พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7826/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี การประมาณการรายได้ และเบี้ยปรับตามมาตรา 67 ทวิ และ 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ทำให้เจ้าพนักงานของโจทก์ไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตาม ป. รัษฎากรมาตรา 71 (1) ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่ากัน นอกจากนี้เมื่อจำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม ป. รัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป. รัษฎากร มาตรา 67 ตรี
ข้อความในมาตรา 67 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร มีความหมายชัดเจนว่า บทมาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น การฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินอาจประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ หรือเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 23 แต่ประการใด เมื่อกรณีตามฟ้องมิใช่เรื่องการไม่ยื่นรายการและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจสอบ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และมาตรา 24 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่จำเลยรายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราวแล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมาเป็นคดีเดียว แม้กรณีจะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายหนหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี จำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (เต็มปี) อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ส่วนการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ป. รัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มาตรา 65 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดตามฟ้องของโจทก์จึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชี คือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจำเลยดำเนินกิจการและมีผลประกอบการแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง
ข้อความในมาตรา 67 ทวิ แห่ง ป. รัษฎากร มีความหมายชัดเจนว่า บทมาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการตามมาตรา 68 จึงให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจัดทำประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี แล้วยื่นรายการเพื่อชำระภาษีจากจำนวนกึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยให้ยื่นชำระภายในสองเดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาหกเดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว และหากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุอันสมควร ก็จะต้องรับผิดตามมาตรา 67 ตรี ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี ดังนั้น การฝ่าฝืนมาตรา 67 ทวิ ได้มีบทบัญญัติกำหนดความรับผิดไว้โดยเฉพาะแล้ว หากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นประมาณการหรือแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 เจ้าพนักงานประเมินอาจประเมินให้ชำระภาษีพร้อมเงินเพิ่มได้ทันทีเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ หรือเมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นยื่นชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบ ภ.ง.ด. 50 เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่จำต้องออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 19 และมาตรา 23 แต่ประการใด เมื่อกรณีตามฟ้องมิใช่เรื่องการไม่ยื่นรายการและมีการออกหมายเรียกไต่สวนตรวจสอบแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจสอบ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 และมาตรา 24 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 26
ตามคำฟ้องเป็นกรณีที่จำเลยรายเดียวถูกประเมินภาษีหลายคราวแล้วโจทก์รวมฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมาเป็นคดีเดียว แม้กรณีจะได้ความว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหลายหนหลายคราว แต่การประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ซึ่งมีทั้งการประเมินครึ่งปีกับเต็มปี จำนวนเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จึงมียอดเงินภาษีของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (ครึ่งปี) และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 (เต็มปี) อันเป็นจำนวนเดียวกัน จึงเป็นข้อหาเดียวเกี่ยวข้องกัน ส่วนการประเมินสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งเป็นภาษีอากรประเมิน ป. รัษฎากรว่าด้วยการเก็บภาษีจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มาตรา 65 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลว่าให้เสียเป็นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยซึ่งเป็นบริษัทจำกัดตามฟ้องของโจทก์จึงมี 2 รอบระยะเวลาบัญชี คือรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีจำเลยดำเนินกิจการและมีผลประกอบการแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีในกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีจึงมีสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับแตกต่างกัน สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกจากกันได้ การที่โจทก์รวมภาษีทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชีมาเป็นจำนวนเดียว และเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดเพียงจำนวนเดียวจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการย้ายที่ทำการ และการไม่อุทธรณ์การประเมินทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ว่า การปิดหมายเรียกไม่ชอบเพราะมิได้สอบถามคนที่อยู่ในบ้านก่อน แต่โจทก์มิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างในคำฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง ทั้งมิใช่ปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียกจึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 21, 88 ประกอบมาตรา 87 (3) แห่ง ป.รัษฎากร ที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบ มีผลเท่ากับไม่มีการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้าแม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม แต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้า ศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้า
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์ จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง ป.รัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียกจึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 21, 88 ประกอบมาตรา 87 (3) แห่ง ป.รัษฎากร ที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบ มีผลเท่ากับไม่มีการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้าแม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม แต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้า ศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้า
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงานประเมินชอบธรรม แม้มีการย้ายที่ทำการและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาโดยมิชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ว่า การปิดหมายเรียกไม่ชอบเพราะมิได้สอบถามคนที่อยู่ในบ้านก่อน แต่โจทก์มิได้ยกประเด็นนี้ขึ้นเป็นข้ออ้างในคำฟ้องจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลภาษีอากร ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียก จึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียกเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าตามมาตรา 21,88 ประกอบมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบมีผลเท่ากับไม่มีการ พิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้า แม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้าได้
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
เจ้าพนักงานของจำเลยปิดหมายเรียก ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ตามที่จดทะเบียนไว้ต่อกระทรวงพาณิชย์จึงเป็นการปิดหมายโดยชอบตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร การที่โจทก์ย้ายที่ทำการไปแล้วเป็นเพียงข้อที่โจทก์อาจยกขึ้นอ้างว่าไม่จงใจไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกได้เท่านั้น แต่ปรากฏว่านอกจากเจ้าพนักงานของจำเลยจะปิดหมายเรียกดังกล่าวแล้วยังส่งสำเนาหมายเรียกให้แก่ ส. กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์โดย ย. รับไว้แทน เมื่อโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก เจ้าพนักงานประเมินได้ส่งหนังสือเตือนให้ ปฏิบัติตามหมายเรียกซึ่งได้ส่งสำเนาหนังสือเตือนให้ ส. ด้วย โดย บ. รับไว้แทน เมื่อ ส. ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน โจทก์ทราบข้อความตามหมายเรียก จึงถือว่าโจทก์ทราบเช่นกัน เมื่อโจทก์ ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก จึงเป็นการจงใจขัดขืนหมายเรียกเจ้าพนักงานประเมิน ย่อมมีอำนาจประเมินภาษีตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร
โจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินจึงต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์การประเมินภาษีการค้าตามมาตรา 21,88 ประกอบมาตรา 87(3) แห่งประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับระหว่างปี 2530 ถึง 2532 แม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์รับพิจารณาอุทธรณ์ให้ก็เป็นการไม่ชอบมีผลเท่ากับไม่มีการ พิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
สำหรับภาษีการค้า แม้เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับภาษีการค้าศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนเกี่ยวกับภาษีการค้าได้
ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมิได้เรียกให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับ คงเรียกให้ชำระเฉพาะเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งกำหนดอัตราไว้แน่นอนแล้ว ศาลไม่อาจงดหรือลดเงินเพิ่มได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7939/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยเจ้าพนักงาน และอำนาจของศาลในการปรับปรุงยอดรายรับเมื่อโจทก์พิสูจน์ไม่ได้
คดีนี้เจ้าพนักงานได้ทำการประเมินว่าในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 จำเลยมียอดรายรับจากมูลค่าสินค้าส่งออกกับเงินชดเชยในรูปบัตรภาษีและมูลค่าการส่งออกรวมเป็นรายรับทั้งสิ้น 234,333,578 บาท แต่จำเลยไม่นำบัญชีและเอกสารไปให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบไต่สวน เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อำนาจตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 71(1) ประเมินให้จำเลยเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5ของยอดรายรับดังกล่าว พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ตามมาตรา 27จำเลยไม่ได้โต้แย้งการประเมินและไม่ได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตามมาตรา 30 ซึ่งมีผลทำให้จำเลยไม่อาจนำคดีมาฟ้องศาลเพื่อโต้แย้งการประเมินของเจ้าพนักงานของโจทก์และทำให้หนี้ภาษีอากรที่ถูกประเมินดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้างอันจะถูกโจทก์บังคับชำระได้ตามมาตรา 12 เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อบังคับจำเลยให้ชำระหนี้ดังกล่าวโจทก์จึงมีภาระพิสูจน์ด้วยการนำพยานหลักฐานเข้าสืบ เพื่อให้รับฟังตามที่โจทก์กล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์รับฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีรายรับเป็นเงินจำนวน 234,333,578 บาทตามการประเมิน แต่รับฟังได้เพียงว่าจำเลยมีรายรับเพียง 222,404,146.96 บาทศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจปรับปรุงยอดรายรับและแก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยอาศัยรายรับก่อนหักรายจ่าย และการคำนวณเงินเพิ่มจากประมาณการกำไรสุทธิที่ขาดไป
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบของกรมสรรพากรโจทก์ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71 (1) แห่งป.รัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท เมื่อนำภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาทมาคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว จำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาทเมื่อคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาทถือได้ว่าเป็นการคำนวณภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้ว และเมื่อปรากฏว่าจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด. 51) ระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระจึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควรจำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี คิดเป็นเงินเพิ่ม999,733.81 บาท ส่วนเบี้ยปรับตามที่เจ้าพนักงานประเมินเนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบระยะเวลาหกเดือนตาม มาตรา 22 จำนวน4,998,669.05 บาท นั้น ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อนประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็นกรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 แห่ง ป.รัษฎากร อีก
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้
การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ในป.วิ.พ.มาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยมิชอบ และการคำนวณภาษีจากรายรับเมื่อไม่ส่งเอกสาร ทำให้การประเมินเบี้ยปรับเป็นไปโดยมิชอบ
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบของกรมสรรพากรโจทก์ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจาก ยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท เมื่อนำภาษีจำนวน9,997,338.10 บาท มา คำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี ดังกล่าว จำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาทเมื่อคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่ จำเลยต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาท ถือได้ว่าเป็นการคำนวณภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้วและเมื่อปรากฏว่าจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด. 51) ระบุว่าไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระจึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดง ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำใน รอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยจึงต้อง เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษี ที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี คิดเป็นเงินเพิ่ม 999,733.81 บาทส่วนเบี้ยปรับตามที่เจ้าพนักงานประเมินเนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบระยะเวลาหกเดือนตาม มาตรา 22 จำนวน 4,998,669.05 บาท นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรีได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อนประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็นกรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้ว จึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22แห่งประมวลรัษฎากร อีก การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้านยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ แม้คดีนี้ จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่ศาลจะ วินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มี อำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษา เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การคำนวณกำไรสุทธิ และการเรียกเก็บเบี้ยปรับซ้ำซ้อน
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลา บัญชีปี 2538 ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบ ของกรมสรรพากรโจทก์ ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถ คำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล ของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5 ในรอบระยะเวลาบัญชี ปีพิพาท จำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล ของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด.51) ระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานได้ประเมิน ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าว ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตาม มาตรา 71 แห่งประมวลรัษฎากร คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท ดังนั้น เมื่อนำภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท มาคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่ง ของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาท เมื่อคูณด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระ สำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการคำนวณ ภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้ว จึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกิน ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควรจำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวน เงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ส่วนเบี้ยปรับที่เจ้าพนักงานประเมิน เนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบระยะเวลาหกเดือนตาม มาตรา 22 นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรีได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มใน อัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมิน ได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน ประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็น กรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22แห่งประมวลรัษฎากรอีก การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน เกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการ ประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับ แก่โจทก์ แม้คดีนี้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแต่ศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายโดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5551/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักหนี้ภาษีอากรค้างชำระจากทรัพย์สินลูกหนี้ และการใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินเพิ่ม และเงินเพิ่มใหม่ที่ลูกหนี้ค้างชำระนั้น ต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของ ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรกและการที่เจ้าหนี้นำเงินฝากในธนาคารเจ้าหนี้อันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ ไปหักออกจากหนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็เป็นการกระทำเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระภาษีอากรค้างตามมาตรา 12 วรรคสอง นั่นเอง หาใช่เป็นการขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร
การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่องการชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1 (3) นั้น คำสั่งดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป เป็นเพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินการตาม
การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษีและเงินเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.65/2539 เรื่องการชำระภาษี เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับบางส่วน ข้อ 1 (3) นั้น คำสั่งดังกล่าวมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป เป็นเพียงคำสั่งภายในของกรมสรรพากรเจ้าหนี้แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระหนี้ เงินเพิ่มและหรือเบี้ยปรับตาม ป.รัษฎากรบางส่วนมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้ต้องดำเนินการตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3411/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีไม่ยื่นแบบและไม่ให้ไต่สวน: ใช้อัตรา 5% ของรายรับก่อนหักรายจ่ายได้
จำเลยไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลและจำเลยได้รับหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามกฎหมาย แล้ว แต่จำเลยมิได้มาให้ไต่สวนและไม่นำบัญชี เอกสารหรือ พยานหลักฐานอื่นมาแสดงเพื่อตรวจสอบดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 23 จึงต้องตามบทบัญญัติมาตรา 71(1) เจ้าพนักงาน ประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับ ก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบ ระยะเวลาบัญชี แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และกรณีเช่นนี้ ไม่อาจนำพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ซึ่งใช้บังคับสำหรับการคำนวณภาษี เงินได้บุคคลธรรมดามาใช้บังคับโดยอนุโลมเพราะกฎหมายได้ บัญญัติไว้แจ้งชัดโดยเฉพาะแล้ว แม้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 วรรคสอง เจ้าพนักงาน ประเมินจะมีอำนาจเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐานกำไร สุทธิแทนฐานรายรับก่อนหักรายจ่ายตามมาตรา 71(1) ก็ตาม แต่ เมื่อการคำนวณภาษีจากฐานกำไรสุทธิไม่อาจหักรายจ่ายเป็นการ เหมาตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน(ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2502 ได้ การที่เจ้าพนักงานประเมินหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาในการคำนวณกำไรสุทธิให้จำเลย จึงไม่ชอบ และมีผลทำให้กำไรสุทธิและภาษีที่คำนวณได้ไม่ชอบ ไปด้วย ดังนั้น การเลือกประเมินภาษีตามมาตรา 24 จากฐาน กำไรสุทธิจึงไม่ชอบ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเก็บจากกำไรสุทธิ ซึ่งคำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีหักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร จึงเห็นได้ว่าหากสามารถพิสูจน์แสดงรายจ่ายตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้มากเท่าใด แล้วนำไปหักออกจากรายได้มากเพียงใด ก็จะเสียภาษีน้อยลง เท่านั้น หรือถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายถือว่าขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นกรณีภาษีเงินได้นิติบุคคลจึง อยู่ที่การพิสูจน์รายจ่ายตามกฎหมาย หาใช่การไม่ปฏิบัติตาม หมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินทำให้เสียภาษีน้อยกว่าผู้ที่ ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1038/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต้องแยกจากกัน คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่อาจพิจารณาประเด็นนอกเหนือจากที่อุทธรณ์
ป.รัษฎากรได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานประเมินกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้ต่างหากจากกัน โดยเริ่มแรกหากเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ใดแสดงรายการตามแบบที่ยื่นไว้ไม่ถูกต้องตรงความเป็นจริง หรือไม่บริบูรณ์ ก็มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการนั้นมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องมาแสดงได้ แล้วมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินหรือที่ยื่นรายการไว้เดิม โดยอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏ แล้วแจ้งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระหรือต้องชำระเพิ่มไปยังผู้ที่ ต้องเสียภาษีอากร ในกรณีนี้ผู้ต้องเสียภาษีจะอุทธรณ์การประเมินก็ได้ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 19 และ 20 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรดังกล่าวตามประเด็น ที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ และผู้ที่ต้องเสียภาษีอากรได้อุทธรณ์ จะไปพิจารณาประเด็นอื่นนอกเหนือจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินและผู้อุทธรณ์มิได้อุทธรณ์ รวมทั้งจะเปลี่ยนแปลงหรือประเมินเพิ่มเติมจากที่ประเมินไว้เดิมไม่ได้ เพราะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ใช่เจ้าพนักงานประเมินและยังเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 19 และ 20 แห่ง ป.รัษฎากรด้วย อีกทั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง ก็มิใช่บทบัญญัติให้อำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาประเด็นใดหรือทำการประเมินเองก็ได้แต่อย่างใด ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยให้ปลดภาษีโจทก์จากการประเมินตามมาตรา 71 (1) แล้วให้ประเมินภาษีของโจทก์ใหม่ตามมาตรา 65 โดยไม่ได้แจ้งให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินใหม่ จึงเป็นการพิจารณา ในประเด็นข้ออื่นที่มิได้ประเมินและอุทธรณ์ไว้ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร