พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18952/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้: สิทธิที่บังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา
โจทก์เป็นผู้ครอบครองโฉนดที่ดินพิพาททั้งสามฉบับโดยจำเลยที่ 2 มอบให้ยึดถือเป็นประกันเงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงิน โจทก์จึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้เงินกู้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืน อันเป็นบุคคลสิทธิบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ในฐานะคู่สัญญาต่อกัน แม้การที่โจทก์ยึดถือโฉนดที่ดินพิพาททั้งสามฉบับเป็นประกันเงินกู้ที่โจทก์จะได้รับคืนซึ่งไม่ได้เป็นคุณแก่โจทก์เกี่ยวด้วยโฉนดพิพาททั้งสามฉบับ กรณีจึงหาใช่สิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 ซึ่งหมายถึง การที่ผู้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณแก่ผู้ครอบครองเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่ครอบครองนั้นก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาททั้งสามฉบับเป็นประกันจนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16776/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินสิ้นสุดเมื่อไม่บังคับคดีภายใน 10 ปี และไม่มีสิทธิยึดหน่วงเนื่องจากหนี้ไม่เกี่ยวกับโฉนด
การที่จำเลยไม่ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนล่วงพ้นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษา จำเลยย่อมสิ้นสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ ส. และทายาท เมื่อหนี้ที่จำเลยอาศัยเป็นมูลเหตุยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ไม่อาจบังคับคดีได้เสียแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินไว้เป็นประกันการชำระหนี้อีกต่อไป
เหตุที่จำเลยจะใช้สิทธิยึดหน่วงตามกฎหมายได้ ต้องปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้น จึงจะใช้สิทธิยึดหน่วงไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ได้ แต่การที่ ส. กู้ยืมเงินและส่งมอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้นั้น หนี้เงินกู้ดังกล่าวหาได้เป็นหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวกับโฉนดที่ดินไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้
โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยด้วยจึงเป็นการบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่ความในคดี ศาลไม่อาจบังคับให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการตามที่โจทก์ขอได้ อีกทั้งเป็นเรื่องวิธีการในชั้นบังคับคดี ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไขและปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
เหตุที่จำเลยจะใช้สิทธิยึดหน่วงตามกฎหมายได้ ต้องปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่น และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้น จึงจะใช้สิทธิยึดหน่วงไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ได้ แต่การที่ ส. กู้ยืมเงินและส่งมอบโฉนดที่ดินให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันหนี้เงินกู้นั้น หนี้เงินกู้ดังกล่าวหาได้เป็นหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวกับโฉนดที่ดินไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้
โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ โดยให้จำเลยออกค่าใช้จ่ายในการยื่นคำขอออกใบแทนโฉนดที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยด้วยจึงเป็นการบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่ความในคดี ศาลไม่อาจบังคับให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการตามที่โจทก์ขอได้ อีกทั้งเป็นเรื่องวิธีการในชั้นบังคับคดี ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามคำขอของโจทก์ในส่วนนี้เป็นการไม่ชอบ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้แก้ไขและปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4993/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและหักกลบลบหนี้: จำเลยไม่มีสิทธิยึดค่าจ้างโจทก์เพื่อชดใช้ความเสียหายที่ไม่ยุติ และไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้
จำเลยค้างชำระค่าจ้างโจทก์ และมีความเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยตามสัญญาจ้าง เงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครอบครองอยู่ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 241 จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงไว้
ความเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยยังไม่ยุติ จะต้องตกลงกันอีกซึ่งยังไม่แน่ว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ แม้เป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างฉบับเดียวกันก็ต้องถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อโจทก์ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้
ความเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยยังไม่ยุติ จะต้องตกลงกันอีกซึ่งยังไม่แน่ว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ แม้เป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างฉบับเดียวกันก็ต้องถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อโจทก์ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 344 จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4993/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงและหักกลบลบหนี้: ต้องเป็นทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครอบครอง และหนี้ต้องมีจำนวนแน่นอน
แม้จำเลยจะได้รับความเสียหายจำนวน 900,000 บาท เนื่องจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโจทก์ซึ่งจำเลยจ้างไปรักษาความปลอดภัยให้แก่อาคารชุดของจำเลย ซึ่งจำเลยได้ทวงถามค่าเสียหายดังกล่าวแล้วแต่โจทก์เพิกเฉย จำเลยก็ไม่มีสิทธิยึดหน่วงค่าจ้างที่จำเลยค้างชำระโจทก์จำนวน 401,761.46 บาท เนื่องจากเงินจำนวนดังกล่าวไม่ใช่ทรัพย์สินของโจทก์ที่จำเลยครอบครองอยู่ตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 241
ความเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยยังไม่ยุติ จะต้องตกลงกันอีก ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ ดังนี้ แม้เป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างฉบับเดียวกัน ก็ต้องถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อโจทก์ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตาม ป.พ.พ. 344 จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงและจะขอหักกลบลบหนี้ไม่ได้ดังกล่าวข้างต้น จำเลยจึงโต้แย้งว่ายังไม่ผิดนัดมิได้
ความเสียหายที่โจทก์ต้องรับผิดชอบต่อจำเลยยังไม่ยุติ จะต้องตกลงกันอีก ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะตกลงกันได้หรือไม่ ดังนี้ แม้เป็นสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างฉบับเดียวกัน ก็ต้องถือว่าสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่มีต่อโจทก์ยังมีข้อต่อสู้อยู่ตาม ป.พ.พ. 344 จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิขอหักกลบลบหนี้ได้ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงและจะขอหักกลบลบหนี้ไม่ได้ดังกล่าวข้างต้น จำเลยจึงโต้แย้งว่ายังไม่ผิดนัดมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: คำพิพากษาศาลฎีกายันบุคคลภายนอก & การได้มาซึ่งสิทธิโดยการครอบครอง
ศาลฎีกามีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และขับไล่ ท. ระหว่างบังคับคดี จำเลยได้ยึดถือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ โจทก์จึงฟ้องขอให้บังคับจำเลยส่งมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) จำเลยให้การว่าที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) อยู่ในเขตที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ และจำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาท โดยรับมอบการครอบครองมาจาก ท. โดยชอบ จนได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กับมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกันไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินคนละแปลงกันหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท กรณีจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวแม้จำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาก็ตาม แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวก็ใช้ยันจำเลยผู้เป็นบุคคลภายนอกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) การที่จำเลยให้การรับว่าได้รับที่ดินพิพาทมาจาก ท. ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลยได้ อันเป็นการรับมอบที่ดินพิพาทโดยเด็ดขาด มิใช่เพื่อประกันการชำระหนี้แล้วได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี ทำให้ได้สิทธิครอบครอง โดยไม่ได้ให้การว่าจำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ด้วยเหตุประการอื่น จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติข้างต้น โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3 ก.) ไว้ แม้ว่า ท. ยังไม่ได้ชำระเงินยืมและดอกเบี้ยให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทำของ, การยึดหน่วง/หักกลบลบหนี้, การเรียกร้องค่าจ้างล่วงเวลา, และการรับฟังพยานเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยว่าจ้างโจทก์ให้จัดหาพนักงานรักษาความปลอดภัยบริเวณสถานที่ทำการของจำเลยคิดเป็นค่าจ้างเดือนละ 82,000 บาท จำเลยให้การยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์ 1 เดือน กับ 15 วัน คิดเป็นเงิน 150,333.25 บาท มิได้สูงมากดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์เรียกร้องมากกว่าความเป็นจริง ทำให้จำเลยไม่เข้าใจฟ้อง เห็นว่า คำฟ้องดังกล่าวข้างต้นเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพของข้อหาของโจทก์ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว นอกจากนี้โจทก์ยังส่งสำเนาใบทำงาน/ใบแจ้งหนี้ซึ่งคำนวณถึงรายละเอียดเกี่ยวกับค่าจ้างแนบท้ายมาด้วย คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ส่วนจำเลยค้างชำระค่าจ้างโจทก์ตามฟ้อง หรือไม่ เป็นเรื่องคู่ความจะต้องนำพยานเข้าสืบพิสูจน์ในชั้นพิจารณา
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วยจำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาดังกล่าวได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่ ส่วนจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องเกินกว่าจำนวนเงินในสัญญาจ้างทำของหรือไม่ก็สามารถพิจารณาได้จากสัญญาดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมลงวันที่ 26 มิถุนายน 2546 โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี คำร้องดังกล่าวจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว ส่วนที่จำเลยเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องก็สามารถนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ทั้งจำเลยเองก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวแล้ว กล่าวคือจำเลยยื่นคำร้องวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 ขอระบุผู้จัดการจำเลยเป็นพยานซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาต แสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้คู่ความต่อสู้กันอย่างเต็มที่แล้ว
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันตลอดมาดังปรากฏตามเอกสารสำเนาใบแจ้งหนี้ที่จำเลยเคยชำระค่าจ้างล่วงเวลาให้แก่โจทก์ ซึ่งการทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาถือเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน
ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยระบุว่า ผู้ว่าจ้าง (จำเลย) รับเงินค่าว่าจ้างตามข้อ 2 ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิยึดหน่วงหรือถ่วงเวลาไว้เกินกำหนดหรือจะนำไปหักกลบลบหนี้อย่างอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นลายลักษณ์อักษร จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาว่าจำเลยจะไม่ยึดหน่วงค่าจ้างและนำค่าจ้างไปหักกลบลบหนี้ มีข้อยกเว้นอยู่กรณีเดียวคือได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยหักกลบลบหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงหรือหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด
โจทก์ยื่นคำฟ้องพร้อมแนบสำเนาสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยมาด้วยจำเลยได้รับสำเนาสัญญาดังกล่าวแล้วมิได้ให้การโต้แย้งว่าไม่ถูกต้อง จึงต้องรับฟังว่าสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยดังกล่าวเป็นสัญญาที่ถูกต้อง จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยอีกว่าต้นฉบับสัญญาดังกล่าวได้มีการติดอากรแสตมป์หรือไม่ ส่วนจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องเกินกว่าจำนวนเงินในสัญญาจ้างทำของหรือไม่ก็สามารถพิจารณาได้จากสัญญาดังกล่าว
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมลงวันที่ 26 มิถุนายน 2546 โดยอ้างว่าฝ่ายบัญชีของโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารที่ยื่นเป็นพยานต่อศาลและเป็นเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้องในคดี คำร้องดังกล่าวจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคสาม และเอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเกี่ยวกับประเด็นของคดีซึ่งทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญเป็นไปโดยเที่ยงธรรม ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเอกสารดังกล่าวได้จึงชอบแล้ว ส่วนที่จำเลยเห็นว่าเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องก็สามารถนำสืบหักล้างเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ทั้งจำเลยเองก็ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวแล้ว กล่าวคือจำเลยยื่นคำร้องวันที่ 28 กรกฎาคม 2546 ขอระบุผู้จัดการจำเลยเป็นพยานซึ่งศาลชั้นต้นก็อนุญาต แสดงให้เห็นว่าศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้คู่ความต่อสู้กันอย่างเต็มที่แล้ว
ตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยกำหนดให้โจทก์นำพนักงานรักษาความปลอดภัยดูแลความปลอดภัยในช่วงเวลาตามที่ตกลงไว้ในสัญญา หากนอกเหนือจากสัญญาจำเลยก็มีหน้าที่ต้องชำระค่าจ้างเพิ่มให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์และจำเลยปฏิบัติต่อกันตลอดมาดังปรากฏตามเอกสารสำเนาใบแจ้งหนี้ที่จำเลยเคยชำระค่าจ้างล่วงเวลาให้แก่โจทก์ ซึ่งการทำงานล่วงเวลาที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาถือเป็นสัญญาจ้างทำของเช่นเดียวกัน
ตามสัญญาว่าจ้างรักษาความปลอดภัยระบุว่า ผู้ว่าจ้าง (จำเลย) รับเงินค่าว่าจ้างตามข้อ 2 ผู้ว่าจ้างจะใช้สิทธิยึดหน่วงหรือถ่วงเวลาไว้เกินกำหนดหรือจะนำไปหักกลบลบหนี้อย่างอื่นไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้รับจ้าง (โจทก์) เป็นลายลักษณ์อักษร จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงเจตนาของโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาว่าจำเลยจะไม่ยึดหน่วงค่าจ้างและนำค่าจ้างไปหักกลบลบหนี้ มีข้อยกเว้นอยู่กรณีเดียวคือได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์อนุญาตให้จำเลยหักกลบลบหนี้เป็นลายลักษณ์อักษร จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงหรือหักกลบลบหนี้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2423/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินฝากตามสัญญา แม้ผู้ฝากเสียชีวิต สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความล่าช้าในการคืนเงิน
ประเด็นข้อพิพาทมีว่า จำเลยมีสิทธิระงับการเบิกถอนเงินของโจทก์จากบัญชีพิพาทหรือไม่ ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ผู้ฝากเงินกับธนาคารมีนิติสัมพันธ์กันตามลักษณะฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 บัญชีพิพาทถือมิได้ว่าเป็นบัญชีเงินฝากของ ท. ดังนั้น จำเลยผู้รับฝากเงินจึงไม่มีสิทธิระงับการเบิกถอนเงินของโจทก์ผู้ฝากเงินจากบัญชีพิพาท เมื่อโจทก์ขอเบิกถอนเงินจำเลยต้องคืนเงินฝากให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ปิดบัญชีพิพาทกับจำเลยย่อมทำให้จำเลยเป็นผู้ทรงสิทธิในการคืนเงินแก่โจทก์ และมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้ได้โดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 เท่ากับวินิจฉัยในประเด็นว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินฝากในบัญชีพิพาทหรือไม่ ทั้งเป็นการก้าวล่วงไปวินิจฉัยในเรื่องมรดกว่าจำเลยมีสิทธิยึดหน่วงเงินฝากเพื่อคุณประโยชน์ของทายาทอื่นของ ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก อันเป็นการนอกเหนือไปจากที่ ป.พ.พ. มาตรา 241 บัญญัติไว้ว่า ให้ยึดหน่วงได้เฉพาะหนี้อันเป็นคุณประโยชน์กับคู่กรณีเท่านั้นจึงเป็นการผิดไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่โจทก์และจำเลยโต้แย้งกัน รวมทั้งก้าวล่วงไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องเอกสารการเปิดบัญชีเงินฝากประจำของ ท. ที่ตามคำฟ้องของโจทก์และจำเลยไม่ได้โต้เถียงกันให้เห็นเป็นอย่างอื่นอีกด้วยว่ามีลักษณะเป็นการหลอกลวงหรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงเป็นการวินิจฉัยเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้แม้โจทก์ไม่ได้ยกขึ้นฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 และเมื่อปรากฏว่าคดีมีพยานหลักฐานเพียงพอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยต่อไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
หลังจากโจทก์เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ท. บิดาโจทก์ไปแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์นำเงินมาฝากตามบัญชีพิพาทในนามของโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ฝากเงินตามบัญชีพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าเงินในบัญชีพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ บรรดาทายาทต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ นอกจากนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับว่าจะคืนเงินให้แก่ทายาทที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ต่อไป เงื่อนไขอันเป็นข้อต่อสู้เรื่องระงับการเบิกถอนเงินของจำเลยหมดสิ้นไปแล้วส่วนการที่โจทก์เบิกเงินฝากประจำของ ท. ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. และจำเลยยินยอมให้โจทก์เบิกเงินดังกล่าวไปได้ ก็ถือเป็นการยอมรับความเสี่ยงภัยของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง ไม่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากพิพาท ดังนั้น เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินฝากจากบัญชีพิพาท จำเลยก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอเบิกเงินจากบัญชีพิพาทจากจำเลยครั้งแรก แต่จำเลยระงับการจ่ายเงินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจากการที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ถอนเงินฝากโดยอ้างว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนขอค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 350,000 บาท และโจทก์ไม่สามารถนำเงินจากบัญชีพิพาทไปร่วมลงทุนกับญาติทำการค้าขายเครื่องยนต์เก่าและเครื่องมือช่างได้ ทำให้ขาดกำไรเป็นเงินวันละ 1,000 บาท ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งคู่กรณีต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข ส่วนดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องจำเลยยอมรับมาในคำให้การว่าจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตลอดเวลาที่ฝากเงินโดยในขณะยื่นคำให้การอัตราร้อยละ 3.25 ต่อปี ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องตามที่จำเลยยอมรับ
หลังจากโจทก์เบิกเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ท. บิดาโจทก์ไปแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์นำเงินมาฝากตามบัญชีพิพาทในนามของโจทก์ เท่ากับโจทก์เป็นผู้ฝากเงินตามบัญชีพิพาท ส่วนปัญหาที่ว่าเงินในบัญชีพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ บรรดาทายาทต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหากไม่เกี่ยวกับคดีนี้ นอกจากนี้ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น มีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ซึ่งตามคำให้การของจำเลย จำเลยรับว่าจะคืนเงินให้แก่ทายาทที่ศาลมีคำสั่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของ ท. ต่อไป เงื่อนไขอันเป็นข้อต่อสู้เรื่องระงับการเบิกถอนเงินของจำเลยหมดสิ้นไปแล้วส่วนการที่โจทก์เบิกเงินฝากประจำของ ท. ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. และจำเลยยินยอมให้โจทก์เบิกเงินดังกล่าวไปได้ ก็ถือเป็นการยอมรับความเสี่ยงภัยของจำเลยเองตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง ไม่เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากพิพาท ดังนั้น เมื่อโจทก์ประสงค์จะถอนเงินฝากจากบัญชีพิพาท จำเลยก็ต้องคืนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 665 วรรคสอง เมื่อโจทก์ไปยื่นคำขอเบิกเงินจากบัญชีพิพาทจากจำเลยครั้งแรก แต่จำเลยระงับการจ่ายเงินให้แก่โจทก์ จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์
ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาจากการที่จำเลยไม่ยินยอมให้โจทก์ถอนเงินฝากโดยอ้างว่าโจทก์ได้รับความเดือดร้อนขอค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 350,000 บาท และโจทก์ไม่สามารถนำเงินจากบัญชีพิพาทไปร่วมลงทุนกับญาติทำการค้าขายเครื่องยนต์เก่าและเครื่องมือช่างได้ ทำให้ขาดกำไรเป็นเงินวันละ 1,000 บาท ถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดจากพฤติการณ์พิเศษซึ่งคู่กรณีต้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 วรรคสอง แต่โจทก์มิได้นำสืบว่าจำเลยได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นว่าโจทก์จะได้รับความเสียหายดังกล่าว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้ให้แก่โจทก์
โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้อง ขอให้บังคับจำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นกำหนดดอกเบี้ยให้นับแต่วันทำละเมิดซึ่งเกินคำขอจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข ส่วนดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องจำเลยยอมรับมาในคำให้การว่าจำเลยยินยอมชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตลอดเวลาที่ฝากเงินโดยในขณะยื่นคำให้การอัตราร้อยละ 3.25 ต่อปี ดังนั้น จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยก่อนวันฟ้องตามที่จำเลยยอมรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4671/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินจากการวางประกันต่อศาล
เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 ต้องเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ คำว่า สิทธิยึดหน่วง หมายถึง สิทธิยึดหน่วงตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดเป็นผู้ครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ก็ได้..." การที่ลูกหนี้นำห้องชุดมาวางและทำหนังสือประกันไว้ต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการอันเป็นศาลยุติธรรมเป็นองค์กรแห่งรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่มีหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการครอบครองทรัพย์สินไว้ให้เจ้าหนี้ เจตนาของลูกหนี้ในการทำหนังสือประกันก็เพื่อทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาตามกระบวนการที่กฎหมายบัญญัติไว้ ไม่มีข้อความใดในหนังสือประกันที่แสดงให้เห็นว่าลูกหนี้ทำหนังสือประกันดังกล่าวเพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ หนี้ตามคำพิพากษาศาลจังหวัดสมุทรปราการที่เจ้าหนี้นำมายื่นคำขอรับชำระหนี้มีมูลหนี้มาจากสัญญาจ้างทำของที่ลูกหนี้จ้างเจ้าหนี้ผลิตงานโฆษณาโดยทำเป็นวิดีโอเพื่อเผยแพร่ภาพและเสียงทางสถานีโทรทัศน์ซึ่งเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับค่าจ้างตอบแทนเท่านั้น หาใช่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้เกี่ยวด้วยห้องชุดที่ลูกหนี้นำมาวางเป็นประกันแต่อย่างใด เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงห้องชุดดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3874/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และสัญญาตีใช้หนี้ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถใช้เป็นเหตุอ้างสิทธิยึดถือทรัพย์ได้
บทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง ที่ว่า ถ้าไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้นั้น หมายความรวมถึงการห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้คดีด้วย เมื่อการกู้ยืมเงิน 5,000,000 บาท ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์กับ ร. ร่วมกันกู้ยืมจากจำเลยนั้นไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ จำเลยจึงไม่อาจอ้างการกู้ยืมเงินดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์เพื่อยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้ และการที่โจทก์กับ ร. ตกลงโอนที่ดินให้แก่จำเลยเป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. อีกจำนวนหนึ่ง เห็นได้ว่าจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มนั้นเป็นสาระสำคัญที่จะต้องตกลงกัน แต่จำเลยก็ยังไม่มีการตกลงกันในรายละเอียดว่าจำเลยจะต้องชำระเงินเพิ่มให้แก่โจทก์กับ ร. เป็นจำนวนเท่าใด จึงนับว่ายังมิได้มีสัญญาต่อกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 366 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9208-9209/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือนสิ้นสุดลง พนักงานสอบสวนต้องคืนหลักประกันให้แก่ผู้ประกัน
การปล่อยชั่วคราวของพนักงานสอบสวนนั้น สามารถให้ปล่อยชั่วคราวได้สูงสุดเพียง 6 เดือน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 113 วรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นอันสิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนไม่อาจควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องมาขอปล่อยผู้ต้องหาด้วยการนำโฉนดที่ดินมาให้จำเลยยึดถือไว้อีก จำเลยจึงต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์