พบผลลัพธ์ทั้งหมด 522 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพมีผลต่อการลดโทษของจำเลย และมีผลถึงจำเลยร่วม
จำเลยที่ 1 ได้ให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวศาลได้ใช้ประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยที่ 1 ด้วย จึงถือว่าคำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้จำเลยที่ 1 จึงไม่เหมาะสมศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข และเมื่อการลดโทษให้จำเลยที่ 1 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาให้ลดโทษไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาลงอีกด้วย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพช่วยลดโทษได้ แม้ศาลล่างไม่ลดให้ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษจำเลยร่วมได้
จำเลยที่ 1 ได้ให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นจับกุมและ ชั้นสอบสวนซึ่งคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวศาลได้ใช้ ประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยที่ 1 ด้วย จึงถือว่าคำให้การ ของจำเลยที่ 1 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่ การพิจารณา การที่ศาลล่างทั้งสองไม่ลดโทษให้จำเลยที่ 1 จึงไม่เหมาะสมศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข และเมื่อการลดโทษให้จำเลยที่ 1 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงมี อำนาจพิพากษาให้ลดโทษไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาลงอีกด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การชั้นจับกุม/สอบสวน, คำซัดทอดผู้ร่วมกระทำผิด, พยานหลักฐานประกอบ, การวินิจฉัยความผิด, การรอการลงโทษ
ไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนของจำเลยประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้น สุดแล้วแต่เหตุผลของคำให้การนั้น
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้
โจทก์มีร้อยตำรวจโท ฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสารหมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธตามเอกสารหมาย จ.14และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18 ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิด และระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ.ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตาย ประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับ บ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่า ส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ. เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อช่วย บ.จริง
ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของ ร.และ น.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของ ส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว
เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอการลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้
โจทก์มีร้อยตำรวจโท ฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสารหมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธตามเอกสารหมาย จ.14และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18 ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิด และระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ.ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตาย ประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับ บ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่า ส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ. เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อช่วย บ.จริง
ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของ ร.และ น.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพ ส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของ ส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว
เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอการลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การรับสารภาพและคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดประกอบการพิจารณาคดีอาญา
ไม่มีกฎหมายบทใดบัญญัติห้ามมิให้ศาลรับฟังคำให้การชั้นจับกุมและชิ้นสอบสวนของจำเลยประกอบการพิจารณาของศาล ส่วนจะมีน้ำหนักรับฟังได้เพียงใดหรือไม่นั้นสุดแล้วแต่เหตุผลของคำให้การนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำชัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันเป็นพยานหลักฐาน เพียงแต่คำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักน้อยต้องรับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ด้วย จึงจะมีน้ำหนักรับฟังเพื่อลงโทษผู้กระทำความผิดคนอื่นได้ โจทก์มีร้อยตำรวจโทฉ.พนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความยืนยันว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้ให้การ รับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วยความสมัครใจตามเอกสาร หมาย จ.10 ถึง จ.12 ส่วนจำเลยที่ 5 ให้การรับสารภาพ ในชั้นจับกุมตามเอกสารหมาย จ.4 และให้การภาคเสธ ตามเอกสารหมาย จ.14 และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพตามเอกสารหมาย จ.17 และแสดงท่าทางให้ถ่ายภาพประกอบคำให้การรับสารภาพตามภาพถ่ายหมาย จ.18ซึ่งกระทำต่อหน้าประชาชนจำนวนมาก เชื่อได้ว่าให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ คำให้การของจำเลยแต่ละคนกล่าวถึงข้อเท็จจริงในการกระทำความผิดและระบุชัดว่าจำเลยแต่ละคนร่วมกับ บ. ในการเคลื่อนย้ายศพผู้ตาย ซึ่งสอดคล้องกับคำเบิกความของสิบตำรวจตรีธ.ผู้ไปตรวจดูสภาพหลุมศพว่าได้ขุดพบโครงกระดูกของผู้ตายประกอบกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่สนิทสนมกับบ.ผู้ต้องหาในคดีฆ่าส.ผู้ตายโดยเจตนา และจำเลยที่ 5 เป็นภริยาของบ.เช่นนี้พฤติการณ์จึงมีน้ำหนักฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 มีเจตนาเคลื่อนย้ายศพส. เพื่อช่วยบ. จริง ในการวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลล่างทั้งสองมิได้ฟังคำซัดทอดของร.และน.เพียงอย่างเดียว แต่โจทก์มีพยานวัตถุและคำให้การรับสารภาพของ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ในชั้นจับกุม คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ 3 ในชั้นสอบสวน และบันทึกการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพกับภาพถ่ายการชี้ที่เกิดเหตุประกอบคำให้การรับสารภาพเป็นพยานหลักฐาน ย่อมฟังได้โดย ปราศจากข้อสงสัยใด ๆ ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3และที่ 5 ได้เคลื่อนย้ายศพส.เพื่อปิดบังการตายหรือสาเหตุแห่งการตายของส.ตามฟ้อง ดังนี้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว เมื่อกรณีมีเหตุอันสมควรปรานีรอการลงโทษจำคุก จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 และการรอการลงโทษ ดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาจึงมีอำนาจ พิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้ได้รับการรอ การลงโทษดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบ ด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท คดีค้ามนุษย์ การลงโทษบทหนักสุด
การที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานเป็นธุระจัดหา ล่อไปชักพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งหญิงเพื่อให้สำเร็จความใคร่ของผู้อื่นและความผิดฐานพาเด็กหญิงไปจากประเทศสยามเพื่อการรับจ้างให้เข้าทำเมถุนกรรมนั้น เป็นการกระทำไปโดยมีเจตนา อย่างเดียวคือพาผู้เสียหายไปขายบริการทางเพศที่ประเทศ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการพาออกไปจากประเทศสยาม ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดกฎหมายหลายบทและกรณี เป็นเหตุในลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213,225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4103/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนบัตรปลอม: ความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอมนั้น เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 244 บทหนึ่ง และมาตรา 247 ประกอบด้วยมาตรา244 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 244 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1จะมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4103/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไว้ซึ่งธนบัตรปลอม: การลงโทษตามบทที่มีโทษหนักสุด
การที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันมีไว้ เพื่อนำออกใช้ซึ่งธนบัตรรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยรู้ว่าเป็นธนบัตรปลอมนั้น เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244 บทหนึ่ง และมาตรา 247ประกอบด้วยมาตรา 244 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 244ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ปัญหานี้แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 และที่ 4 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เอกสารราชการปลอมกับฉ้อโกง: ความแตกต่างระหว่างเอกสารสิทธิและเอกสารราชการทั่วไป
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวกใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส.สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304 และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตามพระราชบัญญัติรถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,268 วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา 265,341 ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2570/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ใบคู่มือจดทะเบียนรถไม่ใช่เอกสารสิทธิปลอม ความผิดฐานฉ้อโกงและใช้เอกสารราชการปลอม
จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และพวก ใช้ใบคู่มือจดทะเบียนรถ บัตรประจำตัวประชาชนของ ส. สำเนาทะเบียนบ้านเลขที่ 95/304และหนังสือรับรองการจดทะเบียนการเป็นนิติบุคคลของบริษัท ท. ซึ่งเป็นเอกสารปลอมและฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่หนังสือคู่มือจดทะเบียนรถหรือใบคู่มือจดทะเบียนรถเป็นเพียงเอกสารซึ่งควบคุมการใช้รถยนต์และการจัดเก็บภาษีประจำปีตาม พ.ร.บ.รถยนต์เท่านั้น มิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ใบคู่มือจดทะเบียนรถจึงเป็นเพียงเอกสารราชการ หาได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการไม่ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอม จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและฉ้อโกง ตาม ป.อ.มาตรา 83, 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265, 341
ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าว เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
ข้อที่ว่าใบคู่มือจดทะเบียนรถมิได้เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการโดยเป็นเพียงเอกสารราชการดังกล่าว เป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ชิงทรัพย์เวลากลางคืน, ทำร้ายร่างกาย, เจตนา, ความร่วมมือ, อำนาจศาล
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่อง จำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไปแต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล. หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้นเมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกายการที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391 คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วยเฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสุดท้ายประกอบด้วยมาตรา 215,225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แม้จะได้ร่วมชักถามผู้เสียหายแต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 และที่ 3เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225