พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลวิกลจริตทำนิติกรรมให้ที่ดินโมฆียะ โจทก์บอกล้างได้ภายในกำหนด
แม้โจทก์จะมีความสามารถตามกฎหมาย แต่ไม่มีความสามารถที่จะดูแลตนเองหรือผลประโยชน์ของตนเองได้ในความเป็นจริงอันอาจเป็นเพียงบางช่วงเวลา ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจหรือความผิดปกติทางร่างกายที่มีผลกระทบต่อจิตใจ โจทก์สามารถประกอบกิจวัตรได้เพียงทางกายภาพบางช่วงเวลาเท่านั้น แต่โจทก์ยังมีภาวะผิดปกติทางจิตที่มีความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ พฤติกรรมบางอย่างมากจนไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง หากดูจากภายนอกย่อมไม่อาจทราบได้ว่าแท้จริงแล้วโจทก์เป็นผู้ป่วยทางจิตเวชอยู่ ไม่อาจตัดสินใจเรื่องใดในทางสมเหตุสมผลได้เหมือนคนปกติ และหลายครั้งที่ผู้ป่วยทางจิตเวชต้องทำอัตวินิบาตกรรม เนื่องจากไม่อาจทนทุกข์ทรมานกับโรคที่เป็นอยู่จนไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไปเพราะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสารสื่อประสาทไม่สมดุล กรณีของโจทก์แพทย์จึงต้องใช้ยาต้านเศร้าร่วมด้วยนอกเหนือจากยาคลายวิตกกังวลและยานอนหลับเพื่อปรับอารมณ์ของโจทก์ให้เกิดความสมดุลมากขึ้น ขณะที่โจทก์ทำนิติกรรมจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาททั้งสามแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยนั้น โจทก์ขาดการรักษาและไม่ได้รับประทานยาต่อเนื่องเป็นเวลานานเชื่อว่า โจทก์ยังคงมีความวิตกกังวลสูง ฟุ้งซ่าน คิดในเรื่องไม่สมเหตุสมผล สภาพภายในจิตใจของโจทก์ยังคงทุกข์ทรมานอย่างมากจนไม่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง เจตนาที่แสดงออกมาจึงวิปริต เมื่อโจทก์ไม่มีความสามารถที่จะดูแลตนเองหรือผลประโยชน์ของตนเองได้ในความเป็นจริง ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางจิตใจ โจทก์จึงเป็นบุคคลวิกลจริตแล้ว ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 (4) นั้น บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 30 จะบอกล้างนิติกรรมเสียได้ในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว
โจทก์มีอาการดีขึ้นและสติสัมปชัญญะเหมือนเช่นคนปกติจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิมอันเป็นเวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2561 ต่อมาประมาณต้นปี 2562 โจทก์โทรศัพท์ทวงถามให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาททั้งสามแปลงคืนให้แก่โจทก์ ถือเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ถึงช่วงเวลาดังกล่าวไม่เกินกำหนดเวลาหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมโดยชอบย่อมมีผลทำให้นิติกรรมที่โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่จำเลยโดยเสน่หาตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
โจทก์มีอาการดีขึ้นและสติสัมปชัญญะเหมือนเช่นคนปกติจนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดังเดิมอันเป็นเวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2561 ต่อมาประมาณต้นปี 2562 โจทก์โทรศัพท์ทวงถามให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาททั้งสามแปลงคืนให้แก่โจทก์ ถือเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมนั้นแล้ว ซึ่งเมื่อนับแต่เวลาที่โจทก์อาจให้สัตยาบันได้ถึงช่วงเวลาดังกล่าวไม่เกินกำหนดเวลาหนึ่งปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 181 เมื่อโจทก์บอกล้างโมฆียกรรมโดยชอบย่อมมีผลทำให้นิติกรรมที่โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทแก่จำเลยโดยเสน่หาตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 910/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพนันออนไลน์: การลงโทษฐานกรรมเดียว และการพิจารณารอการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า วันเกิดเหตุจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนผู้อื่นให้เข้าเล่นการพนันบาการา สล๊อทแมชีน สลากกินรวบ และทายผลฟุตบอลออนไลน์ บนเว็บไซต์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์และเฟซบุ๊ก พนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาตรวมกันมาในข้อเดียวกัน ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฎชัดเจนว่าจำเลยทั้งสิบหกร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้เล่นการพนันแต่ละประเภทแยกต่างหากออกจากกันเป็นแต่ละกรรมต่างกัน ทั้งคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ไม่ได้อ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาด้วย แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสิบหกฐานร่วมกันประกาศโฆษณาหรือชักชวนให้ผู้อื่นเข้าเล่นการพนันหลายประเภทตามที่กล่าวในฟ้องเป็นความผิดกรรมเดียวกัน และต้องถือตามคำฟ้องของโจทก์ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสิบหกมีเจตนาเดียวจึงเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตขายทรัพย์สินของผู้เยาว์เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและการลงทุนในอนาคต
ผู้ร้องขอขายที่ดินซึ่งผู้ร้องถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับผู้เยาว์ เพื่อการศึกษาแก่ผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตร ผู้ร้องในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมมาร้องขออนุญาตทำนิติกรรมขายที่ดินต่อศาลตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ก็เพื่อให้ศาลกำกับดูแลให้เหมาะสมเป็นประโยชน์ต่อผู้เยาว์หรือก่อความเสียหายแก่ผู้เยาว์น้อยที่สุด เมื่อได้ความว่าการขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งอนาคตของผู้เยาว์และได้รับราคาที่สูงกว่าราคาประเมิน จึงเป็นเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะอนุญาตให้มีการขายได้โดยเร็วเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ ที่ศาลชั้นต้นอ้างว่าการทำนิติกรรมขายไม่ได้รับความยินยอมจาก จ. มารดาผู้เยาว์ เป็นการวินิจฉัยขัดกับข้อเท็จจริงเนื่องจากที่ จ. ไม่ได้ดูแลผู้เยาว์และไม่อาจติดต่อได้ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษอ้างว่า ไม่มีเรื่องเร่งด่วนหรือเหตุฉุกเฉิน ก็ไม่ได้อยู่ในบริบทที่มาตรา 1574 กำหนดไว้ ส่วนที่อ้างว่ารอให้ผู้เยาว์ทั้งสองเจริญวัยจนบรรลุนิติภาวะตัดสินใจเอง ก็เป็นข้อวินิจฉัยที่ขัดต่อเจตนารมณ์ที่มาตรา 1574 ให้ศาลกำกับดูแลการทำนิติกรรม ไม่ใช่ปล่อยให้ช่วงเวลาที่ยังเป็นผู้เยาว์เสียไปโดยเปล่าประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทดแทนทางแพ่งจากการเปิดใช้ทางจำเป็นบนที่ดิน และการพิสูจน์กรรมสิทธิ์หลังการเวนคืน
การเรียกร้องค่าทดแทนเป็นสิทธิของเจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่เพื่อชดเชยความเสียหายอันที่เกิดแต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสี่ โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกค่าทดแทนการใช้ที่ดินจากจำเลยเป็นคดีต่างหากได้ หากศาลในคดีก่อนวินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยได้สิทธิทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสาม โดยโจทก์ทั้งสามไม่จำต้องฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนมาในคำให้การ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามทางนำสืบของคู่ความว่า มีการบังคับคดีเปิดทางจำเป็นตามคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2555 โจทก์ทั้งสามจึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนการใช้ทางจำเป็นบนที่ดินของโจทก์ทั้งสามนับตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2555 อายุความสิทธิเรียกร้องค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เมื่อ ป.พ.พ. หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะในเรื่องอายุความใช้ค่าทดแทนในการเปิดทางจำเป็นไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลานับแต่วันที่มีการเปิดใช้ทางจำเป็นจนถึงวันที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าทดแทนในคดีนี้เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกค่าทดแทนของโจทก์ทั้งสามจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 234/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีทำร้ายร่างกายและกระทำชำเราเด็ก ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ลงโทษทุกกรรม
เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันและทางนำสืบของโจทก์ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำชำเราผู้ตายในคราวเดียวกันกับที่จำเลยทำร้ายผู้ตาย โดยพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมหลังจากที่มีการตรวจพิสูจน์ศพผู้ตายแล้ว การทำร้ายทางเพศเกิดขึ้นเป็นประจำไม่ใช่คราวใดคราวหนึ่งโดยเฉพาะ ทั้งเจตนาของจำเลยที่ใช้มือตีไปที่ศีรษะและบริเวณหลังคือเจตนาทำร้ายผู้ตายที่เป็นเด็กด้วยความโมโห และเจตนากระทำความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งสามารถแยกออกจากเจตนาของจำเลยที่กระทำความผิดข้อหากระทำชำเราได้ การกระทำของจำเลยจึงเห็นได้ชัดว่า จำเลยมีเจตนาประสงค์ต่อผลในการกระทำทั้งสองข้อหาแตกต่างกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินกองทุนหมู่บ้านฯ เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ห้ามยึดบังคับคดี
จำเลยเป็นกองทุนหมู่บ้านตามมาตรา 3 ประกอบมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านต้องจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว หรือกองทุนหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ว่าด้วยการจัดตั้งและการบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำเลยมิได้เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม ป.พ.พ. จึงมิใช่นิติบุคคลเอกชน แต่เป็นนิติบุคคลมหาชนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 5 วรรคสอง (1) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการลงทุนเพื่อพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย หรือสำหรับส่งเสริมและพัฒนาไปสู่การสร้างสวัสดิภาพและสวัสดิการ หรือประโยชน์ส่วนรวมอื่นให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (2) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเร่งด่วนสำหรับประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง (3) รับฝากเงินจากสมาชิกและจัดหาทุนจากแหล่งเงินทุนอื่น เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ (4)... (5)... ทั้งการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านต้องเป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติกำหนด และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามมาตรา 29 กองทุนหมู่บ้านมีเงินและทรัพย์สินในการดำเนินการตามมาตรา 6 ได้แก่ (1) เงินที่คณะกรรมการกองทุนและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้ (2) เงินอุดหนุนจากรัฐบาล (3) เงินที่สมาชิกนำมาลงหุ้นหรือฝากไว้กับกองทุน (4) เงินหรือทรัพย์สินอื่นที่กองทุนหมู่บ้านได้รับบริจาคโดยปราศจากเงื่อนไขหรือข้อผูกพันใด ๆ (5) ดอกผล รายได้หรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนหมู่บ้าน ทั้งนี้ มาตรา 11 บัญญัติให้เป็นหน่วยงานของรัฐ และมีวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 11 วรรคสอง โดยมาตรา 12 บัญญัติให้ทุนและทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติประกอบไปด้วย (1) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา 31 ซึ่งโอนมาจากกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 มีฐานะเป็นองค์การมหาชน กองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติตามมาตรา 11 และกองทุนหมู่บ้านจำเลยที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา 5 จึงเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐประเภทหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อจัดทำภารกิจของรัฐในการสร้างศักยภาพและความเข็มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรตอบแทน โดยเงินทุนและทรัพย์สินในการดำเนินการส่วนหนึ่งเป็นเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน หรือแม้จะมีเงินบริจาคเข้ามาด้วย เงินบริจาคดังกล่าวต้องไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพัน เนื่องจากเป็นการบริจาคเพื่อมาช่วยเหลือการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ หรือแม้จะมีทรัพย์สินในส่วนที่เป็นรายได้ เช่นดอกผลหรือประโยชน์อย่างอื่น แต่เมื่อตัวกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ทรัพย์สินที่เป็นรายได้ของกองทุนย่อมเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน การที่มาตรา 14 บัญญัติว่า กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ก็เพียงเพื่อไม่ให้ต้องนำรายได้ส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อความคล่องตัวทางการเงิน อันเป็นการยกเว้นหลักทั่วไปตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 ดังนั้น เงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดสรรให้จำเลยเพื่อเป็นเงินอุดหนุน จึงเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ไม่อาจยึดหรืออายัดได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 301 (5) ส่วนเงินฝากในบัญชีเลขที่ 05067074XXXX เป็นเงินที่สมาชิกของจำเลยนำมาลงหุ้นและฝากเพื่อการออมตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนและองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน อันเป็นการจัดทำบริการสาธารณะของรัฐ โดยจำเลยมิได้มีเจตนารมณ์ในการรับฝากเงินเพื่อหากำไรในทางธุรกิจหรือพาณิชยกรรม เงินจำนวนดังกล่าวที่ฝากไว้กับผู้คัดค้านในบัญชีของจำเลย จึงเป็นเงินของสมาชิก มิใช่เงินของจำเลยที่จะยึดหรืออายัดเพื่อบังคับคดีชำระหนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 303 และมาตรา 316
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนในเครือข่ายยาเสพติด ผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และการพิจารณาเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนชนิดเม็ด 1,164 เม็ด และชนิดเกล็ดสีขาว 14 ถุง รวมทั้งสองชนิดคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 6,277.21 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ประกอบกับพฤติกรรมที่จำเลยอยู่ในเครือข่ายยาเสพติด ทำหน้าที่รับเมทแอมเฟตามีนจำนวนมากถึงครั้งละหลายแสนเม็ดและชนิดเกล็ดสีขาวครั้งละหลายกิโลกรัมมาเก็บรักษาไว้หลายครั้งแล้ว ทั้งยังเป็นผู้ทำหน้าที่จัดการจำหน่ายส่งให้แก่ผู้ค้ารายย่อยในเครือข่ายยาเสพติดในพื้นที่อำเภอพุนพินและพื้นที่ใกล้เคียง พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของประชาชนทั่วไปตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 145 วรรคสาม (2) จำเลยนำเจ้าพนักงานตำรวจตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางจำนวนหนึ่งที่ท่าทรายซึ่งเป็นลานที่มีกองทราย มีโรงซ่อมรถ มีที่พักอยู่ห้องเดียว ซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจทราบอยู่แล้วว่าจำเลยมีที่พักอยู่ที่ท่าทรายดังกล่าว และนำตรวจยึดเมทแอมเฟตามีนของกลางอีกจำนวนหนึ่งที่ห้องแถวซึ่งทราบภายหลังว่าตรงกับที่อยู่ตามทะเบียนราษฎร์ของจำเลย และจำเลยให้การในชั้นสอบสวนระบุที่อยู่ดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลย จึงอยู่ในวิสัยที่เจ้าพนักงานตำรวจจะสามารถตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลางได้เอง ไม่อาจถือว่าจำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 เมื่อพิเคราะห์ถึงความร้ายแรงของการกระทำความผิด ฐานะทางเศรษฐกิจของจำเลยและพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้ว กรณียังไม่มีเหตุอันสมควรเป็นการเฉพาะราย อันศาลจะลงโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม ป.ยาเสพติด มาตรา 152 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4366/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำเลยต้องปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคารก่อนเริ่มก่อสร้าง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กหลังพิพาท โดยจำเลยเป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แล้ว ฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่จำเลยจะแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 39 ทวิ อันเป็นทางเลือกให้ไม่ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่นั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์และจำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา
การก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 หรือ มาตรา 39 ทวิ ทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบรับแจ้งให้ก่อน จำเลยจึงจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างอาคารไปโดยไม่ได้ใบรับอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การก่อสร้างของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
จำเลยไม่อาจแก้ตัวว่า จำเลยเป็นชาวเขาเผ่าม้ง ไม่รู้ว่า พ.ร.ฎ.ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังบาล อันเป็นการแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้ตาม ป.อ. มาตรา 64
การก่อสร้างอาคารต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตจากทางราชการหรือดำเนินการตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 21 หรือ มาตรา 39 ทวิ ทั้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องออกใบรับแจ้งให้ก่อน จำเลยจึงจะสามารถเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ แต่จำเลยกลับทำการก่อสร้างอาคารไปโดยไม่ได้ใบรับอนุญาตหรือใบรับแจ้งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การก่อสร้างของจำเลยจึงเป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายแล้ว แม้ต่อมาจำเลยจะยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างก็ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยก่อนหน้านั้นไม่เป็นความผิด
จำเลยไม่อาจแก้ตัวว่า จำเลยเป็นชาวเขาเผ่าม้ง ไม่รู้ว่า พ.ร.ฎ.ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังบาล อันเป็นการแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้ตาม ป.อ. มาตรา 64
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4050/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและผลของการฟ้องล้มละลาย: การสะดุดหยุดอายุความ
แม้ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่าเจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องลูกหนี้ทั้งสามให้ล้มละลาย แต่หากศาลล้มละลายกลางพิจารณาสำนวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกอบสำนวนของศาลล้มละลายกลางตามกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ก็จะทราบว่าเจ้าหนี้ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้ทั้งสามต่อศาลล้มละลายกลาง มูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวมีอายุความ 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เมื่อมูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีถึงที่สุดวันที่ 22 พฤษภาคม 2541 เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้องเป็นคดีต่อศาลล้มละลายกลางวันที่ 18 เมษายน 2551 ภายในกำหนดอายุความ 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุด ย่อมมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) มูลหนี้ตามคำพิพากษาจึงยังไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ตามมูลหนี้คำพิพากษาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้แทนลูกหนี้ไม่ถือเป็นการรวบรวมทรัพย์สิน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 (4) บัญญัติให้คิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินในอัตราร้อยละสามของเงินสุทธิที่รวบรวมได้ สำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้คิดในอัตราร้อยละสองของราคาทรัพย์สินนั้น แต่ถ้ามีการประนอมหนี้ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ ทั้งนี้แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ซึ่งการคิดค่าธรรมเนียมตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องคิดจากการที่ผู้คัดค้านที่ 1 รวบรวมทรัพย์สินและสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 มาตรา 109 มาตรา 117 ถึงมาตรา 123 เพื่อนำมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลาย คดีนี้ ก่อนผู้ร้องเสนอเข้าชำระหนี้แทนจำเลยที่ 2 ผู้คัดค้านที่ 1 ได้รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้โดยยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 2214 และ 3656 รวม 2 แปลง ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ไว้เท่านั้น จำเลยที่ 2 มิได้มีสิทธิเรียกร้องเอาแก่ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องเข้าชำระหนี้แทนจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์และผู้คัดค้านที่ 2 จำนวน 138,614,320.12 บาท จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 ได้รวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อนำมาแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลายตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ผู้คัดค้านที่ 1 เรียกเก็บค่าธรรมเนียมร้อยละสามจากยอดหนี้จำนวน 138,614,320.12 บาท ที่ผู้ร้องเข้าชำระหนี้แทนจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์และผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว