พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3935/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาศุลกากรที่อ้างอิงราคาผู้นำเข้าอื่นต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ช่วงเวลาใกล้เคียง และพิกัดเดียวกัน มิฉะนั้นถือเป็นราคาไม่แท้จริง
โจทก์มิได้อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีดังกล่าวตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 7(1),8 โจทก์มิได้กล่าวในคำฟ้องว่า การที่เจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยตรวจสอบราคาสินค้าของโจทก์แล้วสั่งให้โจทก์เพิ่มราคา มิใช่เป็นการประเมินภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยประเมินราคาสินค้าที่โจทก์นำเข้าโดยเปรียบเทียบกับราคาสินค้าของผู้นำเข้ารายอื่น แต่สินค้าของผู้นำเข้ารายอื่นนั้นเป็นของคนละประเภทต่างพิกัดประเภทย่อยกับสินค้าของโจทก์ และระยะเวลาที่นำของเข้าก็แตกต่างกันมาก ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในความหมายของคำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 วรรคสิบสอง ราคาของที่เจ้าพนักงานของจำเลยประเมินเพิ่มขึ้นจึงไม่อาจถือว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดการประเมินจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดอายุความฟ้องขอคืนภาษีอากร และไม่มีสิทธิฟ้องค่าภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศาล เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้า อันเป็นฐานของการคำนวณภาษีอากรสำหรับของที่นำเข้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าเป็นเหตุให้ต้องแก้จำนวนค่าอากรขาเข้าภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้น อันเป็นการโต้แย้งจำนวนค่าภาษีอากรที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีอากรไว้ดังกล่าวว่าไม่ถูกต้อง ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ทราบว่าจะต้องชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลตามฐานราคาของที่สั่งให้โจทก์แก้นั้นเอง มิฉะนั้นก็จะไม่ตรวจปล่อยของออกไปจากอารักขาของจำเลย โจทก์ทราบถึงการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวแล้ว ยอมแก้ราคาของตลอดจนจำนวนค่าอากรขาเข้าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลเพิ่มขึ้น กับยอมชำระค่าภาษีอากรดังกล่าวให้แก่จำเลยเพื่อรับของที่นำเข้าไปจากอารักขาของจำเลยโดยได้บันทึกขอสงวนสิทธิโต้แย้งราคาไว้ด้านหลังใบขนสินค้าขาเข้าย่อมเป็นการชำระค่าภาษีอากรตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ไม่ใช่โจทก์สมัครใจชำระโดยไม่มีการโต้แย้งราคาของ ดังนั้นการที่โจทก์จะขอเรียกค่าภาษีอากรดังกล่าวคืนย่อมเป็นการโต้แย้งผลการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าว โจทก์จึงต้องอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรให้วินิจฉัยเสียก่อนว่าโจทก์เสียภาษีไว้เกินกว่าที่จะต้องเสียตามกฎหมายหรือไม่เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้ว โจทก์จึงจะอุทธรณ์ต่อศาลหรือนำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จึงไม่มี สิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้นคืนโดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้องจำเลยจึงต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เพราะเหตุอันเกี่ยวกับการโต้แย้งราคาของตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้า เมื่อปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่ 24 กันยายน 2530แต่โจทก์ฟ้องขอเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2532เป็นเวลาเกินสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการขอคืนอากรขาเข้า: การประเมินราคาและกำหนดเวลาฟ้องร้อง
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลัง ฯ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่25 ตุลาคม 2513 สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้น ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ตามฐานราคาสินค้าที่สั่งให้โจทก์แก้นั่นเองโจทก์จึงต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา30 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 8
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียไว้เกินโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือเป็นเพราะยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นก็ตาม จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดสองปี นับจากวันนำของเข้าทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เสียไว้เกินเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้น นอกจากจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้นำเข้ายังต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบ หรือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบอีกด้วยจึงจะมีสิทธิขอคืนเงินอากรได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียโดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่ 24 กันยายน2530 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2532 เกินกำหนดสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ.2469 นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียไว้เกินโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือเป็นเพราะยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นก็ตาม จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดสองปี นับจากวันนำของเข้าทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เสียไว้เกินเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้น นอกจากจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้นำเข้ายังต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบ หรือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบอีกด้วยจึงจะมีสิทธิขอคืนเงินอากรได้
การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียโดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 10 วรรคห้า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่ 24 กันยายน2530 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2532 เกินกำหนดสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนอากร, การประเมินราคา, และสิทธิในการอุทธรณ์ตามกฎหมายภาษีอากร
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่กองพิธีการและประเมินอากรของจำเลยในฐานะเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลังฯ(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2513 สั่งให้โจทก์แก้ไขเพิ่มราคาสินค้าในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้านั้น ถือได้ว่าเป็นการแจ้งการประเมินให้โจทก์ต้องชำระอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล ตามฐานราคาสินค้าที่สั่งให้โจทก์แก้นั่นเอง โจทก์จึงต้องอุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน จึงจะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 8 สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรขาเข้าเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงตามมาตรา 10 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. 2469 นั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะเสียไว้เกินโดยไม่มีข้อโต้แย้งใด ๆ หรือเป็นเพราะยังมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นก็ตาม จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดสองปี นับจากวันนำของเข้าทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่เสียไว้เกินเพราะเหตุอันเกี่ยวกับราคาแห่งของที่นำเข้านั้นนอกจากจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องขอคืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วผู้นำเข้ายังต้องแจ้งความไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนการส่งมอบหรือเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พึงต้องรู้อยู่ก่อนส่งมอบว่าอากรที่ชำระไว้นั้นเกินจำนวนที่พึงต้องเสียสำหรับของที่ส่งมอบอีกด้วย จึงจะมีสิทธิขอคืนเงินอากรได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินอากรของจำเลยสั่งให้โจทก์เพิ่มราคาของให้สูงขึ้น โจทก์ยอมปฏิบัติตามและเสียอากรตามราคาของที่เพิ่มขึ้น แล้วมาฟ้องเรียกอากรในส่วนที่เสียเพิ่มขึ้น โดยอ้างว่าราคาของที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์เพิ่มสูงขึ้นนั้นไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำนวนอากรที่โจทก์เสียเพิ่มขึ้นตามราคาของจึงไม่ถูกต้อง จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์นั้น ถือได้ว่าเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียโดยมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับราคาของตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคห้าเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ค่าอากรที่โจทก์เรียกคืนตามใบขนสินค้าขาเข้านั้น โจทก์นำเข้าเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2530 และวันที่24 กันยายน 2530 แต่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรคืนเมื่อวันที่5 ตุลาคม 2532 เกินกำหนดสองปีนับแต่วันนำเข้า คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2728/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับหนังสือแจ้งประเมินภาษีโดยผู้แทนที่อยู่บ้านเดียวกัน ถือเป็นการรับโดยผู้รับเอง และเริ่มนับระยะเวลาฟ้องคดีตามกฎหมาย
ประมวลรัษฎากร มาตรา 8 วรรคแรก บัญญัติว่า"หมายเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากรหรือหนังสืออื่นซึ่งมีถึงบุคคลใดตามลักษณะนี้ ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ" ส่วนการส่งทางไปรษณีย์ จะมีผลอย่างไรและเมื่อใดต้องพิจารณาตามไปรษณียนิเทศพ.ศ. 2529 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 22แห่งพระราชบัญญัติไปรษณีย์ฯ และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทยฯ เมื่อภรรยาของโจทก์ซึ่งอยู่บ้านเรือนเดียวกับโจทก์ย่อมถือว่าเป็นผู้แทนของโจทก์ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2529ต้องถือว่าโจทก์ได้รับแล้วตั้งแต่วันดังกล่าว ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 333,334 และข้อ 336 แห่งไปรษณียนิเทศโจทก์นำคดีมาฟ้องในวันที่ 2 มกราคม 2530 ซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางภาษีอากร ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน ป.รัษฎากร การส่งแนบไปกับเอกสารคดีอื่นไม่ถือเป็นการแจ้งโดยชอบ
หลังจากโจทก์ยื่นอุทธรณ์การประเมินแล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ได้ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ ต่อมากรมสรรพากรจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้โจทก์โดยวิธีปิดหมายและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แนบไปด้วย การที่เจ้าพนักงานศาลส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลายให้โจทก์โดยวิธีปิดหมายนั้น นอกจากเจ้าพนักงานศาลจะไม่ใช่เจ้าพนักงานสรรพากรตาม ป.รัษฎากร แล้ว การส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลายให้จำเลยเพียงแต่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์คดีนี้แนบไปในฐานะเป็นเอกสารประกอบคดีดังกล่าวเท่านั้น หาใช่มีเจตนาที่จะส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์คดีนี้ให้แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โดยตรงตามที่ ป.รัษฎากร บัญญัติไว้ไม่ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสามโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง ตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางอ้อมผ่านการส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลาย ไม่ถือเป็นการแจ้งโดยชอบตามกฎหมายภาษีอากร
ประมวลรัษฎากรได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือและส่งไปยังผู้อุทธรณ์ กับได้กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งหนังสือซึ่งมีถึงบุคคลใดตามบทบัญญัติในลักษณะ 2แห่งประมวลรัษฎากรไว้เป็นพิเศษในมาตรา 8 การที่เจ้าพนักงานศาลส่งสำเนาคำฟ้องคดีล้มละลายให้โจทก์โดยวิธีปิดหมายนั้น นอกจากเจ้าพนักงานศาลจะไม่ใช่เจ้าพนักงานสรรพากรตามกฎหมายมาตราดังกล่าวแล้ว จำเลยยังเพียงแต่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แนบไปในฐานะเป็นเอกสารประกอบคดีดังกล่าวเท่านั้น หาใช่มีเจตนาจะส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์ผู้อุทธรณ์โดยตรง ตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรกลาง ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน แม้โจทก์เป็นกรมสรรพากร
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ของจำเลยหรือไม่ เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้ หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้ หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5555/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรต้องรอการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน
ปัญหาที่ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลภาษีอากรกลางก่อนที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหรือไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์ เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้พระราชบัญญัติ ญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 8 บัญญัติถึงการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) ต่อศาลภาษีอากรว่าจะต้องมีการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนและบทกฎหมายมาตรานี้หาได้บังคับเฉพาะผู้ถูกประเมินแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ ดังนั้นเมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงต้องห้ามมิให้นำคดีมาฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ต้องชำระภาษีค้างชำระก่อนฟ้อง
การฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรให้ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ซึ่งมาตรา 8บัญญัติว่าจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่ง คำวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรนั้นแล้ว คดีของโจทก์เป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิในฐานะผู้รับประเมินตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 ซึ่งมีมาตรา 39 บัญญัติว่า 'ห้ามมิให้ศาลประทับฟ้อง...เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้น...' ดังนั้นเมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่จำเลยชี้ขาดเสียก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีเป็นเรื่องละเมิดมาด้วย ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 ดังกล่าวเสียก่อนไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)