คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สบโชค สุขารมณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 504 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า: ความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ vs. พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ ก. ว่า จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันทำไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยนำไม้ซึ่งแปรรูปแล้วใส่กระบะพ่วงรถไถนาเดินตามออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แม้การกระทำของจำเลยทั้งสามดังกล่าวเป็นความผิดฐานร่วมกันทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 73 วรรคหนึ่ง เนื่องจากพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 4 (5) ให้ความหมายว่าการนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ เป็นการทำไม้ ตามนิยามคำว่า "ทำไม้" ด้วยก็ตาม แต่ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามด้วยนั้น มิได้บัญญัติให้การนำไม้ออกจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตามฟ้อง เป็นความผิดตามกฎหมายดังกล่าวดังเช่นที่ได้บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้อง จึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันตัดหรือโค่นต้นไม้หรือพฤกษชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 มาตรา 38, 54 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดตามมาตราดังกล่าว เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวน: การบังคับใช้กฎกระทรวงเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 12 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บุคคลใดอ้างว่ามีสิทธิหรือได้ทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติใดอยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงกำหนดป่าสงวนแห่งชาตินั้นใช้บังคับ ให้ยื่นคำร้องเป็นหนังสือต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอท้องที่ภายในกำหนด 90 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนั้นใช้บังคับ..." และมาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า "กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้" ดังนั้น เมื่อกฎกระทรวงฉบับที่ 597 (พ.ศ.2516) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจึงย่อมมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายและถือได้ว่าจำเลยทั้งสองหรือผู้ครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุเจ้าของเดิมสามารถใช้สิทธิตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ มิใช่นับแต่มีการปิดประกาศสำเนากฎกระทรวงและแผนที่ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวให้ราษฎรทราบตามมาตรา 9 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ จำเป็นต้องวางค่าธรรมเนียมและหลักประกันตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งปัญหาข้อกฎหมายไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จำนวน 2 ฉบับ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า กรณีเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านคำสั่งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ยังได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ไม่นำค่าธรรมเนียมใช้แทนมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ไม่รับอุทธรณ์ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ทั้งสามฉบับของจำเลยที่ 2 นั้น จึงเป็นการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง จำเลยที่ 2 ก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาตาม ป.วิ.พ. 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนโดยทราบว่าไม่มีสิทธิ ย่อมเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวน
จำเลยทราบแล้วว่าไม่มีสิทธิยึดถือครอบครองที่ดินที่เกิดเหตุซึ่งเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่ยังคงครอบครองปลูกต้นส้มต่อไป ย่อมเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เพราะทำให้กลายเป็นสวนส้ม ไม่เป็นป่าตามสภาพเดิม จำเลยไม่ได้สำคัญผิดในข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่เกิดเหตุได้ตาม ป.อ. มาตรา 62 จึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14 และมาตรา 31 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15179/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตควบคุมการแปรรูปไม้: โจทก์ไม่นำสืบประกาศ แต่จำเลยไม่โต้แย้ง ถือว่าจำเลยทราบแล้ว ศาลลงโทษได้
มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ ที่กำหนดให้คัดสำเนาประกาศรัฐมนตรีซึ่งกำหนดขึ้นตามบทแห่งกฎหมายดังกล่าวประกาศไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นแต่เพียงการกำหนดวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำในการประกาศให้ทราบถึงประกาศรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ใช่บทบังคับอันเป็นองค์ประกอบความผิด การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกับพวกมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2499 โดยประกาศดังกล่าวได้มีการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทราบโดยทั่วกัน และจำเลยกับพวกได้ทราบแล้ว ซึ่งจำเลยไม่เคยโต้เถียงทั้งไม่ฎีกาว่าท้องที่เกิดเหตุมิใช่เขตควบคุมการแปรรูปไม้ แสดงว่าจำเลยทราบประกาศดังกล่าวแล้ว หากจำเลยเห็นว่ายังไม่ได้มีการปิดประกาศดังกล่าว ซึ่งจะใช้บังคับแก่จำเลยไม่ได้ ก็เป็นข้อที่จำเลยจะต่อสู้ขึ้นมาให้เห็นเป็นประเด็นในศาลชั้นต้น ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่า ได้มีการคัดสำเนาประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15179/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประกาศเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ การพิสูจน์ทราบประกาศไม่ใช่องค์ประกอบความผิด
มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่กำหนดให้คัดสำเนาประกาศรัฐมนตรีซึ่งกำหนดขึ้นตามบทแห่งกฎหมายดังกล่าวประกาศไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นเป็นแต่เพียงการกำหนดวิธีการให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่กระทำในการประกาศให้ทราบถึงประกาศรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่ใช่บทบังคับอันเป็นองค์ประกอบความผิดการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยร่วมกับพวกมีไม้สักแปรรูปไว้ในครอบครองภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2499 โดยประกาศดังกล่าวได้มีการคัดสำเนาประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้ทราบโดยทั่วกัน และจำเลยกับพวกได้ทราบแล้ว ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำสืบให้เห็นว่า ได้มีการคัดสำเนาประกาศกระทรวงเกษตร เรื่องกำหนดเขตควบคุมการประรูปไม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ปิดประกาศไว้ ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการปรับดอกเบี้ยของสถาบันการเงินภายใต้ข้อจำกัดของกฎหมายเฉพาะ (ธนาคารอาคารสงเคราะห์) และแนวทางการพิจารณาของศาล
ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงระเบียบบริหารงานของโจทก์ที่ประกาศให้ลูกค้าทราบเพื่อประโยชน์ในการติดต่อและเป็นแนวทางในการตัดสินใจเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคารเท่านั้น จึงไม่มีผลบังคับเหมือนเช่นธนาคารพาณิชย์ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยมีอำนาจกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด โดยต้องประกาศอัตราดอกเบี้ยทั่วไปและอัตราดอกเบี้ยผิดนัดที่เรียกจากลูกค้าและจะเรียกเกินกว่าประกาศนั้นไม่ได้ ทั้งจะนำประกาศของธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวมาใช้กับโจทก์ไม่ได้เพราะโจทก์จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496 และมีประกาศกระทรวงการคลังกำหนดให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปี ซึ่งไม่มีข้อกำหนดให้โจทก์ต้องประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยดังเช่นธนาคารพาณิชย์แต่อย่างใด ประกาศของโจทก์เรื่องกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการเรียกดอกเบี้ยตามคุณภาพลูกค้าแต่ละรายของโจทก์ โจทก์ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยรวม 14 ครั้ง แม้การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวในบางครั้งจะไม่ตรงตามประกาศของโจทก์ก็เป็นดุลพินิจในการพิจารณากับลูกค้าแต่ละรายโดยเฉพาะ โจทก์จึงมีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับจำเลยไม่เป็นไปตามประกาศของโจทก์ได้ แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้เงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8371/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. 4-01: ที่ดินของรัฐ – การทำไม้หวงห้ามในพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 36 ทวิ วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาก็เพื่อนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มิได้มุ่งหมายให้ ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิ์เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อที่ดินพิพาทเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติเป็นที่ดินของรัฐ แม้ถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติอันเนื่องจากการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 มาตรา 26 (4) ก็ยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนประเภทของที่ดิน วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินและเปลี่ยนหน่วยงานของรัฐผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในที่ดินจากกรมป่าไม้เป็น ส.ป.ก. โดยให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามมาตรา 36 ทวิ ยังคงเป็นที่ดินของรัฐตาม ป.ดิน มาตรา 2 ไม่อาจถือได้ว่า ส.ป.ก. เป็นบุคคลผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) ที่ดินพิพาทจึงไม่มีบุคคลใดมาตามกฎหมายที่ดิน การที่ ส.ป.ก. ออกเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. ให้แก่เกษตรกรจึงเป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินเท่านั้นไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของที่ดินนั้น
การที่ ส. ได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. มาไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตาม ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) จึงยังมิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน และยังคงเป็นป่าตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 4 (1) การที่จำเลยที่ 1 ตัดฟันโค่นไม้ประดู่อันเป็นไม่หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ก. ของ ส. โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงมีความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8371/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน ส.ป.ก. กับการทำไม้หวงห้าม: ที่ดิน ส.ป.ก. ยังคงเป็นที่ดินของรัฐ
พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 36 ทวิ วรรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาก็เพื่อนำไปใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มิได้มุ่งหมายให้ ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิ์ เช่นเดียวกับเจ้าของทรัพย์สินทั่วไปที่มีสิทธิใช้สอย จำหน่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อที่ดินพิพาทเดิมเป็นป่าสงวนแห่งชาติเป็นที่ดินของรัฐ แม้ถูกเพิกถอนสภาพจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติอันเนื่องจากการดำเนินการตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มาตรา 26 (4) ก็ตาม ก็ยังคงเป็นที่ดินของรัฐอยู่เพียงแต่เปลี่ยนประเภทของที่ดิน วัตถุประสงค์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินและเปลี่ยนหน่วยงานของรัฐผู้ดูแลและใช้ประโยชน์ในที่ดินจากกรมป่าไม้เป็น ส.ป.ก. โดยให้ ส.ป.ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตามมาตรา 36 ทวิ ที่ดินพิพาทยังคงเป็นที่ดินของรัฐตาม ป.ที่ดิน มาตรา 2 ไม่อาจถือได้ว่า ส.ป.ก. เป็นบุคคลผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตามกฎหมายอื่นตามความหมายของ ป.ที่ดิน มาตรา 3 (2) ที่ดินพิพาทยังเป็นที่ดินที่มิได้มีบุคคลใดได้มาตามกฎหมายที่ดิน การที่ ส.ป.ก. ออกเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. จัดสรรในที่ดินของรัฐให้แก่เกษตรกร จึงเป็นเพียงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเท่านั้น ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของที่ดินนั้น ดังนั้นที่ ส. ได้ที่ดินที่มีเอกสาร ส.ป.ก. 4-01 ก. ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามกฎหมายอื่นตามที่บัญญัติในมาตรา 3 (2) แห่ง ป.ที่ดิน ที่ดินดังกล่าวจึงยังมิได้มีบุคคลได้มาตาม ป.ที่ดิน และยังคงเป็นป่าตามมาตรา 4 (1) แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ การที่จำเลยที่ 1 ตัดฟันโค่นไม้ประดู่อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ก. ของ ส. โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นความผิดฐานทำไม้หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8248/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท กรณีครอบครองเลื่อยโซ่ยนต์ และการจ่ายสินบนรางวัลเมื่อไม่มีการริบของกลาง
สำหรับความผิดฐานร่วมกันซื้อหรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้าม และฐานร่วมกันมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดตาม ป.อ. มาตรา 91 นั้น ไม่ถูกต้อง เนื่องจากแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องแยกเป็นความผิด 2 กรรมก็ตาม แต่การที่จำเลยซื้อหรือรับไว้ซึ่งเลื่อยโซ่ยนต์ของกลางที่มีผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยหลีกเลี่ยงอากรข้อห้าม และการมีเลื่อยโซ่ยนต์ดังกล่าวไว้ในครอบครองนั้น เห็นได้ว่าเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน คือการครอบครองเลื่อยโซ่ยนต์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 90 เมื่อความผิดตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมอากรเข้าด้วยแล้ว หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว มีระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีเท่ากัน แต่คดีนี้ราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเป็นเงิน 3,730 บาท หากมีการลงโทษปรับสูงสุดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ทวิ จะลงโทษปรับได้เป็นเงิน 14,920 บาท แต่ตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง ลงโทษปรับได้สูงสุดหนึ่งแสนบาท จึงถือว่าโทษปรับตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่ง เป็นบทที่มีโทษหนักกว่า ต้องลงโทษตาม พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด ฯ กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบ หรือในกรณีที่ศาลมิได้สั่งริบของกลางหรือของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล เมื่อคดีนี้ศาลมิได้สั่งริบของกลาง และมิได้ลงโทษปรับจำเลยที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จ่ายสินบนและรางวัลตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
of 51