พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7183/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินที่ถูกชำระบัญชี ไม่เป็นสัญญาซื้อขายความกัน
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยไม่เคยได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ สัญญาซื้อขายสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นนิติกรรมนอกวัตถุประสงค์ของโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว และโจทก์มิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ ปรส. ระหว่างโจทก์กับ ปรส. เกิดขึ้นจากการที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 7 (3) ให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการซึ่งในคดีนี้คือ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม.ซี.ซี. จำกัด (มหาชน) เพราะบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ และพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าวได้อีกโดยเปิดประมูลอย่างเปิดเผย เมื่อโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์และสินเชื่อซึ่งมีจำเลยเป็นลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ การซื้อขายของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นไปตามที่ พ.ร.ก.การปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 กำหนด สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายความกัน และมิได้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
สัญญาซื้อขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของ ปรส. ระหว่างโจทก์กับ ปรส. เกิดขึ้นจากการที่ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 มาตรา 7 (3) ให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการซึ่งในคดีนี้คือ บริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เอ็ม.ซี.ซี. จำกัด (มหาชน) เพราะบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ และพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 30 วรรคหนึ่ง ยังให้อำนาจ ปรส. มีอำนาจขายทรัพย์สินเพื่อชำระบัญชีของบริษัทดังกล่าวได้อีกโดยเปิดประมูลอย่างเปิดเผย เมื่อโจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อสินทรัพย์และสินเชื่อซึ่งมีจำเลยเป็นลูกหนี้ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ การซื้อขายของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นไปตามที่ พ.ร.ก.การปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 กำหนด สัญญาซื้อขายดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาซื้อขายความกัน และมิได้เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10668/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมไม่ฟ้องคดีหลังยื่นขอรับชำระหนี้: สิทธิฟ้องของเจ้าหนี้ที่ถูกจำกัดภายใต้ พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
ตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 มาตรา 26 ได้บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลใดฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลายในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การ" แสดงว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะนำมาใช้บังคับได้เฉพาะในกรณีที่สถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการอยู่ในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินแล้วเท่านั้น และเมื่อคดีรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินให้แก้ไขฟื้นฟูฐานะตามแผนที่จำเลยที่ 2 เสนอเช่นนี้ โจทก์จะอ้างบทกฎหมายดังกล่าวมาเป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์หาได้ไม่ เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้สามัญของจำเลยที่ 2 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จำเลยที่ 2 ค้างชำระแก่โจทก์ตามประกาศคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (3) และ 16 (3) แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 โจทก์จึงต้องอยู่ในบังคับของหลักเกณฑ์ตามประกาศดังกล่าว ซึ่งตามประกาศดังกล่าวข้อ 3.2 เจ้าหนี้ของสถาบันการเงินที่ถูกคำสั่งให้ระงับกิจการที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินตามมาตรา 30 ของพระราชกำหนดดังกล่าวต้องให้ความยินยอมที่จะไม่ฟ้องคดีสถาบันการเงินนั้น ซึ่งตามข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้ไว้ต่อคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้จึงเท่ากับว่า โจทก์ต้องผูกพันตามข้อกำหนดในการยินยอมที่จะไม่ฟ้องสถาบันการเงินนั้นเป็นคดีต่อศาลด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5124/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้บริษัทผู้รับอาวัลถูกระงับกิจการ และมีกระบวนการปฏิรูปสถาบันการเงิน
จำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งประกอบกิจการบริษัทเงินทุนเป็นผู้รับอาวัลให้แก่โจทก์ แม้ก่อนที่ตั๋วสัญญาใช้เงินจะถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการของจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ และต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542 คณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (คณะกรรมการ ปรส.) ได้มีประกาศเรื่อง การขอรับชำระหนี้สำหรับเจ้าหนี้และการจัดสรรเงินจากการขายทรัพย์สินให้แก่เจ้าหนี้ก็ตาม คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดังกล่าวมิได้มีผลให้หนี้ระหว่างจำเลยที่ 2 และโจทก์ระงับไป จำเลยที่ 2 ยังคงต้องรับผิดต่อโจทก์อยู่เช่นเดิม ส่วนการบังคับชำระหนี้จะดำเนินการโดยวิธีใดนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อพิจารณาประกอบกับมาตรา 26 แห่ง พ.ร.ก. การปฏิรูประบบสถาบันการเงินจะเห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายบัญญัติห้ามไว้แต่เฉพาะจะฟ้องบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องเป็นคดีล้มละลาย ในระหว่างดำเนินการตามแผนเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ ปรส. ไม่ได้เท่านั้น ส่วนประกาศของคณะกรรมการ ปรส. ว่าด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ก็มิได้บังคับว่า เจ้าหนี้จะต้องยื่นขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการ ปรส. เท่านั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงินได้