พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8368/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน: การส่งหนังสือแจ้งผู้มีส่วนได้เสียเป็นสำคัญ
พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 59 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งรวมถึงการยื่นและการส่งคำคู่ความและเอกสารตามมาตรา 67 ถึงมาตรา 83 อัฏฐ ด้วย การที่ภายหลังจากศาลรับคำร้องที่พนักงานอัยการผู้ร้องยื่นต่อศาล เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้คัดค้านทั้งสามรวมทั้ง ฐ. ซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินทราบเพื่อใช้สิทธิยื่นคำร้องคัดค้านนั้น คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลแล้ว การส่งหนังสือของเลขาธิการจึงเป็นการส่งคำคู่ความหรือเอกสารในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นประการหนึ่ง เพียงแต่ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 บัญญัติกำหนดไว้โดยเฉพาะให้เลขาธิการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ทั้งยังบัญญัติไว้เป็นพิเศษว่าให้ส่งไปยังที่อยู่ครั้งสุดท้ายของผู้นั้นเท่าที่ปรากฏในหลักฐาน การส่งหนังสือของเลขาธิการทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับย่อมมีผลเป็นการส่งตามหลักเกณฑ์การนำจ่ายสิ่งของทางไปรษณีย์ที่กำหนดในไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2557 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะมีการส่งหนังสือทางไปรษณีย์ในคดีนี้ ซึ่งกำหนดให้ต้องนำจ่ายด้วยการส่งมอบหนังสือให้แก่ผู้รับที่มีชื่อระบุอยู่บนจ่าหน้า หรือผู้ได้รับมอบฉันทะจากผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับ โดยต้องนำจ่าย ณ ที่ทำการหรือ ณ ที่อยู่ของผู้รับตามไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2557 ข้อ 59 ถึงข้อ 63 ดังนั้น การส่งหนังสือของเลขาธิการไปยังผู้คัดค้านทั้งสามและ ฐ. ที่ส่งไม่ได้เพราะบ้านปิดและไม่มีผู้มารับที่ที่ทำการไปรษณีย์ในกำหนดเวลา อันเป็นการนำจ่ายให้แก่ผู้รับไม่ได้และพนักงานไปรษณีย์ต้องส่งหนังสือคืนผู้ฝากตามข้อ 64 นั้น จึงถือไม่ได้ว่ามีการส่งหนังสือให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามและ ฐ. ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 49 วรรคห้า โดยเมื่อมีข้อขัดข้องในการส่งหนังสือแก่ผู้มีส่วนได้เสีย อันเป็นข้อขัดข้องในการส่งคำคู่ความและเอกสารตาม ป.วิ.พ. จึงชอบที่เลขาธิการจะแจ้งให้ผู้ร้องแถลงต่อศาลชั้นต้นเพื่อมีคำสั่งให้ดำเนินการส่งโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดใน ป.วิ.พ. ต่อไป ส่วนที่ศาลชั้นต้นลงประกาศคำร้องในหนังสือพิมพ์ เป็นการประกาศให้บุคคลภายนอกอื่นที่อาจอ้างว่าเป็นเจ้าของหรือมีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่ขอให้ตกเป็นของแผ่นดินได้ทราบ เพื่อยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี มิได้หมายถึงผู้คัดค้านทั้งสามกับพวก จะถือว่าผู้คัดค้านทั้งสามและ ฐ. ทราบคำร้องของผู้ร้องหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มไปยังสำนักงานผู้ชำระบัญชีของบริษัทที่เลิกแล้ว ถือเป็นการส่งโดยชอบ
โจทก์จดทะเบียนเลิกบริษัทจดรายการที่ตั้งของสำนักงานผู้ชำระบัญชีคือเลขที่ 87/149 อาคารออลซีซั่น กรุงเทพมหานคร ถือว่าโจทก์ได้เลือกเอาที่ตั้งดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีและถือว่าเอกสารรายการจดทะเบียนดังกล่าวเป็นเอกสารมหาชนที่เจ้าพนักงานทำขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชน การจดทะเบียนเลิกบริษัทถือว่าบริษัทยังคงอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นในการชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจทำการแทนโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ส่งหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่โจทก์ไปยังภูมิลำเนาเฉพาะการเกี่ยวกับการชำระบัญชีทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับย่อมเป็นการส่งที่ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง และมีบุคคลลงชื่อรับไว้ โดยระบุว่าเป็นพนักงาน ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2553 ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 มาตรา 22 ประกอบมาตรา 6 แห่ง พ.ร.ฎ.กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด พ.ศ.2546 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น ตามหมวด 6 ระบบงานไปรษณีย์ การนำจ่ายสิ่งของทางไปรษณีย์ข้อ 64 ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ บริษัทถือว่าบุคคลต่อไปนี้ เป็นผู้แทนของผู้รับ ข้อ 64.1 บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดือนกันกับผู้รับ 64.2 บุคคลซึ่งทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกันกับผู้รับ 64.3 เจ้าหน้าที่รับรองหรือผู้ดูแลของโรงแรมหรืออาคาร 64.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานหรืออาคาร เมื่อได้ปฏิบัติตามวิธีดังกล่าวข้างต้นให้ถือว่าเป็นอันได้รับแล้วตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม
การที่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย้ายสำนักงานไปยังเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ กรุงเทพมหานคร นานถึงหนึ่งปีเศษ จึงแจ้งย้ายที่อยู่ของผู้ชำระบัญชี ก็เป็นกรณีหลังจากถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยชอบแล้ว เป็นความบกพร่องของโจทก์เอง ดังนั้น คำสั่งของรัฐมนตรีที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์จึงชอบแล้ว อนึ่ง อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะพิจารณาสั่ง หากคำสั่งของรัฐมนตรีไม่ชอบ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ แต่มิใช่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยอาศัยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง
การที่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย้ายสำนักงานไปยังเลขที่ 345/13 ตรอกต้นโพธิ์ กรุงเทพมหานคร นานถึงหนึ่งปีเศษ จึงแจ้งย้ายที่อยู่ของผู้ชำระบัญชี ก็เป็นกรณีหลังจากถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยชอบแล้ว เป็นความบกพร่องของโจทก์เอง ดังนั้น คำสั่งของรัฐมนตรีที่ไม่อนุญาตให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์จึงชอบแล้ว อนึ่ง อำนาจตาม ป.รัษฎากร มาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง เป็นอำนาจของรัฐมนตรีที่จะพิจารณาสั่ง หากคำสั่งของรัฐมนตรีไม่ชอบ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ แต่มิใช่เป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณาสั่งขยายกำหนดเวลาอุทธรณ์แก่โจทก์โดยอาศัยมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8129/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร โดยการส่งให้ผู้แทนผู้รับถือว่าเป็นการนำจ่ายแล้ว
ตามไปรษณีย์นิเทศฯ การสื่อสารแห่งประเทศไทยอาจจัดส่งไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับก็ได้ และเมื่อจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับแล้ว ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่เวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำเอกสารคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปส่งยังภูมิลำเนาของโจทก์ โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2541 ถือได้ว่ามีการนำจ่ายทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับและถือว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2541 อันล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 30 วันแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9658/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ต้องพิสูจน์การส่งคำชี้ขาดให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า เมื่อทำคำชี้ขาดแล้ว อนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดจะต้องจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้น ถึงคู่กรณีที่เกี่ยวข้องทุกคน และในหมวดที่ 6 ที่ว่าด้วยการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ มาตรา 30 บัญญัติให้คู่กรณีฝ่ายที่ประสงค์จะให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศยื่นคำร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ได้ส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงคู่กรณีตามมาตรา 21 วรรคสี่ แสดงว่าผู้ร้องจะเกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะยื่นคำร้องขอให้มีการบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้ก็ต่อเมื่อได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดนั้นให้แก่ผู้คัดค้านแล้ว หน้าที่นำสืบถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ย่อมตกเป็นของผู้ร้อง
การส่งสำเนาคำชี้ขาดทางไปรษณีย์ธรรมดาไม่ลงทะเบียนย่อมไม่มีหลักฐานว่าผู้คัดค้านได้รับคำชี้ขาดแล้ว ที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องมีสิทธิส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านโดยทางไปรษณีย์ธรรมดาไม่ต้องลงทะเบียน ตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนข้อ 77 โดยอ้างส่งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษเป็นพยาน และผู้ร้องมิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทยต่อศาล แม้เฉพาะข้อความในข้อ 77 ที่ผู้ร้องอ้างก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านมีการตกลงกันว่าไม่ต้องทำคำแปลหรือศาลอนุญาตให้ส่งเอกสารโดยไม่ต้องทำคำแปล ตามที่ได้กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 23 ทั้งผู้คัดค้านก็โต้เถียงอยู่ว่า ข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนข้อ 76 และข้อ 77 มิได้ระบุชัดเจนถึงวิธีการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ หนังสือบอกกล่าวและเอกสารให้แก่คู่กรณีไว้ และข้อความในข้อ 76 และข้อ 77 ก็มิได้ระบุแจ้งชัดว่าอนุญาตให้มีการจัดส่งเอกสารต่าง ๆ โดยวิธีธรรมดาได้ พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าการส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านตามที่วิธีการที่ผู้ร้องได้นำสืบมานั้นถูกต้องตามข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนอันเป็นการเพียงพอให้ถือได้ว่าได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงผู้คัดค้านโดยชอบตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 แล้ว
การส่งจดหมายหรือเอกสารทางไปรษณีย์ธรรมดาระหว่างประเทศต้องมีการขนส่งโดยพาหนะหลายทอดหลายตอน ไม่มีหลักฐานการตอบรับจากผู้รับ และหากส่งได้ก็จะไม่มีการบันทึกการส่งได้ไว้ หากส่งไม่ได้ไปรษณีย์ ผู้ส่งจะบันทึกลงบนไปรษณีย์ภัณฑ์นั้นถึงเหตุที่ส่งไม่ได้ และจัดการส่งคืนผู้ฝากส่ง แม้ไม่ปรากฏว่าหนังสือแจ้งคำชี้ขาดที่ส่งไปให้แก่ผู้คัดค้านได้มีการส่งกลับคืนไปเพราะส่งไม่ได้ก็ตาม ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าไม่มีการส่งสำเนา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถึงผู้คัดค้านซึ่งจะต้องถูกบังคับตามคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องจึงยังไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ได้
การส่งสำเนาคำชี้ขาดทางไปรษณีย์ธรรมดาไม่ลงทะเบียนย่อมไม่มีหลักฐานว่าผู้คัดค้านได้รับคำชี้ขาดแล้ว ที่ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องมีสิทธิส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านโดยทางไปรษณีย์ธรรมดาไม่ต้องลงทะเบียน ตามข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนข้อ 77 โดยอ้างส่งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษเป็นพยาน และผู้ร้องมิได้ส่งคำแปลเป็นภาษาไทยต่อศาล แม้เฉพาะข้อความในข้อ 77 ที่ผู้ร้องอ้างก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องและผู้คัดค้านมีการตกลงกันว่าไม่ต้องทำคำแปลหรือศาลอนุญาตให้ส่งเอกสารโดยไม่ต้องทำคำแปล ตามที่ได้กำหนดเป็นข้อยกเว้นไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 23 ทั้งผู้คัดค้านก็โต้เถียงอยู่ว่า ข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนข้อ 76 และข้อ 77 มิได้ระบุชัดเจนถึงวิธีการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ หนังสือบอกกล่าวและเอกสารให้แก่คู่กรณีไว้ และข้อความในข้อ 76 และข้อ 77 ก็มิได้ระบุแจ้งชัดว่าอนุญาตให้มีการจัดส่งเอกสารต่าง ๆ โดยวิธีธรรมดาได้ พยานหลักฐานของผู้ร้องจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าการส่งสำเนาคำชี้ขาดให้แก่ผู้คัดค้านตามที่วิธีการที่ผู้ร้องได้นำสืบมานั้นถูกต้องตามข้อบังคับของอนุญาโตตุลาการทางการค้าระหว่างประเทศแห่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนอันเป็นการเพียงพอให้ถือได้ว่าได้มีการจัดส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงผู้คัดค้านโดยชอบตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 แล้ว
การส่งจดหมายหรือเอกสารทางไปรษณีย์ธรรมดาระหว่างประเทศต้องมีการขนส่งโดยพาหนะหลายทอดหลายตอน ไม่มีหลักฐานการตอบรับจากผู้รับ และหากส่งได้ก็จะไม่มีการบันทึกการส่งได้ไว้ หากส่งไม่ได้ไปรษณีย์ ผู้ส่งจะบันทึกลงบนไปรษณีย์ภัณฑ์นั้นถึงเหตุที่ส่งไม่ได้ และจัดการส่งคืนผู้ฝากส่ง แม้ไม่ปรากฏว่าหนังสือแจ้งคำชี้ขาดที่ส่งไปให้แก่ผู้คัดค้านได้มีการส่งกลับคืนไปเพราะส่งไม่ได้ก็ตาม ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าไม่มีการส่งสำเนา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถึงผู้คัดค้านซึ่งจะต้องถูกบังคับตามคำชี้ขาดแล้ว ผู้ร้องจึงยังไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ และกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากร
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กระทำได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก และจะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดต้องนำไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณียนิเทศดังกล่าวข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ ... 573.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท กรมกอง สำนักงาน โรงเรียน หน่วยทหารเป็นต้น" และข้อ 575 กำหนดว่า"สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย" ดังนั้น แม้ ส.จะไม่ได้เป็นพนักงานของโจทก์และไม่มีหน้าที่รับจดหมายหรือเอกสารแทนโจทก์ แต่ ส.ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สำนักงานของโจทก์ในวันหยุดทำงาน จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง เมื่อ ส.ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จากพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2540 ย่อมถือได้ว่า ส.เป็นผู้แทนโจทก์และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่วันดังกล่าว ตามไปรษณียนิเทศ ข้อ 573.4 และ ข้อ 575 ดังกล่าวข้างต้น
มาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวภายในวันที่ 26มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัยคำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้
มาตรา 30 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวภายในวันที่ 26มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลาดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมายแล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัยคำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาฟ้องคดีภาษีอากร
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กระทำได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 8 วรรคแรก และจะถือว่าโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดต้องนำไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจ ตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทมาใช้บังคับ ไปรษณียนิเทศดังกล่าวข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า"ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับ การสื่อสารแห่งประเทศไทยถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับคือ มาตรา 573.4 ผู้ทำหน้าที่เวรรับส่งหรือเวรรักษาการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น บริษัท กรม กอง สำนักงาน โรงเรียน หน่วยทหารเป็นต้น"และข้อ 575 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์ที่นำจ่ายให้แก่ ผู้แทนของผู้รับ ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลา ที่นำจ่าย" ดังนั้น แม้ส. จะไม่ได้เป็นพนักงานของโจทก์และไม่มีหน้าที่รับจดหมายหรือเอกสารแทนโจทก์ แต่ส. ได้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่สำนักงานของโจทก์ในวันหยุดทำงาน จึงเป็นการทำหน้าที่เป็นเวรรักษาการณ์ของสำนักงานโจทก์นั่นเอง เมื่อส.ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จากพนักงานการสื่อสารแห่งประเทศไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 27 ธันวาคม 2540 ย่อมถือได้ว่าส.เป็นผู้แทนโจทก์และหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับคือโจทก์ตั้งแต่ วันดังกล่าว ตามไปรษณียนิเทศ ข้อ 573.4 และ ข้อ 575 ดังกล่าวข้างต้น มาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ มิใช่นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในวันที่ 27 ธันวาคม 2540 แม้โจทก์จะทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ในวันที่ 29 ธันวาคม 2540 โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์ต่อศาลหรือ ฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ภายในวันที่ 26 มกราคม 2541 หากมีพฤติการณ์พิเศษเป็นเหตุ ให้โจทก์ไม่สามารถอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวได้ โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนระยะเวลา ดังกล่าวสิ้นสุดลง เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบมาตรา 17แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลายื่นฟ้องตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฟ้องคดีของโจทก์ลงวันที่ 28 มกราคม 2541 ซึ่งเกินกำหนด 30 วันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวโดยสำคัญผิดว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2540จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเป็นการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฟ้องคดีต่อศาลหลังจากสิ้นระยะเวลาตามกฎหมาย แล้ว โดยมิได้มีเหตุสุดวิสัยแต่อย่างใดโจทก์จึงไม่อาจอาศัย คำสั่งอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหนังสือแจ้งภาษี: วิธีการส่ง & ผู้รับแทน - ข้อจำกัดตามกฎหมายไปรษณีย์
การส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร มาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งป.รัษฎากร บัญญัติให้ส่งได้ 2 วิธี คือ วิธีส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและวิธีให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่งเฉพาะวิธีให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่งถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับก็ได้ ส่วนการส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ มาตรา 8วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฎากร มิได้บัญญัติว่าในกรณีที่ไม่พบผู้รับจะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วก็ได้ ดังนั้น การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจึงอยู่ในบังคับของไปรษณียนิเทศ พ.ศ.2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 ข้อกำหนดในไปรษณียนิเทศดังกล่าวมิได้กำหนดอายุผู้แทนของผู้รับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ไว้ ดังนั้น บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกับผู้รับแม้ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็เป็นผู้แทนของผู้รับได้ กรณีไม่อาจนำ ป.วิ.พ.มาตรา 73 ทวิและ 76 มาอนุโลมใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับหนังสือแจ้งภาษีโดยผู้แทนตามกฎหมายไปรษณีย์ และผลต่อการนับระยะเวลายื่นอุทธรณ์
การส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร มาตรา 8 วรรคหนึ่งแห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ส่งได้ 2 วิธี คือ วิธีส่ง โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับและวิธีให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่งเฉพาะวิธีให้เจ้าพนักงานสรรพากรนำไปส่ง ถ้าไม่พบ ผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่หรือสำนักงานของผู้รับจะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็นของผู้รับก็ได้ ส่วนการส่งหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับมาตรา 8 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร มิได้บัญญัติว่าในกรณีที่ไม่พบผู้รับจะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วก็ได้ ดังนั้น การส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับจึงอยู่ในบังคับของไปรษณียนิเทศ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2519 ข้อกำหนดในไปรษณียนิเทศดังกล่าวมิได้กำหนดอายุผู้แทนของผู้รับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ไว้ ดังนั้นบุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกับผู้รับแม้ยังไม่บรรลุนิติภาวะก็เป็นผู้แทนของผู้รับได้ กรณีไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ และ 76มาอนุโลมใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8218/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนา, การส่งหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์, และการฟ้องคดีที่เกินกำหนดเวลา
ตามสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 144 ถนนราชเสียงแสน ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่าโจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของบ้านตั้งแต่ปี 2509 ตลอดมา ซึ่งตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 มาตรา 29ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์อยู่และมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้นแต่โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานข้างต้นได้กลับปรากฎว่าโจทก์ยอมรับว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ส่งไปที่บ้านภรรยาเดิมของโจทก์ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อโจทก์เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์จึงทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีถือว่าบ้านดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ ดังนั้น ถึงแม้จะรับฟังว่า โจทก์มีที่อยู่และที่ทำงานที่บ้านเลขที่ 542/94ถึง 97 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักรกรุงเทพมหานคร อีกแห่งหนึ่งก็ดี ต้องถือว่าโจทก์มีถิ่นที่อยู่2 แห่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 38 ดังนั้นบ้านเลขที่ 144 ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของโจทก์ตามกฎหมาย การที่จะเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่โจทก์อ้าง โจทก์จะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าเลือกเอาบ้านเลขที่ 542/94 ถึง97 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ไม่ปรากฎว่าโจทก์แสดงเจตนาชัดแจ้งเช่นที่กล่าว จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 542/94 ถึง 97เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ อีกทั้งปรากฎตามคำรับรองตอนท้ายคำอุทธรณ์รายนี้ของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าอุทธรณ์ฉบับนี้ โจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144 ถนนราชเชียงแสนตำบลหายยา อำเภอเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เรียงและโจทก์ผู้อุทธรณ์ก็ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียง ผู้พิมพ์ไว้อีกด้วย ดังนี้ เมื่อมีการส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปถึงโจทก์ตามภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ 144 จึงเป็นการส่งไปยังผู้อุทธรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 แห่ง ประมวลรัษฎากรแล้ว การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีนี้เป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กรณีต้องบังคับตามไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ. 2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พ.ศ. 2477 และ มาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ โดยข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับกสท. ถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับ คือ 573.1บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกับผู้รับ เช่น พ่อ แม่พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ลูก หลาน ผู้อาศัย คนรับใช้เป็นต้น" เท่านั้น หาได้กำหนดอายุผู้แทนของผู้รับไว้ไม่เมื่อจำเลยได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และผู้แทนของผู้รับซึ่งอยู่ในบ้านโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 กรณีเช่นนี้ตามไปรษณีย์นิเทศฉบับดังกล่าว ข้อ 575 ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย จึงถือว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์รายนี้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2535 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 จึงพ้นกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8218/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนา, การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์, และกำหนดระยะเวลาฟ้องร้องคดีภาษีอากร
ตามสำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 144 ถนนราชเชียงแสน ตำบลหายยา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่า โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าบ้านตั้งแต่ปี 2509 ตลอดมา ซึ่งตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 มาตรา29 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์อยู่และมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่นั้น แต่โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานข้างต้นได้ กลับปรากฏว่าโจทก์ยอมรับว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ส่งไปที่บ้านภรรยาเดิมของโจทก์ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อโจทก์เดินทางไปจังหวัดเชียงใหม่ โจทก์จึงทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีถือว่าบ้านดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของโจทก์ ดังนั้น ถึงแม้จะรับฟังว่า โจทก์มีที่อยู่และที่ทำงานที่บ้านเลขที่ 542/94ถึง 97 ถนนรัชดาภิเษก แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร อีกแห่งหนึ่งก็ดี ต้องถือว่าโจทก์มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 38 ดังนั้น บ้านเลขที่144 ดังกล่าวจึงเป็นภูมิลำเนาแห่งหนึ่งของโจทก์ตามกฎหมาย
การที่จะเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่โจทก์อ้าง โจทก์จะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าเลือกเอาบ้านเลขที่ 542/94 ถึง 97 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่ง ป.พ.พ. แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์แสดงเจตนาชัดแจ้งเช่นที่กล่าว จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 542/94 ถึง 97 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ อีกทั้งปรากฏตามคำรับรองตอนท้ายคำอุทธรณ์รายนี้ของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า อุทธรณ์ฉบับนี้ โจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144 ถนนราชเชียงแสน ตำบลหายยาอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เรียง และโจทก์ผู้อุทธรณ์ก็ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียง/ผู้พิมพ์ไว้อีกด้วย ดังนี้ เมื่อมีการส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปถึงโจทก์ตามภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ 144 จึงเป็นการส่งไปยังผู้อุทธรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรแล้ว
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีนี้เป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กรณีต้องบังคับตามไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ โดยข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับกสท. ถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับ คือ 573.1 บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกับผู้รับ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ลูก หลาน ผู้อาศัย คนรับใช้เป็นต้น" เท่านั้น หาได้กำหนดอายุผู้แทนของผู้รับไว้ไม่ เมื่อจำเลยได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และผู้แทนของผู้รับซึ่งอยู่ในบ้านโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 กรณีเช่นนี้ตามไปรษณีย์นิเทศฉบับดังกล่าวข้อ 575 ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย จึงถือว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์รายนี้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2535 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 จึงพ้นกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การที่จะเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่โจทก์อ้าง โจทก์จะต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งว่าเลือกเอาบ้านเลขที่ 542/94 ถึง 97 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42 แห่ง ป.พ.พ. แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์แสดงเจตนาชัดแจ้งเช่นที่กล่าว จึงถือไม่ได้ว่าบ้านเลขที่ 542/94 ถึง 97 เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการของโจทก์ อีกทั้งปรากฏตามคำรับรองตอนท้ายคำอุทธรณ์รายนี้ของโจทก์มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่า อุทธรณ์ฉบับนี้ โจทก์อยู่บ้านเลขที่ 144 ถนนราชเชียงแสน ตำบลหายยาอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้เรียง และโจทก์ผู้อุทธรณ์ก็ลงลายมือชื่อในช่องผู้เรียง/ผู้พิมพ์ไว้อีกด้วย ดังนี้ เมื่อมีการส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปถึงโจทก์ตามภูมิลำเนาที่บ้านเลขที่ 144 จึงเป็นการส่งไปยังผู้อุทธรณ์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรแล้ว
การส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีนี้เป็นการส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ กรณีต้องบังคับตามไปรษณีย์นิเทศ พ.ศ.2534 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.ไปรษณีย์ พ.ศ.2477 และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.การสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 ซึ่งใช้บังคับขณะพิพาทกันในคดีนี้ โดยข้อ 572 กำหนดว่า "สิ่งของส่งทางไปรษณีย์อาจนำจ่ายให้แก่ผู้รับหรือผู้แทนของผู้รับก็ได้" ข้อ 573 กำหนดว่า "ในกรณีนำจ่าย ณ ที่อยู่ของผู้รับกสท. ถือว่าบุคคลต่อไปนี้เป็นผู้แทนของผู้รับ คือ 573.1 บุคคลซึ่งอยู่ในบ้านเรือนเดียวกันกับผู้รับ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ลูก หลาน ผู้อาศัย คนรับใช้เป็นต้น" เท่านั้น หาได้กำหนดอายุผู้แทนของผู้รับไว้ไม่ เมื่อจำเลยได้แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และผู้แทนของผู้รับซึ่งอยู่ในบ้านโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2535 กรณีเช่นนี้ตามไปรษณีย์นิเทศฉบับดังกล่าวข้อ 575 ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่วันเวลาที่นำจ่าย จึงถือว่าโจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์รายนี้ตั้งแต่วันที่ 23 ธันวาคม 2535 แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 จึงพ้นกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง