คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1123

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าหุ้นค้างชำระ & ดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แม้มิได้แจ้งดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1112 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าผู้ถือหุ้นที่ยังมิได้ส่งใช้ค่าหุ้นตามวันกำหนด จำต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันที่กำหนดให้ส่งใช้จนถึงวันที่ได้ส่งเสร็จ แม้ตามมาตรา 1123 บัญญัติว่า "ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้นตามวันกำหนด กรรมการจะส่งคำบอกกล่าวด้วยจดหมายส่งลงทะเบียนไปรษณีย์ไปยังผู้นั้น ให้ส่งใช้เงินที่เรียกเก็บกับทั้งดอกเบี้ยด้วยก็ได้" ก็มิได้หมายความว่าหากโจทก์ไม่ได้แจ้งเรื่องการคิดดอกเบี้ยในหนังสือบอกกล่าวที่ส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 แล้วจะทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัด แต่มาตรา 7 บัญญัติว่า "ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี" และมาตรา 224 บัญญัติว่า "หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี..." ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ นับแต่วันที่กำหนดส่งใช้เงินค่าหุ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 และมาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกชำระค่าหุ้น, การริบหุ้น, การขายทอดตลาดหุ้น และความรับผิดของผู้ถือหุ้นค้างชำระ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1119และ1120เมื่อได้ชำระเงินค่าหุ้นงวดแรกแล้วเงินค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใดกรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งชำระให้ครบถ้วนทีเดียวหรือจะแบ่งออกเป็นงวดให้ส่งเมื่อใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังดำรงอยู่เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยให้ทำอย่างอื่นเมื่อปรากฏว่าจำเลยยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอีกหุ้นละ75บาทจำนวน4,500หุ้นดังนั้นกรรมการของโจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างส่งเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจของกรรมการและปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นคนอื่นด้วยแม้จำเลยได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขอแบ่งเงินค่าตอบแทนจากโจทก์คดียังไม่ถึงที่สุดโจทก์จึงได้ฟ้องเรียกค่าหุ้นจากจำเลยเป็นคดีนี้ก็จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งฟ้องจำเลยไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย ประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกี่ยวกับคำบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นการริบหุ้นการขายทอดตลาดหุ้นและความรับผิดของจำเลยนั้นในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่าจำเลยไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระซึ่งโจทก์ได้แจ้งจำเลยล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า21วันหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและข้อแถลงถึงการริบหุ้นกับหนังสือบอกกล่าวถึงการริบหุ้นของจำเลยซึ่งโจทก์ได้ส่งให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามเอกสารหมายจ.1จ.2จ.3จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทั้ง3ฉบับแล้วจำเลยเพิกเฉยตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าถือได้ว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1121,1123,1124แล้วโจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยออกขายทอดตลาดได้ตามมาตรา1125 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1125บัญญัติแต่เพียงว่าหุ้นซึ่งริบแล้วให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้าเมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โฆษณาบอกกล่าวขายทอดตลาดแล้วและโจทก์เป็นผู้ขายทอดตลาดหุ้นแม้ผู้เข้าสู้ราคาจะเป็นเครือญาติของกรรมการผู้จัดการของโจทก์ก็ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา512ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเองและไม่ปรากฏว่าโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตอย่างไรจึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยชอบแล้วและเมื่อขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาจากจำเลยผู้ถือหุ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5276/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกชำระค่าหุ้นค้างชำระ การริบหุ้น และการขายทอดตลาดหุ้นของผู้ถือหุ้น
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1119 และ 1120 เมื่อได้ชำระเงินค่าหุ้นงวดแรกแล้ว เงินค่าหุ้นยังค้างชำระอยู่อีกเท่าใด กรรมการมีอำนาจเรียกให้ผู้ถือหุ้นส่งชำระให้ครบถ้วนทีเดียว หรือจะแบ่งออกเป็นงวดให้ส่งเมื่อใดก็ได้ตราบเท่าที่บริษัทยังดำรงอยู่ เว้นแต่ที่ประชุมใหญ่จะได้วินิจฉัยให้ทำอย่างอื่น เมื่อปรากฏว่าจำเลยยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอีกหุ้นละ 75 บาท จำนวน 4,500 หุ้นดังนั้น กรรมการของโจทก์จึงมีอำนาจเรียกให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นที่ยังค้างส่งเมื่อใดก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจของกรรมการ และปรากฏว่าโจทก์ได้เรียกเงินค่าหุ้นจากผู้ถือหุ้นคนอื่นด้วย แม้จำเลยได้ฟ้องกรรมการผู้จัดการของโจทก์ขอแบ่งเงินค่าตอบแทนจากโจทก์ คดียังไม่ถึงที่สุด โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกค่าหุ้นจากจำเลยเป็นคดีนี้ ก็จะถือว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตกลั่นแกล้งฟ้องจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามกฎหมาย
ประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดเกี่ยวกับคำบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้น การริบหุ้น การขายทอดตลาดหุ้น และความรับผิดของจำเลยนั้น ในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า จำเลยไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวให้ชำระเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ ซึ่งโจทก์ได้แจ้งจำเลยล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 21 วัน หนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระเงินค่าหุ้นพร้อมดอกเบี้ยและข้อแถลงถึงการริบหุ้น กับหนังสือบอกกล่าวถึงการริบหุ้นของจำเลย ซึ่งโจทก์ได้ส่งให้จำเลยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตามเอกสารหมาย จ.1 จ.2 จ.3จึงต้องถือว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกกล่าวทั้ง 3 ฉบับ แล้วจำเลยเพิกเฉย ตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ถือได้ว่า โจทก์ได้ดำเนินการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1121, 1123,1124 แล้ว โจทก์จึงมีสิทธิริบหุ้นของจำเลยออกขายทอดตลาดได้ตามมาตรา 1125
ป.พ.พ.มาตรา 1125 บัญญัติแต่เพียงว่า หุ้นซึ่งริบแล้วให้เอาออกขายทอดตลาดโดยไม่ชักช้า เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้โฆษณาบอกการขายทอดตลาดแล้ว และโจทก์เป็นผู้ขายทอดตลาดหุ้น แม้ผู้เข้าสู้ราคาจะเป็นเครือญาติของกรรมการผู้จัดการของโจทก์ ก็ไม่ได้ความว่าเป็นการกระทำแทนโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 512 ที่ห้ามมิให้ผู้ขายเข้าสู้ราคาเอง และไม่ปรากฏว่าโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยมีพฤติการณ์ไม่สุจริตอย่างไร จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ขายทอดตลาดหุ้นของจำเลยโดยชอบแล้ว และเมื่อขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าเงินค่าหุ้นและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเอาจากจำเลยผู้ถือหุ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดหุ้นค้างชำระ: สิทธิของเจ้าหนี้และบริษัทจำกัดในการริบหุ้น
การที่บริษัทจำกัดจะริบหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นเอาออกขายทอดตลาดนั้นจะต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้บริบูรณ์เสียก่อนมิฉะนั้นต้องถือว่าหุ้นนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นอยู่ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ถือหุ้นมีอำนาจขอให้ศาลสั่งยึดหรืออายัดหุ้นนั้นได้
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการยึดหุ้น: สิทธิของเจ้าหนี้ vs. สิทธิของบริษัทในการริบหุ้น
การที่บริษัทจำกัดจะริบหุ้นของผู้ถือหุ้นที่ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นเอาออกขายทอดตลาดนั้น จะต้องปฏิบัติการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้บริบูรณ์เสียก่อน มิฉะนั้นต้องถือว่าหุ้นนั้นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ถือหุ้นอยู่ ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ถือหุ้นมีอำนาจขอให้ศาลสั่งยึดหรืออายัดหุ้นนั้นได้
ชั้นบังคับคดี เมื่อยังมีข้อเท็จจริงที่ยังโต้เถียงกันอยู่ ศาลอาจไม่สั่งให้ดำเนินการไต่สวน แต่สั่งให้ไปฟ้องกันเป็นคดีใหม่ก็ได้ ในเมื่อเห็นว่าอาจมีเหตุอย่างอื่นที่เป็นข้อยุ่งยากและไม่สะดวกแก่ศาลและคู่ความทุกฝ่าย