พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจาก พ.ร.บ.เงินทดแทน และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ลูกจ้างมีสิทธิแม้บริษัทนายจ้างจะได้รับเงินทดแทนไปแล้ว
โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานย่อมมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 และโจทก์เป็นผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 บริษัท ศ. นายจ้างโจทก์จะมีสิทธิขอรับเงินทดแทนต่อจำเลยได้ก็แต่เฉพาะที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนไปก่อน แล้วไปขอรับคืนจากจำเลยตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 25 เท่านั้น และแม้บริษัท ศ. จะเป็นผู้เอาประกันภัยรถโดยสารคันที่โจทก์ทำงานและประสบอุบัติเหตุ แต่ก็มิใช่ผู้ประสบภัยจากรถ จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 การที่บริษัท ศ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน และได้ขอรับคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยไปแล้ว เป็นการจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันภัย มิใช่ทดรองจ่ายในฐานะนายจ้างตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 25 จึงไม่มีสิทธิมาขอรับเงินคืนจากจำเลยและไม่อาจสละสิทธิในเงินดังกล่าวได้ ทั้งการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตามกฎหมายอื่นไม่ตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537 อีกตามมาตรา 7 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน พ.ศ. 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินทดแทนจากอุบัติเหตุทางทำงาน ลูกจ้างมีสิทธิได้รับจากทั้ง พ.ร.บ.เงินทดแทน และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย
โจทก์เป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ และในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ประสบภัยจากรถจึงเป็นผู้รับประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ส่วนบริษัท ศ. ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์จะมีสิทธิขอรับเงินทดแทนต่อจำเลยได้ก็แต่เฉพาะที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนไปก่อน แล้วขอรับเงินทดแทนที่ได้ทดรองจ่ายไปนั้นคืนจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 25 เท่านั้น และแม้บริษัท ศ. จะเป็นผู้เอาประกันภัยรถโดยสารและประสบอุบัติเหตุ แต่บริษัทดังกล่าวก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ เพราะมิใช่ผู้ประสบภัยจากรถ การที่บริษัท ศ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วมาขอรับเงินที่จ่ายไปคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยนั้น เป็นการทดรองจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันภัย ไม่ใช่ทดรองจ่ายแทนจำเลยในฐานะนายจ้าง ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 25 จึงไม่มีสิทธิมาขอรับเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลย กับเมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินคืนให้แก่บริษัท ศ. ไปแล้วย่อมทำให้สิทธิที่จะเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวของบริษัท ศ. ระงับสิ้นลงแล้วไม่อาจสละสิทธิในเงินจำนวนดังกล่าวนี้ได้ ประกอบกับ พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ มาตรา 7 บัญญัติว่า การเรียกร้องหรือการได้มาซึ่งสิทธิหรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ. นี้ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้ตามกฎหมายอื่น ดังนี้ แม้บริษัท ศ. จะทำหนังสือสละสิทธิไปยังจำเลยก็ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิที่โจทก์จะพึงได้รับในฐานะผู้ประสบอันตรายตาม พ.ร.บ.เงินทดแทนฯ แต่ประการใด