คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 193 ตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีอาญา: ปัญหาข้อเท็จจริงและการไม่ชอบด้วยกฎหมายของศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 264, 268, 91 ซึ่งแต่ละกระทงความผิดกำหนดโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ การที่โจทก์อุทธรณ์ว่าพยานโจทก์ปากต่าง ๆ ต่างยืนยันว่าจำเลยเป็นผู้ทำปลอมใบถอนเงิน จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6826/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับรองอุทธรณ์หลังพ้นกำหนดเวลา และการไม่อนุญาตอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามกฎหมาย
โจทก์ได้ยื่นคำร้องพร้อมกับฟ้องอุทธรณ์เจาะจงขอให้ ฐ. ซึ่งเป็นผู้ที่นั่งพิจารณาคดีนี้ให้รับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ฐ. ได้สั่งในวันเดียวกันนั้นว่าไม่มีเหตุอันควรรับรองให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงจึงไม่รับรองอุทธรณ์โจทก์ในปัญหาข้อเท็จจริง ยกคำร้องและศาลชั้นต้นสั่งในฟ้องอุทธรณ์ว่า อุทธรณ์ของโจทก์ในคดีอาญาเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิจึงไม่รับอุทธรณ์โจทก์ในคดีอาญา คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว ดังนี้ คำฟ้องอุทธรณ์ส่วนอาญาของโจทก์จึงเป็นอันตกไป การที่ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาที่ลงชื่อในคำพิพากษารับรองอุทธรณ์ของโจทก์เมื่อพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์และศาลชั้นต้นสั่งว่า พ้นระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์แล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่จะสั่งคำร้องนี้จึงเป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว โดยไม่จำต้องสั่งว่าจะรับรองให้หรือไม่อีก เพราะการขออนุญาตให้อุทธรณ์ต้องกระทำในระยะเวลาที่โจทก์ยังยื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 659/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง: การอนุญาต/รับรองโดยผู้พิพากษา/อัยการสูงสุด & การฎีกาคำสั่งศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานหมิ่นประมาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมดังกล่าว กรณีจึงเป็นเรื่องที่มีเหตุพิเศษแตกต่างไปจากกรณีการรับหรือไม่ยอมรับอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 และ 198 ทวิดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวอย่างใดคดีก็ยังไม่เป็นที่สุดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 198 ทวิ วรรคท้าย คู่ความที่ไม่พอใจคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมฎีกาได้ ตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมนอกจากอ้างเหตุที่จะขอให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้วยังอ้างเหตุที่ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารในสำนวนซึ่งมีเป็นจำนวนมากเพื่อทำอุทธรณ์อีกด้วยจึงมิใช่ขอขยายระยะเวลาเพื่อให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเพียงอย่างเดียว แม้โจทก์ร่วมใช้สิทธิขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงแล้ว แต่อัยการสูงสุดไม่รับรองอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม ก็ไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ร่วมที่จะขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเสียไป บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ตรี และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาหรืออัยการสูงสุดอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น มิได้บัญญัติจำกัดสิทธิของคู่ความหรือโจทก์ร่วมให้ต้องเลือกใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อขออนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ดังนั้น เมื่อที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ภายในกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้นั้นจึงชอบแล้ว กรณีไม่อาจถือว่าระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่โจทก์ร่วมได้รับอนุญาตให้ขยายได้สิ้นสุดลงนับแต่วันที่อัยการสูงสุดไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม และเมื่อคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงชอบแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์และเพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมไว้ก่อนจะมีคำสั่งเพิกถอน ต้องถือว่าคดีนี้อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ครั้นเมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนคำสั่งเดิมขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์เช่นนี้ถือได้ว่า มีคำร้องขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ในระหว่างพิจารณาคดี ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดโดยทำเป็นคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 182

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลกับการรับรองอุทธรณ์: โจทก์ต้องดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง
การที่จะให้อัยการสูงสุดพิจารณารับรองอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีว่าอุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยหรือไม่ กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้อัยการสูงสุดพิจารณา เมื่อการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โจทก์ก็ต้องไปดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเอง ศาลไม่มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังอัยการสูงสุดตามที่โจทก์ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2154/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ศาลในการส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์: ศาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมาย
การที่จะให้อัยการสูงสุดพิจารณารับรองอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ตรีว่าอุทธรณ์ของโจทก์มีเหตุอันสมควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยหรือไม่กฎหมายมิได้บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปให้อัยการสูงสุดพิจารณาเมื่อการรับรองอุทธรณ์เป็นประโยชน์แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โจทก์ก็ต้องไปดำเนินการร้องขอต่ออัยการสูงสุดเองศาลไม่มีหน้าที่ต้องส่งสำนวนและอุทธรณ์ของโจทก์ไปยังอัยการสูงสุดตามที่โจทก์ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษและเหตุผลที่รับฟังได้
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่9กันยายน2537วันที่ครบกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟ้องคือวันที่9ตุลาคม2537เป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดทำการดังนั้นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คือวันที่10ตุลาคม2537โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะเสนอความเห็นให้อัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ได้ทันกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียง3วันอ้างว่าต้องเสนออัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ทั้งที่ปรากฏว่าเป็นคดีที่ไม่มีข้อเท็จจริงยุ่งยากซับซ้อนจำเลยก็ให้การรับสารภาพข้ออ้างของโจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษและต้องยื่นก่อนครบกำหนด ศาลไม่อนุญาตขยายเวลาหากเหตุผลไม่สมเหตุสมผล
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2537 วันที่ครบกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟัง คือ วันที่ 9 ตุลาคม2537 เป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ ดังนั้น วันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ คือ วันที่ 10 ตุลาคม 2537 โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะเสนอความเห็นให้อัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ได้ทันกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียง3 วัน อ้างว่าต้องเสนออัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ ทั้งที่ปรากฏว่าเป็นคดีที่ไม่มีข้อเท็จจริงยุ่งยากซับซ้อน จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ข้ออ้างของโจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัดตามกฎหมาย
เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 371 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนั้น อัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดรวมถึงอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหาความผิดตามมาตรา 371 ด้วย โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา193 ตรี บัญญัติไว้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดดังกล่าว ความผิดในข้อหาดังกล่าวย่อมยุติเพียงศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 หาได้ไม่ เพราะมิใช่กรณีฎีกาของจำเลยต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218, 219 และ 220 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาทั้งหมดจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4341/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวง แม้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โดยเข้าใจผิดว่าเป็นข้อกฎหมาย
โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของ ศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ มาตรา 22 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2503 มาตรา 10 การที่ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้ลงชื่อในคำพิพากษามีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้น มิใช่เป็นการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยเห็นว่า ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์-ฎีกาในคดีปรับน้อยกว่า 100 บาท และการพิจารณาโทษรอการลงโทษ
เฉพาะข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา371ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนั้นอัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ทวิการที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดรวมถึงอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหาความผิดตามมาตรา371ด้วยโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา193ตรีบัญญัติไว้จึงเป็นการไม่ชอบศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดดังกล่าวความผิดในข้อหาดังกล่าวย่อมยุติเพียงศาลชั้นต้นผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา221หาได้ไม่เพราะมิใช่กรณีฎีกาของจำเลยต้องห้ามฎีกาตามมาตรา218,219และ220การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาทั้งหมดจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกา
of 3