พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8879/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยผู้รับมอบอำนาจของนิติบุคคล ถือเป็นการได้รับแจ้งการประเมินตามกฎหมาย
คำว่า "บุคคล" ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ย่อมหมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลด้วย ดังนั้น เมื่อผู้รับมอบอำนาจของโจทก์รับหนังสือแจ้งการประเมินจากเจ้าพนักงานสรรพากรแล้ว ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ไปเสียภาษีในวันดังกล่าวแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้แทนบริษัทต่างประเทศมีหน้าที่เสียภาษีในไทย ผู้ค้ำประกันต้องชำระแทนหากเรียกจากผู้แทนไม่ได้
บริษัท อ. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มี พ. เป็นผู้กระทำการแทนในการประกอบกิจการในประเทศไทยซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย พ. จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
โจทก์ส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. โดย พ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัท อ.ได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยัง พ. เพื่อที่ พ. จะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงมิใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหาก การออกและส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินในลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ. และ พ. โดยชอบแล้ว
โจทก์ได้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของบริษัท อ. และ พ. แต่ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด นอกจากนี้โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้ พ. ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท อ. นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระ แต่ พ. ไม่ชำระ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้พิสูจน์แล้วว่าโจทก์ได้เรียกร้องหนี้ภาษีอากรค้างจาก พ. แล้วแต่เรียกไม่ได้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระเงินภาษีอากรค้างแทน พ. โดยมิต้องเรียกร้องให้ พ. ชำระก่อน
โจทก์ส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. โดย พ. ในฐานะผู้ทำการแทนแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ได้เรียก พ. ผู้มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินได้หรือผลกำไรที่ผู้ทำการแทนเป็นผู้ทำให้บริษัท อ.ได้รับในประเทศไทยมาไต่สวนและแจ้งจำนวนเงินที่ประเมินไปยัง พ. เพื่อที่ พ. จะได้มีโอกาสอุทธรณ์การประเมินตาม ป. รัษฎากร มาตรา 76 ทวิ วรรคสาม ก่อนแล้วจึงมิใช่เป็นการออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยังบริษัท อ. เพื่อให้รับผิดตามมาตรา 66 เท่านั้น และโจทก์ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลไปยัง พ. แยกต่างหาก การออกและส่งหมายเรียกและหนังสือแจ้งการประเมินในลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการออกและส่งหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและหนังสือแจ้งการประเมินทั้งบริษัท อ. และ พ. โดยชอบแล้ว
โจทก์ได้ติดตามสืบหาทรัพย์สินของบริษัท อ. และ พ. แต่ไม่มีทรัพย์สินใดให้ยึด นอกจากนี้โจทก์ได้มีหนังสือเตือนให้ พ. ในฐานะผู้ทำการแทนบริษัท อ. นำเงินภาษีอากรค้างไปชำระ แต่ พ. ไม่ชำระ เช่นนี้ ถือว่าโจทก์ได้พิสูจน์แล้วว่าโจทก์ได้เรียกร้องหนี้ภาษีอากรค้างจาก พ. แล้วแต่เรียกไม่ได้ จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องชำระเงินภาษีอากรค้างแทน พ. โดยมิต้องเรียกร้องให้ พ. ชำระก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8129/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร โดยการส่งให้ผู้แทนผู้รับถือว่าเป็นการนำจ่ายแล้ว
ตามไปรษณีย์นิเทศฯ การสื่อสารแห่งประเทศไทยอาจจัดส่งไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับก็ได้ และเมื่อจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับแล้ว ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่เวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำเอกสารคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปส่งยังภูมิลำเนาของโจทก์ โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2541 ถือได้ว่ามีการนำจ่ายทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับและถือว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2541 อันล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 30 วันแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินชอบธรรม แม้มีการย้ายที่ทำการและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาโดยมิชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ว่า การปิดหมายเรียกไม่ชอบเพราะมิได้สอบถามคนที่อยู่ในบ้านก่อน แต่โจทก์มิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากร ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียก จึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียกเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าตามมาตรา 21,88 ประกอบมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบมีผลเท่ากับไม่มีการ พิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้า แม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้าได้
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียก จึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียกเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าตามมาตรา 21,88 ประกอบมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบมีผลเท่ากับไม่มีการ พิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้า แม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้าได้
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ และกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากร
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กระทำได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก และจะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดต้องนำไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณียนิเทศดังกล่าวข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ ... 573.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท กรมกอง สำนักงาน โรงเรียน หน่วยทหารเป็นต้น" และข้อ 575 กำหนดว่า"สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย" ดังนั้น แม้ ส.จะไม่ได้เป็นพนักงานของโจทก์และไม่มีหน้าที่รับจดหมายหรือเอกสารแทนโจทก์ แต่ ส.ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สำนักงานของโจทก์ในวันหยุดทำงาน จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง เมื่อ ส.ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จากพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2540 ย่อมถือได้ว่า ส.เป็นผู้แทนโจทก์และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามไปรษณียนิเทศ ข้อ 573.4 และ ข้อ 575 ดังกล่าวข้างต้น
มาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวภายในวันที่ 26มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัยคำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้
มาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวภายในวันที่ 26มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัยคำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาฟ้องคดีภาษีอากร
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กระทำได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคแรก และจะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดต้องนำไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณียนิเทศดังกล่าวข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า"ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ มาตรา 573.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท กรม กอง สำนักงาน โรงเรียน หน่วยทหารเป็นต้น"และข้อ 575 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลา ที่นำจ่าย" ดังนั้น แม้ส. จะไม่ได้เป็นพนักงานของโจทก์และไม่มีหน้าที่รับจดหมายหรือเอกสารแทนโจทก์ แต่ส. ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สำนักงานของโจทก์ในวันหยุดทำงาน จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง เมื่อส.ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จากพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2540 ย่อมถือได้ว่าส.เป็นผู้แทนโจทก์และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่ วันดังกล่าว ตามไปรษณียนิเทศ ข้อ 573.4 และ ข้อ 575 ดังกล่าวข้างต้น มาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือ ฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ภายในวันที่ 26 มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุ ให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลา ดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม 2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมาย แล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัย คำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ภาษี การแจ้งภาษีและการสั่งบังคับหนี้เป็นเหตุสะดุดอายุความ
ส.เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยร่วม ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายให้จำเลยร่วมชำระโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึง ส.ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยร่วม ถือได้ว่าจำเลยร่วมได้รับหนังสือให้ชำระภาษีอากรดังกล่าว ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก แล้ว หากจำเลยร่วมเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไรก็ชอบจะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 30 แต่จำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว หนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวย่อมเด็ดขาด
โจทก์ได้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ตั้งบริษัทมาท้ายฟ้อง แต่จำเลยที่ 3 หาได้โต้แย้งคัดค้านความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ไม่ ยิ่งกว่านั้นสำเนาเอกสารดังกล่าว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบพยานถึงความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าวก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าหุ้นที่จำเลยทั้งสามยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนถืออยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยร่วมจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อมาชำระภาษีอากร ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/04986 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/02013 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน283,490 บาท และ 40,025.62 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 นอกจากนี้เจ้าพนักงานประเมินยังมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/05150 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/225596 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน 122,976 บาท และ 1,486.43 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีอากร ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมทราบจึงถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอันใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) ซึ่งมีผลทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.28 จ.29 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 9 มกราคม2529 และสิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีอากรตามหนังสือภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 แล้วเริ่มนับอายุความใหม่เมื่อพ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ 9 มกราคม 2529 และวันที่ 8 กรกฎาคม 2529ตามลำดับ สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมายจ.60 และ จ.61 เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนดอายุความ 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญครั้งที่ตั้งบริษัทมาท้ายฟ้อง แต่จำเลยที่ 3 หาได้โต้แย้งคัดค้านความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 125 ไม่ ยิ่งกว่านั้นสำเนาเอกสารดังกล่าว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบพยานถึงความถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าวก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าหุ้นที่จำเลยทั้งสามยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนถืออยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยร่วมจึงเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อมาชำระภาษีอากร ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/04986 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/02013 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน283,490 บาท และ 40,025.62 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 นอกจากนี้เจ้าพนักงานประเมินยังมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/05150 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/225596 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน 122,976 บาท และ 1,486.43 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินภาษีอากร ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมทราบจึงถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอันใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ.มาตรา 167 (เดิม) ซึ่งมีผลทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าภาษีอากรตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.28 จ.29 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 9 มกราคม2529 และสิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีอากรตามหนังสือภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 แล้วเริ่มนับอายุความใหม่เมื่อพ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ 9 มกราคม 2529 และวันที่ 8 กรกฎาคม 2529ตามลำดับ สิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมายจ.60 และ จ.61 เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2534 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนดอายุความ 10 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ภาษีอากร, การบังคับคดี, และการส่งใช้ค่าหุ้นที่ไม่ครบถ้วน
ส. เป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยร่วม ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมชำระโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึง ส. ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยร่วม ถือได้ว่าจำเลยร่วมได้รับหนังสือ ให้ชำระภาษีอากรดังกล่าว ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก แล้ว หากจำเลยร่วมเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงาน ประเมินไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบอย่างไรก็ชอบจะใช้สิทธิอุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 แต่จำเลยร่วมมิได้อุทธรณ์ ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในระยะเวลาตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าว หนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวย่อมเด็ดขาด โจทก์ได้แนบสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นในวันประชุมสามัญ ครั้งที่ตั้งบริษัทมาท้ายฟ้อง แต่จำเลยที่ 3 หาได้โต้แย้ง คัดค้านความไม่ถูกต้องของสำเนาเอกสารดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ไม่ยิ่งกว่านั้นสำเนาเอกสารดังกล่าว นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้รับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสาร ดังกล่าว ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบพยานถึงความถูกต้องของ สำเนาเอกสารดังกล่าวก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ชำระค่าหุ้นที่จำเลยทั้งสามยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่จำเลยแต่ละคนถืออยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยร่วมจึงเป็นการใช้สิทธิ เรียกร้องเพื่อมาชำระภาษีอากร ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167(เดิม) อันเป็นกฎหมาย ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจใช้สิทธิเรียกร้องได้เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/04986 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/02013ให้จำเลยร่วมชำระเงิน 283,490 บาท และ 40,025.62 บาทตามลำดับ ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือดังกล่าวตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 นอกจากนี้เจ้าพนักงานประเมินยังมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ ต.1/1037/2/05150 และหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายที่ ต.1/1037/1/225596 ให้จำเลยร่วมชำระเงิน122,976 บาท และ 1,486.43 บาท ตามลำดับ ภายใน 30 วันนับแต่วันรับหนังสือดังกล่าว ตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 จำเลยร่วมได้รับหนังสือทั้งสองฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน ภาษีอากร ตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนังสือ แจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ให้จำเลยร่วมทราบจึงถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลการสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอันใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 167(เดิม) ซึ่งมีผลทำให้อายุความสิทธิเรียกร้องหนี้ ค่าภาษีอากรตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือ แจ้งภาษีเงินได้บุคคลหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.28 จ.29 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2529 และสิทธิเรียกร้องหนี้ภาษีอากรตามหนังสือภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือ แจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเอกสารหมาย จ.60และ จ.61 สะดุดหยุดลงเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2529แล้วเริ่มนับอายุความใหม่เมื่อพ้นระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ 9 มกราคม 2529 และวันที่ 8 กรกฎาคม 2529 ตามลำดับสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล และหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามเอกสารหมาย จ.28 และ จ.29 จึงเริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2529 ส่วนสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้ นิติบุคคลและหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามเอกสารหมาย จ.60 และ จ.61 เริ่มนับใหม่ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2529 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9ธันวาคม 2534 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนดอายุความ 10 ปีคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องล้มละลาย: การแจ้งประเมินภาษีและผลกระทบต่ออายุความตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี2519ถึง2523ต่อโจทก์แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี2520ถึงปี2523รวม4ปีเพิ่มอีกเป็นเงิน237,842.08บาทการที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่20ธันวาคม2525และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด.11)ไปให้จำเลยณถิ่นที่อยู่ของจำเลยโดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฎิบัติตามประมวลรัษฎากรมาตรา8,18และ20ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วหากไม่มีการอุทธรณ์การประเมินเจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา18ตรีต่อไปคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน30วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา27และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้างซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา12 การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรเป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่20ธันวาคม2525ว่าจำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใดๆทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่20ธันวาคม2525แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่22พฤษภาคม2526ซึ่งเป็นการปฎิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด10ปีนับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่20ธันวาคม2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(5)และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่22พฤษภาคม2526เช่นกันซึ่งครบกำหนด10ปีในวันที่22พฤษภาคม2536ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่24พฤษภาคม2536ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/31กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีและการฟ้องล้มละลาย: อายุความและการสะดุดหยุดของอายุความ
โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายเนื่องจากจำเลยไม่ชำระหนี้ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยจำเลยยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปี 2519 ถึง 2523 ต่อโจทก์ แสดงรายรับไม่ถูกต้องซึ่งผลการตรวจสอบจำเลยจะต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2520 ถึงปี 2523 รวม 4 ปี เพิ่มอีก เป็นเงิน 237,842.08 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 และส่งแบบแจ้งภาษีเงินได้ที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม(ภ.ง.ด. 11) ไปให้จำเลย ณ ถิ่นที่อยู่ของจำเลย โดยวิธีปิดใบแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 จึงเป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8, 18 และ 20 ให้ครบถ้วนบริบูรณ์ ถือได้ว่าโจทก์ได้แจ้งการประเมินภาษีให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว หากไม่มีการอุทธรณ์การประเมิน เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจหน้าที่บังคับตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ตรี ต่อไป คือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องชำระภาษีนั้นภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ถ้าไม่ชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดดังกล่าวก็ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 และเมื่อถึงกำหนดชำระแล้ว ถ้ามิได้เสียภาษีหรือนำส่งให้ถือว่าเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งเจ้าพนักงานของรัฐตามที่กฎหมายกำหนดไว้มีอำนาจหน้าที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีหรือนำส่งภาษีโดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 12
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.
การออกหนังสือแจ้งการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่มไปยังบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากร เป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีแม้จำเลยได้ทำบันทึกในคำให้การและบันทึกข้อตกลงยินยอมการชำระภาษีเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525 ว่า จำเลยยอมชำระภาษีที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้ประเมินให้จำเลยชำระเพิ่มโดยไม่โต้แย้งหรืออุทธรณ์ใด ๆ ทั้งสิ้นซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยยอมรับสภาพหนี้อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2525 แต่การที่เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์แจ้งการประเมินภาษีที่จำเลยต้องชำระเพิ่มไปให้จำเลยทราบโดยปิดหนังสือแจ้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2526 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดผลบังคับในการจัดเก็บภาษีก็ถือได้ว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีให้ชำระภาษีที่ต้องชำระเพิ่มภายในกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มนับอายุความใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525ซึ่งเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) และเริ่มนับอายุความใหม่อีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2526 เช่นกัน ซึ่งครบกำหนด 10 ปี ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2536 ซึ่งตรงกับวันเสาร์หยุดราชการโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลายเมื่อวันจันทร์ที่ 24 พฤษภาคม 2536 ซึ่งเป็นวันแรกที่เริ่มเปิดทำงานใหม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 กรณีหาใช่ว่าเมื่อจำเลยยอมรับสภาพหนี้แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องทำหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ต่อจำเลยอีกเพราะเป็นการซ้ำซ้อนและไม่มีผลบังคับแก่จำเลยไม่.