คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 213

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 522 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกักขังแทนค่าปรับเกิน 1 ปี ต้องมีคำสั่งชัดเจน การเพิ่มเติมโทษโดยไม่ได้รับการอุทธรณ์เป็นโมฆะ
การกักขังแทนค่าปรับ ตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคหนึ่ง ให้ถืออัตรา 200 บาท ต่อ 1 วัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาท ขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ทั้งนี้ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้งก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ แม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไปก็ตาม คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ด้วย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 และปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 195 วรรคสอง, 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8768/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา, การลดโทษจำคุก, และการกักขังแทนค่าปรับที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การฎีกาในปัญหาใดๆ ต่อศาลฎีกาย่อมเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น จำเลยที่ 2 จะฎีกาแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้
ความผิดฐานเป็นคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้พิพากษาแก้ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์พิพากษายืน และให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบาในความผิดฐานนี้ด้วยนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
เมทแอมเฟตามีนของกลางมีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัมขึ้นไป มีระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสาม ให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 1,000,000 บาท ถึง 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์วางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท จึงเป็นโทษขั้นต่ำสุดตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ การลดโทษจำคุกตลอดชีวิต จะต้องเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นจำคุก 50 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 53 และเมื่อลดโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่งแล้ว คงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 25 ปี และปรับ 500,000 บาท ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 2 ให้เบากว่านี้ได้
การกักขังแทนค่าปรับตาม ป.อ. มาตรา 30 วรรคแรก ให้ถืออัตราสองร้อยบาทต่อหนึ่งวัน เว้นแต่ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่แปดหมื่นบาทขึ้นไป ศาลจะสั่งให้กักขังแทนค่าปรับเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปีแต่ไม่เกิน 2 ปี ก็ได้ แต่ศาลจะต้องสั่งไว้ให้ชัดแจ้ง หากศาลไม่ได้สั่งไว้เป็นอย่างอื่นโดยชัดแจ้ง ก็จะกักขังเกินกำหนด 1 ปี ไม่ได้ ถึงแม้ศาลพิพากษาให้ปรับตั้งแต่ 80,000 บาทขึ้นไป เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้สั่งให้กักขังจำเลยทั้งสองไว้เป็นอย่างอื่น ดังนั้น หากจะกักขังแทนค่าปรับก็กักขังได้เพียง 1 ปี การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 29, 30 โดยให้กักขังเกินกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้อง รวมถึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองและมาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8701/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์-ทำร้ายร่างกาย: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษา เน้นเจตนาต่อเนื่อง และความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยทั้งสองวางแผนลวงโจทก์ร่วมไปในที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 1 กระชากคอเสื้อโจทก์ร่วมลงมาจากรถและร้องบอกจำเลยที่ 2 ว่ามาแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเดินออกมาจากข้างทาง เมื่อโจทก์ร่วมปฏิเสธไม่ยอมถอดเสื้อผ้าตามคำสั่ง จึงถูกจำเลยที่ 1 ต่อยท้องและใบหน้าหลายครั้งจนล้มคว่ำ จำเลยที่ 2 ร้องบอกว่า "เอามันให้สลบก่อน" จากนั้นจำเลยทั้งสองจึงรุมเตะทำร้ายโจทก์ร่วมจนกระทั่งสิ้นสติไป จำเลยทั้งสองเพียงแต่ใช้หมัดและเท้าทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วม ไม่ปรากฏว่ามีการใช้อาวุธหรือเลือกทำร้ายโจทก์ร่วมตรงบริเวณที่เป็นอวัยวะสำคัญอันอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ทั้งที่มีกำลังคนและแรงกายภาพเหนือกว่าอยู่ในทำเลปลอดคน กับมีเวลาและโอกาสที่จะเลือกกระทำแก่โจทก์ร่วมได้ตามอำเภอใจ บาดแผลที่โจทก์ร่วมถูกทำร้ายไม่ร้ายแรงจนทำให้ถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยทั้งสองมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมโดยไตร่ตรองไว้ก่อนจนได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 298
หลังจากจำเลยทั้งสองรุมทำร้ายจนโจทก์ร่วมสลบแล้ว จำเลยที่ 2 จึงกระชากสร้อยคอของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แสดงให้เห็นว่าเมื่อแรกวางแผนลวงโจทก์ร่วมมายังที่เกิดเหตุจนกระทั่งรุมทำร้ายโจทก์ร่วมสลบนั้น จำเลยทั้งสองยังไม่มีเจตนาจะเอาทรัยพ์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากหยุดทำร้ายโจทก์ร่วมแล้ว จำเลยที่ 2 จึงเกิดเจตนาโลภปลดทรัพย์ของโจทก์ร่วมส่งให้จำเลยที่ 1 แล้วพากันหลบหนี เจตนาต่อทรัพย์ดังกล่าวจึงเป็นคนละตอนคนละเจตนากับการลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัส บาดแผลของโจทก์ร่วมจึงมิได้เกิดจากการมีเจตนาต่อทรัพย์ของโจทก์ร่วม แม้ภายหลังจำเลยที่ 2 จะใช้แรงกายภาพกระชากสร้อยไปจากคอโจทก์ร่วม แต่สร้อยคอและสร้อยข้อมือของโจทก์ร่วมเป็นสร้อยเส้นเล็กจึงค่อนข้างขาดง่าย สภาพบาดแผลที่คอโจทก์ร่วมไม่มีร่องรอยบาดแผลจากการถูกสร้อยบาดตามแรงกระชากที่จำเลยที่ 2 กระทำต่อทรัพย์ปรากฏให้เห็น แสดงว่าแรงกายภาพที่จำเลยที่ 2 กระทำนั้นไม่ถึงกับอันตรายแก่กายของโจทก์ร่วม สภาพเช่นนี้ไม่พอให้ถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่กายของโจทก์ร่วมตาม ป.อ. มาตรา 1 (6) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นเพียงความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
จำเลยที่ 1 ใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะไปลวงโจทก์ร่วมมาทำร้ายในที่เกิดเหตุ แม้โจทก์ร่วมจะหลงกลจนถูกทำร้ายและลักทรัพย์ โดยจำเลยทั้งสองพาทรัพย์ขึ้นรถจักรยานยนต์หลบหนีไป รถจักรยานยนต์ก็เป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยทั้งสองตั้งใจใช้เพื่อการลวงทำร้ายโจทก์ร่วมโดยเฉพาะเท่านั้น มิใช่เพื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ที่เกิดในภายหลังด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการร่วมกันชิงทรัพย์ในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดอันเป็นเหตุฉกรรจ์ตาม ป.อ. มาตรา 340 ตรี
ความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสกับความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืนดังกล่าวล้วนแต่เป็นการกระทำที่เกิดต่อเนื่อง และต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานชิงทรัพย์ตามฟ้องโดยแต่ละอย่างเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในการกระทำตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย และแม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ยื่นฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไว้ด้วย แต่ปัญหาทุกข้อดังกล่าวเป็นเหตุในลักษณะคดีตาม ป.อ. มาตรา 89 ซึ่งกำหนดให้ใช้แก่ผู้กระทำความผิดในการกระทำความผิดนั้นด้วยกันทุกคน ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7014/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษทางอาญาจากความเสียหายที่ชดใช้ และการใช้ดุลพินิจศาลในการกำหนดโทษที่เหมาะสม
จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 20 เครื่อง ราคาทรัพย์รวม 90,000 บาท ของผู้เสียหายไปโดยทุจริต พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง ยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 อย่างไรก็ตาม ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่าจำเลยที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 45,000 บาท จึงไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 2 อีกต่อไป นับว่าจำเลยที่ 2 ได้พยายามบรรเทาผลร้ายแห่งคดี ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการร่วมกันกระทำความผิดจึงเปลี่ยนแปลงไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสาม ตาม ป.อ. มาตรา 76 โดยวางโทษจำเลยที่ 2 จำคุก 2 ปี ก่อนลดโทษให้นั้น เป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษที่หนักเกินไป เห็นสมควรแก้ไขเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดี ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาเรื่องยาเสพติด: ข้อจำกัดในการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงหลังรับสารภาพ และการลดโทษตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและร่วมกันจำหน่าย เมทแอมเฟตามีน จำเลยทั้งสี่ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสี่คนละตลอดชีวิต จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบา นอกจากวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยทั้งสี่อุทธรณ์แล้วศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังวินิจฉัยในปัญหาว่า จำเลยทั้งสี่กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่อีกครั้งหนึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นลงโทษจำเลยทั้งสี่กระทงละ 25 ปี รวม 2 กระทง จำคุกคนละ 50 ปี ก็มิใช่การพิพากษายืน คดีนี้จึงยังไม่ถึงที่สุด จำเลยทั้งสี่มีสิทธิฎีกาได้ แต่ก็ต้องฎีกาในปัญหาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยทั้งสี่ไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยทั้งสี่ได้ และปัญหาเรื่องขอให้ลงโทษสถานเบาซึ่งได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จะฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นมิได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จะฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และจำเลยที่ 4 ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนหาได้ไม่ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 รับสารภาพถือว่าเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่มิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ข้อเท็จจริงยุติว่า เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 และที่ 2 พร้อมด้วยเมทแอมเฟตามีนจำนวน 22,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไป จับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 และยึดได้เมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด ที่ร่วมกันมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้กระทำความผิดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจ และพนักงานสอบสวน ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรลงโทษจำเลยที่ 2 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6555/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาข้อเท็จจริงขัดกับการรับสารภาพ และการใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยในคดียาเสพติด
จำเลยให้การรับสารภาพฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต จำเลยฎีกาว่า ไม่ได้ร่วมกับพวกกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นจากที่จำเลยให้การรับสารภาพ อันถือได้ว่าเป็นการฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นมาใหม่ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นเหตุให้สามารถยึดเมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 10,000 เม็ด อันเป็นการขยายผลเพื่อจับกุมผู้กระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งศาลจะลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้ อันเป็นการใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจูงใจเจ้าพนักงานตำรวจเบิกความเท็จ ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 144 เนื่องจากหน้าที่เบิกความเป็นหน้าที่ทั่วไป
การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำความผิดมีหน้าต้องเบิกความต่อศาลตามความสัจจริงในระหว่างเป็นพยานในคดีที่ผู้กระทำความผิดถูกฟ้องนั้น เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับประชาชนทั่วไป หาใช่เป็นหน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากที่เป็นเจ้าพนักงานผู้จับกุมผู้กระทำความผิดไม่ หน้าที่ที่ต้องเบิกความตามความสัจจริงจึงไม่เป็นการกระทำการในหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ แม้จำเลยทั้งสามจะให้และรับว่าจะให้เงินแก่เจ้าพนักตำรวจเพื่อจูงใจให้เบิกความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 144
ส่วนของกลางนั้น เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิด จึงต้องคืนของกลางแก่เจ้าของ ข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 3 ที่ไม่ได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กเพื่ออนาจาร, กระทำอนาจาร, หน่วงเหนี่ยว, และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายอายุ 13 ปีเศษขึ้นรถแล้วจำเลยที่ 2 พูดกับพวกของจำเลยว่าจะนำไปขายซ่อง ระหว่างอยู่บนรถจำเลยที่ 1 ใช้มือจับหน้าอก จำเลยที่ 3 ใช้มือจับอวัยวะเพศของผู้เสียหายส่วนจำเลยที่ 2 ใช้มือขวาจับพวงมาลัยรถและมือซ้ายลูบที่ขาของผู้เสียหายไปตลอดทาง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า จำเลยที่ 1 กับพวกมีเจตนากระทำอนาจารผู้เสียหายมาแต่ต้น และเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน ถือได้ว่าความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดาเพื่อการอนาจารสำเร็จนับแต่จำเลยที่ 2 เริ่มพรากผู้เสียหายไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยที่ 2 กับพวกฉุดผู้เสียหายขึ้นไปบนรถระหว่างทางมีการกระทำอนาจารผู้เสียหายในวันเดียวกัน ต่อเนื่องกันไปไม่ขาดตอนเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาว่า ความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยขู่เข็ญและโดยการใช้กำลังประทุษร้ายกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายเป็นความผิดคนละกรรมจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ผู้มิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้ระบุวรรค แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ระบุแต่เพียงให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดมาในคำขอท้ายฟ้องเท่านั้น มิได้บังคับว่าจะต้องระบุวรรคใดด้วย ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลพิจารณาได้ความว่า จำเลยกระทำความผิดในวรรคใดก็พิพากษาว่ากระทำความผิดในวรรคนั้นได้ ไม่เป็นการเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4978/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการสนับสนุน หากจำเลยหลักพ้นผิด ผู้สนับสนุนก็ต้องพ้นผิดด้วย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์ฎีกา เมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2 ย่อมไม่อาจกระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวได้ ซึ่งเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4978/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดสนับสนุนทางอาญา: เมื่อความผิดหลักสิ้นสุด ผู้สนับสนุนก็ไม่ต้องรับโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่งและลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เมื่อศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยที่ 2ย่อมไม่อาจเป็นผู้กระทำความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดในความผิดฐานนี้ได้ซึ่งเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้
of 53