คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 241

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะตัวแทนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวการโจทก์ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นที่ยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปตาม ป.พ.พ.มาตรา241,244และ819 การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นไม่ทำให้สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตาม ป.พ.พ.เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา6และในการฟ้องให้จำเลยล้มละลายนั้นโจทก์จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยมิฉะนั้นแล้วฟ้องของโจทก์ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการโจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อนเช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อนทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา241,244และ819แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพ.ศ.2517ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้นสิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา6(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528)ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตามมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อน เช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อน ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241, 244 และ 819 แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528) ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วย เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดสิทธิผู้เช่าซื้อ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยึดทรัพย์คืน ก็ไม่ระงับผลการละเมิด การยึดทรัพย์เป็นอำนาจศาล
ผู้เช่าซื้อมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อในอันที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน ที่ตนเช่าซื้อมา ย่อมมีสิทธิฟ้องผู้ที่มายึดทรัพย์สินนั้นจากตนโดยละเมิดได้ แม้ภายหลังผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์สินคืนไป ก็ไม่ทำให้ผลการละเมิดที่กระทำไว้ก่อนระงับตามไปด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 424 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิด และกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลไม่จำต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญาอันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษ และไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ผู้กระทำละเมิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ ฉะนั้นการที่ศาลเคยพิพากษาในคดีอาญาว่าจำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์และยกฟ้องโจทก์ก็ไม่จำต้องฟังว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยอาจกระทำผิดกฎหมายอย่างอื่นเช่นกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ในการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้แล้วก็ได้ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่
สามีโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ยอมความกันใน คดีอาญาโดยสามีโจทก์ตกลงผ่อนชำระหนี้ ศาลสั่งจำหน่ายคดี เมื่อโจทก์ผิดนัด จำเลยที่ 1 ชอบที่จะฟ้องคดีต่อศาลบังคับให้สามีโจทก์ชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241และการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเป็นอำนาจของศาลและของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเฉพาะ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 และทหารพรานยึดรถยนต์ที่อยู่ในความครอบครองของ โจทก์ไป อ้างว่าเป็นรถยนต์ผิดกฎหมายนำส่งพนักงานสอบสวนโดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายจึงเป็นการกระทำโดยละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3360/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อในการฟ้องละเมิดจากการยึดทรัพย์โดยไม่ชอบ แม้ผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์คืนไปแล้ว
ผู้เช่าซื้อมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อในอันที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน ที่ตนเช่าซื้อมาย่อมมีสิทธิฟ้องผู้ที่มายึดทรัพย์สินนั้นจากตนโดยละเมิดได้ แม้ภายหลังผู้ให้เช่าซื้อจะยึดทรัพย์สินคืนไป ก็ไม่ทำให้ผลการละเมิดที่กระทำไว้ก่อนระงับตามไปด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 424 บัญญัติว่า ในการพิพากษาคดีข้อความรับผิดเพื่อละเมิด และกำหนดค่าสินไหมทดแทนนั้น ศาลไม่จำต้องดำเนินตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะอาญา อันว่าด้วยการที่จะต้องรับโทษและไม่จำต้องพิเคราะห์ถึงการที่ ผู้กระทำละเมิดต้องคำพิพากษาลงโทษทางอาญาหรือไม่ฉะนั้นการที่ศาลเคยพิพากษาในคดีอาญาว่า จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์และ ยกฟ้องโจทก์ ก็ไม่จำต้อง ฟังว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์เพราะจำเลยอาจกระทำผิดกฎหมายอย่างอื่นเช่นกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ในการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ไว้แล้วก็ ได้ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงต่อไปว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่
สามีโจทก์กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เสียหายได้ยอมความกันใน คดีอาญาโดยสามีโจทก์ตกลงผ่อนชำระหนี้ศาลสั่งจำหน่ายคดี เมื่อโจทก์ผิดนัด จำเลยที่ 1 ชอบที่จะ ฟ้องคดีต่อศาลบังคับให้ สามีโจทก์ชำระหนี้จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิยึดหน่วงรถยนต์ซึ่งอยู่ในความครอบครองของ โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241และการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นอำนาจของศาลและของ เจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเฉพาะ ดังนั้น การที่จำเลยที่1และทหารพรานยึดรถยนต์ที่อยู่ใน ความครอบครอง ของ โจทก์ไป อ้างว่าเป็นรถยนต์ผิดกฎหมาย นำส่งพนักงานสอบสวน โดยไม่มีอำนาจตามกฎหมายจึงเป็น การกระทำ โดยละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันจากการยึดหน่วงใบหุ้นแทนชำระหนี้ค่าซื้อหุ้น
เจ้าหนี้ได้ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะเป็นตัวแทนซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นอันตกอยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่อนเพราะการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819
การที่เจ้าหนี้เป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน ย่อมถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 6 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคือใบหุ้น แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตามมาตรา 96 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและสถานะเจ้าหนี้มีประกันจากการเป็นตัวแทนซื้อหุ้น
เจ้าหนี้ได้ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะเป็นตัวแทนซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นอันตกอยู่ในความครอบครองของเจ้าหนี้ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินบรรดาค้างชำระแก่ตนเพราะการเป็นตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 การที่เจ้าหนี้เป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนย่อมถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 6เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันคือใบหุ้น แล้วขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ยังขาดอยู่ได้ตามมาตรา 96(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การและการยึดหน่วงทรัพย์สินเพื่อประกันหนี้: สิทธิของผู้ให้กู้และผลของสัญญา
จำเลยยื่นขอแก้ไขคำให้การ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หลังจากมีคำสั่งแล้วโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยอีก
ผู้กู้อนุญาตให้ผู้ให้กู้อยู่อาศัยในบ้านพิพาทและทำสัญญามอบโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ ถ้าผู้กู้ผิดนัดผู้ให้กู้มีสิทธินำโฉนดไปจดทะเบียนโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ตามใบมอบอำนาจที่ให้ไว้ด้วย แม้ผู้ให้กู้จะไม่มีสิทธิยึดหน่วงดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 เพราะหนี้เงินกู้ไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์พิพาท แต่เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ระบุให้ผู้ให้กู้มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทไว้เป็นประกันจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้ เป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสมัครใจทำกันไว้ ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมมีผลบังคับ ผู้ให้กู้มีสิทธิยึดถือทรัพย์ที่นำมาประกันไว้และอยู่ในบ้านพิพาทจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การและการยึดหน่วงทรัพย์สินตามสัญญา การมีสิทธิครอบครองบ้านพิพาทจนกว่าจะชำระหนี้
จำเลยยื่นขอแก้ไขคำให้การ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาหลังจากมีคำสั่งแล้วโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นไว้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา226 ทั้งไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยอีก ผู้กู้อนุญาตให้ผู้ให้กู้อยู่อาศัยในบ้านพิพาทและทำสัญญามอบโฉนดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้เป็นประกันเงินกู้ถ้าผู้กู้ผิดนัดผู้ให้กู้มีสิทธินำโฉนดไปจดทะเบียนโอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ตามใบมอบอำนาจที่ให้ไว้ด้วยแม้ผู้ให้กู้จะไม่มีสิทธิยึดหน่วงดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241 เพราะหนี้เงินกู้ไม่เกี่ยวกับตัวทรัพย์พิพาทแต่เมื่อข้อตกลงตามสัญญากู้ระบุให้ผู้ให้กู้มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาทไว้เป็นประกันจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้เป็นข้อตกลงที่คู่สัญญาสมัครใจทำกันไว้ ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมมีผลบังคับผู้ให้กู้มีสิทธิยึดถือทรัพย์ที่นำมาประกันไว้และอยู่ในบ้านพิพาทจนกว่าผู้กู้จะชำระหนี้ตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงกับบังคับคดี: การตามทรัพย์สินคืนไม่ใช่การบังคับชำระหนี้จากลูกหนี้
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287, 289ในกรณี ที่มีการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา บุคคลภายนอกผู้เป็นเจ้าหนี้ตามบุริมสิทธิหรือสิทธิอื่นๆแม้มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นหรือขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือ จำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ของตนก่อน เจ้าหนี้อื่นได้ แต่การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเอารถยนต์ของโจทก์ที่จำเลยที่ 1เช่าซื้อไปคืนมาจากผู้ร้อง เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์ มิใช่เป็นการบังคับคดีหรือบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องจะขอรับชำระหนี้ค่าซ่อมและค่าดูแลรักษารถในคดีนี้โดยอ้างว่าตนมีสิทธิยึดหน่วงหาได้ ไม่
of 19