พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3044/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการบังคับคดี: สิทธิของผู้รับโอนเมื่อผู้โอนดำเนินการในชั้นบังคับคดีโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์โอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาให้แก่ผู้ร้อง โดยโจทก์และผู้ร้องได้มีหนังสือแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทราบแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้ย่อมสมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังนั้น สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาในคดีนี้จึงตกเป็นของผู้ร้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับเงินตามคำพิพากษาจากจำเลยทั้งสาม การที่โจทก์ยื่นคำแถลงขอรับเงินที่จำเลยที่ 2 นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นได้ออกคำบังคับตามคำแถลงของโจทก์อันเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับตามคำพิพากษาทั้ง ๆ ที่โจทก์สิ้นสิทธิดังกล่าวไปแล้ว เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต กรณีนี้ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งและถูกโต้แย้งสิทธิ จึงชอบที่จะร้องสอดเข้ามาในชั้นบังคับตามคำพิพากษาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7721/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดิน & การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
จำเลยร่วมกับ ส. และ ม. เป็นหุ้นส่วนกันในสัญญาห้างหุ้นส่วนสามัญอันมิได้จดทะเบียนทำธุรกิจในกิจการรับถมดินให้แก่จำเลย แต่จำเลยร่วมเพียงผู้เดียวทำสัญญาเป็นผู้รับจ้างถมดินให้แก่จำเลยผู้ว่าจ้าง ตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 ส. และ ม. มิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน แม้บุคคลทั้งสองจะเป็นหุ้นส่วนกับจำเลยร่วมก็ตาม แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนนั้นหาได้ไม่ ส. และ ม. จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระค่าว่าจ้างถมดินตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินจากจำเลยตามสัญญานี้จึงเป็นของจำเลยร่วมแต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น จำเลยร่วมแต่เพียงผู้เดียวย่อมมีอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่ต่อจำเลยตามสัญญาว่าจ้างถมดินเอกสารหมาย จ. 3 ให้แก่โจทก์ได้ เมื่อจำเลยร่วมได้ทำหนังสือลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 โอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินที่จำเลยร่วมมีสิทธิได้รับจากจำเลยให้แก่โจทก์ โดยจำเลยร่วมจะไม่ยกเลิกเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวตามหนังสือยืนยันหนี้เอกสารหมาย จ. 5 และในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2539 จำเลยได้รับแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องจากโจทก์แล้ว อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องที่ ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 วรรคหนึ่งบัญญัติไว้แล้ว สิทธิเรียกร้องของจำเลยร่วมในการรับเงินค่าจ้างถมดินจากจำเลยจึงตกเป็นของโจทก์ตั้งแต่นั้น จำเลยร่วมย่อมหมดสิทธิที่จะรับเงินดังกล่าวอีกต่อไป ภายหลังจากนั้นจำเลยร่วมหามีสิทธิที่จะเพิกถอนการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวหาได้ไม่ ดังนั้นหนังสือขอเบิกเงินค่าจ้างถมดินส่วนที่เหลือ ที่จำเลยร่วมทำให้ไว้ต่อจำเลยในภายหลังว่าไม่ประสงค์จะมอบหรือโอนสิทธิให้ผู้อื่นมารับแทนโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์นั้นหามีผลไม่
จำเลยและจำเลยร่วมได้ร่วมกันทำบันทึกยอมให้จำเลยปรับจำเลยร่วมในกิจการรับถมดินภายหลังจากที่จำเลยร่วมโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินให้แก่โจทก์แล้วเพื่อเอาเปรียบโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่อาจที่จะปรับโจทก์ได้
จำเลยและจำเลยร่วมได้ร่วมกันทำบันทึกยอมให้จำเลยปรับจำเลยร่วมในกิจการรับถมดินภายหลังจากที่จำเลยร่วมโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างถมดินให้แก่โจทก์แล้วเพื่อเอาเปรียบโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่อาจที่จะปรับโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 620/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากประจำ: การแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจและเจตนาโอนสิทธิ
ฉ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ช. โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสและได้ร่วมกันทำมาหากินโดยการปล่อยเงินกู้ ซื้อขายที่ดินและเป็นนายหน้าขายที่ดิน เงินในบัญชีเงินฝากประจำเป็นทรัพย์สินที่ ช. และ ฉ. ทำมาหาได้ร่วมกันในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยา ช. และ ฉ. จึงต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันในเงินดังกล่าวและต้องแบ่งให้คนละเท่า ๆ กัน โดยเป็นทรัพย์มรดกของ ช. กึ่งหนึ่ง และเป็นทรัพย์มรดกของฉ. กึ่งหนึ่ง
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
การที่ ฉ. ฝากเงินประจำไว้แก่ธนาคารจำเลยที่ 2 เงินที่ฝากประจำย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 คงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่ฝากประจำให้ครบจำนวนเมื่อถึงกำหนดแก่ ฉ.
ฉ. มีเจตนาเงินในบัญชีเงินฝากประจำให้แก่จำเลยที่ 1 และทำหนังสือถึงผู้จัดการจำเลยที่ 2 ให้เพิ่มชื่อจำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากได้แทนการถอนเงินออกมาฝากในนามจำเลยที่ 1 เนื่องจากเงินที่ฝากประจำยังไม่ครบกำหนด หากถอนเงินในขณะนั้นจะไม่ได้ดอกเบี้ย ถือได้ว่า ฉ. มีเจตนาโอนสิทธิเรียกร้องของฉ. ที่ฝากเงินไว้แก่จำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 1 ในลักษณะการโอนหนี้อันจะพึงชำระแก่เจ้าหนี้โดยเฉพาะเจาะจง เมื่อได้มีการปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง โดย ฉ. ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อและบอกกล่าวไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในเงินฝากประจำของ ฉ. ให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นอันสมบูรณ์สิทธิที่จะได้รับชำระหนี้เงินฝากประจำจึงตกเป็นของจำเลยที่ 1 กรณีไม่ใช่เป็นเพียงมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิถอนเงินและปิดบัญชีเงินฝากแทน ฉ. เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างเหมา: เจตนาของจำเลยสำคัญกว่าเงื่อนไขในสัญญา
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่า ผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคสอง กับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้าง จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า หากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อ ๆ ไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้าง อันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 15 ก็ตาม แต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์ โดยขอให้มีข้อความระบุว่า "จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์" สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิม ซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่า จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง และตามสัญญาจ้างเหมาแล้ว ส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้น เป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใด ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอน ไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง
ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน หนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง หนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่ม ดังนั้น จะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้
ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน หนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง หนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่ม ดังนั้น จะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง: ผลผูกพันต่อจำเลยเมื่อได้รับแจ้งและยินยอม
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่าผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองกับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าหากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อๆไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้างอันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ15ก็ตามแต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า"จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์"สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิมซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่าจำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งและตามสัญญาจ้างเหมาแล้วส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้นเป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใดตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้นส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอนไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินหนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่มดังนั้นจะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้