พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (ทันตกรรม): เงินค่าบริการทั้งหมดเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้โรงพยาบาลจะได้รับส่วนแบ่ง
โจทก์และจำเลยรับกันในชั้นชี้สองสถานว่า การที่โจทก์ให้การบริการรักษาฟันที่โรงพยาบาลฟันนั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) อันเป็นการรับกันในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งคู่ความไม่อาจรับกันได้ จะรับกันได้เฉพาะแต่ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 84 และมาตรา 183 แต่หาทำให้กระบวนพิจารณาส่วนอื่นในการชี้สองสถานเป็นการไม่ชอบไปด้วยไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาทันตกรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และคำว่า "วิชาชีพทันตกรรม"ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 4หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจการวินิจฉัย การบำบัดหรือการป้องกัน โรคฟัน โรคอวัยวะที่เกี่ยวกับฟัน โรคอวัยวะในช่องปาก โรคขากรรไกรและกระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร รวมทั้งการกระทำทางศัลยกรรมและการกระทำใด ๆ ในการบำบัด บูรณะและฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกรและการทำฟันในช่องปาก ลักษณะของการประกอบวิชาชีพของโจทก์ จึงต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตามที่โจทก์ได้ศึกษาและรับการฝึกอบรมมา การวินิจฉัยเพื่อให้การบำบัดรักษาโรคตามหลักวิชาชีพของโจทก์ ย่อมเป็นไปโดยอิสระภายใต้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 รวมทั้งการคิดค่าบริการรักษาด้วย ดังนั้น การให้การบริการรักษาฟันของโจทก์ รวมทั้งคิดค่าบริการรักษาที่ได้กระทำในโรงพยาบาลฟันจึงเป็นการกระทำของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้บริการรักษาฟันจนเป็นผลให้มีการจ่ายค่าบริการเพราะการนี้จำนวน 1,751,857.44 บาทไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้รับไว้เองหรือโรงพยาบาลฟันรับไว้แทน ย่อมเป็นประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะของโจทก์โดยตรงการที่โรงพยาบาลฟันได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือรับส่วนแบ่งจากยอดเงินดังกล่าวไปไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้เงินดังกล่าวอันเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระของโจทก์เป็นเงินได้ประเภทอื่น โจทก์จึงเป็นผู้มีเงินได้ทั้งจำนวนเงินรายรับส่วนที่โรงพยาบาลฟันรับไปจึงเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา39 ด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินว่า เงินได้ของโจทก์ร้อยละ50 เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) และให้โจทก์เสียภาษีเงินได้พร้อมเงินเพิ่ม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่าเป็นเงินได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) โดยต้องนำเงินได้ทั้งจำนวนมาคำนวณเสียภาษีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ซึ่งโจทก์ได้รับจากค่าบริการของโจทก์จำนวน 875,928.72 บาท จากยอดเงิน 1,751,857.44 บาท ซึ่งโรงพยาบาลฟันรับส่วนต่างไปเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีจากยอดเงินได้ทั้งจำนวนเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
โจทก์เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาทันตกรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และคำว่า "วิชาชีพทันตกรรม"ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 4หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจการวินิจฉัย การบำบัดหรือการป้องกัน โรคฟัน โรคอวัยวะที่เกี่ยวกับฟัน โรคอวัยวะในช่องปาก โรคขากรรไกรและกระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร รวมทั้งการกระทำทางศัลยกรรมและการกระทำใด ๆ ในการบำบัด บูรณะและฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกรและการทำฟันในช่องปาก ลักษณะของการประกอบวิชาชีพของโจทก์ จึงต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตามที่โจทก์ได้ศึกษาและรับการฝึกอบรมมา การวินิจฉัยเพื่อให้การบำบัดรักษาโรคตามหลักวิชาชีพของโจทก์ ย่อมเป็นไปโดยอิสระภายใต้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 รวมทั้งการคิดค่าบริการรักษาด้วย ดังนั้น การให้การบริการรักษาฟันของโจทก์ รวมทั้งคิดค่าบริการรักษาที่ได้กระทำในโรงพยาบาลฟันจึงเป็นการกระทำของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้บริการรักษาฟันจนเป็นผลให้มีการจ่ายค่าบริการเพราะการนี้จำนวน 1,751,857.44 บาทไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้รับไว้เองหรือโรงพยาบาลฟันรับไว้แทน ย่อมเป็นประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะของโจทก์โดยตรงการที่โรงพยาบาลฟันได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือรับส่วนแบ่งจากยอดเงินดังกล่าวไปไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้เงินดังกล่าวอันเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระของโจทก์เป็นเงินได้ประเภทอื่น โจทก์จึงเป็นผู้มีเงินได้ทั้งจำนวนเงินรายรับส่วนที่โรงพยาบาลฟันรับไปจึงเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา39 ด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินว่า เงินได้ของโจทก์ร้อยละ50 เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) และให้โจทก์เสียภาษีเงินได้พร้อมเงินเพิ่ม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่าเป็นเงินได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) โดยต้องนำเงินได้ทั้งจำนวนมาคำนวณเสียภาษีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ซึ่งโจทก์ได้รับจากค่าบริการของโจทก์จำนวน 875,928.72 บาท จากยอดเงิน 1,751,857.44 บาท ซึ่งโรงพยาบาลฟันรับส่วนต่างไปเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีจากยอดเงินได้ทั้งจำนวนเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นรายจ่ายต้องห้ามที่ไม่ได้รับการประเมินโดยเจ้าพนักงานประเมินและไม่ได้อุทธรณ์ เป็นการข้ามขั้นตอนไม่ถูกต้อง
เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2525 ถึง 2527 เกี่ยวกับประเด็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี(18) การที่คณะกรรมการวินิจฉัยว่าโจทก์มีรายจ่ายซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้รับ อันเป็นรายจ่ายต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(18) และปรับปรุงรายได้ของโจทก์เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้ทำการประเมินในรายการนี้ไว้และโจทก์ก็มิได้อุทธรณ์ ย่อมเป็นการข้ามขั้นตอนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 19,20 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนในคดีภาษี: การฟ้องซ้ำเรื่องเดิม แม้คำสั่งต่างกัน ถือฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
เงินภาษีและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยไว้ในอุทธรณ์ฉบับแรก แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้มีคำสั่งแจ้งการประเมินเพิ่มเติมอีก ก็หาใช่เป็นผลจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่างหาก แต่เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่มีคำสั่งไปตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฉบับแรกนั้นเอง เมื่อโจทก์ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับแรกในคดีก่อนและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับหลังซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน แม้คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะเป็นคนละคำสั่ง ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173.
เงินภาษีและเงินเพิ่มที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยไว้ในอุทธรณ์ฉบับแรก แม้เจ้าพนักงานประเมินจะได้มีคำสั่งแจ้งการประเมินเพิ่มเติมอีก ก็หาใช่เป็นผลจากการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่างหาก แต่เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่มีคำสั่งไปตามคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฉบับแรกนั้นเอง เมื่อโจทก์ได้ฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับแรกในคดีก่อนและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับหลังซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน แม้คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะเป็นคนละคำสั่ง ฟ้องโจทก์ก็เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ภาษีค้าง: แม้มีอุทธรณ์ ก็ต้องชำระก่อนหากไม่ได้รับการทุเลา
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้วจะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่ โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3755/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากรค้างและการยึดทรัพย์: สิทธิของนายอำเภอตามประมวลรัษฎากร แม้มีการอุทธรณ์
เมื่อจำเลยที่ 3 ในฐานะเจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีอากรและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์แล้ว โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน ภาษีอากรที่ประเมินนั้นย่อมเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งจำเลยที่ 8 ในฐานะนายอำเภอมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ได้โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง ถึงแม้โจทก์จะไม่เห็นด้วยกับการประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 และได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอทุเลาการเสียภาษีอากรต่ออธิบดีกรมสรรพากร แต่การประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 3 ก็มีผลบังคับตามกฎหมาย หาใช่ว่าเมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้ว จะต้องรอฟังผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรก่อนจึงจะถือว่าเป็นภาษีอากรค้างไม่
โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง
โจทก์มิได้เสียภาษีอากรภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และยังมิได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้ทุเลาการเสียภาษี จำเลยที่ 8ในฐานะนายอำเภอย่อมมีอำนาจที่จะสั่งยึดทรัพย์สินของโจทก์ เพื่อให้ได้รับชำระภาษีอากรค้างได้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าเมื่อมีการอุทธรณ์การประเมินและขอทุเลาการเสียภาษีต่ออธิบดีกรมสรรพากร แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีอากรแล้ว ก็ให้นายอำเภองดการใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 เพื่อรอฟังคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรก่อน การที่จะงดหรือไม่งดจึงอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอเพียงแต่นายอำเภอจะต้องระมัดระวังในการใช้อำนาจมิให้ขัดกับคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งจะมีมาในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การสะดุดหยุดของอายุความตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากการอุทธรณ์และการฟ้องคดี
ในกรณีที่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรที่ค้างชำระไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษา ประมวลรัษฎากรมาตรา 12,31 บัญญัติให้สิทธิผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้นั้นหรือไม่ก็ได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้ต้องยึดทรัพย์สินนั้นทันทีตั้งแต่วันครบกำหนดชำระค่าภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งมาไม่ หากสิทธิเรียกร้องเพื่อเอาค่าภาษีอากรยังไม่ขาดอายุความกรมสรรพากรย่อมมีสิทธิบังคับเอาได้
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปีหนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปีหนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3382/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: การสะดุดหยุด และนับใหม่เมื่อมีอุทธรณ์และฟ้องคดี
ในกรณีที่ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรที่ค้างชำระไม่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษา ประมวลรัษฎากรมาตรา 12, 31 บัญญัติให้สิทธิผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้นั้นหรือไม่ก็ได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้ต้องยึดทรัพย์สินนั้นทันทีตั้งแต่วันครบกำหนดชำระค่าภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งมาไม่หากสิทธิเรียกร้องเพื่อเอาค่าภาษีอากรยังไม่ขาดอายุความกรมสรรพากรย่อมมีสิทธิบังคับเอาได้
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514 อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521 อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปี หนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี
การที่อายุความจะสะดุดหยุดลงหรือสะดุดหยุดอยู่หรือไม่ย่อมเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้โดยไม่ต้องคำนึงว่าอธิบดีกรมสรรพากรจะอนุมัติให้ทุเลาการเสียภาษีอากรไว้หรือไม่
เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปให้โจทก์ทราบ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508. อายุความก็สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 และเริ่มนับอายุความใหม่ เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องในปี พ.ศ.2514 อายุความก็สะดุดหยุดอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 175 และเริ่มนับอายุความต่อจากอายุความเดิมเมื่อศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2520 เมื่อนับอายุความตามวิธีดังกล่าวมาจนถึงวันที่ 28 สิงหาคม 2521 อันเป็นวันที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระยังไม่เกิน 10 ปี หนี้รายนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่าหนี้ที่จำเลยเรียกร้องจากโจทก์เป็นหนี้ที่ขาดอายุความแล้วจำเลยต่อสู้ว่า หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความเพราะอายุความเริ่มนับแต่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเพราะมีการอุทธรณ์การประเมินและฟ้องคดีต่อศาล ดังนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงและสะดุดหยุดอยู่จึงอยู่ในประเด็นแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1633/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียเงินเพิ่มภาษีจากการทุเลาการชำระภาษี และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าเงินเพิ่ม และภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องกรมสรรพากรได้ เพราะมูลกรณีเรื่องภาษีอากรอยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมสรรพากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 5
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
การที่อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้รอคำวินิจฉัยอุทธรณ์หรือคำพิพากษาโดยอนุญาตให้โจทก์ทุเลาการเสียภาษีอากรตามมาตรา 31 วรรคแรกนั้น มีผลเพียงว่าภาษีอากรที่ครบกำหนดต้องชำระ แต่ได้รับการทุเลาการเสียภาษีนั้น เจ้าพนักงานของกรมสรรพากรจะใช้อำนาจตามมาตรา 12 ทำการยึดทรัพย์โจทก์นำมาขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรในระหว่างการทุเลาการเสียภาษีอากรไม่ได้เท่านั้น หามีผลเป็นการยกเว้นการเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าแต่ประการใดไม่ ดังนั้น การคำนวณเรียกเก็บเงินเพิ่มภาษีการค้าจึงต้องดำเนินเรื่อยไป ตั้งแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งประเมิน จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้นตามมาตรา 86ทวิ(มิใช่วันที่โจทก์รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์)
มาตรา 27 ซึ่งกำหนดให้เสียเงินเพิ่มร้อยละยี่สิบแห่งภาษีอากรที่ต้องเสียหรือนำส่งนั้น เป็นบทบัญญัติทั่วไปสำหรับกรณีที่มีการค้างชำระภาษีอื่นซึ่งมิได้มีบทบัญญัติใช้บังคับโดยเฉพาะสำหรับภาษีการค้านั้นมีบทบัญญัติเฉพาะสำหรับกรณีที่ไม่มีการชำระภาษีภายในกำหนดจะต้องเสียภาษีเพิ่มอีกร้อยละหนึ่งต่อเดือนหรือเศษของเดือนตามมาตรา 89 ทวิ จึงนำมาตรา 27 มาใช้บังคับในกรณีนี้ไม่ได้
การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แจ้งให้โจทก์นำเงินเพิ่มภาษีการค้าร้อยละ 1 ต่อเดือนไปชำระนั้น เป็นการแจ้งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 89 ทวิ เท่านั้น ซึ่งแม้จะไม่แจ้ง โจทก์ก็ยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มภาษีการค้ารายพิพาทจนกว่าโจทก์จะชำระเสร็จสิ้นอยู่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการประเมินการเรียกเก็บภาษีเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีจากผลประโยชน์การผลิต แม้จะจ้างผู้อื่นทำ และการบังคับชำระภาษีจากผู้รับประโยชน์
ตามบทมาตราที่จำเลยอ้าง (มาตรา 27,31,77 ทวิ,86 ทวิ) มิได้บัญญัติห้ามฟ้อง ดังนั้น แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระภาษีอากรที่ถูกเรียกเก็บก็นำคดีมาฟ้องศาลได้
โจทก์อาศัยใบอนุญาตทำไม้ของผู้อื่นทำฟืนขาย แม้ในการทำฟืนนั้น โจทก์จะจ้างผู้อื่นให้ทำให้กับตนก็ดี โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ผลิตตามความหมายในมาตรา 77
เมื่อจำเลยเรียกเก็บอากรจากผู้มีหน้าที่ที่จะต้องชำระและผู้นั้นรับจะชำระให้ แต่ในที่สุดก็ไม่ชำระจำเลยย่อมเรียกเก็บอากรนั้นจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสารได้ตามมาตรา 115
โจทก์อาศัยใบอนุญาตทำไม้ของผู้อื่นทำฟืนขาย แม้ในการทำฟืนนั้น โจทก์จะจ้างผู้อื่นให้ทำให้กับตนก็ดี โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ผลิตตามความหมายในมาตรา 77
เมื่อจำเลยเรียกเก็บอากรจากผู้มีหน้าที่ที่จะต้องชำระและผู้นั้นรับจะชำระให้ แต่ในที่สุดก็ไม่ชำระจำเลยย่อมเรียกเก็บอากรนั้นจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสารได้ตามมาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่เสียภาษีของผู้ผลิตและผู้รับประโยชน์จากตราสาร แม้ยังมิได้ชำระภาษีก็ฟ้องได้
ตามบทมาตราที่จำเลยอ้าง (มาตรา 27,31,77 ทวิ,86ทวิ) มิได้บัญญัติห้ามฟ้อง. ดังนั้น แม้โจทก์ยังไม่ได้ชำระภาษีอากรที่ถูกเรียกเก็บก็นำคดีมาฟ้องศาลได้.
โจทก์อาศัยใบอนุญาตทำไม้ของผู้อื่นทำฟืนขาย. แม้ในการทำฟืนนั้น โจทก์จะจ้างผู้อื่นให้ทำให้กับตนก็ดี. โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ผลิตตามความหมายในมาตรา 77.
เมื่อจำเลยเรียกเก็บอากรจากผู้มีหน้าที่ที่จะต้องชำระและผู้นั้นรับจะชำระให้. แต่ในที่สุดก็ไม่ชำระจำเลยย่อมเรียกเก็บอากรนั้นจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสารได้ตามมาตรา 115.
โจทก์อาศัยใบอนุญาตทำไม้ของผู้อื่นทำฟืนขาย. แม้ในการทำฟืนนั้น โจทก์จะจ้างผู้อื่นให้ทำให้กับตนก็ดี. โจทก์ก็ยังคงเป็นผู้ผลิตตามความหมายในมาตรา 77.
เมื่อจำเลยเรียกเก็บอากรจากผู้มีหน้าที่ที่จะต้องชำระและผู้นั้นรับจะชำระให้. แต่ในที่สุดก็ไม่ชำระจำเลยย่อมเรียกเก็บอากรนั้นจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตราสารได้ตามมาตรา 115.