พบผลลัพธ์ทั้งหมด 522 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงโดยไม่ยินยอม และอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว
เมื่อพฤติการณ์ตามที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอฟังว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำชำเราผู้เสียหายอันมีลักษณะเป็นการโทรมผู้เสียหาย และโดยผู้เสียหายนั้นไม่ยินยอมแต่การที่จำเลยทั้งสามได้กระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี และไม่ใช่ภริยาของตน ไม่ว่าผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เหตุดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาขึ้นมาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้วขณะกระทำผิดจำเลยที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเยาวชนร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลชั้นต้นและระหว่างการพิจารณาได้มีการเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะโอนคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวแสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรโอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยทั้งสามไปพร้อมกัน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่อาจโอนคดีของจำเลยที่ 1 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เพราะศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยที่ 1เนื่องจากมิได้ฎีกาจากศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควร ศาลฎีกามีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยมาตรา 136ประกอบมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดบุรีรัมย์) ได้มีการเปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในเขตท้องที่ดังกล่าวแล้วขณะกระทำผิดจำเลยที่ 1 อายุ 14 ปีเศษ จำเลยที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว แต่โจทก์ได้ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเยาวชนร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 3ซึ่งไม่ใช่เด็กหรือเยาวชนต่อศาลชั้นต้นและระหว่างการพิจารณาได้มีการเปิดแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะโอนคดีสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้ การที่ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการดังกล่าวแสดงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สมควรโอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยทั้งสามไปพร้อมกัน จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และไม่อาจโอนคดีของจำเลยที่ 1 ไปพิจารณาพิพากษาในศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวได้เพราะศาลฎีกาแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลยที่ 1เนื่องจากมิได้ฎีกาจากศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 125 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 แต่หากศาลฎีกาเห็นสมควร ศาลฎีกามีอำนาจที่จะนำวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนมาใช้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ ทั้งนี้โดยอาศัยมาตรา 136ประกอบมาตรา 59 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว มาใช้บังคับโดยอนุโลม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ที่เกินกำหนดระยะเวลา และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของจำเลยที่ไม่ได้อุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น และหากเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 213มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการพิจารณาคดีเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลมีอำนาจตามมาตรา 213 ป.วิ.อ.
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้นหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องยื่นก่อนครบกำหนด หากเลยกำหนดศาลไม่มีอำนาจรับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายหลังจากที่กำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้สิ้นสุดลงแล้วโดยกรณีไม่มีเหตุสุดวิสัยศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปให้ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์เกินกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หนึ่งเดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 198 วรรคหนึ่ง คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1จึงไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ชอบแต่จะพิจารณาพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์ของจำเลยอื่นเท่านั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีซึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1ที่มิได้อุทธรณ์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ศาลอุทธรณ์จะพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยที่ 1 ก็มีอำนาจกระทำได้โดยอาศัยบทบัญญัติของมาตรา 213 ดังกล่าว มิใช่พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1อุทธรณ์ขึ้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3003/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญา และการพิจารณาลงโทษผู้ร่วมกระทำผิดในคดีแยกฟ้อง
ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างได้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลล่างทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้เก้าอี้และใช้ของแข็งตีทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ 2 ถูกบริเวณร่างกายทำให้ได้รับบาดเจ็บอย่างไรบ้าง เช่นนี้ เพียงพอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ต้องเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีนี้จะพิพากษายกฟ้องจำเลยคนหนึ่งซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาเพียงผู้เดียวใช้อำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์หรือฎีกามิให้ต้องถูกรับโทษเช่นเดียวกับจำเลยผู้อุทธรณ์หรือฎีกา แต่การที่ผู้ร่วมกระทำผิดถูกแยกฟ้องเป็นหลายคดี การที่พยานหลักฐานโจทก์เพียงพอจะรับฟังลงโทษจำเลยคนใดที่ร่วมกระทำผิดได้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยแต่ละคนเป็นการเฉพาะตัวเป็นราย ๆ ไปเฉพาะคดีนั้น ๆ ซึ่งพยานหลักฐานของโจทก์อาจพาดพิงถึงจำเลยแต่ละคดีมากน้อยต่างกันได้ คดีที่พยานโจทก์มีน้ำหนักเพียงพอก็ลงโทษไป คดีที่พยานโจทก์มีน้ำหนักเบาบางก็ต้องยกฟ้องตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบเป็นรายคดี
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ต้องเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาในคดีนี้จะพิพากษายกฟ้องจำเลยคนหนึ่งซึ่งอุทธรณ์หรือฎีกาเพียงผู้เดียวใช้อำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์หรือฎีกามิให้ต้องถูกรับโทษเช่นเดียวกับจำเลยผู้อุทธรณ์หรือฎีกา แต่การที่ผู้ร่วมกระทำผิดถูกแยกฟ้องเป็นหลายคดี การที่พยานหลักฐานโจทก์เพียงพอจะรับฟังลงโทษจำเลยคนใดที่ร่วมกระทำผิดได้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยแต่ละคนเป็นการเฉพาะตัวเป็นราย ๆ ไปเฉพาะคดีนั้น ๆ ซึ่งพยานหลักฐานของโจทก์อาจพาดพิงถึงจำเลยแต่ละคดีมากน้อยต่างกันได้ คดีที่พยานโจทก์มีน้ำหนักเพียงพอก็ลงโทษไป คดีที่พยานโจทก์มีน้ำหนักเบาบางก็ต้องยกฟ้องตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากทางนำสืบเป็นรายคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามนำรถยนต์ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากร การพิพากษาโทษฐานความผิด
จำเลยที่ 1 ได้นำรถยนต์ที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนจากจังหวัดศรีสะเกษไปยังอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อพวกของจำเลยที่ 2 เพื่อให้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปขายที่ประเทศกัมพูชา แต่ยังนำรถยนต์ออกไปไม่ได้จึงนำไปจอดไว้ที่ตลาดอรัญประเทศเพื่อจะนำรถยนต์คันดังกล่าวไปขาย แต่ยังขายไม่ได้ จึงนำรถยนต์ไปคืนยังจุดเกิดเหตุ ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนานำรถยนต์คันดังกล่าว ซึ่งเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากรขาออก ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง การกระทำของจำเลยที่ 1 เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะขายไม่ได้ จึงเป็นความผิดฐานพยายามนำรถยนต์ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้องอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 80
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ซึ่งความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 83 จึงไม่ถูกต้อง นอกจากนี้คำขอท้ายฟ้องระบุให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ป.อ. มาตรา 80 คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ซึ่งความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 83 จึงไม่ถูกต้อง นอกจากนี้คำขอท้ายฟ้องระบุให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ป.อ. มาตรา 80 คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานเด็กประกอบพฤติการณ์แวดล้อม และอำนาจศาลในการวินิจฉัยจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
โจทก์มีผู้เสียหายซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปีเศษ เป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียว แต่พฤติการณ์แวดล้อมที่ปรากฏ มีเหตุผลเชื่อได้ว่าเหตุการณ์เป็นไปดังที่ผู้เสียหายเบิกความ แม้คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นศาลจะแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวนบ้าง ซึ่งเป็นเพียงประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องที่ไม่สำคัญ ย่อมไม่ทำให้น้ำหนักคำเบิกความของผู้เสียหายลดน้อยลง
จำเลยทั้งสองกอดปล้ำผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหายและในเวลาเดียวกันจำเลยทั้งสองก็ได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคสอง ด้วยไม่ได้ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งสองกอดปล้ำผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหายและในเวลาเดียวกันจำเลยทั้งสองก็ได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 279 วรรคสอง ด้วยไม่ได้ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพยายามกระทำชำเราเด็กหญิง และการพิพากษาความรับผิดชอบของจำเลยร่วม
โจทก์มีผู้เสียหายซึ่งขณะเกิดเหตุอายุ 9 ปีเศษ เป็นประจักษ์พยานเพียงคนเดียวแต่พฤติการณ์แวดล้อมที่ปรากฏ มีเหตุผลเชื่อได้ว่าเหตุการณ์เป็นไปดังที่ผู้เสียหายเบิกความ แม้คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นศาลจะแตกต่างจากคำให้การในชั้นสอบสวนบ้าง ซึ่งเป็นเพียงประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยในเรื่องที่ไม่สำคัญย่อมไม่ทำให้น้ำหนักคำเบิกความของผู้เสียหายลดน้อยลง
จำเลยทั้งสองกอดปล้ำผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหายและในเวลาเดียวกันจำเลยทั้งสองก็ได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง ด้วยไม่ได้ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
จำเลยทั้งสองกอดปล้ำผู้เสียหายก็เพื่อการกระทำชำเราผู้เสียหายและในเวลาเดียวกันจำเลยทั้งสองก็ได้พยายามกระทำชำเราผู้เสียหาย ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำอนาจารอย่างอื่นแก่ผู้เสียหายอีก จะถือว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง ด้วยไม่ได้ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษฐานเล่นการพนัน และการพิจารณาเหตุรอการลงโทษตามประวัติและพฤติการณ์
พระราชบัญญัติการพนันฯ มาตรา 12(1) ได้กำหนดโทษผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นการพนันตามบัญชี ก. หมายเลข 11 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปจนถึง 3 ปี และปรับตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปจนถึง5,000 บาท เว้นแต่ผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่เรียกว่าลูกค้าให้จำคุกไม่เกิน3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นการแยกบทกำหนดโทษสำหรับผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่ไม่ได้เรียกว่าลูกค้าเป็นบทหนึ่ง และสำหรับผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่เรียกว่าลูกค้าเป็นอีกบทหนึ่ง การที่จำเลยทั้งยี่สิบสองคนเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นการพนันป๊อกแปดเก้า โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และเป็นผู้เล่นหรือลูกค้าคนแทง จำเลยทั้งยี่สิบสองก็มีเพียงเจตนาเดียว คือ เข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นการพนันป๊อกแปดเก้า การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบสองจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยทั้งยี่สิบสองคือ ความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ การที่ศาลล่างทั้งสองเรียงกระทงลงโทษจำเลยทั้งยี่สิบสองในความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และเป็นผู้เล่นหรือลูกค้าคนแทง รวม 2 กระทงนั้นเป็นการไม่ชอบและเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงให้มีผลถึงจำเลยอื่น ๆ ที่มิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 7, ที่ 14 และที่ 16 กับพวกได้พร้อมอุปกรณ์การเล่นการพนันหลายรายการและยึดเงินสดที่ใช้เอาออกพนันได้ถึง 68,860 บาท แสดงว่าเป็นการพนันวงใหญ่ เล่นได้เสียกันเป็นจำนวนมาก ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับก่อนคดีนี้จำเลยที่ 7 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกและปรับฐานร่วมกันเล่นการพนันป๊อกแปดเก้าโดยไม่ได้รับอนุญาตและศาลชั้นต้นเคยปรานีรอการลงโทษ แต่จำเลยที่ 7 ยังมากระทำความผิดอย่างเดียวกันซ้ำอีกภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษในคดีก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลยที่ 7 ส่วนจำเลยที่ 14 และที่ 16ไม่ปรากฏว่าเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน อีกทั้งมีอาชีพการงานเป็นหลักแหล่งและต่างก็ต้องเลี้ยงดูภรรยาซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพและบุตรซึ่งอยู่ในวัยศึกษาอีกคนละ 3 คน กรณีมีเหตุอันควรปรานี เพื่อให้โอกาสจำเลยทั้งสองกลับตัวเป็นพลเมืองดี สมควรรอการลงโทษจำเลยทั้งสอง
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 7, ที่ 14 และที่ 16 กับพวกได้พร้อมอุปกรณ์การเล่นการพนันหลายรายการและยึดเงินสดที่ใช้เอาออกพนันได้ถึง 68,860 บาท แสดงว่าเป็นการพนันวงใหญ่ เล่นได้เสียกันเป็นจำนวนมาก ตามพฤติการณ์เป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับก่อนคดีนี้จำเลยที่ 7 เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกและปรับฐานร่วมกันเล่นการพนันป๊อกแปดเก้าโดยไม่ได้รับอนุญาตและศาลชั้นต้นเคยปรานีรอการลงโทษ แต่จำเลยที่ 7 ยังมากระทำความผิดอย่างเดียวกันซ้ำอีกภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษในคดีก่อนจึงไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษจำเลยที่ 7 ส่วนจำเลยที่ 14 และที่ 16ไม่ปรากฏว่าเคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน อีกทั้งมีอาชีพการงานเป็นหลักแหล่งและต่างก็ต้องเลี้ยงดูภรรยาซึ่งไม่ได้ประกอบอาชีพและบุตรซึ่งอยู่ในวัยศึกษาอีกคนละ 3 คน กรณีมีเหตุอันควรปรานี เพื่อให้โอกาสจำเลยทั้งสองกลับตัวเป็นพลเมืองดี สมควรรอการลงโทษจำเลยทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานเป็นเจ้ามือและผู้เล่นพนัน: ศาลฎีกาแก้ไขการเรียงกระทงความผิดเป็นกรรมเดียว
พ.ร.บ. การพนันฯ มาตรา 12(1) ตามบัญชี ก. หมายเลข 11 แยกบทกำหนดโทษสำหรับผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่ไม่ได้เรียกว่าลูกค้าเป็นบทหนึ่ง และสำหรับผู้เข้าเล่นหรือเข้าพนันที่เรียกว่าลูกค้าเป็นอีกบทหนึ่ง การที่จำเลยทั้งยี่สิบสองคนเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นพนันป๊อกแปดเก้าโดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และเป็น ผู้เล่นหรือลูกค้าคนแทง จำเลยทั้งยี่สิบสองก็มีเพียงเจตนาเดียวคือเข้าเล่นหรือเข้าพนันในการเล่นพนันป๊อกแปดเก้า การกระทำของจำเลยทั้งยี่สิบสองจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยทั้งยี่สิบสองคือความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้
การที่ศาลล่างทั้งสองเรียงกระทงลงโทษแก่จำเลยทั้งยี่สิบสองเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงให้มีผลถึงจำเลยอื่น ๆ ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
การที่ศาลล่างทั้งสองเรียงกระทงลงโทษแก่จำเลยทั้งยี่สิบสองเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเนื่องจากเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงให้มีผลถึงจำเลยอื่น ๆ ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225