนและทางโรงพยาบาลตกลงให้โจทก์เปิดคลีนิกพิเศษ นอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลโดยเมื่อได้เงินมาก็แบ่งรายได้ให้โรงพยาบาล เงินที่โจทก์ได้รับจากคนป่วยของโจทก์เองที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนอกเวลาทำการปกตินี้มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระมิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการเหมาค่าแรงก่อสร้างและประเด็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเอง ส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเองหากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 50 52 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษี ถูกต้องตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
หมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วันตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 โจทก์มีสิทธิไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้น และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษี ถูกต้องตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
หมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วันตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 โจทก์มีสิทธิไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้น และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีการค้า กรณีการก่อสร้างและขายอสังหาริมทรัพย์ การหักค่าใช้จ่าย และการตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเอง หากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 50,52 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษีถูกต้องตามมาตรา 19 แล้ว แม้ตามหมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วัน และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพัง โดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3773/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการเหมาค่าแรงก่อสร้าง และการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนเกินกำหนด
ในการก่อสร้างตึกแถวโจทก์เป็นผู้จัดหาและซื้อวัสดุก่อสร้างเองส่วนแรงงานเหมาจ่ายให้ผู้รับเหมาจัดหาคนงานมาทำการก่อสร้างโดยผู้รับเหมาจ่ายค่าแรงงานให้แก่คนงานเองหากงานล่าช้าต้องจ้างคนงานเพิ่มขึ้น โจทก์ไม่ต้องรับผิดชอบ ดังนี้ เงินได้ที่จ่ายให้แก่ผู้รับเหมาจึงมิใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40(1)แห่งประมวลรัษฎากร หากแต่เป็นเงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ตามมาตรา 40(8) โจทก์จึงไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งตามมาตรา 5052 แห่งประมวลรัษฎากร การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายในกรณีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2521เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2522 เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกลงวันที่ 27 มีนาคม 2527 เรียกโจทก์มาไต่สวน โจทก์ได้รับหมายเรียกเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2527 จึงเป็นการออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ยื่นรายการเสียภาษี ถูกต้องตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว หมายเรียกเพื่อการตรวจสอบไต่สวนกำหนดให้โจทก์มาให้ถ้อยคำและนำพยานหลักฐานมาแสดงให้เวลาโจทก์น้อยกว่า 7 วันตามที่ระบุไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 โจทก์มีสิทธิไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกนั้น และเจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีตามลำพังโดยอ้างว่าโจทก์ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้ แต่เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามหมายเรียกโดยไม่โต้แย้ง การออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3353/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นค่าสินไหมทดแทน แต่เป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร
จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์โดยยอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งแก่โจทก์ ก็เนื่องจากโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมโดยอาศัยฐานะที่โจทก์เป็นลูกจ้างและจำเลยเป็นนายจ้าง เงินค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับจากจำเลยจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน หาใช่เป็นค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิด ตามมาตรา 42(13) ไม่ จำเลยซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50