คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 71 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 84 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การไม่นำเอกสารบัญชีตามหมายเรียก และผลกระทบต่อการประเมินภาษีในอัตรา 2% ของยอดขาย
หลังจากที่สมุดบัญชีและเอกสารต่าง ๆ ของโจทก์สูญหายไปแล้วโจทก์เพียงแต่แจ้งความที่สถานีตำรวจเท่านั้น หาได้แจ้งต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีให้ชอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 15 ไม่ ประกอบกับสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำส่งล้วนแต่เป็นเอกสารสำคัญที่สมควรแก่เรื่องที่เจ้าพนักงานประเมินมีความจำเป็นต้องตรวจสอบเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ทั้งสิ้น โจทก์จะอ้างเอาความประมาทเลินเล่อของกรรมการผู้จัดการของโจทก์เองที่ทำให้สมุดบัญชีและเอกสารดังกล่าวสูญหายไปซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัยมาเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหาได้ไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำสมุดบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีตามหมายเรียกมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการตรวจสอบตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ปี 2518 ในอัตราร้อยละ 2 ของยอด รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าวแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่าได้ตามมาตรา 71(1) ที่ใช้บังคับในขณะนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2589/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเมื่อเอกสารทางบัญชีเสียหาย เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีตามอัตราที่กฎหมายกำหนดได้
เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ไปให้ถ้อยคำและให้นำบัญชีและเอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีมาแสดงเพื่อตรวจสอบไต่สวนตาม ป.รัษฎากร มาตรา 19 ผู้แทนโจทก์ไปให้ถ้อยคำ แต่ไม่นำบัญชีและเอกสารมาให้ตรวจสอบ อ้างว่าบัญชีและเอกสารหรือหลักฐานประกอบการลงบัญชีถูกปลวกกัดกินเสียหายหมด ดังนี้ เมื่อพยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้ดังที่กล่าวอ้างเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ตามมาตรา 71(1) ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยอาศัยมาตรา 71(1) เมื่อเอกสารไม่เพียงพอและฝ่าฝืนประกาศคณะปฏิวัติ
การที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่โกดังของบริษัทอื่นซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 นั้นเมื่อบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีดังกล่าวถูกเพลิงไหม้ โจทก์จะอ้างเอาเหตุอันเนื่องจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่ และเมื่อสำเนาเอกสารต่าง ๆ ที่โจทก์ส่งให้เจ้าพนักงานประเมินไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์เพื่อประเมินภาษีได้ เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินโดยอาศัย ป.รัษฎากร มาตรา 71(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีเอกสารทางบัญชีสูญหายจากการเก็บรักษาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าที่จะต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้น ถ้าจะเก็บรักษา ณ สถานที่อื่น ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี มิฉะนั้นมีความผิดต้องรับโทษการที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่โกดังของบริษัทอื่นซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่นำไปเก็บไว้ถูกเพลิงไหม้ โจทก์จะอ้างเอาเหตุอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกไม่ได้ แม้โจทก์จะจัดส่งเอกสารบางส่วนให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียก แต่เมื่อเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นไม่เพียงพอที่จะคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71(1)แห่งประมวลรัษฎากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเก็บรักษาบัญชีและเอกสารทางภาษี การประเมินภาษีเมื่อเอกสารสูญหาย
โจทก์ประกอบธุรกิจขายสินค้าที่จะต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 285 ในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้น ถ้าจะเก็บรักษา ณสถานที่อื่น ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี มิฉะนั้นมีความผิดต้องรับโทษ การที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บไว้ที่โกดังของบริษัทอื่นซึ่งมิใช่สถานที่ประกอบธุรกิจของโจทก์ ฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่นำไปเก็บไว้ถูกเพลิงไหม้ โจทก์จะอ้างเอาเหตุอันเนื่องมาจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกไม่ได้
แม้โจทก์จะจัดส่งเอกสารบางส่วนให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียก แต่เมื่อเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นไม่เพียงพอที่จะคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 71 (1)แห่งประมวลรัษฎากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการตรวจสอบและประเมินภาษีซ้ำภายใน 5 ปี และการประเมินภาษีจากหลักฐานที่ไม่สมบูรณ์
เจ้าพนักงานประเมินท้องที่จังหวัดขอนแก่นเคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มมาแล้ว ต่อมาภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขต ครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่นตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ชอบที่จะแจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19, 20 ข้อความตามมาตรา 19 ตอนต้นที่ว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้" นั้นหาได้เป็นบทห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินผู้มีอำนาจทำการเรียกตรวจสอบซ้ำอีก ดังที่โจทก์ฎีกาไม่
ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้
โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีซ้ำภายใน 5 ปี และการประเมินภาษีเมื่อไม่นำเอกสารหลักฐานมาให้ตรวจสอบ
เจ้าพนักงานประเมินท้องที่จังหวัดขอนแก่นเคยตรวจสอบบัญชีและประเมินให้โจทก์เสียภาษีอากรเพิ่มมาแล้ว ต่อมาภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4ซึ่งมีอำนาจจัดเก็บภาษีอากรในระดับเขต ครอบคลุมอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินจังหวัดขอนแก่นตรวจพบว่าโจทก์เสียภาษีไม่ครบถ้วน ดังนี้ เจ้าพนักงานประเมินท้องที่สรรพากรเขต 4 ชอบที่จะแจ้งประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเพิ่มขึ้นได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 19,20 ข้อความตามมาตรา 19 ตอนต้นที่ว่า "เว้นแต่จะมีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในลักษณะนี้" นั้นหาได้เป็นบทห้ามมิให้เจ้าพนักงานประเมินผู้มีอำนาจทำการเรียกตรวจสอบซ้ำอีก ดังที่โจทก์ฎีกาไม่ ในชั้นไต่สวนภาษีอากรโจทก์ไม่มีหลักฐานประกอบการคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายมาให้ตรวจ แต่โจทก์ยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินคิดคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นการเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 3 ของเงินได้ของลูกจ้างโจทก์ (ตามมติของคณะกรรมการพิจารณาภาษีอากร (กพอ.) ครั้งที่ 1/2518) เช่นนี้ โจทก์จะมาอ้างภายหลังว่า การคำนวณภาษีด้วยวิธีนี้ไม่ถูกต้องไม่ได้ โจทก์อ้างว่าไม่อาจนำสมุดบัญชีและเอกสารการลงบัญชีของตนไปแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินได้เพราะถูกน้ำพัดเสียหายไปแล้วเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ตามข้ออ้างของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน เจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจที่จะประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 2 สำหรับรอบระยะบัญชีปีพ.ศ. 2517-2519 และร้อยละ 5 สำหรับรอบระยะบัญชีปี พ.ศ. 2520ได้ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ, และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยยกขึ้นฎีกาโดยมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี แต่ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ชำระบัญชีและมีอำนาจแก้ต่างว่าต่างในนามของห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการให้จำเลยรับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1068,1050 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดเจ้าหน้าที่ของโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1ให้มาพบกับมีหมายเรียกให้มาไต่สวนให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนทั้งไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาลประเมินภาษีแล้วให้จำเลยที่ 1ทราบ จำเลยที่ 1 ทราบแล้วมิได้อุทธรณ์แต่อย่างใด ฉะนั้นภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นภาษีเด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 87 ทวิ,88,21 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในจำนวนเงินภาษีที่เจ้าพนักงานประเมิน ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคลจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ เจ้าหน้าที่ของโจทก์หมายเรียกมาสอบถามและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบแต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปไต่สวนและไม่ส่งเอกสาร เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ประเมินและแจ้งผลการประเมินไปยังจำเลยที่ 1 ทราบแล้วจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ หนี้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตามนัย ป.รัษฎากร มาตรา 71(1),21 จำเลยเป็นหนี้ค่าภาษีพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มรวมเป็นเงิน8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า500,000 บาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-เลิกห้าง-อำนาจฟ้อง-ภาษีเด็ดขาด-หนี้ภาษี
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้ เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่ง เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้อง เลิกกันและต้อง มีการชำระบัญชี ซึ่ง ห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดย จำเลยที่ 2ในฐานะ หุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 12491251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1โดย จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้ จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้อง รับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตาม นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำ กว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนิน กิจการมาให้ตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522,2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่ จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตาม นัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1)21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาทจำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้ .

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-การเลิกห้าง-ภาษีค้างชำระ: ศาลยืนฟ้องล้มละลายได้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี ซึ่งห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 1251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้
จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522, 2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) 21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้
of 9