พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าเสื่อมราคาที่ถูกต้องตามคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง เจ้าพนักงานประเมินต้องปรับปรุงตามต้นทุนที่พิสูจน์ได้
การอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25 ให้ถือเอาราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในศาลชั้นต้นเป็นข้อพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่แตกต่างจาก ป.วิ.พ. มาตรา 224 ที่ให้ถือเอาราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์เป็นข้อพิจารณาว่าต้องห้ามอุทธรณ์หรือไม่ เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์สำหรับข้อหาขอให้เพิกถอนหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งผลขาดทุนคิดเป็นเงินภาษีที่พิพาทกันจำนวน 347,380.91 บาท อันเป็นจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง
คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านการประเมินตามหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิ หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากร และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีพิพาทมีข้อความว่า ขออุทธรณ์คัดค้านตามความในมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้ "ข้อ 2 โจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่า หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิ หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ จึงขออุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้เพิกถอนการประเมินที่มิชอบทั้งหมด แต่เนื่องจากโจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ด้วย โจทก์จึงขออนุญาตให้เหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบในการอุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นพิจารณา" เป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 28 และ 30 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินว่า หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนซึ่งเกี่ยวพันกันจึงขออนุญาตให้เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบในการอุทธรณ์ในชั้นพิจารณา เป็นกรณีโจทก์อุทธรณ์โต้แย้งการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว แม้เหตุผลการค้านในคำอุทธรณ์จะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรายจ่าย แต่โจทก์ได้ยกรายจ่ายต่างๆ ขึ้นอ้างในการฟ้องคดีนี้อันเป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นการสนับสนุนว่า การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทไม่ชอบนั่นเอง เป็นเรื่องที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว
คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่คัดค้านการประเมินตามหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิ หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากร และหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีพิพาทมีข้อความว่า ขออุทธรณ์คัดค้านตามความในมาตรา 30 แห่งประมวลรัษฎากร โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้ "ข้อ 2 โจทก์พิจารณาแล้วเห็นว่า หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิ หนังสือแจ้งให้เสียค่าอากรและค่าเพิ่มอากรและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ จึงขออุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ขอให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้เพิกถอนการประเมินที่มิชอบทั้งหมด แต่เนื่องจากโจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2535 ด้วย โจทก์จึงขออนุญาตให้เหตุผลข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบในการอุทธรณ์ของโจทก์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในชั้นพิจารณา" เป็นกรณีที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 28 และ 30 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินว่า หนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิและหนังสือแจ้งการประเมินไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ยังไม่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อนซึ่งเกี่ยวพันกันจึงขออนุญาตให้เหตุผล ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตลอดจนเอกสารที่ใช้ประกอบในการอุทธรณ์ในชั้นพิจารณา เป็นกรณีโจทก์อุทธรณ์โต้แย้งการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิของเจ้าพนักงานประเมินแล้ว แม้เหตุผลการค้านในคำอุทธรณ์จะไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับรายจ่าย แต่โจทก์ได้ยกรายจ่ายต่างๆ ขึ้นอ้างในการฟ้องคดีนี้อันเป็นเหตุผลอีกข้อหนึ่งที่โจทก์กล่าวอ้างเพื่อเป็นการสนับสนุนว่า การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือการแจ้งเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทไม่ชอบนั่นเอง เป็นเรื่องที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 744/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาภาษีต้องมีผู้รับประเมินลงนาม หรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นถือว่าไม่มีอำนาจฟ้อง
คำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ต้องเขียนลงในแบบพิมพ์และผู้รับประเมินต้องลงนามตามที่ พ.ร.พ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 26 กำหนด และหากผู้รับประเมินต้องการให้ตัวแทนลงนามแทนก็ต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ มาตรา 37 เมื่อฟังไม่ได้ว่า ส.ได้รับมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจให้กระทำการแทนในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันภายหลังได้ จึงเป็นการยื่นคำร้องที่โจทก์ผู้รับประเมินไม่ได้ลงนามหรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ตัวแทนลงนามแทน ไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดินนมาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 37 ถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ จึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7(1) และมาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4402/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการยื่นคำร้องขอพิจารณาภาษีโรงเรือนและที่ดินสงวนไว้สำหรับผู้รับประเมิน เจ้าของทรัพย์สิน การชำระภาษีตามสัญญาเช่าไม่ทำให้มีอำนาจดังกล่าว
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 บัญญัติให้ผู้รับประเมินที่ไม่พอใจในการประเมินอาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินนั้นใหม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติแล้วว่า บริษัท ซ. เจ้าของโรงเรือนและที่ดินดังกล่าวเป็นผู้ยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปีภาษีพิพาท และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้แจ้งรายการประเมินไปยังบริษัท ซ. อันเป็นการแจ้งรายการประเมินแก่ผู้รับประเมินตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 24 แล้ว ดังนั้นผู้รับประเมินที่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่จึงหมายถึงบริษัท ซ. แม้โจทก์จะมีหน้าที่ต้องชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามสัญญาเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โจทก์ก็ไม่เป็นผู้รับประเมินในกรณีนี้และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ ทั้งตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 37 ก็บัญญัติให้ผู้รับประเมินที่จะต้องลงนามในแบบพิมพ์ใดจะให้ตัวแทนลงนามแทนก็ได้ โดยต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อโจทก์ยื่นแบบพิมพ์คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน (ภ.ร.ด. 9) ในนามของตนเองโดยบริษัท ซ. ผู้รับประเมินไม่ได้มอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลงนามแทนได้ จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจ และถือว่าไม่มีการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ตาม พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 25 จำนวนเงินที่ประเมินจึงเป็นจำนวนเด็ดขาด โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องมีหลักฐานการยื่นคำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ต้องเขียนลงในแบบพิมพ์และผู้รับประเมินต้องลงนามตามที่พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ มาตรา 26 กำหนด แต่ถ้าต้องการให้ตัวแทนลงนามแทนก็ต้องมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรตามมาตรา 37 จากข้อเท็จจริง ช. ซึ่งเป็นผู้จัดการได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ในนามโจทก์โดยไม่ปรากฏว่า ช. เป็นผู้แทนซึ่งมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และได้รับมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ลงนามเป็นผู้ยื่นคำร้องขอฯแทนโจทก์ ทั้งเป็นกรณีที่โจทก์ไม่อาจให้สัตยาบันในภายหลังได้ จึงถือว่าโจทก์ยังไม่ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 (1) และมาตรา 8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 605/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร การแยกข้อหาฟ้อง และอำนาจฟ้องที่ยังไม่ถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินตามใบขนสินค้าขาเข้ารวม 7 ฉบับ คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาลรวม 7 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันและสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสีย ค่าขึ้นศาลเป็นรายข้อหาทั้ง 7 ข้อหา
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8
การกำหนดให้คู่ความชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ผู้แพ้คดีได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ต้องทำเป็นหนังสือนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ให้แสดงเหตุแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง ฉะนั้น เมื่อศาลต้องวินิจฉัยข้อหาในคำฟ้องทุกข้ออันเป็นเรื่องในประเด็นแห่งคดีแต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความต้องรับผิดตามมาตรา 161 มิใช่เรื่องในประเด็นแห่งคดี เพียงแต่มาตรา 141 (5) ให้มีคำวินิจฉัยตลอดทั้งค่าฤชาธรรมเนียมด้วยเท่านั้น ในส่วนค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ต้องแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8
การกำหนดให้คู่ความชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นดุลพินิจของศาล โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยผู้ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ผู้แพ้คดีได้
คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลที่ต้องทำเป็นหนังสือนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) ให้แสดงเหตุแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง ฉะนั้น เมื่อศาลต้องวินิจฉัยข้อหาในคำฟ้องทุกข้ออันเป็นเรื่องในประเด็นแห่งคดีแต่ค่าฤชาธรรมเนียมที่คู่ความต้องรับผิดตามมาตรา 161 มิใช่เรื่องในประเด็นแห่งคดี เพียงแต่มาตรา 141 (5) ให้มีคำวินิจฉัยตลอดทั้งค่าฤชาธรรมเนียมด้วยเท่านั้น ในส่วนค่าฤชาธรรมเนียมจึงไม่ต้องแสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6817/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินอากรที่ยุติและการไม่มีสิทธิคัดค้านเมื่อผู้นำเข้าไม่ยื่นอุทธรณ์
ตามมาตรา 112 ฉ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรฯ แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 17)ฯ ผู้นำของเข้ามีสิทธิอุทธรณ์การประเมินอากรของพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามแบบที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน หากผู้นำของเข้าไม่อุทธรณ์ก็ถือว่าผู้นำของเข้าพอใจประเมิน การประเมินนั้นก็เป็นที่ยุติ ผู้นำของเข้าจะนำคดีมาฟ้องเพื่อให้เพิกถอนการประเมินหรือต่อสู้คดีในศาลว่าการประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้เมื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้นำของเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นการประเมินผิดพิกัดและอัตราอากร จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระค่าอากรตามฟ้อง แม้คดีนี้จะมิใช่คดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตามมาตรา 7 (1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ เนื่องจากจำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน แต่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐฟ้องเรียกหนี้ค่าภาษีอากรก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าการประเมินไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเหตุที่ถือว่าการประเมินนี้เป็นที่ยุติดังวินิจฉัยมาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระค่าอากรตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5857/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย การหักเงินเพิ่ม และการประเมินรายได้ดอกเบี้ยจากเงินค่าหุ้น
โจทก์มีหน้าที่หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย เมื่อหักแล้วต้องนำส่งภายใน 7 วัน นับแต่วันที่จ่ายเงินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 52 และในการตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่าย นั้น เจ้าพนักงานประเมินอาจส่งหนังสือแจ้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ให้ยื่นบัญชีจ่ายเงินได้หรือพยานหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องเพื่อตรวจสอบการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ตามที่เห็นสมควร และเมื่อได้รับหนังสือแจ้งความดังกล่าวให้ปฏิบัติตามภายใน 15 วัน ตามมาตรา 51 แห่ง ป.รัษฎากร จึงเป็นกรณีที่ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนภายในกำหนดเวลา ตามมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร และสิทธิเรียกร้องของรัฐเพื่อเรียกเอาค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบพบว่าโจทก์นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ไม่ครบถ้วนและแจ้งให้โจทก์นำส่งให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นจาก น. ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 การที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นดังกล่าว แต่กลับลงบัญชีว่าได้ชำระแล้ว เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นเสมือนให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยและโจทก์จะอ้างการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1121 อันเป็นเรื่องการบอกกล่าวให้ชำระค่าหุ้นเป็นเหตุให้ถือว่าผู้ถือหุ้นยังไม่ต้องเสียดอกเบี้ยไม่ได้ด้วย
โจทก์นำเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางส่วนไปใช้ในการลงทุนก่อสร้างโรงงาน รายจ่ายดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจ แต่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4
เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาว่าโจทก์ขายรถยนต์ต่ำกว่ามูลค่าคงเหลือตามบัญชีหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินในปัญหาดังกล่าวจึงยุติ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในปัญหาดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7 (1) มาตรา 8 ประกอบ ป.รัษฎากร มาตรา 30
คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ระบุว่าโจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ คงบรรยายเพียงว่าโจทก์คัดค้านการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไรเท่านั้น การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจึงถือว่ายุติ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งยุติแล้วกลับเป็นไม่ยุติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเติมมูลค่า แต่ลงบัญชีว่าได้รับชำระเงินค่าหุ้นเติมมูลค่าถือเป็นการกระทำโดยจงใจ และการที่โจทก์ให้กรรมการและพนักงานกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุสมควร นั้น มิใช่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์ กรณีไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัย
เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นจาก น. ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นจึงต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1122 ประกอบมาตรา 7 การที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระค่าหุ้นดังกล่าว แต่กลับลงบัญชีว่าได้ชำระแล้ว เป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้นเสมือนให้กู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยและโจทก์จะอ้างการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1120 ถึง 1121 อันเป็นเรื่องการบอกกล่าวให้ชำระค่าหุ้นเป็นเหตุให้ถือว่าผู้ถือหุ้นยังไม่ต้องเสียดอกเบี้ยไม่ได้ด้วย
โจทก์นำเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีบางส่วนไปใช้ในการลงทุนก่อสร้างโรงงาน รายจ่ายดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวจึงมิใช่รายจ่ายในการดำเนินธุรกิจ แต่ถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (5) ประกอบ พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ.2527 มาตรา 4
เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ปัญหาว่าโจทก์ขายรถยนต์ต่ำกว่ามูลค่าคงเหลือตามบัญชีหรือไม่ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ การประเมินในปัญหาดังกล่าวจึงยุติ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินในปัญหาดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 7 (1) มาตรา 8 ประกอบ ป.รัษฎากร มาตรา 30
คำอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ระบุว่าโจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะ คงบรรยายเพียงว่าโจทก์คัดค้านการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไรเท่านั้น การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะจึงถือว่ายุติ แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยให้ ก็ไม่ทำให้การประเมินภาษีธุรกิจเฉพาะซึ่งยุติแล้วกลับเป็นไม่ยุติ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ไม่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นเพิ่มทุนเติมมูลค่า แต่ลงบัญชีว่าได้รับชำระเงินค่าหุ้นเติมมูลค่าถือเป็นการกระทำโดยจงใจ และการที่โจทก์ให้กรรมการและพนักงานกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยโดยไม่มีเหตุสมควร นั้น มิใช่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์ กรณีไม่มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1412/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี: การออกหมายเรียก, สิทธิอุทธรณ์, และรายจ่ายต้องห้าม
ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 19 และ 20 การออกหมายเรียกเป็นขั้นตอนหนึ่งของการประเมิน หากโจทก์เห็นว่าการออกหมายเรียกไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์ก็ชอบที่จะโต้แย้งคัดค้านโดยอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่ได้รับแจ้งการประเมินคือได้รับหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลขาดทุนสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2530 ถึง 2532 ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 30 เมื่อโจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ก็ต้องถือว่าการประเมินชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการเปลี่ยนแปลงผลการขาดทุนสุทธิดังกล่าวเพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7 (1) และ 8
ในปี 2533 โจทก์เป็นเพียงผู้ผลิตและขายสินค้าให้แก่ลูกค้าภายในประเทศ และโจทก์มีบริษัท บ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเป็นลูกค้ารับซื้อแป้งจากโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่กรรมการโจทก์ต้องไปดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ทั้งโจทก์ไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารในการติดต่อทางการค้ากับลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศมาแสดงต่อศาล จึงฟังไม่ได้ว่ากรรมการของโจทก์เดินทางไปต่างประเทศเพื่อติดต่อลูกค้าเพื่อเปิดตลาดใหม่และแก้ไขปัญหาสินค้าของโจทก์เพื่อประโยชน์แก่ธุรกิจของโจทก์ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวและเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ จึงต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) และ (13)
ในปี 2533 โจทก์เป็นเพียงผู้ผลิตและขายสินค้าให้แก่ลูกค้าภายในประเทศ และโจทก์มีบริษัท บ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเป็นลูกค้ารับซื้อแป้งจากโจทก์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศอยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่กรรมการโจทก์ต้องไปดำเนินการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้าให้แก่ลูกค้าในต่างประเทศ ทั้งโจทก์ไม่มีหลักฐานที่เป็นเอกสารในการติดต่อทางการค้ากับลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศมาแสดงต่อศาล จึงฟังไม่ได้ว่ากรรมการของโจทก์เดินทางไปต่างประเทศเพื่อติดต่อลูกค้าเพื่อเปิดตลาดใหม่และแก้ไขปัญหาสินค้าของโจทก์เพื่อประโยชน์แก่ธุรกิจของโจทก์ ค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวและเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ จึงต้องห้ามไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป. รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) และ (13)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11979/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: ต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะฟ้องคดีได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีทุกเดือนภาษีหากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนภาษีตาม ป.รัษภากร ฯ มาตรา 82/3 วรรคสาม โดยมีสิทธิขอคืนพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีของเดือนภาษีนั้นตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 84 ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนไปจากโจทก์ เป็นการปฏิบัติตามบทกฎหมาย และภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีอากรประเมินตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 77
เจ้าพนักงานของโจทก์ออกหมายเรียกตาม ป.รัษฎากร ฯ เพื่อตรวจสอบการชำระภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ของจำเลยที่ 1 และพบว่าบางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วน บางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 88/5
แม้หนังสือทวงถามของโจทก์จะมิใช่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ข้ออ้างสิทธิของโจทก์และจำนวนเงินที่โจทก์ทวงถามตามหนังสือก็เป็นมูลเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง ข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนไปให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 (1) ซึ่งจะฟ้องในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องและไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธิพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 8
(ประชุมใหญ่)
เจ้าพนักงานของโจทก์ออกหมายเรียกตาม ป.รัษฎากร ฯ เพื่อตรวจสอบการชำระภาษีอากรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ของจำเลยที่ 1 และพบว่าบางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มบางส่วน บางเดือนภาษีจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและเจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินแก่จำเลยที่ 1 แล้ว เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิอุทธรณ์การประเมินตาม ป.รัษฎากร ฯ มาตรา 88/5
แม้หนังสือทวงถามของโจทก์จะมิใช่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแต่ข้ออ้างสิทธิของโจทก์และจำนวนเงินที่โจทก์ทวงถามตามหนังสือก็เป็นมูลเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้อง ข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนไปให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 7 (1) ซึ่งจะฟ้องในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องและไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธิพิจารณาคดีภาษีอากร ฯ มาตรา 8
(ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11979/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีมูลค่าเพิ่ม: ต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการภาษีอากรเสียก่อน
หนังสือทวงถามของโจทก์กรณีเรียกภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 1 ได้รับคืนไป แม้จะมิใช่หนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ข้ออ้างสิทธิของโจทก์และจำนวนเงินที่โจทก์ทวงถามตามหนังสือดังกล่าว ก็เป็นมูลเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินออกหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 แสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องนั่นเอง ข้อพิพาทในคดีนี้ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้รับคืนไปให้แก่โจทก์หรือไม่ จึงเป็นคดีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการตามกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 7(1) ซึ่งจะฟ้องคดีในศาลภาษีอากรได้ก็ต่อเมื่อได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดคำคัดค้านหรือคำอุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์คัดค้านการประเมินแต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง และไม่มีอำนาจฟ้องตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 8
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2547)