พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8452/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดลิขสิทธิ์งานวรรณกรรมในภาพยนตร์: การทำซ้ำโดยไม่ได้รับอนุญาต และความรับผิดของผู้ประกอบการ
โจทก์เป็นผู้ประพันธ์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ ทำสัญญาอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 2 นำนวนิยายเรื่องดังกล่าวไปสร้างเป็นภาพยนตร์ได้ 1 ครั้ง เพื่อจัดฉายตามโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศภายใน 7 ปี ดังนี้ แม้จำเลยร่วมที่ 2 จะมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ที่ได้ดัดแปลงขึ้นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 9 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่ทำสัญญาก็ตาม แต่สิทธิในลิขสิทธิ์สำหรับงานภาพยนตร์ดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 มีจำกัดอยู่เพียงสิทธิในการโฆษณาหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งภาพยนตร์นั้นด้วยการฉายตามโรงภาพยนตร์ภายใน 7 ปีตามสัญญาเท่านั้น จำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง นำออกโฆษณา หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วยวิธีอื่น ดังนี้ การที่จำเลยร่วมที่ 2 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ที่ตนสร้างขึ้นไปบันทึกเป็นวีดีโอเทปในรูปของงานโสตทัศนวัสดุหรือภาพยนตร์แล้วนำวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายและให้เช่า จึงเป็นการทำซ้ำงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์อันเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งมีอยู่ในภาพยนตร์นั้นโดยไม่มีสิทธิที่จะทำได้ตามสัญญา และโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) ส่วนวิดีโอเทปที่จำเลยร่วมที่ 2 ทำซ้ำขึ้นแล้วนำออกจำหน่ายและให้เช่านั้นเป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 รู้อยู่แล้วว่าวิดีโอเทปนั้นตนได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ยังนำออกจำหน่ายให้เช่าเพื่อหากำไร การกระทำในส่วนนี้ของจำเลยร่วมที่ 2 ยังเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 27 (1) หรือ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 31 (1) อีกด้วย
จำเลยร่วมที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการซื้อขายลิขสิทธิ์ทั้งในรูปของภาพยนตร์หรือภาพยนตร์วิดีโอเทปเพื่อนำมาผลิตหรือบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกขาย ให้เช่า หรือให้ใช้สิทธิแก่บุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ การเข้าทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นั้นจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบถึงสิทธิของคู่สัญญาเสียก่อนว่ามีสิทธิอนุญาตหรือไม่เพียงใดเพื่อป้องกันปัญหาที่จำเลยร่วมที่ 1 อาจต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้นได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 เข้าทำสัญญากับจำเลยร่วมที่ 2 โดยมิได้ทำการตรวจสอบถึงสิทธิดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ก่อน เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 1 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรม นวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยบันทึกเป็นวิดีโอเทปแล้วนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่าย จำเลยร่วมที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าตนมีสิทธิตามสัญญาที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นซึ่งมีงานวรรณกรรมของโจทก์รวมอยู่ด้วยโดยทำเป็นวิดีโอเทปและนำม้วนวิดีโอเทปที่ทำขึ้นนั้นออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) และมาตรา 27 (1) หรือตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) และมาตรา 31 (1)
จำเลยร่วมที่ 1 เป็นบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการซื้อขายลิขสิทธิ์ทั้งในรูปของภาพยนตร์หรือภาพยนตร์วิดีโอเทปเพื่อนำมาผลิตหรือบันทึกเป็นวิดีโอเทปและนำออกขาย ให้เช่า หรือให้ใช้สิทธิแก่บุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ การเข้าทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์นั้นจึงควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจสอบถึงสิทธิของคู่สัญญาเสียก่อนว่ามีสิทธิอนุญาตหรือไม่เพียงใดเพื่อป้องกันปัญหาที่จำเลยร่วมที่ 1 อาจต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนั้นได้ การที่จำเลยร่วมที่ 1 เข้าทำสัญญากับจำเลยร่วมที่ 2 โดยมิได้ทำการตรวจสอบถึงสิทธิดังกล่าวของจำเลยร่วมที่ 2 ก่อน เมื่อจำเลยร่วมที่ 2 ไม่มีสิทธิตามสัญญาที่จะอนุญาตให้จำเลยร่วมที่ 1 นำภาพยนตร์เรื่องดาวพระศุกร์ซึ่งมีงานวรรณกรรม นวนิยายเรื่องดังกล่าวอันเป็นลิขสิทธิ์ของโจทก์รวมอยู่ด้วยไปทำซ้ำโดยบันทึกเป็นวิดีโอเทปแล้วนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่าย จำเลยร่วมที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าตนมีสิทธิตามสัญญาที่จะทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นเป็นวิดีโอเทปภาพยนตร์และนำม้วนวิดีโอเทปนั้นออกจำหน่ายได้ เมื่อจำเลยร่วมที่ 1 ทำซ้ำงานภาพยนตร์นั้นซึ่งมีงานวรรณกรรมของโจทก์รวมอยู่ด้วยโดยทำเป็นวิดีโอเทปและนำม้วนวิดีโอเทปที่ทำขึ้นนั้นออกจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมนวนิยายเรื่องดาวพระศุกร์ การกระทำของจำเลยร่วมที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรมของโจทก์ ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 มาตรา 24 (1) และมาตรา 27 (1) หรือตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) และมาตรา 31 (1)