คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 96 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย: กรณีความผิดซึ่งหน้า, การใช้อำนาจเกินสมควร และการป้องกันตน
คืนเกิดเหตุมีการลักลอบเล่นการพนันกันบนบ้านผู้มีชื่ออันเป็นที่รโหฐาน ผู้เสียหายกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแต่ไม่ใช่ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ได้รับคำสั่งให้ไปจับกุม จึงพากันไปยังบ้านที่เกิดเหตุ แต่ไม่มีหมายจับหรือหมายค้นไปด้วยไปถึงได้แอบดูเห็นคนหลายคนกำลังเล่นการพนันกันอยู่กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำลง อันเป็นความผิดซึ่งหน้าตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80
ขณะเกิดเหตุนั้นมีคนบนเรือนประมาณ 50 คน ทั้งที่กำลังเล่นและมิได้เล่นการพนัน ถ้าปล่อยให้เนิ่นช้าไปโดยไม่จับทันทีก็อาจจับผู้กระทำความผิดไม่ได้เลย เพราะปนเปกันอยู่มากทั้งบรรดาพยานหลักฐานต่างๆ ก็อาจสูญหายหรือถูกทำลายไปหมดจึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ผู้เสียหายกับพวกจึงมีอำนาจเข้าไป (ค้น)ในบ้านที่เกิดเหตุอันเป็นที่รโหฐานในเวลากลางคืนโดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 (2) ประกอบด้วยมาตรา 92 (2) และมีอำนาจจับผู้กระทำความผิด โดยไม่ต้องมีหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 80และมาตรา 81 (1)
ขณะที่ผู้เสียหายกับพวกเข้าทำการจับกุมนั้น พวกผู้เล่นแตกฮือกันรีบหนีลงจากเรือนผู้เสียหายวิ่งเข้าจับข้อมือจำเลย จำเลยสะบัดหลุดผู้เสียหายใช้ปืนตีศีรษะจำเลยจนจำเลยล้มลงไป ขณะเดียวกันมีตำรวจอื่นเข้ากลุ้มรุมทำร้ายจำเลยด้วย แม้ผู้เสียหายจะมีอำนาจจับแต่การใช้วิธีการจับดังกล่าวนี้รุนแรงเกินความเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่อง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 83 วรรคสอง การจับของผู้เสียหายดังนี้จึงเป็นการใช้วิธีจับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย. จำเลยจึงชอบที่จะป้องกันสิทธิของจำเลยให้พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการจับโดยใช้วิธีการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายนี้ได้ ไม่เป็นความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน
จำเลยได้ใช้มีดแทงผู้เสียหายในขณะที่ผู้เสียหายทำร้ายจำเลยและมีตำรวจอื่นอีกหลายคนกลุ้มรุมเข้ามาทำร้ายจำเลยด้วยผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บที่ท้อง 1 แห่ง และที่ไหล่ขวาอีก 1 แห่งรักษาประมาณ 21 วันหาย และมีดที่จำเลยใช้แทงก็เป็นมีดขนาดเล็กประกอบกับแทงในขณะที่เหตุการณ์กำลังชุลมุนสับสน อันอาจทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าจำเลยจะถูกผู้เสียหายและตำรวจอื่นทำร้ายเอาอีกการกระทำของจำเลยดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อป้องกันตนพอสมควรแก่เหตุ
(วรรค 1 - 2 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2516)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: อำนาจการจับกุมและการป้องกันตัวตามกฎหมาย
ในคดีที่ข้อเท็จจริงมีเพียงว่า มีผู้แจ้งความ (ในข้อหาชิงทรัพย์)เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 14 สิงหาคม 2508 สายลับแจ้งว่าจำเลยกลับมานอนบ้านเจ้าพนักงานจึงไปจับจำเลยเข้าจับเวลา 5.40 นาฬิกา ไม่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตพิเศษจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่อาจขอได้ทันเพราะเหตุใด เช่นนี้คดีไม่พอจะฟังว่าเป็นการฉุกเฉินอย่างยิ่งฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานจับจำเลยในที่รโหฐานในเวลากลางคืนจึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้หากจำเลยต่อสู้จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96(2))
จำเลยให้การว่า ได้ทำร้ายเจ้าพนักงานจริง แต่ต่อสู้ว่า สำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายและได้ต่อสู้เช่นนี้มาตั้งแต่ชั้นสอบสวนเมื่อพิเคราะห์การกระทำของเจ้าพนักงานที่ขึ้นไปจับจำเลยบนเรือนในเวลากลางคืนขณะจำเลยยังนอนอยู่และทันทีที่รู้ตัวจำเลยก็ลุกขึ้นสู้เช่นนี้ น่าเชื่อว่าจำเลยไม่ทันเข้าใจว่าเป็นเจ้าพนักงาน และการกระทำของจำเลยเท่าที่ได้กระทำไปนั้น (มีดฟัน 1 ที) ก็พอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิด (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 162/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการต่อสู้: อำนาจจับกุมนอกเวลากลางวัน, ความสำคัญผิด, การใช้กำลังสมควรแก่เหตุ
ในคดีที่ข้อเท็จจริงมีเพียงว่า มีผู้แจ้งความ (ในข้อหาชิงทรัพย์) เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2508 ต่อมาวันที่ 14 สิงหาคม 2508 สายลับแจ้งว่าจำเลยกลับมานอนบ้านเจ้าพนักงานจึงไปจับจำเลย เข้าจับเวลา 5.40 นาฬิกา ไม่ปรากฏว่ามีการขออนุญาตพิเศษจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือไม่อาจขอได้ทันเพราะเหตุใด เช่นนี้ คดีไม่พอจะฟังว่าเป็นการฉุกเฉินอย่างยิ่ง ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานจับจำเลยในที่รโหฐานในเวลากลางคืนจึงไม่มีอำนาจที่จะทำได้ หากจำเลยต่อสู้ จำเลยก็ไม่มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน (ป.วิ.อ.มาตรา 96(2))
จำเลยให้การว่า ได้ทำร้ายเจ้าพนักงานจริง แต่ต่อสู้ว่า สำคัญผิดว่าเป็นคนร้ายและได้ต่อสู้เช่นนี้มาตั้งแต่ชั้นสอบสวน เมื่อพิเคราะห์การกระทำของเจ้าพนักงานที่ขึ้นไปจับจำเลยบนเรือนในเวลากลางคืนขณะจำเลยยังนอนอยู่และทันทีที่รู้ตัวจำเลยก็ลุกขึ้นสู้เช่นนี้ น่าเชื่อว่าจำเลยไม่ทันเข้าใจว่าเป็นเจ้าพนักงาน และการกระทำของจำเลยเท่าที่ได้กระทำไปนั้น (มีดฟัน 1 ที) ก็พอสมควรแก่เหตุ จำเลยจึงไม่มีความผิด (ป.อาญา มาตรา 68)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมในที่รโหฐาน: กรณีความผิดลหุโทษและเหตุฉุกเฉินที่ไม่เพียงพอ
การจับในที่รโหฐาน ในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายจับนั้น เมื่อพฤติการณ์ปรากฎว่าความผิดซึ่งหน้าซึ่งจำเลยผู้ถูกจับได้กระทำแล้วหลบหนีเข้าไปเป็นเพียงความผิดฐานลหุโทษ ตำรวจผู้จับรู้จักจำเลยและหลักแหล่งของจำเลยมาก่อน ทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยจะหลบหนีต่อไป เช่นนี้ ก็ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46(2) จ่าสิบตำรวจ สิบตำรวจโท และพลตำรวจ จึงไม่มีอำนาจเข้าไปจับ การเข้าไปจับโดยไม่มีอำนาจเช่นนี้ จำเลยย่อมกระทำการป้องกันได้ และเมื่อไม่เกินสมควรแก่เหตุ จำเลยก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 187/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจับกุมในที่รโหฐาน: กรณีฉุกเฉินและขอบเขตการป้องกันสิทธิ
การจับในที่รโหฐาน ในเวลากลางคืนโดยไม่มีหมายจับนั้นเมื่อพฤติการณ์ปรากฏว่าความผิดซึ่งหน้าซึ่งจำเลยผู้ถูกจับได้กระทำแล้วหลบหนีเข้าไปเป็นเพียงความผิดฐานลหุโทษตำรวจผู้จับรู้จักจำเลยและหลักแหล่งของจำเลยมาก่อนทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยจะหลบหนีต่อไปเช่นนี้ ก็ไม่เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 96(2) จ่าสิบตำรวจ สิบตำรวจโท และพลตำรวจจึงไม่มีอำนาจเข้าไปจับ การเข้าไปจับโดยไม่มีอำนาจเช่นนี้จำเลยย่อมกระทำการป้องกันได้และเมื่อไม่เกินสมควรแก่เหตุ จำเลยก็ไม่มีความผิด
of 2