พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากส่งไปยังสถานที่รื้อถอนแล้ว และไม่สามารถระบุตัวผู้รับแทนได้
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ที่ใช้บังคับในขณะนั้นข้อ 351 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่า บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้รับ เมื่อปรากฏว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ส่งไปยังสถานที่อันเป็นสำนักทำการงานของผู้รับซึ่งได้รื้อถอนไปก่อนแล้วทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เซ็นรับเอกสารแทนผู้รับเป็นใครเกี่ยวพันกับผู้รับอย่างไร และการเซ็นรับกระทำที่อาคารหลังใดเช่นนี้ แม้ผู้รับจะยังมิได้จดทะเบียนเลิกห้างหรือแจ้งย้ายภูมิลำเนาไปจากเดิมก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าการแจ้งการประเมินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อสถานที่ทำการงานของผู้รับถูกรื้อถอนไปแล้ว และไม่มีผู้รับรองที่ชัดเจน
ไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2524 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ข้อ 351กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับ คือบุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้รับ เมื่อปรากฏว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ส่งไปยังสถานที่อันเป็นสำนักทำการงานของผู้รับซึ่งได้รื้อถอนไปก่อนแล้วทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เซ็นรับเอกสารแทนผู้รับเป็นใคร เกี่ยวพันกับผู้รับอย่างไร และการเซ็นรับกระทำที่อาคารหลังใด เช่นนี้ แม้ผู้รับจะยังมิได้จดทะเบียนเลิกห้างหรือแจ้งย้ายภูมิลำเนาไปจากเดิมก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าการแจ้งการประเมินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อสถานที่ทำการงานถูกรื้อถอนไปแล้ว และไม่มีผู้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียภาษี
ไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2524 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ข้อ 351 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่า บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือสำนักทำการงานของผู้รับเมื่อปรากฏว่าการส่งแบบแจ้งการประเมินโดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับได้ส่งไปยังสถานที่อันเป็นสำนักทำการงานของผู้รับซึ่งได้รื้อถอนไปก่อนแล้ว ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เซ็นรับเอกสารแทนผู้รับเป็นใครเกี่ยวพันกับผู้รับอย่างไร และการเซ็นรับกระทำที่อาคารหลังใดเช่นนี้ แม้ผู้รับจะยังมิได้จดทะเบียนเลิกห้างหรือแจ้งย้ายภูมิลำเนาไปจากเดิมก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าการแจ้งการประเมินดังกล่าวชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยมิชอบ และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529
ในการจ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 จึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย พร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว. แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตาม ป. รัษฎากรมาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 5 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. ไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่ง พ.ร.บ. การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359 ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1นำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ จ. 1 ได้จึงไม่มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงาน แต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ.
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก่อน.
สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด (แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตาม พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงาน แต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตาม ป. รัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ.
เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณา อุทธรณ์ก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นคำขอเสียภาษีตาม พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร
ในการจ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยที่ 2 จึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณ ที่จ่าย พร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัทว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืนไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า"เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัทว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยที่ 1 ได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 5 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้าซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359 ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้ และจำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 นำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวนประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญาตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529มาตรา 30 มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยหาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงาน แต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากรมาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรงโจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีและการส่งหนังสือแจ้งการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิในการยื่นแบบ อ.1 เพื่อขอความเห็นชอบ
โจทก์จ่ายเงินได้ให้แก่พนักงานของโจทก์ โดยไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายจำเลยจึงได้ประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มและส่งหนังสือแจ้งการประเมินโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังโจทก์ที่บริษัท ว. ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์แจ้งให้จำเลยติดต่อด้วย แต่ไม่มีผู้รับ พนักงานไปรษณีย์ได้ส่งหนังสือดังกล่าวคืนจำเลยโดยแจ้งว่า "คืน ไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า" เช่นนี้ แม้พนักงานไปรษณีย์ผู้ไปส่งหนังสือแจ้งการประเมินจะเบิกความอ้างว่าได้ส่งให้แก่ประชาสัมพันธ์ของบริษัท ว.แต่ประชาสัมพันธ์นั้นไม่ยอมรับ และนำหนังสือเข้าไปภายในบริษัทแล้วกลับออกมาบอกว่าไม่มีชื่อผู้รับที่บริษัทนี้ ก็หาเป็นการส่งที่สมบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ไม่ เพราะจำเลยได้เลือกเอาวิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามบทบัญญัติมาตรา 8 วรรคหนึ่งอันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิพาท และเป็นกรณีไม่มีผู้รับตามจ่าหน้า ซึ่งตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ข้อ 359ให้ถือเป็นไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้และจำเลยก็ไม่ได้เลือกส่งโดยวิธีอื่น ๆ ตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ดังนั้น การที่จำเลยนำเอาวิธีประกาศหนังสือพิมพ์มาใช้ในการส่งหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าวให้แก่โจทก์ในระหว่างที่พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 ให้สิทธิโจทก์ที่จะใช้สิทธิในการเสียภาษีโดยยื่นแบบ อ.1 ได้ จึงไม่ชอบ สิทธิที่จะยื่นคำขอเสียภาษีตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด(แบบ อ.1) โดยได้รับยกเว้นจากการเรียกตรวจสอบไต่สวน ประเมินหรือสั่งให้เสียภาษีอากรและความรับผิดทางอาญา ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30มีความหมายรวมถึงบุคคลที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายด้วย หาได้จำกัดเฉพาะบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีโดยตรงเท่านั้นไม่ดังนั้นโจทก์ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ของพนักงานแต่ไม่ได้หักไว้ ซึ่งจะต้องรับผิดร่วมกับพนักงานของโจทก์ผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่มิได้หักตามประมวลรัษฎากร มาตรา 54 ย่อมเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ดังกล่าวโดยตรง โจทก์จึงได้รับสิทธิตามบทกฎหมายดังกล่าวทุกประการ เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีอากรโจทก์โดยไม่มีอำนาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้โดยไม่ต้องอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากร เกินกำหนดฟ้อง และการแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับ และข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาว ส. อายุ 18 ปี คนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2531)
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับ และข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาว ส. อายุ 18 ปี คนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
(วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน การฟ้องเกินกำหนด 30 วัน และอำนาจฟ้องคดีภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตาม มาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากรคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และ มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือบุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับและข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์ และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาวส.อายุ 18 ปีคนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่8 พฤษภาคม 2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 905/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน และการฟ้องคดีเกินกำหนดในคดีภาษีอากร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์โดยเป็นนักแสดงอาชีพมิได้รับจ้างแสดงเป็นครั้งคราว เงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์จึงเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร หากเงินได้ของโจทก์ไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40(6) เงินได้จากการประกอบอาชีพนักแสดงก็เป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกัน ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับ และข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาว ส. อายุ 18 ปี คนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2531)
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร จะใช้วิธีนำไปส่งหรือส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนก็ได้ จำเลยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ดังนั้นความในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง ที่ว่าถ้าให้นำส่งเมื่อผู้ส่งไม่พบผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่ในบ้านหรือสำนักงานของผู้รับก็ได้ จึงไม่ใช้กับกรณีนี้ แต่การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับต้องบังคับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ ไปรษณียนิเทศ ข้อ 333 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้ ข้อ 334 กำหนดว่า ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับการสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ บุคคลซึ่งอยู่หรือทำงานในบ้านเรือนหรือที่สำนักทำการงานของผู้รับ และข้อ 336 กำหนดว่าไปรษณียภัณฑ์และพัสดุไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่โจทก์แถลงยอมรับว่า นางสาว ส. อายุ 18 ปี คนรับใช้และอยู่ในบ้านโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 จึงถือได้ว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2529 ตามมาตรา 8 แห่งประมวลรัษฎากรการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม2529 จึงเป็นการนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขัดต่อมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง. (วรรคสองวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 4/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าและการใช้สิทธิประโยชน์ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 30
จำเลยส่งแบบแจ้งการประเมินแก่โจกท์ ไม่มีผู้ใดยอมรับ จำเลยจึงนำแบบแจ้งการประเมินไปปิดไว้ที่หน้าประตูสำนักงานโจทก์ตามที่โจทก์ระบุในการยื่นแบบ อ.1 แม้สำนักงานดังกล่าวจะเป็นสำนักงานสาขาของโจทก์ก็รวมอยู่ในความหมายของคำว่าสำนักงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 8 ที่ให้ใช้บังคับขณะนั้น การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยปิดแบบแจ้งการประเมิน ณ สถานที่ดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามมาตรา 30 แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร(ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529 มาตรา 30 วรรคหก (2) กำหนดไว้มิให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 30 บังคับแก่บุคคลที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหรือสั่งให้เสีย...โดยได้ทำการประเมินหรือสั่งก่อนวันที่พระราชกำหนด นี้ใช้บังคับ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบก่อนวันที่พระราชกำหนดใช้บังคับ โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 30 ทั้งการประเมินของจำเลยเป็นการประเมินภาษีการค้า ส่วนที่โจทก์ยื่นคำขอเสียภาษีอากรตามมาตรา30 เป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้โจทก์จะเสียภาษีส่วนนี้ไปแล้วก็เป็ฯภาษีคนละประเภทกัน โจทก์จึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30แห่งพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529โดยนัยนี้ด้วย