พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4770/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์เงินฝาก ความเสียหายจากการปลอมแปลงเอกสาร และอำนาจฟ้องคดีลักทรัพย์
เงินที่โจทก์นำมาฝากเข้าบัญชีเงินฝากธนาคาร ท. อยู่ในความครอบครองของธนาคาร ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคาร ท. ซึ่งธนาคารผู้รับฝากย่อมมีสิทธิในการบริหารจัดการเงินฝากจำนวนดังกล่าว ธนาคารผู้รับฝากคงมีหน้าที่เพียงต้องคืนเงินตามจำนวนที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกค้านำเข้าฝากไว้เท่านั้น ธนาคารผู้รับฝากไม่จำเป็นต้องคืนเงินเป็นจำนวนอันเดียวกับที่โจทก์ฝากไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 672 เงินจำนวนดังกล่าวที่จำเลยรับไปจึงเป็นเงินของธนาคาร ท. ผู้รับฝาก มิใช่เงินของโจทก์ การที่จำเลยทำใบถอนเงินที่ปลอมขึ้นมาเบิกถอนจากบัญชีเงินฝากของโจทก์แล้วเอาเงินจำนวนดังกล่าวไปเข้าบัญชีธนาคารของจำเลย ธนาคาร ท. ผู้รับฝากจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่แท้จริงในความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีเนื่องจากศาลมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยที่ขาดนัดทราบ
ป.วิ.พ. มาตรา 184 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน" การที่ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 7 แล้วนัดฟังคำพิพากษาไปโดยมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นคู่ความที่มิได้มาศาลในวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานทราบ จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยอื่นที่ไม่ได้มาศาลในวันกำหนดนัดสืบพยานขาดนัดยื่นคำให้การแล้วก็ตาม เพราะจำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การนี้ยังคงมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ได้ เพียงแต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 7 ที่ 32 ที่ 34 และที่ 40 ในวันที่ 25 ถึง 27 พฤศจิกายน 2563 โดยมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การและมิได้มาศาลทราบและต่อมามีการสืบพยานตามที่กำหนดนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยมิได้แจ้งวันนัดให้จำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การดังกล่าวทราบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานเป็นต้นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 เมื่อปรากฏเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ศาลฎีกาจำต้องส่งสำนวนคืนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2567 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การทราบ ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ ศาลฎีกาเพิกถอนกระบวนการ
ป.วิ.พ. มาตรา 184 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน ให้ศาลออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบวัน" การที่ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 7 แล้วนัดฟังคำพิพากษาไปโดยมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นคู่ความที่มิได้มาศาลในวันที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานทราบ จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยอื่นที่ไม่ได้มาศาลในวันกำหนดนัดสืบพยานขาดนัดยื่นคำให้การแล้วก็ตาม เพราะจำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การนี้ยังคงมีสิทธิถามค้านพยานโจทก์ได้ เพียงแต่จะนำสืบพยานหลักฐานของตนไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยที่ 7 ที่ 32 ที่ 34 และที่ 40 ในวันที่ 25 ถึง 27 พฤศจิกายน 2563 โดยมิได้แจ้งวันนัดสืบพยานให้จำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การและมิได้มาศาลทราบและต่อมามีการสืบพยานตามที่กำหนดนัดไว้ แล้วศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาโดยมิได้แจ้งวันนัดให้จำเลยอื่นที่ขาดนัดยื่นคำให้การดังกล่าวทราบ จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ และไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรเพิกถอนกระบวนพิจารณาตั้งแต่การนัดสืบพยานเป็นต้นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้ำประกันหนี้ - ความรับผิดของผู้ค้ำประกันบุคคลธรรมดา - ข้อแตกต่างจากผู้ค้ำประกันที่เป็นนิติบุคคล
แม้หนังสือสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคตที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ทำไว้แก่โจทก์หลังจาก ป.พ.พ. มาตรา 681/1 ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับจะมีข้อความในวรรคสุดท้ายของข้อ 1 ระบุว่า กรณีผู้ค้ำประกันเป็นนิติบุคคล ผู้ค้ำประกันตกลงผูกพันตนเพื่อรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ในการชำระหนี้ดังกล่าวข้างต้นก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ใช้ในกรณีผู้ค้ำประกันเป็นนิติบุคคล แต่การทำหนังสือสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นเรื่องบุคคลธรรมดาทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ มิใช่นิติบุคคลทำสัญญาค้ำประกันตามวรรคสุดท้ายของข้อ 1 ทั้งตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวก็ไม่มีข้อความที่ระบุว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ตกลงยอมรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นแต่อย่างใด ดังนั้นการทำหนังสือสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ดังกล่าวจึงหาตกเป็นโมฆะ โจทก์มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดต่อโจทก์หากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบิกความเท็จในคดีแพ่ง: การเพิกถอนกระบวนพิจารณาไม่กระทบความผิดสำเร็จ
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 6 วินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ โดยเห็นว่า การพิจารณาที่จำเลยเบิกความนั้นศาลได้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีดังกล่าวไปแล้ว แต่ขณะที่จำเลยเบิกความตามที่เป็นคดีในคำฟ้องนี้ การพิจารณาคดียังมิได้ถูกเพิกถอน หากฟังได้ว่าจำเลยเบิกความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีก็ย่อมมีความผิด และถือได้ว่าได้กระทำความผิดสำเร็จไปแล้ว แม้การพิจารณาในส่วนดังกล่าวต่อมาจะถูกเพิกถอนก็หาได้กระทบการกระทำความผิดที่สำเร็จไปแล้วไม่ ดังนั้น การที่จำเลยเบิกความต่อศาลในคดีแพ่งดังกล่าว จำเลยได้เบิกความต่อศาลแล้ว แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาในคดีแพ่งก็ไม่มีผลกระทบการกระทำของจำเลย แต่การกระทำของจำเลยจะเป็นความผิดหรือไม่ อยู่ที่ว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญในคดีหรือไม่ เมื่อในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น จำเลยเบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท โดยจำเลยเบิกความประกอบสำเนาหลักฐานการกู้ยืมเงินและสำเนารายงานประจำวันรับแจ้ง ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น ส่วนโจทก์ให้การและนำสืบในคดีแพ่งว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยเพียง 240,000 บาท ซึ่งต่อมาศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์กู้ยืมและรับเงินไปจากจำเลย 1,000,000 บาท ดังนี้ จึงยังไม่อาจรับฟังได้ว่า คำเบิกความของจำเลยในคดีแพ่งดังกล่าวที่เบิกความว่า โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลย 1,000,000 บาท เป็นความเท็จ การที่จำเลยเบิกความในคดีแพ่งหมายเลขแดง ผบ 135/2560 ของศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จตาม ป.อ. มาตรา 177
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำที่ไม่ถึงขั้นเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนหรือนำสืบพยานหลักฐานเท็จ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
การกระทำความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดีอาญาผู้กระทำจะต้องมีการนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จในการพิจารณาคดี การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะทนายความโจทก์ ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 1 มิใช่การนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานในการพิจารณาคดี แต่เป็นอำนาจที่จำเลยที่ 2 กระทำได้ตามที่โจทก์มอบหมายไว้ในใบแต่งทนายความ หากการกระทำของจำเลยที่ 2 ฝ่าฝืนความประสงค์ของโจทก์ และทำให้โจทก์เสียหายอย่างไร ก็ต้องไปว่ากล่าวกันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ไม่มีมูลความผิดฐานนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432-433/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากการถูกหลอกลวง และความรับผิดทางละเมิดจากการปลอมเอกสาร
แม้โจทก์ที่ 1 มีเพียงคำขอให้เพิกถอนนิติกรรมต่าง ๆ ระหว่างจำเลยทั้งสี่โดยมิได้มีคำขอให้ใช้ราคาที่ดินทั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 ก็ตาม แต่เมื่อศาลไม่อาจพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวเพื่อให้ที่ดินทั้งสองแปลงกลับคืนมาเป็นของโจทก์ที่ 1 ได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาที่ดินทั้งสองแปลงตามราคาที่ดินที่คู่ความแถลงรับกันแก่โจทก์ที่ 1 ได้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนมติประชุมใหญ่เจ้าของร่วม: สิทธิในการฟ้องร้องและการดำเนินการทางกฎหมายที่ถูกต้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้เข้าร่วมประชุมนิติบุคคลอาคารชุด ส. จัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2559 และวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 โดยเจ้าของร่วมจำนวนมากที่มอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมออกเสียงลงคะแนนแทนโดยใบมอบฉันทะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ผู้รับมอบฉันทะจึงไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและออกเสียงแทนได้ นอกจากนี้ลายมือชื่อเจ้าของร่วมที่เข้าร่วมประชุมทั้งสองครั้งตามบัญชีรายชื่อนั้นไม่ปรากฏรายละเอียดว่าเกี่ยวข้องกับการประชุมอย่างไรจึงไม่สามารถใช้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินได้ การประชุมและการลงคะแนนตามมติที่ประชุมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย รายงานการประชุมใหญ่เป็นเท็จ ขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประชุมใหญ่ทั้งสองครั้ง และให้เพิกถอนรายงานการประชุมทั้งสองฉบับ ตามคำร้องดังกล่าวเท่ากับผู้ร้องกล่าวอ้างว่าการประชุมใหญ่สามัญดังกล่าวมีผู้มาประชุมซึ่งมีเสียงลงคะแนนรวมกันน้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนเสียงลงคะแนนทั้งหมดตามพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 43 แต่พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 ไม่มีบทบัญญัติถึงการดำเนินการเกี่ยวกับการประชุมที่ฝ่าฝืนนั้นแต่อย่างใด จึงต้องวินิจฉัยอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 4 ซึ่งตามคำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่า การลงมติของคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุดมีเจ้าของร่วมร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุม ไม่มีลักษณะเป็นการประชุมกันจริง เช่นนี้ การประชุมดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการประชุมใหญ่สามัญของเจ้าของร่วมซึ่งเป็นเจ้าของห้องชุดในวันที่ 30 เมษายน 2559 และวันที่ 14 พฤษภาคม 2559 แต่ต้องถือว่าการประชุมใหญ่สามัญของนิติบุคคลอาคารชุดมิได้เกิดขึ้นจริงและไม่มีการประชุมกันจริง คงมีเพียงการลงมติซึ่งนำไปใช้อ้างต่อนายทะเบียนเพื่อใช้ในการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนมติดังกล่าวจึงมิใช่การร้องขอให้เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ที่ผิดระเบียบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1195 ที่ต้องขอให้เพิกถอนภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันลงมติ เมื่อวินิจฉัยว่า กรณีไม่ใช่เป็นการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมตามมาตรา 1195 การที่บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 และมาตรา 188 (1) จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ แต่กรณีตามคำร้องของผู้ร้องไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนรับรองให้ผู้ร้องกระทำเช่นนั้นได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ประการใด ผู้ร้องชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้โดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4468/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าชดเชยจากการเลิกจ้างได้รับการคุ้มครองจากการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 302
ถึงแม้ว่าการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือถึงนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 เพื่อขออายัดเงินเดือน เงินค่าจ้าง เงินโบนัส เงินตอบแทนการทำงานเป็นครั้งคราวและเงินตอบแทนกรณีออกจากงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องเพียงเฉพาะส่วนที่เป็นเงินเดือนของจำเลยที่ 1 ที่ได้รับในแต่ละเดือนเท่านั้น ส่วนสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 จากเงินค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินช่วยเหลือพิเศษยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากนายจ้างของจำเลยที่ 1 ยังไม่มีการเลิกจ้างจำเลยที่ 1 แม้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจะมีหนังสือขออายัดเงินดังกล่าวไว้ก่อนแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิได้รับเงินดังกล่าวในขณะนั้น นายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี นายจ้างของจำเลยที่ 1 เพิ่งเลิกกิจการเมื่อปี 2563 จึงทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินช่วยเหลือพิเศษ จึงถือว่ายังไม่มีการบังคับคดีในเงินส่วนนี้ ดังนั้นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จะต้องส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีที่เคยมีคำสั่งอายัดไว้หรือไม่ จึงต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่เกิดสิทธิที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินดังกล่าว ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 (3) (4) ที่แก้ไขโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2560 มาตรา 20 ที่ใช้อยู่ในเวลาที่มีการเลิกจ้างจำเลยที่ 1 ระบุไว้ว่า เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี... (3) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง หรือคนงาน เดือนละ 20,000 บาท หรือตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร (4) บำเหน็จหรือค่าชดเชยหรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของบุคคลตาม (3) เป็นจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท หรือตามจำนวนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเห็นสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้มีการประเมินตามจำนวนที่เห็นสมควรตามบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่ เนื่องจากขณะเจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งอายัดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการในส่วนนี้ จึงต้องใช้จำนวนไม่เกิน 300,000 บาท ดังที่กำหนดไว้ในมาตรา 302 (4) ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่มีการเลิกจ้างจำเลยที่ 1 ดังนั้น เมื่อเงินค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินช่วยเหลือพิเศษที่จำเลยที่ 1 ได้รับรวมกันแล้วไม่เกิน 300,000 บาท จึงเป็นเงินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 302 (4) ที่แก้ไขใหม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดสิทธิเรียกร้องในเงินค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และเงินช่วยเหลือพิเศษ ที่จำเลยที่ 1 มีต่อนายจ้างของจำเลยที่ 1 ได้ นายจ้างของจำเลยที่ 1 ไม่จำต้องส่งเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานสมคบองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติกับการกระทำความผิดฐานดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน เป็นความผิดต่างกรรมกัน
ความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่มีการสมคบโดยรวมตัวกันเป็นคณะบุคคลกระทำการชักชวน ว. ให้รับตั้งครรภ์แทนผู้อื่น โดยจะให้เงินเป็นการตอบแทนเพื่อกระทำความผิดฐานดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยความผิดดังกล่าวจะกระทำในเขตแดนของรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรงอันเกี่ยวข้องกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ส่วนความผิดฐานดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า เกิดขึ้นเมื่อจำเลยทั้งสองกับพวกให้ ว. ไปรับการตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลแล้วนำเอาตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิผสมกับไข่ใส่เข้าไปในรังไข่ของ ว. ซึ่งสามารถแยกการกระทำและเจตนาในการกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติกับความผิดฐานดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้าออกจากกันได้ ความผิดทั้งสองฐานนี้ จึงเป็นความผิดต่างกรรมกัน