พบผลลัพธ์ทั้งหมด 522 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7086/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อแตกต่างระหว่างความผิดฐานลักทรัพย์ ฉ้อโกง และผู้สนับสนุนความผิด การพิพากษาเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันลักรถจักรยานยนต์ของบริษัท ก. ผู้เสียหายขณะอยู่ในความครอบครองของ ร. แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า เจ้าพนักงานตำรวจยืมรถตามฟ้องจากผู้อื่นแล้วให้ ร. นำไปส่งมอบแก่พวกจำเลยแลกกับค่าตอบแทนเป็นเงิน 10,000 บาท หาใช่เป็นการลักรถจักรยานยนต์ตามฟ้องไปจาก ร. ไม่ จึงเป็นกรณีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง บัญญัติให้ศาลยกฟ้อง จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ และลงโทษฐานเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้เช่นกัน ถือว่าเกินคำขอหรือมิได้กล่าวในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง และการที่จำเลยทั้งสามชี้ช่องแนะนำให้ ร. ไปทำสัญญาเช่าซื้อและเสนอเงินค่าตอบแทนในการนำรถจักรยานยนต์มาส่งมอบจำนวน 10,000 บาท ดังกล่าว อาจถือว่าเป็นการกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ ร. ก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนได้ ต้องเป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 86 ที่บัญญัติว่าเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกในการที่ผู้อื่นกระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิด หมายถึงต้องมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นด้วย จึงจะพิจารณาได้ว่าการกระทำนั้นเป็นการกระทำก่อนหรือขณะกระทำความผิดได้ แตกต่างกับบทบัญญัติแห่งมาตรา 84 วรรคสองตอนท้าย ที่อาจมีความผิดฐานเป็นผู้ใช้ได้แม้ว่าความผิดมิได้กระทำลงก็ตาม เมื่อคดีนี้เกิดจากการวางแผนของเจ้าหน้าที่ตำรวจไว้ก่อน และเป็นการขอยืมรถจักรยานยนต์จากผู้อื่นเพื่อให้ ร. ขับไปทำทีส่งมอบแก่พวกจำเลย หาได้เกิดจาก ร. หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้น ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง อันจะถือเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 เมื่อความผิดตามมาตรา 341 ไม่มีเสียแล้ว ความผิดฐานสนับสนุนการกระทำความผิดที่ต้องนำความผิดตามมาตรา 341 มาประกอบกับมาตรา 86 ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษตามมาตรา 341 ประกอบมาตรา 86 ได้อีกด้วย และกรณีดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีที่ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องถูกรับโทษดุจจำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย และบทปรับบทตามมาตรา 80 กรณีความพยายามสำเร็จ
เจ้าพนักงานตำรวจจับกุม ด. ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 1,570 เม็ด และอาวุธปืน ในระหว่างที่ ด. ถูกควบคุมตัวจำเลยที่ 4 โทรศัพท์สั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจาก ด. ด.ให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานตำรวจสั่งซื้อเมทแอมเฟตามีนจาก ว. ให้จำเลยที่ 4 ว. ให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 นำเมทแอมเฟตามีนมาส่งให้ ด. เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้พร้อมเมทแอมเฟตามีน 40,000 เม็ด แล้วขยายผลการจับกุมโดยให้สิบตำรวจเอก ท. ปลอมตัวเป็นลูกน้องของ ด. นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งมอบให้จำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ให้จำเลยที่ 3 มารับเมทแอมเฟตามีนแทน การที่สิบตำรวจเอก ท. ส่งมอบกระเป๋าซึ่งภายในไม่มีเมทแอมเฟตามีนของกลางให้จำเลยที่ 3 คงเป็นเพราะเจ้าพนักงานตำรวจเกรงว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งมารับเมทแอมเฟตามีนอาจแย่งชิงเมทแอมเฟตามีนของกลางจากสิบตำรวจเอก ท. ไปมากกว่าเหตุอื่น ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หาใช่เป็นการแน่แท้เด็ดขาดว่าเป็นเรื่องพ้นวิสัยที่จำเลยที่ 3 จะกระทำความผิดสำเร็จไม่ได้เพราะเหตุไม่มีเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดได้ แต่เป็นกรณีที่อาจบรรลุผลได้ตามเจตนาของจำเลยที่ 3 ที่ต้องการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางไป การกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเป็นความผิดฐานพยายามมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตาม ป.อ. มาตรา 80 ไม่ใช่พยายามกระทำความผิดที่ไม่สามารถจะบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามมาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13262/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, วางเพลิงเผาทรัพย์, และซ่อนเร้นศพ ผู้กระทำต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย
เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายแล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไปส่ง บ. ที่บ้านแล้วย้อนกลับไปยังกระท่อมที่เกิดเหตุอีกครั้งหนึ่ง และร่วมกับจำเลยที่ 1 ยกร่างของผู้ตายขึ้นรถกระบะคันเกิดเหตุ ทั้งขณะที่จำเลยที่ 1 นำฟางมาคลุมร่างของผู้ตาย และนำยางในรถยนต์มาวางทับ แล้วตระเตรียมน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นรถกระบะนั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็อยู่ในเหตุการณ์ด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 1 จะต้องจุดไฟเผารถกระบะคันเกิดเหตุและร่างของผู้ตายเพื่ออำพรางคดี จากนั้นจำเลยที่ 3 ก็นั่งไปด้วยในรถกระบะที่จำเลยที่ 1 ขับ โดยมีจำเลยที่ 2 ขับรถอีกคันหนึ่งแล่นติดตามไป แล้วจำเลยทั้งสามร่วมกันจุดไฟเผารถกระบะคันเกิดเหตุพร้อมร่างของผู้ตายซึ่งอยู่ในรถดังกล่าว การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันจุดไฟเผารถกระบะคันเกิดเหตุโดยเข้าใจว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว เป็นการกระทำโดยมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด จึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตาย แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 หาได้ใช้ความระมัดระวังตรวจดูให้ดีก่อนว่าผู้ตายถึงแก่ความตายแล้วหรือไม่ ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 2 และที่ 3 จักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และฐานร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น
ความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย ตาม ป.อ. มาตรา 199 นั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานนี้ ผู้กระทำจะต้องซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพซึ่งหมายความถึงร่างกายของคนที่ตายแล้ว แต่เมื่อขณะที่ผู้ตายถูกเผา ผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย ร่างกายของผู้ตายในขณะนั้นจึงไม่ใช่ศพ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพ อันเป็นองค์ประกอบความผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
ความผิดฐานร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพเพื่อปิดบังเหตุแห่งการตาย ตาม ป.อ. มาตรา 199 นั้น การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานนี้ ผู้กระทำจะต้องซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพซึ่งหมายความถึงร่างกายของคนที่ตายแล้ว แต่เมื่อขณะที่ผู้ตายถูกเผา ผู้ตายยังไม่ถึงแก่ความตาย ร่างกายของผู้ตายในขณะนั้นจึงไม่ใช่ศพ ย่อมไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพ อันเป็นองค์ประกอบความผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่เป็นความผิดฐานดังกล่าว ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และกรณีเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้อุทธรณ์ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11198/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดร่วมกัน การรับผิดชอบในความผิดฐานพยายามฆ่าที่เกินเจตนา และการลงโทษเกินกว่าฟ้อง
แม้จำเลยทั้งสองจะมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหาย แต่ไม่ได้ความว่าจำเลยทั้งสองรู้เห็นหรือคบคิดกับพวกของจำเลยทั้งสองที่เป็นผู้มีและพาอาวุธปืนมายิงผู้เสียหาย การที่พวกของจำเลยทั้งสองใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายจึงเป็นการกระทำของพวกจำเลยทั้งสองโดยลำพังในขณะนั้นเอง ไม่อาจอนุมานได้ว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมมีและพาอาวุธปืน และฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานร่วมมีและพาอาวุธปืนและไม่มีเจตนาร่วมในความผิดฐานพยายามฆ่า ดังนั้น แม้พวกจำเลยที่ 1 จะใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายโดยมีเจตนาฆ่าอันถือได้ว่ามีการทำร้ายร่างกายรวมอยู่ในการกระทำของพวกจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดในผลของการกระทำของพวกจำเลยที่ 1 ที่เป็นผู้ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายดังกล่าว เพราะเป็นการกระทำคนละเจตนาและเกินขอบเขตเจตนาของจำเลยที่ 1 ที่มีร่วมกันมาตั้งแต่ต้น จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดในการกระทำของจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่บรรยายมาในคำฟ้องว่า มีการทำร้ายร่างกายผู้เสียหายและผู้เสียหายได้รับอันตรายจากการทำร้ายร่างกายหรือไม่อย่างไร คงบรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง กระสุนปืนถูกผู้เสียหาย ทำให้ได้รับอันตรายสาหัส ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 กับพวกใช้ขวดขว้างผู้เสียหายก็ตาม ศาลก็ไม่อาจนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาลงโทษจำเลยที่ 1ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้กล่าวไว้ในฟ้อง ถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ แม้ปัญหาข้อนี้ จำเลยที่ 1 จะไม่ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ปัญหาข้อนี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ให้ได้รับผลดุจจำเลยที่ 1 ผู้ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11001/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชักชวนเข้าสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ต้องมีเจตนาให้เป็นสมาชิกจริง และอาจเข้าข่ายหลอกลวงหากไม่มีเจตนาช่วยเหลือ
การที่จะถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 33 และมาตรา 34 ได้นั้น ผู้กระทำจะต้องชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการผู้อื่นโดยเจตนาให้ผู้อื่นนั้นเข้าเป็นสมาชิกในสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ หากเป็นการชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการให้ผู้อื่นเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ยังไม่ได้จดทะเบียนก็เป็นความผิดตามมาตรา 33 แต่หากเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวเพื่อให้ผู้อื่นเข้าเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ ผู้กระทำต้องชักชวน ชี้ช่อง หรือจัดการโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินหรือทรัพย์สินอื่นด้วยจึงจะเป็นความผิดตามมาตรา 34 ส่วนความผิดตามมาตรา 61 เป็นบทกำหนดโทษสำหรับผู้ดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียน เพื่อควบคุมการดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ซึ่งเป็นกิจการสาธารณประโยชน์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 (ข) ว่า จำเลยทั้งแปดโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ พูดชักชวน ชี้ช่อง จัดการให้ประชาชนเข้าเป็นสมาชิกในชมรมดังกล่าว และประกาศทางใบปลิวว่า ได้ก่อตั้งชมรมโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีวัตถุประสงค์นำเงินไปช่วยเหลือค่าจัดการศพสมาชิกที่ตาย หากประชาชนผู้ใดประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกจะต้องเสียเงินค่าสมัครคนละ 290 บาท ค่าจัดการศพให้แก่สมาชิกที่ตายทุกเดือน เดือนละ 480 บาท ผ่านทางจำเลยทั้งแปดกับพวก และหากสมาชิกตายเมื่อครบกำหนด 3 เดือน ได้รับเงิน 30,000 บาท หากครบ 6 เดือน ได้รับเงิน 50,000 บาท โดยจะไม่โกงหรือเลิกกิจการ แต่ความจริงจำเลยทั้งแปดกับพวกมิได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย และไม่มีเจตนานำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกที่ตาย และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นทำให้ประชาชนหลงเชื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกและจ่ายเงินค่าสมัครและเงินค่าจัดการศพสมาชิกที่ตายให้แก่จำเลยทั้งแปดกับพวกไป ฟ้องของโจทก์เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่า จำเลยทั้งแปดไม่มีเจตนาชักชวนผู้เสียหายเข้าเป็นสมาชิกกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์เพราะไม่มีเจตนาที่จะนำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกอื่นที่ถึงแก่ความตาย และมิได้มีเจตนาดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามบทนิยามของกฎหมายแต่อย่างใด คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 61 แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพในความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนและมิได้ยกขึ้นอ้างชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 1 (ข) ว่า จำเลยทั้งแปดโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ พูดชักชวน ชี้ช่อง จัดการให้ประชาชนเข้าเป็นสมาชิกในชมรมดังกล่าว และประกาศทางใบปลิวว่า ได้ก่อตั้งชมรมโดยจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีวัตถุประสงค์นำเงินไปช่วยเหลือค่าจัดการศพสมาชิกที่ตาย หากประชาชนผู้ใดประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกจะต้องเสียเงินค่าสมัครคนละ 290 บาท ค่าจัดการศพให้แก่สมาชิกที่ตายทุกเดือน เดือนละ 480 บาท ผ่านทางจำเลยทั้งแปดกับพวก และหากสมาชิกตายเมื่อครบกำหนด 3 เดือน ได้รับเงิน 30,000 บาท หากครบ 6 เดือน ได้รับเงิน 50,000 บาท โดยจะไม่โกงหรือเลิกกิจการ แต่ความจริงจำเลยทั้งแปดกับพวกมิได้จดทะเบียนเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์หรือขึ้นทะเบียนการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามกฎหมาย และไม่มีเจตนานำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกที่ตาย และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นทำให้ประชาชนหลงเชื่อสมัครเข้าเป็นสมาชิกและจ่ายเงินค่าสมัครและเงินค่าจัดการศพสมาชิกที่ตายให้แก่จำเลยทั้งแปดกับพวกไป ฟ้องของโจทก์เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่า จำเลยทั้งแปดไม่มีเจตนาชักชวนผู้เสียหายเข้าเป็นสมาชิกกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์เพราะไม่มีเจตนาที่จะนำเงินที่ได้รับจากสมาชิกไปช่วยเหลือจัดการศพสมาชิกอื่นที่ถึงแก่ความตาย และมิได้มีเจตนาดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์ตามบทนิยามของกฎหมายแต่อย่างใด คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การฌาปนกิจสงเคราะห์ พ.ศ.2545 มาตรา 33 มาตรา 34 และมาตรา 61 แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพในความผิดฐานดำเนินกิจการฌาปนกิจสงเคราะห์โดยมิได้จดทะเบียนและมิได้ยกขึ้นอ้างชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10492/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานข้ามฟากระหว่างคดีแพ่งและอาญา ศาลอาญาต้องพิจารณาพยานหลักฐานด้วยตนเอง
ในคดีอาญาไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เพราะในคดีแพ่งศาลจะชั่งน้ำหนักคำพยานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่ากัน แต่ในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงจนแน่ใจว่าพยานหลักฐานของโจทก์พอรับลงโทษจำเลยได้หรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 ดังนั้น คำพิพากษาในคดีของศาลแพ่งซึ่งโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีแพ่งดังกล่าว จึงเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ในคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดว่า จำเลยทั้งสองปักเสาปูนและล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินโจทก์ โดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และจำเลยทั้งสองในคดีนี้หาได้ไม่ การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และถือเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10492/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีอาญาต้องพิจารณาตามหลักการในคดีอาญา ไม่สามารถยึดตามคำพิพากษาคดีแพ่งโดยตรง
แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีแพ่งจะผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสองคดีนี้ ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีแพ่งดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น ทั้งศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แล้ว คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เพราะหลักการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานในคดีแพ่งและคดีอาญาไม่เหมือนกัน กล่าวคือ ในคดีแพ่ง ศาลจะชั่งน้ำหนักคำพยานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่ากัน แต่ในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงจนแน่ใจว่าพยานหลักฐานของโจทก์พอรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227 ดังนั้น คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีของศาลแพ่งจึงเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ในคดีนี้ว่ามีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดจริงตามฟ้องหรือไม่เท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 8 จะรับฟังข้อเท็จจริงในคดีแพ่งดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีนี้ว่า จำเลยทั้งสองปักเสาปูนและล้อมรั้วลวดหนามในที่ดินของโจทก์โดยมิได้วินิจฉัยพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และของจำเลยทั้งสองในคดีนี้หาได้ไม่ การรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ในข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับของโจร: ความรู้เจตนาในการรับทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิดมีผลต่อการลงโทษตามมาตรา 357
การจะลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ให้หนักขึ้นตามลักษณะฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองได้ ก็ต่อเมื่อได้ความว่าขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคท้าย เมื่อทางพิจารณาได้ความเพียงว่า รถกระบะของกลางเป็นทรัพย์ที่ น. ได้มาจากการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รู้อยู่แล้วว่ารถกระบะของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการชิงทรัพย์ จึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสองได้ คงลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ถอนฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14508/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ แม้จะมีการถอนฟ้องภายหลัง
การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 5 นำเช็คพิพาทฟ้องโจทก์ในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ไม่เป็นการเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา ไม่มีมูลเป็นความผิดฐานฟ้องเท็จตาม ป.อ. มาตรา 175 และเมื่อเหตุดังกล่าวเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 5 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่ามีมูลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6902/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดร่วมกันในคดีอาญา แม้มีการแยกฟ้องเป็นหลายคดี ศาลจะพิจารณาจากพยานหลักฐานเฉพาะของแต่ละจำเลย
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 213 เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาจะใช้อำนาจพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลล่างไม่ลงโทษหรือลดโทษให้จำเลยตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์หรือฎีกามิให้ต้องถูกรับโทษหรือได้ลดโทษเช่นเดียวกับจำเลยผู้อุทธรณ์หรือฎีกา แต่กรณีที่ผู้ร่วมกระทำความผิดถูกแยกฟ้องเป็นหลายคดีเช่นนี้ การที่พยานหลักฐานของโจทก์เพียงพอจะรับฟังลงโทษจำเลยคนใดที่ร่วมกระทำความผิดได้หรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำเลยแต่ละคนเป็นการเฉพาะตัวเป็นราย ๆ ไปเฉพาะคดีนั้น ๆ ซึ่งพยานหลักฐานของโจทก์อาจพาดพิงถึงจำเลยแต่ละคดีมากน้อยต่างกันตามข้อเท็จจริงจากทางนำสืบเป็นรายคดี ไม่เป็นเหตุอยู่ในลักษณะคดี