พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2255/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์คดีต้องห้าม และการยกเหตุผลประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษ
เมื่อพนักงานอัยการได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมอัยการได้พิจารณาเห็นว่า ควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ก็รับรองให้อุทธรณ์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องรับรองในวันที่ยื่นอุทธรณ์ เพียงแต่ให้มีคำรับรองปรากฏให้เห็นขณะที่มีการยื่นอุทธรณ์ และถ้อยคำที่ใช้ให้มีความหมายให้เห็นว่าเป็นการรับรองข้อที่ต้องห้ามก็ชอบแล้ว ส่วนเหตุผลในการรับรองนั้นกฎหมายมิได้กำหนดแบบว่าจะต้องปรากฏในคำรับรองนั้นด้วยแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงที่โจทก์ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ที่ว่าการบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราเป็นภัยอันตรายเพราะรัฐบาลต้องใช้งบประมาณสร้างถนนในวงเงินที่สูงขึ้น...นั้นเป็นการอ้างเหตุผลเพื่อประกอบดุลพินิจในการกำหนดโทษเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการกระทำผิดที่อ้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งจะถือว่าไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นเป็นการอุทธรณ์ที่ไม่ชอบหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตอุทธรณ์ต้องมีบันทึกเหตุผลชัดเจนตามกฎหมาย
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นผู้มีอำนาจที่จะอนุญาตให้คดีขึ้นสู่ การพิจารณาของศาลสูง จะต้อง บันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ ทั้งสองประการตาม ที่มีกำหนดไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี โดย ชัดเจนคือ จะต้อง บันทึกความเห็นของตน ให้ได้ความว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งจะต้อง บันทึกยืนยันด้วย ว่าตน อนุญาตให้อุทธรณ์ได้ การที่สั่งว่า"อนุญาตให้อุทธรณ์" เพียงเท่านี้ ยังถือ ไม่ ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดย ชอบด้วย กฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3951/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจไม่อนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเป็นเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาซ้ำ
ดุลพินิจในการอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งตามคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์นั้นจะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3951/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจไม่อนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: คำสั่งศาลชั้นต้นเด็ดขาด ไม่ต้องพิจารณาซ้ำ
การรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ตรี กฎหมายมอบให้เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษา หรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจอนุญาตให้อุทธรณ์หรือไม่ เมื่อสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาอีกหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3951/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจไม่อนุญาตอุทธรณ์ข้อเท็จจริง: คำสั่งเด็ดขาด, ไม่ต้องสู่ศาลอุทธรณ์
ดุลพินิจในการอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีเป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้มีคำสั่งตามคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์นั้น คู่ความจะอุทธรณ์ฎีกาต่อไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3062/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งยกฟ้องในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง และการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงในความผิดฐานรับของโจร
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ความผิดฐานยักยอกและรับของโจรเกี่ยวเนื่องกันจึงรับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ ดังนี้คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้เท่านั้น มิใช่เป็นการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ส่วนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า ความผิดฐานยักยอกไม่มีมูลนั้น มีผลเป็นการพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 167 อันเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีอย่างหนึ่ง การอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องอาศัยหลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 ทวิ มาใช้บังคับด้วย ดังนี้ เมื่อโจทก์ฟ้องความผิดฐานยักยอกและรับของโจรต่างกรรมต่างวาระกัน เมื่อความผิดฐานยักยอกต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ในความผิดฐานยักยอกไว้ด้วยจึงไม่ชอบ สำหรับความผิดฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกร่วมกันรับรถของโจทก์ไว้โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยการกระทำผิดฐานยักยอก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้ยกฟ้องโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยมิได้กระทำผิดฐานยักยอก การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ จึงเป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริงการที่โจทก์ฎีกาว่า ฟ้องโจทก์มีมูลความผิดฐานรับของโจรจึงเป็นการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย และการรับฟังพยานเอกสารในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในศาลชั้นต้นและเป็นผู้ลงชื่อในคำพิพากษาด้วยได้มีคำสั่งในคดีซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่า"รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์" เพียงเท่านี้ไม่มีข้อความอื่นใดที่พอจะให้เข้าใจได้ว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี จึงฟังไม่ได้ว่าได้มีการอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ได้
เอกสารที่ทนายจำเลยใช้ถามค้านพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พยานโจทก์ได้ตรวจดูและรับรองความถูกต้องบางส่วน ทั้งเป็นเอกสารราชการที่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องแล้ว จำเลยมีอำนาจที่จะส่งศาลประกอบการถามค้านได้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเลยนำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังประกอบการพิจารณาได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 มาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏในชั้นศาลอุทธรณ์ว่า อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ศาลอุทธรณ์ย่อมไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของโจทก์ได้
เอกสารที่ทนายจำเลยใช้ถามค้านพยานโจทก์ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง พยานโจทก์ได้ตรวจดูและรับรองความถูกต้องบางส่วน ทั้งเป็นเอกสารราชการที่มีเจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้องแล้ว จำเลยมีอำนาจที่จะส่งศาลประกอบการถามค้านได้ ไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่จำเลยนำพยานเข้าสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังประกอบการพิจารณาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์/ฎีกา ต้องบันทึกครบหลักเกณฑ์ปัญหาสำคัญและอนุญาตให้สู้คดี
ข้อความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรีและในมาตรา 221 ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการรับรองให้คดีขึ้นสู้การพิจารณาของศาลที่สูงกว่านั้นมีบัญญัติไว้เป็นใจความอย่างเดียวกัน จึงย่อมอาจนำเหตุผลในฎีกาที่เกี่ยวกับมาตรา 221 มาเป็นหลักวินิจฉัยประกอบเทียบเคียงกันได้
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2,3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ตรี
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2,3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้อุทธรณ์/ฎีกา ต้องบันทึกครบถ้วนตามกฎหมาย มิฉะนั้นศาลสูงไม่รับพิจารณา
ข้อความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี และในมาตรา 221 ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องการรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่านั้นมีบัญญัติไว้เป็นใจความอย่างเดียวกัน จึงย่อมอาจนำเหตุผลในฎีกาที่เกี่ยวกับมาตรา 221 มาเป็นหลักวินิจฉัยประกอบเทียบเคียงกันได้
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "่ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2, 3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี
การที่ผู้พิพากษาศาลล่างผู้มีอำนาจที่จะรับรองให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลที่สูงกว่าได้นั้น จะต้องบันทึกข้อความให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามกฎหมาย คือข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งจะต้องบันทึกยืนยันว่าตนอนุญาตให้อุทธรณ์หรือฎีกาได้
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นบันทึกในอุทธรณ์ว่า "่ข้อความที่ตัดสินเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ รับอุทธรณ์ สำเนาให้จำเลยที่ 2, 3 แก้ ดังนี้ ถือว่ายังมิได้มีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ตรี