พบผลลัพธ์ทั้งหมด 522 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย และอำนาจศาลในการพิพากษาจำเลยที่ไม่ได้ฎีกา
เหตุเกิดเวลากลางคืนโดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ชกต่อยทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย และจำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำพร้อมพระเครื่องจำนวน 1 องค์ ของผู้เสียหายไป แต่การที่จำเลยทั้งสามสอบถามผู้เสียหายครั้งแรกที่ป้ายรถโดยสารประจำทางก็โดยมีเจตนาต้องการทราบว่าผู้เสียหายเป็นนักเรียนโรงเรียน ล.หรือไม่ หากว่าเป็นนักเรียนโรงเรียนดังกล่าว จำเลยทั้งสามจะได้แก้แค้น เมื่อผู้เสียหายบอกว่าไม่ใช่ จำเลยทั้งสามไม่เชื่อ ต่อมาเมื่อผู้เสียหายลงจากรถโดยสารประจำทางจึงถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันทำร้ายร่างกาย การที่จำเลยที่ 1 เอาสร้อยคอทองคำของผู้เสียหายไปขณะทำร้ายร่างกายผู้เสียหายโดยที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ทราบ และไม่มีเจตนาที่จะร่วมกันชิงทรัพย์หรือลักทรัพย์และจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์มาแต่แรก คงมีเจตนาทำร้ายร่างกายเท่านั้น ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ.มาตรา 339 วรรคสอง จำเลยที่ 3 มีความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 391
คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วย เฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1และที่ 3 แม้จะได้ร่วมซักถามผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิจารณาและพิพากษาคดีรวมกัน โดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันปล้นทรัพย์ซึ่งรวมถึงการชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกายด้วย เฉพาะจำเลยที่ 3 ผู้เดียวฎีกาศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในการกระทำความผิดดังกล่าวตามที่ทางพิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสุดท้าย ประกอบด้วยมาตรา 215, 225 ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1และที่ 3 แม้จะได้ร่วมซักถามผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ก็ไม่ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหาย ทั้งไม่ปรากฏว่าได้หลบหนีไปกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 แสดงว่าไม่ได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เมื่อเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาถึงจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วยแม้มิได้ฎีกา ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 427/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์-รับของโจร: พยานหลักฐานไม่ชัดเจน ยกฟ้องฐานลักทรัพย์ แต่ลงโทษฐานรับของโจร
ป. ถูกฟ้องในข้อหาความผิดฐานลักปลาดุก เลี้ยงของผู้เสียหายในคราวเดียวกันกับคดีนี้ และศาลพิพากษาลงโทษจำคุก ป. ไปแล้ว ตามคดีอาญาก่อนของศาลชั้นต้น ดังนั้น จึงต้องถือว่า ป. มีฐานะเป็นจำเลยเช่นเดียวกันกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 แม้ว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะไม่ได้ถูกฟ้องแย้งจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวร่วมกับ ป. ก็ตาม แต่เพราะเป็นมูลคดีเดียวกันคำเบิกความของ ป. ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีน้ำหนักน้อย เพราะเป็นคำซัดทอดในระหว่างจำเลยด้วยกันส่วนนางข. นอกจากจะเป็นภริยาของ ป. แล้วตามพฤติการณ์แห่งคดีก็เป็นผู้ที่อยู่ร่วมในเหตุการณ์ขณะมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ตลอดจนมีส่วนร่วมในการนำปลาดุก เลี้ยงของผู้เสียหายไปขายอันอาจถือได้ว่าเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดในคดีนี้ด้วยดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ ข. จะเบิกความซัดทอดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อให้ตนเองพ้นผิด คำเบิกความของ ข.จึงมีข้อน่าสงสัยนอกจากนี้คำเบิกความของ ป. และ ข.ก็ยังแตกต่างและขัดแย้งกันในข้อสาระสำคัญหลายประการย่อมทำให้เกิดข้อพิรุธสงสัย ชั้นจับกุมจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพฐานรับของโจร ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธตลอดจนได้ความว่าคดีอาญาก่อนของศาลชั้นต้นมี ป.ถูกฟ้องเพียงคนเดียว ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ถูกฟ้องด้วยทั้ง ๆ ที่เป็นมูลคดีเดียวกัน พยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาไม่แน่ชัดพอ ยังมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ จึงให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสองและเนื่องจากคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในความผิดลักทรัพย์ฐานเดียวกัน เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรจึงเป็นเหตุให้ส่วนลักษณะคดีแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาและคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้มีผลตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213,225 จำเลยที่ 2 มีบ้านอยู่ใกล้กับบ่อเลี้ยงปลาของผู้เสียหายและทราบดีว่า ป. เป็นคนเฝ้าบ่อปลาให้กับผู้เสียหาย ดังนั้นการที่ป. นำปลาดุก เลี้ยงจำนวนมากถึง 42 กิโลกรัมมาขายให้แก่จำเลยที่ 2 ในเวลาวิกาลประมาณ 4 นาฬิกา และขายในราคา ต่ำเพียงกิโลกรัมละ 8 บาท ในขณะที่จำเลยที่ 2 สามารถนำไป ขายต่อได้ถึงกิโลกรัมละ 22 บาท เช่นนี้ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่า ป.ลักปลาดุก เลี้ยงของผู้เสียหายมา การที่จำเลยที่ 2 รับซื้อไว้จึงเป็นความผิดฐานรับของโจร แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 2 กระทำความผิดฐานรับของโจรก็ไม่ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยที่ 2ก็มิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยที่ 2 ในข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสอง และวรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและทำร้ายร่างกายโดยเจ้าหน้าที่ที่ไม่ได้รับอำนาจ และการขาดการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เข้าไปเรียกผู้โดยสารในท่าอากาศยานไม่ปรากฎว่ารบกวนผู้โดยสารให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด คงเป็นเพียงการเข้าไปชักชวน ผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้ รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานฯ ต้องขาด รายได้ไปบางส่วนก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐาน รบกวนผู้โดยสารตามกฎกระทรวงฉบับที่ 2(พ.ศ. 2528) ข้อ 8(6) งออกตามความในพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 4(2) ต. เป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยจึงเป็นพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฎิบัติการตามพระราชบัญญัติการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2522 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2530 ข้อ 2.1 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ต. ได้รับทราบทางวิทยุว่าจำเลยทั้งหกเข้ามารบกวนผู้โดยสารที่บริเวณห้องผู้โดยสารขาเข้า จึงสั่งให้ อ.กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยอื่นช่วยกันไล่จำเลยทั้งหกออกไปจากบริเวณดังกล่าว หากจำเลยทั้งหกไม่ยอมออกไปก็ให้ทำการจับกุม ต่อมาประมาณ 10 นาที ต. ได้รับแจ้งว่าอ. กำลังถูกรุมทำร้ายจึงรีบวิ่งไปที่เกิดเหตุ เมื่อไปถึงที่เกิดเหตุพวกจำเลยกระจายกันวิ่งหลบหนี แสดงว่า ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ต.อนุญาตให้อ.ณ.และย. ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยกรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหรือกระทำตามหน้าที่เพราะต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลย เมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฎิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้วการที่ อ.ณ.และย.เข้าจับจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะที่บุคคลทั้งสามเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้นปฎิบัติ การหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138,289(3),296 แต่กลับกลายเป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางก็ถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุโดยปรากฎตามรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแพทย์ว่าผู้เสียหายทั้งสามได้รับอันตรายจากการเข้าจับกุมเพียงเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขน ข้อมือ และขมับการกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางจับกุมและทำร้ายร่างกายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพราะในการปฎิบัติหน้าที่นี้กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฎิบัติหน้าที่แทนตน เห็นได้ว่าเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ดังจะเห็นได้ในคดีนี้ว่าผู้จับวินิจฉัยผิดพลาดและเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ และแม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 77/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ ความชอบด้วยกฎหมายของการจับกุม
จำเลยที่ 1 เพียงแต่เข้าไปชักชวนผู้โดยสารให้ใช้บริการรถแท็กซี่ของจำเลยที่ 1 แม้จะทำให้รถแท็กซี่ที่อยู่ในความควบคุมของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยต้องขาดรายได้ไปบางส่วน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รบกวนผู้โดยสารอากาศยานให้ได้รับความเดือดร้อนรำคาญแต่อย่างใด กรณีก็ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ 1มีความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 มาตรา 4 (2)
ต.มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยต.เป็นเจ้าพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ขณะเกิดเหตุ ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ ต.อนุญาตให้อ.และ ย.ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยทั้งหก โดย ต.ไปถึงที่เกิดเหตุหลังจากจำเลยทั้งหกหลบหนีไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ เพราะ ต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก และเมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้ว การที่ อ.และ ย.เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. แต่เป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางเป็นเหตุให้ อ.และ ย.ได้รับอันตรายเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขนข้อมือและขมับ ก็ต้องถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยเองว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตนได้
แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
ต.มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยต.เป็นเจ้าพนักงานตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานเพื่อปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ซึ่งแต่งตั้งให้หัวหน้าพนักงานเวรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ขณะเกิดเหตุ ต.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก เพียงแต่ ต.อนุญาตให้อ.และ ย.ซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานเข้าทำการจับกุมจำเลยทั้งหก โดย ต.ไปถึงที่เกิดเหตุหลังจากจำเลยทั้งหกหลบหนีไปแล้ว กรณีจึงไม่อาจถือว่า ต.เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ เพราะ ต.ไม่ได้เข้าจับกุมจำเลยทั้งหก และเมื่อไม่มีเจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่เช่นนี้แล้ว การที่ อ.และ ย.เข้าจับกุมจำเลยที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานปฏิบัติการหรือกระทำตามหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. แต่เป็นการเข้าจับกุมโดยไม่มีอำนาจ แม้จำเลยทั้งหกจะต่อสู้ขัดขวางเป็นเหตุให้ อ.และ ย.ได้รับอันตรายเป็นรอยถลอกและบวมเล็กน้อยตามบริเวณแขนข้อมือและขมับ ก็ต้องถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยทั้งหกจึงไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
เมื่อเหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เจ้าพนักงานจะต้องใช้ดุลพินิจวินิจฉัยเองว่าการกระทำของจำเลยทั้งหกเป็นความผิดฐานรบกวนผู้โดยสารซึ่งจะต้องถูกจับหรือไม่บุคคลอื่นหรือผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานอาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานในอันที่จะมอบหมายให้ผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนตนได้
แม้คดีในส่วนของจำเลยที่ 3 จะถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เมื่อเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาเห็นสมควรยกฟ้องตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8503/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลในการแก้ไขคำพิพากษาให้จำเลยที่ไม่เคยอุทธรณ์ได้รับประโยชน์จากการรอการลงโทษของจำเลยที่อุทธรณ์
เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และคุมความประพฤติไว้เพราะเห็นว่าทรัพย์ที่ถูกลักไปคือไก่ชนราคาไม่สูงนัก หลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายได้รับทรัพย์ที่ถูกลักไปกลับคืนมา จึงยังไม่สมควรลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับสภาพการกระทำความผิดว่าไม่ร้ายแรงนัก อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ ก็เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ให้รอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยที่ 3 ดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8503/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษจำเลยที่ 3 โดยอาศัยเหตุที่ศาลลดโทษจำเลยอื่นร่วมกระทำผิดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เหตุผลประการหนึ่งที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และคุมความประพฤติไว้เพราะเห็นว่าทรัพย์ที่ถูกลักไปคือไก่ชนราคาไม่สูงนัก หลังเกิดเหตุแล้วผู้เสียหายได้รับทรัพย์ที่ถูกลักไปกลับคืนมา จึงยังไม่สมควรลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจเกี่ยวกับสภาพการกระทำความผิดว่าไม่ร้ายแรงนัก อันเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี เมื่อจำเลยทั้งสามร่วมกระทำความผิดด้วยกัน แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 อุทธรณ์ แต่จำเลยที่ 3 มิได้อุทธรณ์ ก็เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 3 ให้รอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยที่ 3 ดุจจำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานใช้อาวุธปืนปล้นทรัพย์-พยายามฆ่า: ต้องลงโทษบทหนักสุดตามกฎหมายอาญามาตรา 90
จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 หรือมาตรา 340เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสามและความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 ประกอบมาตรา 80 กับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนติดตัวและใช้ยานพาหนะตามมาตรา 340 วรรคสอง,340 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯมาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแต่เพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดกระทงหนึ่ง ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่น กับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนและใช้ยานพาหนะเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดอีกสถานหนึ่งต่างหากจากที่ลงโทษในความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง แม้จำเลยที่ 1 ผู้เดียวจะฎีกาศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 225 ประกอบมาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท อาญา – ใช้อาวุธปืนร่วมกับความผิดอื่น ศาลฎีกาแก้ไขโทษตาม ป.อ.มาตรา 90
จำเลยทั้งสามร่วมกันกระทำความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 288 หรือมาตรา 340 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78วรรคสาม และความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่นตาม ป.อ.มาตรา 289 ประกอบมาตรา 80 กับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนติดตัวและใช้ยานพาหนะตามมาตรา 340 วรรคสอง, 340 ตรี เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแต่เพียงบทเดียวตาม ป.อ.มาตรา 90 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดกระทงหนึ่ง ฐานพยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อความสะดวกในการกระทำความผิดอย่างอื่น กับความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืนและใช้ยานพาหนะเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามฆ่าซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดอีกสถานหนึ่งต่างหากจากที่ลงโทษในความผิดฐานใช้อาวุธปืนนอกจากที่กำหนดในกฎกระทรวงในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นหรือปล้นทรัพย์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ.มาตรา 90 ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องแม้จำเลยที่ 1 ผู้เดียวจะฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบมาตรา 213
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: อำนาจตรวจค้นโดยไม่มีหมาย, เหตุฉุกเฉิน, และความผิดฐานขัดขวาง
ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอ้างเหตุพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่1มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมายจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดนั้นปัญหาว่าอาวุธปืนใช้ยิงได้หรือไม่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ปัญหาตามที่จำเลยที่1ฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ได้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยอ้างเหตุว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันนั้นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับจึงไม่อาจตรวจค้นและจับกุมได้จำเลยที่1ขัดขวางการจับกุมไม่เป็นความผิดแม้ปัญหานี้จำเลยที่1ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่ที่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225 ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนันเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับแต่เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหากไม่เข้าตรวจค้นและจับกุมทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้งผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งจึงตรวจค้นในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา92(2)ประกอบด้วยมาตรา96(2)การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นการตรวจค้นและจับกุมผู้เล่นการพนันโดยชอบด้วยกฎหมายการที่จำเลยที่1ขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไปจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา138วรรคหนึ่ง การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่1เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีแม้จำเลยที่2ไม่ได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่2ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213ประกอบมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: เหตุฉุกเฉิน, อำนาจตรวจค้น, ความผิดฐานขัดขวาง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอ้างเหตุพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดนั้น ปัญหาว่าอาวุธปืนใช้ยิงได้หรือไม่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ปัญหาตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยอ้างเหตุว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันนั้นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ จึงไม่อาจตรวจค้นและจับกุมได้ จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมไม่เป็นความผิด แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ที่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนันเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ แต่เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหากไม่เข้าตรวจค้นและจับกุมทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จึงตรวจค้นในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 92(2) ประกอบด้วยมาตรา 96(2) การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นการตรวจค้นและจับกุมผู้เล่นการพนันโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไป จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคหนึ่ง การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่ 2 ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225