พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ครอบครองที่ดินต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ แม้ไม่ยื่นแบบแสดงรายการ และการอุทธรณ์ต้องทำตามขั้นตอน
จำเลยได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติจากกรมป่าไม้ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาเช่า และจำเลยได้ครอบครองอยู่ในที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อปลูกต้นปาล์มน้ำมัน จึงเป็นกรณีครอบครองอยู่ในที่ดินที่ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน จำเลยจึงเป็นเจ้าของที่ดินตามความในมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ และต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินดังกล่าว
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก
โจทก์ประเมินให้จำเลยรับผิดชำระภาษีบำรุงท้องที่ แต่จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติให้จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินนั้นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน และตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากร ฯ บัญญัติให้ฟ้องคดีได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการและระยะเวลาในการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยต่อเจ้าพนักงานหรือคณะกรรมการและได้มีการชี้ขาดคำคัดค้านหรืออุทธรณ์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว การห้ามฟ้องคดีตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความรวมถึงการยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคดีด้วย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้องมาเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดี
การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินตาม พ.ร.บ. ภาษีบำรุงท้องที่ ฯ มาตรา 30 วรรคสอง แบบแสดงรายการดังกล่าวใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลาสี่ปี เมื่อเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการที่ดินแทนจำเลยในปีภาษี พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางของที่ดินเพื่อคำนวณภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา 24 วรรคสองแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดินในปีภาษี พ.ศ. 2542 ถึง 2544 ซึ่งเป็นปีที่สองถึงที่สี่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9569/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอผลการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์ก่อน จึงจะสามารถฟ้องต่อศาลภาษีอากรได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 8 ได้วางข้อห้ามมิให้ฟ้องคดีตามมาตรา 7 (1) ต่อศาลภาษีอากรไว้ซึ่งเป็นการห้ามบุคคลทุกคน หามีข้อยกเว้นให้กรมสรรพากรโจทก์มีอำนาจฟ้องคดีโดยไม่จำต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และขณะที่โจทก์ฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 หนี้ค่าภาษีอากรของจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์แจ้งการประเมิน ซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ที่เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดจะต้องร่วมรับผิดด้วยอาจถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขโดยคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งหกต่อศาลภาษีอากรกลางตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ 246
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ไม่มีสิทธิวินิจฉัยแทนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับคำอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไว้พิจารณาแล้ว กรณีจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมายหรือไม่อย่างไร คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โจทก์ไม่มีสิทธิวินิจฉัยแทนคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: หนี้ยังไม่แน่นอน แม้มีการอุทธรณ์ ไม่ถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิ
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินได้หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินดังกล่าว จึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 แม้ว่าการที่จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ภาษีไม่แน่นอน โจทก์ยังไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์
จำเลยอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดี คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังมิได้มีคำวินิจฉัย ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนหรือแก้ไขคำสั่ง ของเจ้าพนักงานประเมินได้ หนี้ค่าภาษีตามหนังสือแจ้งการประเมินที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นหนี้ที่ยังไม่แน่นอนว่าจะมีอยู่จริงหรือไม่เพียงใด ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้คดีของโจทก์ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 แต่ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อหนี้ยังไม่แน่นอนจึงหาอาจถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้วได้ไม่ แม้การที่จำเลยอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะไม่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ทางภาษี: การอุทธรณ์ไม่ทุเลาการบังคับคดี เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดทรัพย์ค้างชำระได้
โจทก์บรรยายฟ้องเป็นสองตอน ตอนแรกเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการที่โจทก์ถูกประเมินให้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมว่าโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งในขณะที่ฟ้องคดีนี้เรื่องยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตอนที่สองโจทก์บรรยายว่า ภายหลังการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว จำเลยมอบให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยยึดที่ดินของโจทก์ 3 แปลง กับอายัดเงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ และต่อมาได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดิน ซึ่งโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่มีสิทธิยึด และอายัดทรัพย์ของโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ที่แท้จริง จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่หรือวินิจฉัยสั่งให้ดำเนินการยึดทรัพย์ของโจทก์ไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร ขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินและเพิกถอนคำสั่งอายัดเงินในบัญชีของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องต่อศาลว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์ของโจทก์ ซึ่งไม่มีกฎหมายระบุให้ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนฟ้องคดีเหมือนการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี ซึ่งโจทก์จะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ประกอบมาตรา 30 (2) แห่งประมวลรัษฎากร การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะ เห็นว่าเป็นการข้ามขั้นตอนตามมาตรา 30 (2) จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างแต่เพียงว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้ดังกล่าวหรือไม่ ยังไม่มีข้อยุติเพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เมื่อปรากฏว่า โจทก์ไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินภายในกำหนดเวลา ค่าภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีของจำเลยย่อมมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่จำเลยสั่งให้เจ้าพนักงานของจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างแต่เพียงว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาว่าโจทก์เป็นผู้มีเงินได้ดังกล่าวหรือไม่ ยังไม่มีข้อยุติเพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร เมื่อปรากฏว่า โจทก์ไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินภายในกำหนดเวลา ค่าภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีของจำเลยย่อมมีอำนาจสั่งยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่จำเลยสั่งให้เจ้าพนักงานของจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้อง จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8296/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ภาษีค้างชำระ แม้จะมีการอุทธรณ์ แต่ไม่ทุเลาการบังคับคดี
โจทก์ฟ้องต่อศาลว่าคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนการยึดและอายัดทรัพย์ของโจทก์ซึ่งไม่มีกฎหมายระบุให้ต้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อนฟ้องคดีเหมือนการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษี ซึ่งโจทก์จะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯประกอบมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากร การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าเป็นการข้ามขั้นตอนจึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อพิเคราะห์คำฟ้องของโจทก์แล้ว ศาลฎีกาสามารถวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 31 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์ไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินภายในกำหนดเวลา ค่าภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12อธิบดีของจำเลยย่อมมีอำนาจสั่งยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่จำเลยสั่งให้เจ้าพนักงานของจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ฟ้องว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมายโดยอ้างแต่เพียงว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้มีเงินได้ตามการประเมินเท่านั้น ซึ่งปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แต่ตามมาตรา 31 แห่งประมวลรัษฎากรนั้น การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษีอากร ดังนั้น เมื่อปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์ไม่ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามการประเมินภายในกำหนดเวลา ค่าภาษีดังกล่าวจึงถือเป็นภาษีอากรค้างตามมาตรา 12อธิบดีของจำเลยย่อมมีอำนาจสั่งยึด อายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของโจทก์ได้ตามมาตรา 12 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่จำเลยสั่งให้เจ้าพนักงานของจำเลยยึดและอายัดทรัพย์สินของโจทก์ตามฟ้องจึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8129/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ และการนับระยะเวลาอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร โดยการส่งให้ผู้แทนผู้รับถือว่าเป็นการนำจ่ายแล้ว
ตามไปรษณีย์นิเทศฯ การสื่อสารแห่งประเทศไทยอาจจัดส่งไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับก็ได้ และเมื่อจ่ายให้แก่ผู้แทนของผู้รับแล้ว ให้ถือว่าได้นำจ่ายให้แก่ผู้รับแล้วนับแต่เวลาที่นำจ่าย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้นำเอกสารคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไปส่งยังภูมิลำเนาของโจทก์ โดยมีพนักงานรักษาความปลอดภัยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับไว้เมื่อวันที่ 7สิงหาคม 2541 ถือได้ว่ามีการนำจ่ายทางไปรษณีย์ให้แก่ผู้แทนของผู้รับและถือว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2541 อันล่วงเลยกำหนดระยะเวลา 30 วันแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การอุทธรณ์ และการฟ้องร้องต่อศาลภาษีอากรกลาง: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์ทำให้ฟ้องร้องไม่ได้
เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกแบบแจ้งการประเมินไปถึงโจทก์ให้โจทก์ชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแล้ว แม้ต่อมาจะได้มีหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลที่ค้างชำระอยู่ก็ไม่ใช่เป็นการประเมินภาษีอากร ดังนั้นที่โจทก์มีหนังสือไปถึงจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลเนื่องจากโจทก์เห็นว่าเรียกเก็บภาษีไม่ถูกต้องโดยยื่นเกิน 30 วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแบบแจ้งการประเมิน จึงไม่ต้องวินิจฉัยว่าหนังสือดังกล่าวเป็นการอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลหรือไม่ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้เพิกถอนการประเมินในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลมาตั้งแต่แรกแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางขอให้จำเลยทั้งสองคืนเงินภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยประเมินเพิ่มโดยไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30 เสียก่อน จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องตาม มาตรา 8แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลถูกยกเลิกโดยคำพิพากษาในคดีก่อนแล้วก็ดี การเรียกเก็บภาษีดังกล่าวขัดต่อกฎหมายก็ดี จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีภาษีอากรหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์ และการใช้สิทธิฟ้องแทนการอุทธรณ์ตามกฎหมาย
เดิมโจทก์กับกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 พิพาทกันเกี่ยวกับกรณีที่โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อปี 2531 โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เห็นว่า สินค้าที่โจทก์นำเข้าอยู่ในพิกัดที่ 8705.10 ไม่ได้รับลดหย่อนอากรและไม่พอใจราคา จึงสั่งให้โจทก์วางประกัน โจทก์ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกันค่าภาษีอากร แล้วชำระภาษีอากรตามที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้า กับได้โต้แย้งไว้ แต่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งยืนตาม โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาว่า สินค้าที่โจทก์นำเข้าจัดอยู่ในพิกัดที่ 8426.19 และราคาที่โจทก์สำแดงไว้เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่ให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้คืนหนังสือค้ำประกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มจากที่โจทก์สำแดงไว้ ต่อมาเมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วจำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามที่ได้ประเมินเพิ่มพร้อมด้วยเงินเพิ่มภาษีดังกล่าว โจทก์ชำระเงินดังกล่าวและได้รับหนังสือค้ำประกันแล้ว การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกแบบแจ้งการประเมินไปถึงโจทก์ซึ่งเป็นการประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุง-เทศบาลตามกฎหมาย ส่วนหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษี-บำรุงเทศบาลที่ค้างชำระอยู่ มิใช่เป็นการแจ้งการประเมินภาษีอากร ย่อมไม่มีผลเป็นการประเมินภาษีอากรตามกฎหมาย จึงต้องถือแต่เฉพาะการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเท่านั้นเป็นสำคัญ ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลมาตั้งแต่แรกแล้ว การที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยคืนเงินภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยที่ 1 ประเมินเพิ่มย่อมมีผลเท่ากับเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรดังกล่าวต่อศาลโดยตรง โดยไม่ผ่านขั้นตอนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงต้องห้ามมิให้นำคดีเกี่ยวกับภาษีดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2606/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินภาษีคืนหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์-ไม่ผ่านขั้นตอนตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิฟ้องต่อศาล
เดิมโจทก์กับกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 พิพาทกันเกี่ยวกับกรณีที่โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อปี 2531 โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 เห็นว่า สินค้าที่โจทก์นำเข้าอยู่ในพิกัดที่ 8705.10 ไม่ได้รับลดหย่อนอากรและไม่พอใจราคาจึงสั่งให้โจทก์วางประกัน โจทก์ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางเป็นประกันค่าภาษีอากร แล้วชำระภาษีอากรตามที่โจทก์สำแดงในใบขนสินค้าขาเข้า กับได้โต้แย้งไว้ แต่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งยืนตาม โจทก์ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลภาษีอากรกลางพิพากษาว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าจัดอยู่ในพิกัดที่ 8426.19 และราคาที่โจทก์สำแดงไว้เป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่ให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้คืนหนังสือค้ำประกัน พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1ได้ประเมินภาษีอากรเพิ่มจากที่โจทก์สำแดงไว้ ต่อมาเมื่อคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว จำเลยที่ 1 ได้แจ้งให้โจทก์ชำระภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามที่ได้ประเมินเพิ่มพร้อมด้วยเงินเพิ่มภาษีดังกล่าว โจทก์ชำระเงินดังกล่าวและได้รับหนังสือค้ำประกันแล้วการที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ได้ออกแบบแจ้งการประเมินไปถึงโจทก์ซึ่งเป็นการประเมินให้โจทก์ชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามกฎหมาย ส่วนหนังสือทวงถามให้โจทก์ชำระค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่ค้างชำระอยู่ มิใช่เป็นการแจ้งการประเมินภาษีอากร ย่อมไม่มีผลเป็นการประเมินภาษีอากรตามกฎหมาย จึงต้องถือแต่เฉพาะการประเมินตามแบบแจ้งการประเมินเท่านั้นเป็นสำคัญ ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลมาตั้งแต่แรกแล้วการที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยคืนเงินภาษีการค้ากับภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยที่ 1 ประเมินเพิ่มย่อมมีผลเท่ากับเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรดังกล่าวต่อศาลโดยตรงโดยไม่ผ่านขั้นตอนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 จึงต้องห้ามมิให้นำคดีเกี่ยวกับภาษีดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง ตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528