คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 159

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติดใหม่ และการพิจารณาโทษสำหรับความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด
ป.วิ.อ มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี...(7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง" และมาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้อง หรือยกฟ้อง หรือไม่ประทับฟ้อง" ซึ่งคำว่า "ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย..."นั้น หมายถึง กรณีที่ศาลตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ปรากฏว่าคำฟ้องที่ยื่นนั้น โจทก์กระทำไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยเขตอำนาจศาลที่ยื่นฟ้องตามมาตรา 157 หรือกระทำไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 158 (1) ถึง (7) มาตรา 159 และมาตรา 160 หากผลการตรวจคำฟ้องปรากฏว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 161 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เมื่อตามฟ้องโจทก์ปรากฏลายมือชื่อผู้เรียงและผู้พิมพ์แล้ว แต่ไม่ปรากฏลายมือชื่อโจทก์อันเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.อ มาตรา 158 (7) ก็ตาม แต่ก็ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ที่ศาลสามารถสั่งให้แก้ไขได้ การที่ศาลชั้นต้นรับฟ้องโดยไม่มีลายมือชื่อโจทก์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ มาตรา 158 (7) ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 และมิได้มีคำสั่งให้โจทก์ลงลายมือชื่อในฟ้องให้ถูกต้องเสียก่อน จึงเป็นข้อผิดพลาดที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยจำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงประกอบอุทธรณ์ จำเลยที่ 2 ยื่นคำแก้อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนพบข้อผิดพลาดของโจทก์และศาลชั้นต้นดังกล่าว โดยศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาแห่งคดีแล้ว ซึ่ง ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลสั่งโจทก์แก้ฟ้องให้ถูกต้องได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไว้ เช่นนี้ ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะให้ศาลชั้นต้นสั่งโจทก์แก้ไขฟ้องโดยให้โจทก์ลงลายมือชื่อในคำฟ้องให้ถูกต้องได้ การที่ศาลอุทธรณ์ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดเสร็จแล้วให้ส่งสำนวนคืนศาลอุทธรณ์เพื่อดำเนินการต่อไป จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง และมาตรา 215 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 3 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 549/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยเนื่องจากเคยต้องโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ และกลับมากระทำความผิดซ้ำภายในห้าปี
คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องถึงคดีที่โจทก์อาศัยเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษและมีคำขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 92 แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบคำให้การจำเลยที่ 1 ว่า เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษ แต่โจทก์ได้อ้างส่งบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้การว่า เคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกในความผิดฐานลักทรัพย์ และพ้นโทษเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 และจำเลยที่ 1 ยังเบิกความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามติงว่า จำเลยที่ 1 พ้นโทษออกจากเรือนจำกลางสุรินทร์ในข้อหาลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 ต่อมาอีก 27 วัน ก็ถูกจับกุมคดีนี้ อันสอดคล้องกับบันทึกคำให้การดังกล่าว และได้ความตรงกับคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุขอให้เพิ่มโทษตามฟ้องว่า จำเลยเคยต้องโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ของศาลชั้นต้นจริง เมื่อพ้นโทษจำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ ถือว่าโจทก์ได้นำสืบให้ปรากฏข้อเท็จจริงนั้นแล้ว จึงเพิ่มโทษจำเลยที่ 1 ตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12670/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำซ้อนและประเด็นการเพิ่มโทษในความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้าและอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อระหว่างเดือนเมษายน 2548 เวลากลางวัน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 เวลาประมาณ 18.45 นาฬิกา วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยเป็นคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศกัมพูชา เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว โดยไม่ผ่านช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง...อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ส่วนในคดีเดิมหมายเลขแดงที่ อย. 3475/2550 ของศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อประมาณปี 2548 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัดต่อเนื่องตลอดมาจนถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2550 จำเลยเป็นคนต่างด้าว สัญชาติกัมพูชา มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศกัมพูชา เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรทางอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยไม่ผ่านช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง...อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต เห็นได้ว่า เวลากระทำความผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมก่อนวันที่ 9 กันยายน 2552 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยพ้นโทษในคดีเดิมเป็นส่วนหนึ่งของเวลาเดียวกัน เมื่อฟ้องคดีนี้ระบุว่า จำเลยกระทำผิดระหว่างเดือนเมษายน 2548 เวลากลางวัน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 เวลาประมาณ 18.45 นาฬิกา วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จึงอาจเป็นการกระทำความผิดก่อนวันที่ยังจะต้องรับโทษอยู่หรือก่อนวันพ้นโทษในวันที่ 9 กันยายน 2552 ดังที่ระบุในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้ มิใช่เป็นการกระทำความผิดหลังวันที่จำเลยพ้นโทษในคดีดังกล่าว จึงไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติด: การตีความคำขอท้ายฟ้อง และขอบเขตการเพิ่มโทษในกระทงต่างๆ
แม้ ป.วิ.อ. มาตรา 159 กำหนดแต่เพียงว่า เมื่อโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบให้กล่าวมาในฟ้อง มิได้กำหนดให้อ้างมาตราในกฎหมายที่ขอเพิ่มโทษไว้ดังเช่นการฟ้องคดีที่ต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และบรรยายมาในฟ้องเกี่ยวกับการขอเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพ้นโทษมาแล้วกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษ โดยมีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมาย แต่คำขอดังกล่าวเป็นกรณีที่อาจเพิ่มโทษได้กึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 หรือเพิ่มโทษได้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่แน่ชัดว่าประสงค์ให้เพิ่มโทษตามบทกฎหมายใด จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองคนละหนึ่งในสามสำหรับความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงชอบแล้ว และเมื่อจะต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองในการกระทำความผิดฐานนี้ด้วยย่อมเพิ่มโทษปรับได้ เพราะเป็นกรณีมีการลงโทษในการกระทำความผิดฐานนี้ถึงจำคุกมิใช่ลงโทษฐานนี้เพียงปรับสถานเดียว
คดีนี้ศาลชั้นต้นได้พิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี และปรับ 400,000 บาท ฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ จำคุก 5 ปี ฐานมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก 2 ปี ฐานพาอาวุธปืน ฯ จำคุก 1 ปี ความผิดของจำเลยที่ 2 แต่ละกระทงเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเพิ่มโทษได้แล้วย่อมต้องเพิ่มโทษทุกกระทงความผิด แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาย่อมไม่อาจเพิ่มโทษจำเลยที่ 2 สำหรับความผิดกระทงอื่นได้อีกเพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6406/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำเลยในคดียาเสพติด: ศาลตีความคำขอท้ายฟ้อง และการเพิ่มโทษกระทงความผิด
แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 159 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการขอเพิ่มโทษจำเลยได้กำหนดแต่เพียงว่า เมื่อโจทก์ต้องการให้เพิ่มโทษฐานไม่เข็ดหลาบ ให้กล่าวมาในฟ้อง มิได้กำหนดให้อ้างมาตราในกฎหมาย ที่ขอเพิ่มโทษไว้ดังเช่นการฟ้องคดีที่ต้องอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ และบรรยายมาในฟ้องเกี่ยวกับการขอเพิ่มโทษจำเลยทั้งสองว่าจำเลยทั้งสองเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตและพ้นโทษมาแล้วกลับมากระทำความผิดในคดีนี้ภายในเวลา 5 ปี นับแต่วันพ้นโทษโดยมีคำขอท้ายฟ้องแต่เพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมาย แต่เนื่องจากคำขอดังกล่าวเป็นกรณีที่อาจเพิ่มโทษได้กึ่งหนึ่งตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 97 หรือเพิ่มโทษได้หนึ่งในสามตาม ป.อ. มาตรา 92 เมื่อคำขอท้ายฟ้องของโจทก์คงระบุเพียงว่าขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองตามกฎหมายไม่แน่ชัดว่าประสงค์ให้เพิ่มโทษตามบทกฎหมายใด จึงต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง ที่ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษจำเลยทั้งสองคนละหนึ่งในสามสำหรับความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายจึงชอบแล้ว และเมื่อจะต้องลงโทษปรับจำเลยทั้งสองในการกระทำความผิดฐานนี้ด้วยย่อมเพิ่มโทษปรับได้เพราะเป็นกรณีมีการลงโทษในการกระทำความผิดฐานนี้ถึงจำคุก มิใช่ลงโทษฐานนี้เพียงปรับสถานเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส และการนับโทษต่อจากคดีอื่น
จำเลยใช้ไม้ตีทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย 2 ครั้ง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและแขนซ้าย แพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีฉายเอกซเรย์พบว่ากระดูกปลายแขนซ้ายหักและมีความเห็นว่าต้องใช้เวลารักษา 6 สัปดาห์ ผู้บังคับบัญชาของผู้เสียหายได้อนุญาตให้ผู้เสียหายลาป่วยจนกว่าจะหายเป็นปกติจึงฟังได้ว่าผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8) คดีนี้โจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 893/2534 และหมายเลขดำที่57/2535 ของศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นนับโทษต่อจากคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะคดีดังกล่าวนั้นศาลยังมิได้มีคำพิพากษา โจทก์ฎีกาขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาทั้งสองสำนวนดังกล่าว โดยอ้างว่าคดีทั้งสองสำนวนนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่637/2536 และหมายเลขแดงที่ 1079/2535 ของศาลชั้นต้น ตามลำดับจำเลยมิได้แก้ฎีกาปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังได้ว่าคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อคดีอาญาอื่นเมื่อจำเลยได้รับโทษจำคุกในคดีก่อนหน้า
จำเลยใช้ไม้ตีทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย 2 ครั้ง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะและแขนซ้าย แพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีฉายเอกซเรย์พบว่ากระดูกปลายแขนซ้ายหักและมีความเห็นว่าต้องใช้เวลารักษา6 สัปดาห์ ผู้บังคับบัญชาของผู้เสียหายได้อนุญาตให้ผู้เสียหายลาป่วยจนกว่าจะหายเป็นปกติ จึงฟังได้ว่าผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน เป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อาญา มาตรา 297 (8)
คดีนี้โจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 893/2534 และหมายเลขดำที่ 57/2535ของศาลชั้นต้นไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นนับโทษต่อจากคดีดังกล่าวไม่ได้ เพราะคดีดังกล่าวนั้นศาลยังมิได้มีคำพิพากษา โจทก์ฎีกาขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาทั้งสองสำนวนดังกล่าว โดยอ้างว่าคดีทั้งสองสำนวนนั้น ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้ว เป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 637/2536และหมายเลขแดงที่ 1079/2535 ของศาลชั้นต้น ตามลำดับ จำเลยมิได้แก้ฎีกาปฏิเสธข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงฟังได้ว่าคดีทั้งสองสำนวนดังกล่าวศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแล้วจริง ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้นับโทษต่อกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยใช้อาวุธปืนข่มขืนใจผู้อื่นและหลบหนี แม้ไม่มีเจตนาชิงทรัพย์ แต่ผิดฐานข่มขืนใจและบุกรุก
ความผิดตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ และ ป.อ. มาตรา 371 ซึ่งเป็นความผิดสองกรรมแรก ศาลชั้นต้นให้ลงโทษฐานมีอาวุธปืนไม่ได้รับอนุญาตจำคุก 1 ปี ฐานพาอาวุธปืนไม่รับอนุญาตจำคุก 6 เดือนและความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335(3)(7) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80,83 มาตรา 364,365 ซึ่งเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งศาลชั้นต้นให้ลงโทษบทหนักตามมาตรา 335 วรรคสามประกอบด้วยมาตรา 80,83 จำคุก 1 ปี นั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลดโทษลง 1 ใน 3 เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยความผิดทั้งสามกรรมดังกล่าวจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยใช้อาวุธปืนยิง ท. แล้วใช้อาวุธปืนจี้เอารถจักรยานยนต์ของ ร.ขับหลบหนีไป แล้วจำเลยนำรถจักรยานยนต์นั้นไปทิ้งไว้ข้างทางห่างจากที่เกิดเหตุประมาณ 20 กิโลเมตร จำเลยไม่ได้นำรถจักรยานยนต์ดังกล่าวไปเป็นประโยชน์ของตนหรือผู้อื่นพฤติการณ์ของจำเลยไม่มีเจตนาประสงค์จะเอาทรัพย์คืนรถจักรยานยนต์นั้นแต่ประการใด คงมีเจตนาเพียงต้องการใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อหลบหนีเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์ แต่การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการใช้อาวุธปืนข่มขืนใจ ร.ให้มอบรถจักรยานยนต์โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย อันเป็นความผิดต่อเสรีภาพ ตาม ป.อ. มาตรา 309วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยตามทางพิจารณาที่ได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกานับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นโดยโจทก์ไม่ได้มีคำขอท้ายฟ้องหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเสียก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพิ่งจะมาขอหลังจากศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้วและจำเลยฎีกาต่อมา จึงไม่อาจนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1670/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยคดีโดยฝ่าฝืนพยานหลักฐาน และการนับโทษต่อจากโทษในคดีเด็กและเยาวชน
การที่โจทก์ฎีกาว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีโดยฝ่าฝืนพยานหลักฐานในสำนวนเป็นฎีกาในปัญหาข้อกฎหมาย ปัญหาว่าจะนำโทษของจำเลยในคดีนี้นับต่อจากโทษของจำเลยในคดีอื่นได้หรือไม่นั้นไม่มีบทบัญญัติห้ามอุทธรณ์ฎีกาจึงฎีกาได้ การที่จำเลยเคยถูกศาลคดีเด็กและเยาวชนมีคำสั่งให้ฝึกอบรมอยู่ณสถานพินิจและคุ้มครองเด็กนั้นการฝึกอบรมดังกล่าวเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนหาใช่เป็นการลงโทษไม่แม้จำเลยจะมาทำผิดในคดีใหม่อีกก็ไม่อาจนับโทษต่อจากการฝึกอบรมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษทางอาญาต้องมีการนำสืบพยานหลักฐานแสดงว่าจำเลยเคยต้องโทษจริง การแจ้งวิธีการนำสืบพยานไม่ถือเป็นคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้วขอให้เพิ่มโทษจำเลยเมื่อจำเลยมิได้ให้การรับในข้อเคยต้องโทษจำคุกและโจทก์เพียงแต่ยื่นบัญชีพยานอ้างคดีอาญาที่อ้างว่าจำเลยเคยถูกศาลพิพากษาจำคุกและระบุไว้ในช่องหมายเหตุบัญชีพยานว่าอยู่ที่ศาลให้ศาลเรียกมาซึ่งการระบุเช่นนั้นมิใช่เป็นคำขอหากเป็นแต่เพียงแจ้งวิธีการที่จะนำพยานหลักฐานมาสู่ศาลเท่านั้นถือว่าโจทก์มิได้นำสืบให้ปรากฏว่าจำเลยเคยต้องโทษมาแล้วจึงเพิ่มโทษจำเลยไม่ได้
of 5