พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4389/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เรื่องภาษีอากรต้องมีเหตุผลตามหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
มาตรา 86/4 (2) แห่ง ป.รัษฎากร บัญญัติว่า ใบกำกับภาษีต้องมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี... แต่ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาคำนวณภาษีขายโจทก์ไม่ได้เป็นผู้ออก แต่ผู้ขายสินค้าให้แก่โจทก์เป็นผู้ออกใบกำกับภาษีดังกล่าว กรณีของโจทก์จึงไม่ใช่กรณีตามมาตรา 86/4 (2) แต่เป็นกรณีตามมาตรา 86/4 (3) คือ รายการชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าซึ่งตามบทบัญญัติข้างต้นระบุแต่เพียงว่าใบกำกับภาษีต้องมีชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าเท่านั้น เมื่อโจทก์มีที่อยู่จริงตรงตามที่ระบุไว้ในใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์นำมาคำนวณหักภาษีขาย แม้จะไม่ตรงกับที่อยู่ตามที่จดทะเบียนตั้งบริษัทและที่อยู่ตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในครั้งแรกก่อนที่โจทก์จะขอจดทะเบียนแก้ไข ใบกำกับภาษีดังกล่าวย่อมชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 86/4 ไม่ถือว่าไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามมาตรา 86/4 (2) โจทก์จึงสามารถนำใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวมาคำนวณหักภาษีขายในเดือนนั้นได้
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่างก็เป็นคำสั่งทางปกครองทั้งสิ้น เพราะเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพทางสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 กล่าวคือ จะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิง และเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ แม้มาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการแจ้งประเมินจะไม่ได้ระบุวิธีการแจ้งว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่ และมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลก็ตาม ส่วนการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น มาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือและมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลเช่นเดียวกันนั้นก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินโดยทำเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษีอากรแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ และแม้ว่าการแจ้งการประเมินและการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะได้กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรเป็นการเฉพาะก็ตาม แต่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กำหนดว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายนี้ เมื่อ ป.รัษฏากร มาตรา 20 และ 34 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ แทน หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์พิพาทจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ไม่อาจใช้บังคับแก่โจทก์ได้
หนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่างก็เป็นคำสั่งทางปกครองทั้งสิ้น เพราะเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมาย ซึ่งมีผลในอันที่จะก่อนิติสัมพันธ์ขึ้น และมีผลกระทบต่อสถานภาพทางสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 กล่าวคือ จะต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย ทั้งเหตุผลในข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ เหตุผลในข้อกฎหมายที่อ้างอิง และเหตุผลในข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ แม้มาตรา 20 แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการแจ้งประเมินจะไม่ได้ระบุวิธีการแจ้งว่าจะต้องทำเป็นหนังสือหรือไม่ และมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลก็ตาม ส่วนการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น มาตรา 34 แห่ง ป.รัษฎากรบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือและมิได้บังคับว่าจะต้องให้เหตุผลเช่นเดียวกันนั้นก็ตาม แต่เมื่อเจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินโดยทำเป็นหนังสือไปยังผู้เสียภาษีอากรแล้ว หนังสือแจ้งการประเมินซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ และแม้ว่าการแจ้งการประเมินและการทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะได้กระทำตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน ป.รัษฎากรเป็นการเฉพาะก็ตาม แต่ตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ กำหนดว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎหมายนี้ เมื่อ ป.รัษฏากร มาตรา 20 และ 34 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแต่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติทางปกครองฯ มาตรา 37 จึงต้องใช้หลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ แทน หนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและคำวินิจฉัยอุทธรณ์พิพาทจึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ไม่อาจใช้บังคับแก่โจทก์ได้