พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทหลักทรัพย์ในคดีที่เกี่ยวข้องกับกองทุนรวมที่จดทะเบียนแล้ว
กองทุนรวมเป็นการออกหน่วยลงทุนของแต่ละโครงการจำหน่ายแก่ประชาชนเพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนนั้นไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลโดยวิธีอื่น เพื่อหากำไรมาแบ่งให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุน การจัดการกองทุนรวมเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง การขอจัดตั้งกองทุนรวมจึงต้องกระทำโดยบริษัทหลักทรัพย์ โจทก์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมไทยพาณิชย์ทุนทวี 2 และกองทุนไทยพาณิชย์สะสมทรัพย์ก้าวหน้าแล้ว โจทก์ได้จัดให้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมทั้งสอง ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 121 และ 122 และได้จดทะเบียนกองทรัพย์สินของกองทุนรวมทั้งสองเป็นกองทุนรวมตามเงื่อนไขในมาตรา 124 วรรคหนึ่งแล้ว ผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมมีหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนในการติดตามดูแลให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติจัดการกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายโดยเคร่งครัด และมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทหลักทรัพย์ อันเป็นการใช้สิทธิควบคุมบริษัทหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนเท่านั้น ผู้ดูแลผลประโยชน์มิได้มีอำนาจในการจัดการกองทุนรวม ส่วนการจดทะเบียนกองทรัพย์สินของทุนรวมตามมาตรา 124 วรรคสอง ที่มีผลทำให้กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคลนั้น เป็นเพียงการแยกหน่วยลงทุนซึ่งเป็นทรัพย์สินของแต่ละกองทุนรวมออกจากกันเพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมแต่ละกองทุนไปหาผลประโยชน์ตามโครงการจัดการกองทุนรวม ผลประโยชน์ที่ได้มาจากการจัดการกองทุนรวมใดก็ตกเป็นทรัพย์สินของกองทุนรวมนั้น และเป็นการแยกกองทรัพย์สินของกองทุนรวมซึ่งเป็นทรัพย์สินของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวมต่างหากจากกองทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้จัดการ เป็นการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวมเท่านั้น การจัดการและการรับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวมยังเป็นอำนาจของบริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามหนังสือข้อสนเทศเสนอขายหุ้นกู้ต่อกองทุนรวมทั้งสองเป็นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทจัดการกองทุนรวม: บริษัทหลักทรัพย์มีอำนาจฟ้องแทนกองทุนรวมเมื่อผิดสัญญา
โจทก์เป็นบริษัทหลักทรัพย์ประเภทกิจการจัดการลงทุน ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้จัดตั้งกองทุนรวม 2 กองทุน และได้จดทะเบียนกองทุนรวมทั้งสองเป็นนิติบุคคลไว้กับสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อออกหน่วยลงทุนมาจำหน่ายแก่ประชาชนนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินหรือไปหาดอกผลโดยวิธีอื่นได้ เนื่องจากการจัดการกองทุนรวมเป็นธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทหนึ่ง แต่การจัดการกองทุนรวมโจทก์จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุนรวมตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ฯ มาตรา 117 ถึงมาตรา 132 โจทก์จึงมีอำนาจในการจัดการและรับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนตามมาตรา 117 ประกอบด้วยมาตรา 124 วรรคสองและมาตรา 125 (1) และโจทก์ก็ได้จัดให้ธนาคาร ก. เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามมาตรา 121 และมาตรา 122 มีหน้าที่เสมือนเป็นตัวแทนของผู้ถือหน่วยลงทุนในการติดตามดูแลควบคุมให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติจัดการกองทุนรวมตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายโดยเคร่งครัด และมีอำนาจฟ้องร้องบังคับคดีให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่ของตน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน ผู้ดูแลผลประโยชน์จึงมิได้มีอำนาจในการจัดการกองทุนรวม ส่วนการกำหนดให้กองทุนรวมเป็นนิติบุคคลเป็นเพียงการแยกหน่วยลงทุนซึ่งเป็นทรัพย์สินของแต่ละกองทุนออกจากกันแยกต่างหากจากกองทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นผู้จัดการเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนในแต่ละกองทุนรวม เมื่อจำเลยออกหุ้นกู้เสนอขายแก่นักลงทุนและโจทก์ได้ซื้อหุ้นกู้ดังกล่าวในนามของทั้งสองกองทุนรวม ต่อมาจำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามหนังสือเสนอขายหุ้นต่อกองทุนรวมทั้งสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1669/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกองทุนรวม, สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยหลังการระงับกิจการ, และผลกระทบของ พรบ. การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการจัดการกองทุนรวม โดยได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ให้จัดตั้งกองทุนรวมอันเป็นกองทุนรวมตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อโจทก์ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งกองทุนรวมในโครงการใดแล้ว โจทก์จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการจัดการกองทุนรวมตามที่บัญญัติไว้ในเรื่องจัดการกองทุนรวมตั้งแต่มาตรา 117 ถึงมาตรา 132 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เช่น ตามมาตรา 122 ก่อนโจทก์จะเสนอขายหน่วยลงทุนต่อประชาชน โจทก์จะต้องจัดให้มีผู้ดูแลผลประโยชน์ของกองทุนรวมตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 121 แต่ผู้ดูแลผลประโยชน์ดังกล่าวมีหน้าที่เพียงเข้ามาดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนซึ่งเป็นประชาชนเท่านั้น มิได้มีอำนาจในการจัดการกองทุนแต่ประการใดดังที่มาตรา 127(1) และ (5)บัญญัติให้ผู้ดูแลผลประโยชน์ดูแลให้บริษัทหลักทรัพย์ปฏิบัติตามหน้าที่ของตนหรือฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนทั้งปวง หรือเมื่อได้รับคำสั่งจากสำนักงาน ก.ล.ต. มาตรา 124 วรรคสองบัญญัติให้กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทหลักทรัพย์นำทรัพย์สินของกองทุนรวมไปลงทุนตามโครงการจัดการกองทุนรวมตามที่ได้รับอนุมัติโดยให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวมทั้ง มาตรา 125(1) และ (6) ยังบัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า ในการจัดการกองทุนรวมบริษัทหลักทรัพย์ต้องดำเนินการจัดการให้เป็นไปตามโครงการจัดการกองทุนรวมที่ได้รับอนุมัติตลอดจนข้อผูกพันที่ทำไว้กับผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างเคร่งครัด ส่วนมาตรา 124 บัญญัติให้กองทุนรวมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคลนั้น ก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้กองทุนรวมนั้นเป็นเจ้าของทรัพย์สินในนามของตนเองได้และเป็นการแยกทรัพย์สินของกองทุนรวมออกจากทรัพย์สินของบริษัทหลักทรัพย์โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุน มาตรา 124 วรรคสองก็บัญญัติให้บริษัทหลักทรัพย์เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวม โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การบังคับให้เป็นไปตามสิทธิเรียกร้องกับการจะได้รับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องก่อนเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เพียงใด เป็นคนละเรื่องคนละตอน เมื่อบริษัทจำเลยถูกกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการชั่วคราว และแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยมิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)จำเลยจึงต้องเลิกกิจการและชำระบัญชีตามพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิที่จะให้จำเลยไถ่ถอนหุ้นกู้ได้ตามเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวน เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไถ่ถอนหุ้นกู้ตามสิทธิของโจทก์ จำเลยได้รับหนังสือแล้วกลับเพิกเฉย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว
การบังคับให้เป็นไปตามสิทธิเรียกร้องกับการจะได้รับชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องก่อนเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เพียงใด เป็นคนละเรื่องคนละตอน เมื่อบริษัทจำเลยถูกกระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ระงับการดำเนินกิจการชั่วคราว และแผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยมิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)จำเลยจึงต้องเลิกกิจการและชำระบัญชีตามพระราชกฤษฎีกาการปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิที่จะให้จำเลยไถ่ถอนหุ้นกู้ได้ตามเงื่อนไขในหนังสือชี้ชวน เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไถ่ถอนหุ้นกู้ตามสิทธิของโจทก์ จำเลยได้รับหนังสือแล้วกลับเพิกเฉย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แล้ว