คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 109

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่อยู่ในระหว่างล้มละลาย ต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องและขอให้บังคับคดีแก่จำเลยในระหว่างจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว การจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยจึงอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22,109และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดไว้ในคดีนี้แล้วโอนเงินที่เหลือภายหลังหักค่าใช้จ่ายส่งเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ปฎิบัติการแทนตามมาตรา 22ประกอบกับมาตรา 6 จึงมีผลเท่ากับเป็นการยึดทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย ซึ่งผู้ใดจะคัดค้านจะต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามมาตรา 158ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลดีกว่าการซื้อจากผู้จัดสรรที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เดือนละ 3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงฟังได้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ 3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทปรับอีก 100,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในส่วนนี้ก็ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5137/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินจากการซื้อขายทอดตลาดดีกว่าสิทธิจากการซื้อจากลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยอ้างว่าอาจให้เช่าได้เดือนละ 20,000 บาท ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายส่วนนี้ให้เดือนละ3,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงฟังได้ว่าที่ดินและตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้เดือนละ3,000 บาท แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหายที่โจทก์ถูกผู้ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทปรับอีก 100,000 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในส่วนนี้ก็ไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ที่จำเลยฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 กำหนดเรื่องการขายทอดตลาดทรัพย์สินตามคำสั่งศาลหรือคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้เป็นกรณีพิเศษไม่อยู่ในข่ายของการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วไปที่บัญญัติเรื่องแบบนิติกรรมไว้ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 ดังนั้น แม้จำเลยซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทมาจากลูกหนี้เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก่อนจดทะเบียนการโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลย กรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาทยังเป็นของลูกหนี้อยู่ โจทก์ซื้อที่ดินและตึกแถวพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินและตึกแถวพิพาทดีกว่าจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การอายัดที่ดินที่ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือครองอยู่
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว แต่ใส่ชื่อบุคคลอื่นถือสิทธิในที่ดินแทนที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 109(1)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะมีหนังสือแจ้งเจ้าพนักงานที่ดินมิให้จำหน่ายจ่ายโอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ใดจนกว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแจ้งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นได้โดยไม่จำต้องทำการเพิกถอนการโอนก่อน หากผู้มีชื่อถือสิทธิในที่ดินแทนผู้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ทำการโอนที่ดินนั้นไปยังบุคคลอื่นภายหลังที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นการกระทำของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ มาตรา 22,24แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ การโอนย่อมตกเป็นโมฆะและใช้ยันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 985/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินในคดีล้มละลาย: สิทธิครอบครองเป็นของบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการ
โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินตามโฉนดและ น.ส.3 ก. เพียงแต่โจทก์ให้ ศ. ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายถือไว้แทนโจทก์เท่านั้น ดังนั้นเมื่อ ศ. มีชื่อในโฉนดที่ดิน และ น.ส.3 ก.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ดังนั้น ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 109(1) เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะจำหน่ายหรือจัดการทรัพย์สินนั้น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(1)ศ. บุคคลล้มละลายไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 24 ศ. จึงไม่มีอำนาจทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3726/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: สิทธิจำกัดของผู้ล้มละลายในการคัดค้านการยึดทรัพย์หลังพ้นกำหนดเวลา
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้ว ทรัพย์สินของจำเลยทั้งปวงตกอยู่ในอำนาจจัดการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจยึดทรัพย์สินทั้งปวงซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยหรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จำเลยไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนรวมทั้งสิทธิตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการ และไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ทั้งถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามมาตรา 158 แต่จำเลยมีสิทธิยื่นคำคัดค้านว่าสิทธิตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการไม่ใช่ทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดอันเป็นการโต้แย้งการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ตามมาตรา 146 โดยต้องทำเป็นคำร้องขอต่อศาลภายใน 14 วัน นับแต่ทราบการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินบำเหน็จข้าราชการที่ถูกอายัดในคดีล้มละลาย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จแล้ว
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานของผู้ร้อง หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือขออายัดเงินซึ่งอ้างว่าจำเลยมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากผู้ร้อง เพื่อรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สิน ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ดังนั้นแม้ผู้ร้องได้ส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยมิได้ปฏิเสธสิทธิเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 119 ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด เพราะกรณีไม่เข้าข่าย มาตรา 119 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมเงินบำเหน็จ ของจำเลยได้นั้น ต้องได้ความว่าจำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จากผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้ร้องได้มีคำสั่งให้ไล่จำเลยออกจากราชการ ซึ่งมีผลให้จำเลย ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นฯ เงินบำเหน็จที่ผู้ร้องส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ได้ตาม มาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่มีอำนาจจัดการเก็บรวบรวมและรับเงินไว้ตาม มาตรา 22 และต้องคืนเงินดังกล่าวให้ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: เงินจากการขายทอดตลาดเพื่อชำระภาษีอากรที่นำส่งก่อน/หลังเริ่มการล้มละลาย
มาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายเป็นเรื่องการบังคับคดีตามคำสั่งหรือหมายบังคับคดีของศาลเท่านั้น จะขยายมาใช้แก่การยึดและขายทอดตลาดเพื่อให้ได้รับชำระค่าภาษีอากรค้างตามคำสั่งของข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอตามประมวลรัษฎากร มาตรา 12 หาได้ไม่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีอำนาจเรียกให้ผู้ร้องส่งเงินที่ได้นำส่งชำระค่าภาษีไปแล้วก่อนวันที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลาย
จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2520 แต่เงินที่ได้จากการยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยนั้น หัวหน้าเขตได้นำส่งชำระค่าภาษีไปแล้วส่วนหนึ่งก่อนวันที่จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ในวันที่ 24 มิถุนายน2520 ่อันเป็นวันซึ่งถือว่าเป็นเวลาเริ่มต้นการล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 62 ไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตาม มาตรา 109(1)
ส่วนเงินอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้นำส่งชำระค่าภาษีอากรนับแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2520 นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 12ไม่มีข้อความใดที่แสดงว่าเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดเมื่อหักค่าธรรมเนียมกับค่าใช้จ่ายในการยึด และขายทอดตลาดแล้วในถือเป็นเงินชำระค่าภาษีอากรค้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของแผ่นดินในทันทีที่ขายทอดตลาดเสร็จจึงยังเป็นทรัพย์สินของจำเลยอยู่และถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่จำเลยมีอยู่ในเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ตามมาตรา 109(1)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเรียกให้ส่งไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จำกัดเฉพาะทรัพย์สินของลูกหนี้ การอายัดทรัพย์สินที่โอนไปแล้วต้องมีการเพิกถอนก่อน
ไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขออายัดที่ดินที่ได้โอนไปเป็นของบุคคลอื่นแล้ว เว้นแต่จะได้มีการเพิกถอนการโอนที่ดินดังกล่าวก่อน ตราบใดที่ยังมิได้มีการเพิกถอนการโอน ผู้รับโอนก็ยังเป็นเจ้าของอยู่ตราบนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจยึดหรืออายัดที่ดินดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงมอบเงินฝากเป็นประกันความเสียหาย ไม่ถือเป็นการจำนำ ทำให้ผู้ร้องไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงมอบเงินฝากพร้อมใบรับฝากแก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นประกันความเสียหายที่ผู้ร้องออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อกรมทางหลวงให้ผู้ร้องมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายที่ผู้ร้องต้องชดใช้แทนได้ทันที และจำเลยที่ 1 จะไม่ถอนเงินฝากจนกว่า ผู้ร้องจะพ้นภาระความรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 95
of 4