พบผลลัพธ์ทั้งหมด 522 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการเพิ่มลดโทษตามกฎหมายอาญา และการแก้ไขโทษของจำเลยร่วม
การเพิ่มโทษอีกหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 นั้น จะต้องกำหนดโทษที่จะลงเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ หลังจากนั้นจึงจะลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 644/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานต้องชัดเจนและต่อเนื่อง
โจทก์นำสืบได้ความเพียงว่า เจ้าพนักงานตำรวจสืบทราบจากสายลับว่าจำเลยที่ 1 ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบแล้วขอหมายค้นจากศาลชั้นต้นเข้าตรวจค้นทันที โดยมิได้ดำเนินการเป็นขั้นตอนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวงโดยวิธีการล่อซื้อเพื่อเป็นการยืนยันให้มั่นคงถึงพฤติการณ์การกระทำของจำเลยที่ 1 ว่าร่วมกับจำเลยที่ 2ลักลอบจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจริง พฤติการณ์ที่โจทก์นำสืบมาไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ใคร ที่ไหน อย่างใด และเมื่อใด กรณีไม่ใช่เป็นการคาดคิดหรือเป็นความเข้าใจของผู้จับกุมที่จะทราบเพียงลำพังตนเองอันเป็นการรู้เฉพาะบุคคลตามที่โจทก์ฎีกา โจทก์มีภาระการพิสูจน์ที่จะต้องนำสืบถึงพฤติการณ์ทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำความผิดตามที่โจทก์อ้างเพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่บุคคลอื่นจนปราศจากสงสัย มิใช่อาศัยคำรับในชั้นจับกุมหรือคำเบิกความของจำเลยที่ 1 ที่เบิกความตอบโจทก์ถามค้านเพียงว่า เมื่อซื้อเมทแอมเฟตามีนมาแล้วจะให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้เก็บและจำเลยที่ 1 เคยนำเมทแอมเฟตามีนจำหน่ายให้บุคคลอื่น คำเบิกความจำเลยที่ 1 เป็นเพียงคำเบิกความลอย ๆเท่านั้น แม้จะเป็นผลร้ายแก่ตนเองก็ยังไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 1ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย นอกจากนี้เมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่ถึง 20 กรัมไม่เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่จะถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย คงรับฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ซึ่งข้อหาดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีมีผลถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ ให้ได้รับผลตามคำพิพากษาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันทายผลฟุตบอล: ความผิดตามมาตรา 4 ทวิ พ.ร.บ.การพนัน แม้ไม่เข้าข่ายมาตรา 4
การเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งตามบัญชี ข. หมายเลข 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนันฯ ต้องมีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบด้วยแต่การพนันทายผลฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการพนันฯ มาตรา 4 แต่เป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 จะพนันกันหรือจะจัดให้มีเพื่อให้พนันกันได้เฉพาะการเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งมาตรา 4 ทวิ วรรคสองกำหนดให้ "การเล่น" หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วยการเล่นการพนันดังกล่าวต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยทั้งสองเล่นการพนันทายผลฟุตบอลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดตามมาตรา 4 ทวิ การที่โจทก์อ้างมาตรา 4 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นในชั้นฎีกา และย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ผู้มิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9054/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยบันดาลโทสะหรือไม่ไตร่ตรองไว้ก่อน ศาลพิจารณาจากเหตุการณ์ต่อเนื่องและไม่มีการวางแผน
ผู้ตายกับจำเลยทั้งสองดื่มสุราด้วยกันแล้วผู้ตายพูดจาพาดพึงถึงมารดาจำเลยทั้งสอง เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองโกรธและตกลงจะฆ่าผู้ตายในขณะนั้นทันที โดยจำเลยที่ 1 หยิบฉวยได้ไม้ของกลางที่อยู่ในบริเวณนั้น และจำเลยที่ 2 ได้พกมีดปลายแหลมไปด้วย และพาผู้ตายไปฆ่าที่ใต้สะพาน เป็นการกระทำต่อเนื่องไม่ขาดตอนโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีเวลาวางแผนหรือไตร่ตรองแต่ประการใด เพียงแต่จำเลยทั้งสองพาผู้ตายไปฆ่าในที่ลับตาคนเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงถือไม่ได้ว่าได้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ปัญหาว่าการฆ่าผู้ตายไม่เป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ปัญหาว่าการฆ่าผู้ตายไม่เป็นการกระทำโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8688/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายยาเสพติด: ความผิดสำเร็จ vs. พยายาม, อำนาจศาลวินิจฉัยข้อกฎหมาย, พยานหลักฐาน, การรับฟังคำซัดทอด
ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีจำเลยที่ 3 เสียจากสารบบความ เพราะจำเลยที่ 3 ถึงแก่ความตายนั้น เป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 แล้ว และอยู่ระหว่างส่งสำเนาให้โจทก์แก้ คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ที่จะสั่งจำหน่ายคดีโดยศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ แต่คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว จึงเห็นสมควรสั่งเรื่องดังกล่าวไปเสียทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์สั่ง โดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดให้แก่จ่าสิบตำรวจ ก. ผู้ล่อซื้อโดยมีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ผู้ล่อซื้อแล้ว จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า " จำหน่าย " หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เป็นที่เห็นได้ว่า แม้เป็นการแจกหรือให้ซึ่งไม่มีค่าตอบแทน ก็ถือว่าเป็นการจำหน่ายตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ล่อซื้อได้รับมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตกลงซื้อขายกันจากฝ่ายจำเลยแล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาและตรวจนับเมทแอมเฟตามีนของกลางก่อน ก็เป็นความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) สำเร็จ โดยมิพักต้องวินิจฉัยในแง่กฎหมายแพ่ง
ปัญหาว่าการกระทำความผิดใดจะเป็นความผิดสำเร็จหรือเป็นเพียงขั้นพยายามกระทำความผิด เป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่สมควร วางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 3 ซึ่งให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาเบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดและระหว่างถูก คุมขังในเรือนจำจำเลยที่ 3 รู้ตัวว่าใกล้จะตายได้วานผู้มีชื่อเขียนจดหมายถึงจำเลยที่ 1 ขอโทษที่เบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดด้วย และรับว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเพียงคนเดียว แต่คดีในส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องอาศัยคำเบิกความของจำเลยที่ 3 มาเป็นพยานหลักฐานประกอบและแม้จำเลยที่ 3 จะเขียนจดหมายมีข้อความดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ก็ไม่มีผลให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบต่อศาลได้
พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกเป็นการร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนทั้งหมดให้แก่จ่าสิบตำรวจ ก. ผู้ล่อซื้อโดยมีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางให้แก่ ผู้ล่อซื้อแล้ว จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) ไว้ในครอบครอง เพื่อจำหน่ายและจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 บัญญัติว่า " จำหน่าย " หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ เป็นที่เห็นได้ว่า แม้เป็นการแจกหรือให้ซึ่งไม่มีค่าตอบแทน ก็ถือว่าเป็นการจำหน่ายตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว ดังนั้น เมื่อผู้ล่อซื้อได้รับมอบเมทแอมเฟตามีนของกลางที่ตกลงซื้อขายกันจากฝ่ายจำเลยแล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาและตรวจนับเมทแอมเฟตามีนของกลางก่อน ก็เป็นความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เมทแอมเฟตามีน) สำเร็จ โดยมิพักต้องวินิจฉัยในแง่กฎหมายแพ่ง
ปัญหาว่าการกระทำความผิดใดจะเป็นความผิดสำเร็จหรือเป็นเพียงขั้นพยายามกระทำความผิด เป็นปัญหา ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้โจทก์จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่ไม่อาจลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษได้เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225 แต่สมควร วางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้อง
จำเลยที่ 3 ซึ่งให้การรับสารภาพในชั้นพิจารณาเบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดและระหว่างถูก คุมขังในเรือนจำจำเลยที่ 3 รู้ตัวว่าใกล้จะตายได้วานผู้มีชื่อเขียนจดหมายถึงจำเลยที่ 1 ขอโทษที่เบิกความว่าจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดด้วย และรับว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเพียงคนเดียว แต่คดีในส่วนการกระทำของจำเลยที่ 1 พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องอาศัยคำเบิกความของจำเลยที่ 3 มาเป็นพยานหลักฐานประกอบและแม้จำเลยที่ 3 จะเขียนจดหมายมีข้อความดังที่จำเลยที่ 1 อ้าง ก็ไม่มีผลให้รับฟังหักล้างพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7921/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท: การครอบครองไม้แปรรูปต่างชนิดกัน แต่เป็นไม้หวงห้ามประเภทเดียวกัน
แม้โจทก์บรรยายแยกฟ้องว่าจำเลยครอบครองไม้สักแปรรูปจำนวนหนึ่งออกต่างหากจากการครอบครองไม้ชิงชันแปรรูปและไม้มะค่าโมงแปรรูปอีกจำนวนหนึ่งเป็นคนละข้อก็ตาม แต่ไม้ดังกล่าวก็เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติกำหนดไม้หวงห้ามฯ ด้วยกัน ทั้งตามคำบรรยายฟ้องที่ระบุการกระทำผิดของจำเลยก็เป็นกรณีที่จำเลยครอบครองไม้ทั้งสามชนิดนั้นในคราวเดียวกัน เป็นแต่การครอบครองไม้แปรรูปทั้งสามชนิดนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 73 แตกต่างกันเท่านั้น การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันเป็นเหตุในลักษณะคดีอันเกี่ยวกับการปรับบทลงโทษจำเลย แม้จำเลยอื่นจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 22
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท มิใช่เป็นการกระทำหลายกรรมต่างกันเป็นเหตุในลักษณะคดีอันเกี่ยวกับการปรับบทลงโทษจำเลย แม้จำเลยอื่นจะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของผิดกฎหมายทางศุลกากร: พยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและพฤติการณ์หลบหนีเพียงพอให้ลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 2 นั่งคู่มากับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนขับรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ของกลางที่มีเลื่อยยนต์ของกลางวางอยู่ที่กระบะท้ายรถ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองเลื่อยยนต์ของกลาง ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับเลื่อยยนต์ของกลางว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือของต้องกำกัดหรือของต้องห้ามหรือของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร และช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซึ้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของที่รู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด จำเลยที่ 2 ได้ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนโดยสมัครใจตามบันทึกคำให้การที่พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยที่ 2 ในชั้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นอกจากนี้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้เปิดประตูรถวิ่งหลบหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 น่าจะทราบดีว่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 บรรทุกมาในรถยนต์ของกลางเป็นของผิดกฎหมาย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามและข้อกำกัด
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษปรับในคดีศุลกากร และการลดโทษจำคุกเป็นรายกระทงตามกฎหมายอาญา
การลงโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้นั้นค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย และเนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นกรณีจำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกัน เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว อันถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 225
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6355/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมข่มขืนโทรมหญิง พรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร ศาลลดโทษตามคำให้การชั้นสอบสวน
การที่จำเลยที่ 2 ขับรถยนต์พาผู้เสียหายไปบ้านเกิดเหตุเพื่อให้จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งเป็นพวกของจำเลยที่ 2 ข่มขืนกระทำชำเราพฤติการณ์มีลักษณะเป็นการคบคิดกันมาก่อน และในขณะที่จำเลยที่ 1กับพวกกำลังข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอยู่นั้น จำเลยที่ 2 ก็อยู่ร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ในห้องที่เกิดเหตุนั้นด้วยโดยตลอด แม้จำเลยที่ 2มิได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายก็ตาม การกระทำของจำเลยที่ 2ก็ถือว่าเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงแล้ว
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารนั้น เมื่อจำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควร และพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอันไม่สมควรทางเพศ ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหลังจากนั้นโดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมด้วย จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ซึ่งต่างกรรมต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยที่ 2กับพวกจึงเป็นความผิดหลายกรรม
ในความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร ศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งสองหนักเกินไปย่อมกำหนดโทษจำเลยทั้งสองเสียใหม่ให้เบาลง เพื่อให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาแต่จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา แต่การกระทำความผิดข้อหานี้ร่วมกันเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบกับมาตรา 225
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารนั้น เมื่อจำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลโดยปราศจากเหตุอันสมควร และพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอันไม่สมควรทางเพศ ก็เป็นความผิดสำเร็จฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารกรรมหนึ่งแล้ว ส่วนการที่จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงหลังจากนั้นโดยจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมด้วย จึงเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่ง ซึ่งต่างกรรมต่างวาระกัน การกระทำของจำเลยที่ 2กับพวกจึงเป็นความผิดหลายกรรม
ในความผิดฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร ศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างทั้งสองกำหนดโทษจำคุกจำเลยทั้งสองหนักเกินไปย่อมกำหนดโทษจำเลยทั้งสองเสียใหม่ให้เบาลง เพื่อให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาแต่จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา แต่การกระทำความผิดข้อหานี้ร่วมกันเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้โทษตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบกับมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6133/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ข้าวเปลือก: การพิสูจน์ความผิดและองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์จากการเกษตร
จำเลยในคดีอาญาอีกเรื่องหนึ่งของศาลชั้นต้นกับจำเลยคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกัน แม้พวกคนร้ายจะเป็น ชุดเดียวกันและกระทำการลักทรัพย์ติดต่อกัน แต่เป็นการลักทรัพย์ของผู้เสียหายคนละคนกับผู้เสียหายอีกคนหนึ่ง ทรัพย์ก็มิได้รวมอยู่ด้วยกันแต่อยู่ห่างกันเป็นร้อยเมตร อันเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงมิใช่เป็นเหตุในลักษณะแห่งคดีเดียวกันซึ่งศาลจะต้องรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นขณะคนร้ายลักข้าวเปลือกของผู้เสียหาย แต่โจทก์มีพยานเบิกความว่า เห็นรถยนต์ของคนร้ายบรรทุกกระสอบใส่ข้าวเปลือกมีชื่อ อ. ติดอยู่ที่กระสอบซึ่งเป็นกระสอบที่ใช้ใส่ข้าวเปลือกบริเวณบ้านผู้เสียหายมาติดหล่มอยู่ห่างจากกองกระสอบข้าวเปลือกของผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร สงสัยว่าจะเป็นกระสอบข้าวของผู้เสียหาย เมื่อรถคนร้ายไปแล้วพยานจึงได้ไปบอกผู้เสียหายในเวลาใกล้เคียงกัน ผู้เสียหายพบว่าข้าวเปลือกหายไป 6 กระสอบ จึงไปแจ้งความและอีก 1 สัปดาห์ต่อมา เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำกระสอบข้าวซึ่งผู้รับซื้อข้าวเปลือกจาก ส. และจำเลยมาให้ผู้เสียหายดูแล้ว ผู้เสียหายจำได้ว่าเป็นกระสอบใส่ข้าวเปลือกของตน ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเป็นผู้พาไปติดต่อรถยนต์มาบรรทุกข้าวในคืนเกิดเหตุ เมื่อได้รถยนต์แล้วก็มิได้ไปขนข้าวทันทียังได้ไป พบพวกซึ่งรออยู่ที่ร้านกาแฟแล้วเปลี่ยนไปนั่งกินข้าวต้ม จนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนจึงเดินทางไปขนข้าว และตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าคืนเกิดเหตุขนข้าวไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยก่อน รุ่งขึ้นจำเลยก็ยังได้พา ส. ไปขายข้าวด้วย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและ ส. ได้พร้อมกันที่บ้านจำเลย เมื่อพิจารณาประกอบ คำรับสารภาพของจำเลยตามบันทึกการจับกุมแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยร่วมกันพวกคนร้ายลักข้าวเปลือกของ ผู้เสียหายไปจริง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้นเป็นผลิตภัณฑ์พืชพันธ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย
ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยกับพวกลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรม จึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 335 (12) ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 335 (12) ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเห็นขณะคนร้ายลักข้าวเปลือกของผู้เสียหาย แต่โจทก์มีพยานเบิกความว่า เห็นรถยนต์ของคนร้ายบรรทุกกระสอบใส่ข้าวเปลือกมีชื่อ อ. ติดอยู่ที่กระสอบซึ่งเป็นกระสอบที่ใช้ใส่ข้าวเปลือกบริเวณบ้านผู้เสียหายมาติดหล่มอยู่ห่างจากกองกระสอบข้าวเปลือกของผู้เสียหายประมาณ 500 เมตร สงสัยว่าจะเป็นกระสอบข้าวของผู้เสียหาย เมื่อรถคนร้ายไปแล้วพยานจึงได้ไปบอกผู้เสียหายในเวลาใกล้เคียงกัน ผู้เสียหายพบว่าข้าวเปลือกหายไป 6 กระสอบ จึงไปแจ้งความและอีก 1 สัปดาห์ต่อมา เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจนำกระสอบข้าวซึ่งผู้รับซื้อข้าวเปลือกจาก ส. และจำเลยมาให้ผู้เสียหายดูแล้ว ผู้เสียหายจำได้ว่าเป็นกระสอบใส่ข้าวเปลือกของตน ตามพฤติการณ์ที่จำเลยเป็นผู้พาไปติดต่อรถยนต์มาบรรทุกข้าวในคืนเกิดเหตุ เมื่อได้รถยนต์แล้วก็มิได้ไปขนข้าวทันทียังได้ไป พบพวกซึ่งรออยู่ที่ร้านกาแฟแล้วเปลี่ยนไปนั่งกินข้าวต้ม จนถึงเวลาประมาณเที่ยงคืนจึงเดินทางไปขนข้าว และตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าคืนเกิดเหตุขนข้าวไปเก็บไว้ที่บ้านจำเลยก่อน รุ่งขึ้นจำเลยก็ยังได้พา ส. ไปขายข้าวด้วย ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและ ส. ได้พร้อมกันที่บ้านจำเลย เมื่อพิจารณาประกอบ คำรับสารภาพของจำเลยตามบันทึกการจับกุมแล้ว ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยร่วมกันพวกคนร้ายลักข้าวเปลือกของ ผู้เสียหายไปจริง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (12) นอกจากเจ้าทรัพย์จะต้องเป็นผู้มีอาชีพกสิกรรมแล้ว จะต้องได้ความอีกว่า ทรัพย์ที่ถูกลักนั้นเป็นผลิตภัณฑ์พืชพันธ์หรือสัตว์ หรือเครื่องมืออันมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรมหรือได้มาจากการประกอบกสิกรรมด้วย
ตามฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าข้าวเปลือกที่จำเลยกับพวกลักไปเป็นผลิตภัณฑ์หรือพืชพันธ์ซึ่งผู้เสียหายมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม หรือได้มาจากการกสิกรรม จึงไม่ต้องด้วย ป.อ. มาตรา 335 (12) ศาลจึงไม่อาจลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรา 335 (12) ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้