พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน สิทธิการรับชดเชยเมื่อเลิกจ้าง และดอกเบี้ยจากหนี้ค่าจ้าง
การที่ จ. ลงนามในสัญญาจ้างแรงงานในฐานะรองกรรมการผู้จัดการของบริษัทลูกหนี้ แม้จะไม่มีอำนาจกระทำแทนบริษัท แต่เมื่อปรากฏว่าลูกหนี้ได้ยอมรับเอาผลงานที่เจ้าหนี้ทำให้และลูกหนี้ได้จ่ายค่าจ้างนับแต่เจ้าหนี้เริ่มทำงานตลอดมาจนเลิกจ้าง เป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน โดยไม่ได้โต้แย้งถือว่าลูกหนี้ตัวการได้ให้สัตยาบันยอมรับโดยปริยายว่าเจ้าหนี้เป็นลูกจ้างของลูกหนี้แล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ลูกหนี้จะต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงาน
สัญญาจ้างไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนทั้งลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้ก่อนครบกำหนดสัญญา ซึ่งในการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ เมื่อการบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ระบุเหตุผลในการบอกเลิกการจ้าง ถือได้ว่าลูกหนี้ไม่ติดใจหยิบยกสาเหตุใด ๆ มาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้จะยกเหตุว่าเจ้าหนี้ได้ละทิ้งงานโดยไม่มีการลาเป็นลายลักษณ์อักษรและเจ้าหนี้ได้ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำการฉ้อฉลกับกระทำการโดยทุจริตอันเป็นเหตุให้ลูกหนี้เสียหาย มาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายไม่ได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1)
สัญญาจ้างไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนทั้งลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้ก่อนครบกำหนดสัญญา ซึ่งในการบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจ้างไว้ เมื่อการบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ระบุเหตุผลในการบอกเลิกการจ้าง ถือได้ว่าลูกหนี้ไม่ติดใจหยิบยกสาเหตุใด ๆ มาเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้าง เมื่อเจ้าหนี้มายื่นคำขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้จะยกเหตุว่าเจ้าหนี้ได้ละทิ้งงานโดยไม่มีการลาเป็นลายลักษณ์อักษรและเจ้าหนี้ได้ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำการฉ้อฉลกับกระทำการโดยทุจริตอันเป็นเหตุให้ลูกหนี้เสียหาย มาเป็นข้ออ้างที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายไม่ได้ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (1)