พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5391/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: การมอบหมายผู้รับชำระหนี้เดิมและการเข้าสวมสิทธิเรียกร้องโดยชอบ
บริษัทบริหารสินทรัพย์โจทก์มอบหมายให้ธนาคาร ก. ผู้รับชำระหนึ้เดิมเป็นผู้เรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ จึงเป็นการที่โจทก์ได้มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนในการเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ว่าธนาคาร ก. หรือโจทก์จะไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 การโอนสิทธิเรียกร้องนี้ก็ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิเข้าสวมสิทธิในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งในอันที่จะบังคับชำระหนี้แก่จำเลยต่อไปตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยให้ชำระเงินจำนวน 1,951,461.86 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 16 ต่อปี และชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิของโจทก์จะบังคับคดีกับจำเลยได้จะต้องล่วงเลยระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน ดังนั้น สิทธิของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เมื่อโจทก์คดีนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมจึงไม่สิ้นระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้
การที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามหมายบังคับคดีและได้ขายทอดตลาดทรัพย์แล้ว แต่ยังมีหนี้ที่ค้างชำระโจทก์อยู่อีก กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (5) โดยโจทก์มิต้องอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (9) ดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใดอีก ทั้งในการขอให้ล้มละลายโจทก์จะอ้างข้อสันนิษฐานใดอนุมาตราใดมาตราหนึ่งของมาตรา 8 ก็ได้ และในการฟ้องให้ล้มละลายก็ไม่จำเป็นต้องมีการทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9)
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยให้ชำระเงินจำนวน 1,951,461.86 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 16 ต่อปี และชำระให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิของโจทก์จะบังคับคดีกับจำเลยได้จะต้องล่วงเลยระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน ดังนั้น สิทธิของโจทก์จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2537 เมื่อโจทก์คดีนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองให้ล้มละลายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2547 สิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมจึงไม่สิ้นระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 โจทก์จึงมีสิทธินำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีล้มละลายได้
การที่โจทก์ได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ตามหมายบังคับคดีและได้ขายทอดตลาดทรัพย์แล้ว แต่ยังมีหนี้ที่ค้างชำระโจทก์อยู่อีก กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 1 มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (5) โดยโจทก์มิต้องอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (9) ดังที่จำเลยอุทธรณ์แต่อย่างใดอีก ทั้งในการขอให้ล้มละลายโจทก์จะอ้างข้อสันนิษฐานใดอนุมาตราใดมาตราหนึ่งของมาตรา 8 ก็ได้ และในการฟ้องให้ล้มละลายก็ไม่จำเป็นต้องมีการทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาล้มละลาย: การรับฟังเอกสารสำเนาและภาระการนำสืบของลูกหนี้
แม้หนังสือมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจช่วง และสัญญาโอนสินทรัพย์ เป็นสำเนาเอกสาร แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งบันทึกเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีในช่วงเวลาที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน จำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารว่าไม่ถูกต้อง ศาลไม่ควรรับเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 คงมีแต่เพียงคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 2 ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนาเอกสารใช่หรือไม่เท่านั้น ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) ส่วนหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเป็นต้นฉบับเอกสาร การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นการโอนหนี้ด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 9 ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ หรือบอกกล่าวการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 โจทก์จึงเข้าสวมสิทธิของธนาคาร ท เป็นเจ้าหนี้จำเลยทั้งสองได้ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น การฟ้องคดีของโจทก์ฟ้องโดยอาศัยข้อสันนิษฐานอื่นไม่ใช่ข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) เรื่องการทวงถาม จึงไม่ต้องทวงถามก่อนฟ้อง โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้เสียภายใต้ พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์ และการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน
การโอนสิทธิเรียกร้องอันเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในรายของจำเลยที่ถูกโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาล เป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวระหว่างโจทก์กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ผู้รับโอน เมื่อผู้รับโอนได้มอบอำนาจให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ถือได้ว่าเป็นการมอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก. ดังกล่าว การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. จึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็น ลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. จึงมีสิทธิยื่นคำร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ได้ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ จึงชอบแล้ว
การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวระหว่างโจทก์กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. ผู้รับโอน เมื่อผู้รับโอนได้มอบอำนาจให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ถือได้ว่าเป็นการมอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก. ดังกล่าว การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. จึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็น ลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. จึงมีสิทธิยื่นคำร้องเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ได้ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ตามคำพิพากษาให้บริษัทบริหารสินทรัพย์โดยไม่ต้องบอกกล่าวลูกหนี้ตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
หนี้ตามคำพิพากษาที่เป็นสินทรัพย์ด้วยคุณภาพของธนาคารโจทก์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โจทก์ย่อมสามารถโอนสินทรัพย์ดังกล่าวที่เป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และผู้ร้องได้มอบหมายให้โจทก์ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้อง จึงเป็นอันชอบด้วยพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 และมาตรา 9 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนไปยัง จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้ ทั้งการโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องมิใช่การซื้อขายความจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 6 บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์ของสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ถ้าเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกันอย่างอื่นที่มิใช่สิทธิจำนอง สิทธิจำนำ หรือสิทธิอันเกิดแต่การค้ำประกันให้หลักประกันนั้นตกแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย มาตรา 9 บัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องจากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ หากบริษัทบริหารสินทรัพย์มอบหมายให้ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์? เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้เป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โจทก์ย่อมสามารถโอนสินทรัพย์ที่เป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์ไปให้ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ และผู้ร้องได้มอบหมายให้โจทก์ผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นตัวแทนเรียกเก็บเงินและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้น การโอนสิทธิเรียกร้องรายนี้จึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมาย โดยไม่จำต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แต่อย่างใด ผู้ร้องย่อมเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้ ตามบทกฎหมายดังกล่าวซึ่งประกาศใช้โดยชอบแล้ว การโอนสินทรัพย์ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องหาใช่การซื้อขายความกันดังที่จำเลยทั้งสองอ้างไม่ กรณีจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ